Animal Spirits เศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์

สรุปหนังสือ Animal Spirits หรือ เศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์เล่มนี้บอกให้รู้ว่า แท้จริงแล้วมนุษย์เรานั้นไม่ได้เป็นสัตว์ที่มากด้วยเหตุผลอย่างที่คิด และปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆทั้งหลายก็ล้วนแต่เกิดจากสัญชาตญาณสัตว์ของเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโลภ หรือแม้แต่การปล่อยให้ภาพลวงตาชี้นำความคิด ที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังพลาดได้ หนังสือเล่มนี้เลยเป็นหนังสือว่าด้วยวิชาความรู้ในแง่เศรษฐศาสตร์ ที่อาจจะมีศัพท์เทคนิควิชาการผสมปนเข้ามาบ้าง อาจอ่านไม่สนุกนักสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ หรือคนที่กำลังศึกษาและสนใจในเรื่องนี้ น่าจะอ่านสนุกและได้แง่คิดดีๆไปก็ไม่น้อยครับ เพราะจริงๆแล้วเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องของแค่ใครบางกลุ่มที่เป็นนักการเงิน หรือนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่เศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของคนทุกคนบนโลกที่ต้องดิ้นรนหาเงินเพื่อปากท้อง หรือถ้าพูดให้ดีขึ้นก็คือวิชาที่ว่าด้วยการเลือก การตัดสินใจ เลือกว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีไปกับอะไรที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดครับ แล้วแต่ไหนแต่ไรมาบรรดานักวิชากร หรือนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายก็ชอบคิดว่า มนุษย์เรานี้เป็นสัตว์ประเสริฐมากด้วยเหตุผล นักวิชาการทั้งหลายมักเชื่อว่าทุกการตัดสินใจของมนุษย์เรานั้นล้วนผ่านการคิดและตรึกตรองมานักต่อนักครับ แต่ในชีวิตจริงแล้วนั้นช่างเป็นเหมือนหนังคนละม้วน เพราะมนุษย์เราล้วนใช้อารมณ์เป็นตัวนำ และใช้เหตุผลเข้ามาสนับสนุนอารมณ์นั้นเป็นประจำครับ…

Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก

เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น…