Japonisme อิคิไก การอาบป่า วะบิซะบิ และอื่นๆ

สรุปหนังสือ Japonisme อิคิไก การอาบป่า วะบิซะบิ และอื่นๆ หนังสือที่เขียนโดย Erin Niimi Longhurst ลูกครึ่งญี่ปุ่น อังกฤษ ที่เล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นในแง่มุมต่างๆ ผ่านมุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวเป็นหลัก แม้เนื้อหาไม่หวือหวาเร้าใจ แต่มีความอุ่นๆ อิ่มๆ อร่อยแบบบอกไม่ถูก ใครอยากเข้าใจว่าคนญี่ปุ่นเค้ามีวิถีชีวิตยังไง ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปแบบไหน หนังสือเล่มนี้ช่วยเพิ่มและขยายมุมมองได้ครับ หนังสือ Japonisme แบ่งเป็นสามส่วนหลัก นามบัตร = รูปธรรม เพราะหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจเรื่องนามบัตรแบบญี่ปุ่นลึกซึ้งขึ้น ญี่ปุ่นมีธรรมเนียมการให้นามบัตรที่ไม่เหมือนชาติอื่น ที่นี่ต้องยื่นให้สองมือ…

The Little Book of Ikigai อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่

ถ้าให้สรุปสั้นๆกับหนังสือ The Little Book of Ikigai เล่มนี้ผมก็สรุปได้ว่า การได้ทำคือรางวัลในตัวมันเอง เพราะภาพรวมของทั้งเล่มคือการบอกให้เราเข้าใจว่า แก่นของอิคิไกนั้นคือการที่บอกให้เรารู้ว่าอย่าคาดหวังรางวัลจากการกระทำนั้น เพราะนั่นคือบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งปวง เหมือนกับหลายครั้งเรามักจะได้ยินคนพูดกันว่า ทำไปทำไม? หรือ ทำไปเพื่ออะไร? บอกให้รู้ว่ามนุษย์เรานั้นถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย แต่อิคิไกคือให้เรากลายเป็นเป้าหมายของตัวเราเอง นั่นคือไม่ต้องทำไปเพื่ออะไร หรือทำไปทำไม ทำแล้วจะได้อะไรกลับมา เอาแค่ให้ได้ทำ และทำให้ดีที่สุด ทำอย่างมีความสุข แค่นี้ก็อิคิไกแล้ว นี่คือสรุปอย่างย่อที่ผมจะมอบให้หนังสือเล่มนี้ แต่สำหรับคนที่ยังพอมีเวลาอ่านสรุปกับผมต่ออีกหน่อย ไม่รีบไปไหน ผมก็มีสรุปหนังสือเล่มนี้แบบเต็มๆให้คุณได้อ่านกัน เอาเป็นแค่ต่อให้เขียนไปแล้วไม่มีใครอ่านก็ไม่เป็นไร เพราะแค่ผมได้เขียนให้ตัวเองได้อ่านอีกครั้งเมื่อ…

Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร เพราะบริษัทเหล่านี้มีแนวทางเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมายว่า ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่รอด ถ้าสังคมพัฒนาเราก็จะเจริญ..…