Tag

Digital Transformation

Browsing

บริษัทต่างยอมรับว่า Data นั้นสำคัญต่อธุรกิจและการตลาดขนาดไหน แต่กลับมีน้อยมากที่ยอมลงทุนในการทำเรื่อง Data-Driven Marketing อย่างจริงจัง จนทำให้ผู้ที่กล้าลงทุนก่อนใครค่อยๆ กลายเป็นผู้นำที่ทิ้งห่างคู่แข่งไปเรื่อยๆ ในระยะยาวแบบที่ยากจะไล่ตามได้ทันเหมือนการทำธุรกิจและการตลาดยุคก่อนด้วย

บ้างก็ไปให้ความสำคัญกับแค่การทำ Data Analytics เข้าใจผิดว่าการทำ Data-Driven Marketing ทั้งหมดคือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในมือ ในความเป็นจริงแล้วการทำ Analytics เป็นแค่ปลายทางของการทำ Data-Driven เพราะในความเป็นจริงแล้วการจะทำ Data-Driven ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การวาง Data Strategy ให้สอดคล้องกับ Business Strategy และ Business Goal

แล้วยิ่งขาดการทำ Data Integration เอาข้อมูลที่กระจัดกระจายภายในองค์กรมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้เห็น Insight ที่ครบถ้วนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขาดการลงทุนในการสร้างแพลตฟอร์มดาต้าหรือที่อาจจะเรียกว่า Data Warehouse, Data Lake หรือ Customer Data Platform ในวันนี้ ก็ยิ่งทำให้การทำ Data-Driven Marketing ไม่ประสบความสำเร็จสักที และนี่เป็นแค่อุปสรรคทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนครับ

หลายคนยังชอบเข้าใจผิดว่าการทำ Data-Driven Marketing เหมือนกับการทำ Marketing Campaign อย่างไรอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั่นเป็นคนละเรื่องกันเลยครับ เพราะแคมเปญการตลาดส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบ Adhoc หรือครั้งเดียวจบแล้วทำใหม่ แต่การทำ Data-Driven Marketing นั้นจะต้องเป็นการวางแผนระยะยาว การกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเก็บดาต้าอย่างไร จะรวมดาต้าอย่างไร จะวิเคราะห์ดาต้าอย่างไร และจะดูดาต้าตัวชี้วัดแบบไหนที่สามารถสะท้อนถึงธุรกิจหรือยอดขายได้บ้าง จากนั้นก็ต้องกลับมาปรับปรุงตัวชี้วัดและขั้นตอนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่หนักไปกว่านั้นคือวิธีการทำงานขององค์กรก็ต้องเปลี่ยนไป เพราะ Data ไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องมือแต่เป็นเรื่องของ Mindset ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะหลายครั้งพบว่าวิธีการทำงานแบบเดิมที่เคยดีมาตลอดหลายสิบปีกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพในโลกยุค Data-Driven

บางครั้งวิธีการทำงานเก่าๆ ต้องถูกลดทอนหรือทิ้งไป และหลายครั้งก็ก่อให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ขั้นตอนใหม่ๆ ไปจนถึงตำแหน่งเนื้องานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการจะเป็นบริษัท Data-Driven Marketing ครับ

การจะทำ Data-Driven Marketing ให้ประสบความสำเร็จต้องใช้ Digital Marketing และ MarTech เป็นส่วนเสริมให้การใช้ดาต้าขององค์กรเราเกิดประโยชน์สูงสุด นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าทำไม Saleforce จึงทุ่มทุนซื้อ Tableau กว่า 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Google เองก็ทุ่มทุนกับ Looker ไปกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำไมต้อง Data-First Marketing?

นั่นเพราะคนส่วนใหญ่ใช้ Data ได้ไม่เต็มที่เต็มประสิทธิภาพ คนส่วนใหญ่ยังคงอยู่แค่ในจุดเริ่มต้นที่เป็นการเริ่มทำ Analytics จาก Data ที่แยกส่วนกันระหว่างทีมงานในองค์กร ยังขาดการเชื่อมโยง Data ทั้งองค์กรเพื่อให้เข้าใจภาพรวมธุรกิจ ยังขาดเชื่อมต่อกับ External data ว่าเราจะเข้าใจลูกค้าให้ลึกซึ้งและรอบด้านขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

การใช้ Data-Driven จะทำให้เราเข้าถึง Customer Insights ที่แท้จริงได้รวดเร็ว และนั่นก็ทำให้เราตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและแม่นยำได้โดยง่าย จากเดิมที่ต้องมาใช้สัญชาติญาณว่าเราควรจะต้องตัดสินใจแบบไหนดี แต่วันนี้แค่เงยหน้าบน Dashboard ดีๆ เป็นเวลาไม่กี่วินาทีก็สามารถฟันได้เลยว่าควรต้องไปทางไหนกันแน่

และที่สำคัญ Data ยังไม่ได้ Driven แค่ Marketing แต่ยังไปได้ถึงขั้น Data-Driven Business ถ้าเริ่มมี Mindset ที่จะใช้ดาต้าขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไกล เราจะต้องคิดและวางแผนใหม่ว่าเราต้องการดาต้าแบบไหนที่จะสามารถช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น และก็ค่อยเริ่มคิดว่าเราจะเข้าถึงหรือเก็บดาต้านั้นได้อย่างไร จะต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ประมวลผลแบบไหนถึงจะทำให้ตัดสินใจได้อย่างสะดวกรวดเร็วที่สุด

การทำ Data-Driven Marketing เองยังทำงานรายวันของเราทุกคนง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าเหตุใดองค์กรเราควรจะเดินหน้าเรื่อง Data-Driven จริงจังแบบเต็มตัวเสียที

สาเหตุหลักที่ทำ Data-Driven ไม่รอด

แม้หลายองค์กรจะรู้ว่า Data สำคัญอย่างไร และต่อให้เริ่มต้นทำไปแล้วส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยรอดเพราะ Bias หรืออคติ คนส่วนมากยังคงเชื่อกันว่าวิธีการเดิมที่เคยทำมาเป็นสิบๆ ปีนั้นดีอยู่แล้ว ไม่มีทางที่สิ่งใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีจะมีเปลี่ยนโลกหรือพลิกโฉมธุรกิจได้มากขนาดนั้น อย่างดีก็แค่เป็นเครื่องมือช่วยให้งานเดิมเร็วขึ้นอีกนิด มีประสิทธิภาพขึ้นอีกหน่อย แต่คนเหล่านั้นลืมไปว่าการใช้ Data-Driven Business จะเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนกติกาการแข่งขันในโลกธุรกิจไปเช่นกัน คนเหล่านั้นนึกไม่ถึงว่า Data is Game Changer หรือ Data จะกลายเป็น The Next Level ของธุรกิจและอุตสาหกรรมของเรา

คนจำนวนไม่น้อยยังมีอคติที่เชื่อว่า “ไม่เคยมีใครเขาทำกัน” หรือ “ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นบริษัทไหนกำไรด้วยดาต้า”

ใช่ครับ เพราะ Data-Driven เป็นเรื่องใหม่จึงไม่แปลกถ้าจะไม่เคยมีใครเขาทำกัน ก็เหมือนกับ Online Marketing ในยุคแรกๆ จะมีใครคิดว่าทุกวันนี้เราจะซื้อข้าวของมากมายผ่านหน้าจอ เราจะสั่งอาหารเกือบทุกมื้อผ่านแอปด้วยโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ และที่ไม่มีเคยได้ยินใครเขาทำกันเพราะการทำ Data-Driven Marketing นั้นเป็นเสมือนความลับทางธุรกิจที่ไม่มีใครเขาอยากเปิดเผยกันสักเท่าไหร่

ยิ่งในประเทศไทยบ้านเรายิ่งไม่ต้องพูดถึง น้อยบริษัทมากที่จะกล้าเปิดเผยออกมาให้คนอื่นรู้ เพราะเขาก็กลัวว่าคู่แข่งรู้แล้วจะรีบทำตาม เขาอยากให้คู่แข่งไม่รู้และทำการตลาดแบบหลงทางต่อไปเรื่อยๆ เพื่อที่ตัวเองจะได้ทิ้งห่างจนไม่มีทางที่ใครจะตามทันได้ง่ายๆ ครับ

อย่างไรเสียทุกธุรกิจก็ต้องมีการกำหนด Metrics ตัวชี้วัดหรือ KPI ต่างๆ ที่จะเป็นตัวสะท้อนว่าเราทำธุรกิจได้ถูกทางหรือกำลังหลงทางไปไกลจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ตอนต้นปีกันแน่ สิ่งที่เราต้องเริ่มทำคือหมั่นตรวจสอบบ่อยๆ ว่า Metric นี้หรือ KPI ที่ใช้นั้นดีที่สุดหรือยังในวันนี้ มันมีตัวชี้วัดอื่นที่ดีกว่านี้หรือเปล่า ถ้ามีต้องรีบเปลี่ยนให้ไวเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องสูญงบมากไปกว่านี้

งานยุ่งเกินไปจนไม่มีเวลาใช้ดาต้า

ไม่น่าเชื่อว่าเหตุผลที่ฟังดูเหมือนคำแก้ตัวจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ของการทำ Data-Driven ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริงแล้วผู้บริหารมักลืมว่าลูกน้องตัวเองงานยุ่งขนาดไหน ในแต่ละวันลูกน้องตัวเองต้องทำงานอะไรบ้าง ในความเป็นจริงแล้วลำพังงานรายวันของนักการตลาดนั้นยังแทบทำไม่ทัน ครั้นจะให้มารับผิดชอบงานเพิ่มกับการใช้ Data บอกเลยว่าไม่มีทางเวิร์คครับ

สิ่งที่เราต้องทำคือเราต้องสร้างเวลาใหม่ขึ้นมาให้กับพนักงานคนเก่า ด้วยการลดงานเดิมที่ไม่จำเป็นออกไป หรืออาจจะเพิ่มทีมใหม่ขึ้นมาเพื่อให้รับผิดชอบหน้าที่งานตรงนี้เป็นหลัก เท่านั้นยังไม่พออีกหนึ่งความยุ่งยากที่เกิดขึ้นจากการทำ Data-Driven คือ Technology คุณรู้ไหมว่าในวันนี้มีเครื่องมือทาง MarTech มากมายขนาดไหน แต่ละเครื่องมือก็มีฟีเจอร์มากมายที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน แล้วไหนจะการอัพเดทที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้นักการตลาดเดิมไม่สามารถมีเวลาจะเรียนรู้เครื่องมือ MarTech ที่ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้สักเท่าไหร่ครับ

เพราะไหนจะต้องลงมือทำ Implement MarTech ให้ดีก็กินทรัพยากรเวลาไปไม่น้อยแล้ว ทำให้ไม่มีเวลาคิดถึงการกำหนด Data Strategy หรือ MarTech Strategy เลยว่าเราต้องการเครื่องมือแบบไหนเพิ่ม เครื่องมือแบบไหนที่เหมาะกับเรา และเราจะกำหนด Metrics ไหนจึงจะตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด

นักการตลาดสายดาต้าหรือ MarTech ต้องหมั่นตรวจสอบและถามตัวเองเสมอว่าข้อมูลหรือรายงานที่เห็นตรงหน้านี้อัพเดทล่าสุดเมื่อไหร่?

  • เราใช้เทคโนโลยี MarTech ที่ตอบเป้าหมายทางธุรกิจและวิธีการทำงานขององค์กรเราที่สุดแล้วหรือยัง?
  • ถ้าเราจะทำ CRM จริงๆ เรามีระบบที่รวบรวม Customer Data จากทุกที่เพื่อทำให้เราทำ Customer 360 ที่จะกลายเป็น Single View Customer 360 ได้จริงแล้วหรือยัง?
  • เรามีการวัดผล Channel ที่ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าไหมว่าช่องทางไหนเวิร์คที่สุด?
  • เรามีการวัดผล Creative ในแต่ละครั้งที่สื่อสารออกไปไหมว่าแบบใดที่เวิร์คที่สุด?
  • เรามีการวัดผล Convince หรือโปรโมชั่นที่ส่งออกไปไหมว่าอะไรที่ลูกค้าติดใจมากที่สุด?

ถ้าเราวัดผลทั้ง 3 อย่างนี้ก็เหมือนกับการทำ RFM Model แต่เราจะเห็นว่าช่องทางไหนลูกค้าชอบให้เราสื่อสารแบบใดด้วยโปรโมชั่นอะไร เราจะเห็น Insight ในแต่ละช่องทางที่ชัดขึ้น ไม่แน่เราอาจจะได้พบกับสูตรสำเร็จของแต่ละช่องทางที่ดีต่อธุรกิจเรามากที่สุดอีกด้วยครับ

เราต้องรู้ว่า ROI ของเราจะต้องวัดจาก Metric ไหนอย่าง ใช้ Attributes แบบใด คนส่วนใหญ่มักไม่ทำในเรื่องนี้ให้ดีเพราะอ้างว่างานยุ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วงานหลายคนยุ่งเกินไปเพราะไม่กดหนด Attributes ที่จะวัดที่เป็น The Right Metrics ที่จะท้อนถึง Business Goal นั่นเองครับ

Data ยากเกินไป

ถัดจากความยุ่งคือความยาก เพราะการจะทำ Data-Driven Marketing ไม่เหมือนกับการทำ Digital Marketing ที่ใช้แค่ไม่กี่เครื่องมือ ใช้ไม่กี่แพลตฟอร์มก็สามารถทำการตลาดได้แล้ว แต่ในการจะทำ Data-Driven นั้นต้องใช้เครื่องมือ MarTech มากมายมาเชื่อมต่อกันหรือที่เรียกว่า MarTech Stack

และการจะทำ MarTech Stack ให้ดีก็ไม่สามารถเอาสูตรสำเร็จจากคนอื่น หรือแม้แต่ธุรกิจที่เหมือนกันมาใช้ร่วมกันได้ เพราะแต่ละธุรกิจก็มีความ Unique ในวิธีการทำงาน เราจึงต้องออกแบบและสร้าง MarTech Stack ที่ตอบวิธีการทำงานหรือสไตล์ขององค์กรเรามากที่สุดแทนจะลอกกันมาดื้อๆ

ดังนั้นงาน Data จึงเป็นงานที่ Customization มากๆ เหมือนกับการตัดสูทให้พอดีตัวอย่างไรอย่างนั้นเลยครับ

เริ่มต้นด้วย Data-First Marketing Framework

สรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 4 Transfoming your Marketing Organization เปลี่ยนทีมการตลาดอย่างไรให้พร้อม Data-Driven Marketing

เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าอะไรจะเป็น Metrics ตัวชี้วัดการทำงานของการตลาดนับจากนี้ จากเดิมเคยต่างคนต่างกำหนด Goal เช่น Business บอกอยากได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ Marketing กลับเอาตัวเลข Website Traffic หรือ Organic Keywords มาให้ หรืออาจจะเอาตัวเลขการเติบโตของผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียและจำนวนยอดแชร์ แต่ไม่สามารถวัดผลสะท้อนได้ว่ามันเกี่ยวกับ Business Goal เราอย่างไร ดังนั้นหัวใจสำคัญของการทำ Data-Driven คือทุกทีมในองค์​กรต้องมากำหนดสิ่งนี้ด้วยกัน จะไม่ใช่แค่หน้าที่ของทีม Marketing คนเดียวอีกต่อไป

จากนั้นก็ปรับขั้นตอนวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่ใช้ Data-Driven Decision อย่างจริงจัง จะมาคิดว่าทำงานแบบเดิมก็ได้แล้วแค่ทำอะไรเพิ่มขึ้นนิดหน่อยอันนี้ถือว่าพลาดมหันต์ เพราะอย่างที่เห็นกันว่า Data-Driven เป็นเครื่องของ Fundamental ของธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและทำงานใหม่เกือบหมดตครับ

และระบบการเก็บ Data ขององค์กรก็ต้องถูกรื้อและวางระบบใหม่เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทำงานร่วมกันได้ ไม่ใช่ต่างคนต่างมี ต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างมีฟอร์แมทของตัวเอง ทำให้ถึงเวลาจะเอามาเชื่อมกันก็ยาก จะวิเคราะห์ให้เห็น Customer Insight ที่แท้จริงก็ลำบาก ดังนั้นการสร้าง Database ใหม่ของทั้งองค์กรจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ถ้าอยากจะเป็นองค์กรที่ Data-Driven Business ครับ

เราต้องหมั่นปลูกฝังคนในองค์กรให้มี Data Mindset ที่ดี ต้องวางแผนว่า Data แบบไหนที่เราต้องเก็บเพิ่ม เรากำลังวิเคาะห์เพื่อหาอะไรอยู่ ไปจนถึงเราต้องทำ Data Visualization อย่างไรเพื่อให้เข้าใจภาพรวมและสามารถให้คนอื่นในองค์กรเข้าใจเรื่องเดียวกับเราได้

และนี่เป็น 5 ขั้นตอนส่งท้ายของบทนี้สำหรับองค์กรที่อยากจะ Transformation ไปสู่การเป็น Data-Driven Business ครับ

5 ขั้นตอนที่จะ Transform ธุรกิจคุณไปสู่การ Data-Driven Business

1. Marketing และ Business ต้องกำหนด Metrics ตัวชี้วัดร่วมกันก่อนลงมือทำงานใด

เพราะเดิมทีต่างฝ่ายต่างกำหนด Metrics ตัวชี้วัดหรือ KPI ของตัวเองโดยไม่ได้ดูเลยว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นสอดคล้องกับทีมอื่น หรือสอดคล้องกับ Business Goal ในภาพรวมหรือไม่

ดังนั้นจุดเริ่มต้นของ Data-Driven Business คือการให้ทุกฝ่ายในองค์กรร่วมกันกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดออกมาให้ได้ก่อนจะลงมือทำงานใดทุกครั้งไป

2. Data Intrgration ข้อมูลทั้งหมดต้องเชื่อมโยงกันเพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุด

เดิมทีแต่ละทีมแต่ละฝ่ายมักจะมีระบบในการทำงานที่แตกต่างกัน ทีมขายก็อาจจะใช้ CRM ระบบนึง ทีมการตลาดก็อาจจะใช้แพลตฟอร์มยอดนิยมในการสื่อสาร ทีมบริการหลังการขายก็อาจจะใช้ระบบที่ทำงานร่วมกับทีม Operation มากกว่า ส่วนทีมการเงินไม่ต้องพูดถึงว่าใช้ระบบ ERP เป็นหลัก แต่ปัญหาคือระบบต่างๆ มักทำงานแยกกันทำให้ Customer data คนเดียวกันถูกเก็บไว้กระจัดกระจายไปทั่วองค์กร

ผลที่ตามมาคือทีมที่ต้องใช้ Customer Data มากที่สุดอย่างทีม Marketing กลับมาข้อมูลลูกค้าจริงให้ใช้น้อยมาก และกว่าจะขอเข้าถึงข้อมูลของทีมอื่นที่ไม่ใช่ทีมตัวเองได้ก็เต็มไปด้วยข้อห้าม และข้อจำกัดมากมาย บางครั้งก็แค่ไม่อยากจะเปิดเผยข้อมูลของทีมตัวเองให้ทีมอื่นรู้ด้วยซ้ำไปครับ

หลังจากกำหนดเป้าหมายร่วมกันแล้วในขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่สองก็ต้องเอาข้อมูลลูกค้าที่กระจัดกระจายมาเชื่อมโยงกันเพื่อเพิ่ม Value เมื่อจะทำ Data Analytics ในลำดับถัดมา ต้องมีการกำหนดร่วมกันว่าจะต้องใช้มาตรฐานใดในการเชื่อมต่อกันระหว่างหน่วยงาน

จะใช้ API แบบไหน จะใช้ Technology ได้ เอาง่ายๆ คือการจะต่อ Marketing Stack หรือ Technology Stack ต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกทีมไม่ใช่แค่งานของ IT ฝ่ายเดียวแบบเดิมอีกต่อไป

3. Data Analysis วิเคระห์อย่างไรให้ได้ Insight

เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงกันให้พร้อมวิเคราะห์เต็มประสิทธิภาพ ลำดับถัดมาคือการเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลหรือทำ Analytics เพียงแต่ว่าก่อนจะวิเคราะห์อะไรออกมาต้องคุยกันให้เรียบร้อยก่อนว่าตกลงแล้วเราอยากเห็นอะไร เหมือนกับการกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดก่อนเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบกับการจะขับรถไปไหนสักแห่งไม่ใช่แค่มีรถที่ดีพร้อมขับแล้วยังต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการเสียเวลาขับรถไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง

บอกตัวเองให้ได้ก่อนว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการวิเคระห์หา Insight ถ้าตอบได้ก็ลงมือทำ ถ้ายังก็ลองไตร่ตรองเป้าหมายให้ดีก่อนจะได้ไม่เป็นการเสียแรงเปล่าครับ

4. ทำอะไรต้องคิดถึง Data ก่อน

จากเดิมการจะตัดสินใจทำการตลาดหรือแคมเปญใดมักจะมาจากการวางแผนล่วงหน้าโดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัวหรือสัญชาติญาณเป็นหลัก แต่ถ้าเราจะเป็นองค์กรที่ใช้ Data-Driven Business แล้วเราจะต้องถามหาดาต้าเป็นอันดับแรก เราตัดสินใจจากดาต้าในการทำงานทุกวันหรือยัง เราจะสามารถใช้ดาต้ามาช่วยตัดสินใจเรื่องนี้ได้หรือไม่ และถ้าเราทำสิ่งนี้ไปเราจะเก็บดาต้ามาวัดผลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคตได้อย่างไร

ทั้งหมดนี้คือการสร้าง Data Mindset ในองค์กรว่าทำอะไรถามหาดาต้าเสมอ ถ้ามีต้องใช้ ถ้าไม่มีต้องคิดหาทางเก็บมาให้ได้

5. Culture-Driven Data

การจะเป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Business ให้ประสบความสำเร็จสิ่งสำคัญคือการสร้าง Culture Data Mindset ให้ได้ เริ่มตั้งแต่การจ้างคนที่มีความสามารถในด้านนี้เข้ามาเพิ่มขึ้น การรักษาคนที่มีความสามารถด้านดาต้าให้อยากทำงานกับเรามากกว่าที่อื่น และพัฒนาคนในองค์กรเราให้มีความสามารถในด้านนี้มากขึ้น

และทั้งหมดนี้ก็คือ 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้องค์กรคุณ Transform ไปสู่บริษัทที่เป็น Data-Driven Business ได้ครับ

สรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 3 Transforming Your Marketing Organization

บทนี้จะทำให้เราเห็นภาพอุปสรรคสำคัญที่องค์กรส่วนใหญ่มักเจอเมื่ออยากจะ Transform ไปสู่การเป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Marketing and Business เป็นประจำ

เริ่มจาก Mindset และ Perception ที่ต้องเข้าใจว่าการทำ Data ไม่เหมือนกับการทำ Marketing Campaign ที่ทำครั้งเดียวจบแล้วเห็นผลทันทีแบบการตลาดแบบเก่า แต่เป็นการทำสะสมและเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เจอแนวทางของตัวเอง จากนั้นก็ต้องปรับ Marketing Stack ให้เข้ากับวิธีการทำงานขององค์กรตัวเอง ไปจนถึงต้องปรับรูปแบบการทำงานที่เคยใช้มานานอาจจะต้องรื้อให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ

อ่านสรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 4 >​ Coming soon

อ่านสรุปตอนที่ 1 > คลิ๊ก

อ่านสรุปตอนที่ 2 > คลิ๊ก

อ่านสรุปบทที่ 1 > คลิ๊ก

อ่านสรุปบทที่ 2 > คลิ๊ก

หนังสือ Subscribed โมเดลธุรกิจพิชิตอนาคตเล่มนี้ขอยกให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่ผู้บริหารและนักธุรกิจทุกคนต้องอ่านครับ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจที่เป็นดิจิทัลหรือไม่ก็ตาม คุณต้องเริ่มคิดหาทางแล้วว่าเราจะสร้าง New Business Model อย่างไรที่จะลดรายได้จากการขายขาดไปสู่การให้บริการในรูปแบบสมาชิกหรือเช่าใช้งานแทน

เพราะปัญหาของธุรกิจส่วนใหญ่ในวันนี้คือได้แต่ยอดขาย แต่ไม่ได้รู้จักลูกค้าตัวจริงสักเท่าไหร่เลย เพราะสินค้าส่วนใหญ่มักขายผ่านตัวแทน ทำให้ตัวแทนหรือตัวกลางเป็นฝ่ายที่รู้จักลูกค้าของเราแทนที่จะเป็นเราทั้งนั้น

คิดง่ายๆ อย่าง Disney แม้แบรนด์นี้จะทำรายได้มากมายทั้งจากภาพยนต์ดังหรือของเล่นลิขสิทธิ์ต่างๆ แต่คนที่รู้จักลูกค้าของ Disney กลับเป็นโรงภาพยนต์ หรือร้านขายของเล่นตามศูนย์การค้า ที่ผ่านมา Disney รู้จักลูกค้าแค่โอกาสเดียวนั่นก็คือเมื่อลูกค้าเข้ามายัง Disneyland

ดังนั้นที่ผ่านมา Disney ได้เงินจากลูกค้ามากมายแต่กลับรู้จักลูกค้าน้อยมากเลยจริงๆ แต่โชคดีว่า Disney ไหวตัวทันในเรื่องนี้ เลยเปิด New Business Model ใหม่(แต่ตามคนอื่น) ออกมาเป็น Disney+

ซึ่ง Disney+ เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้ Disney ได้ติดต่อลูกค้าตรงโดยไม่ต้องผ่านใคร ทำให้ต่อไปนี้ Disney สามารถรู้ได้ว่าใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Mickey Mouse บ้าง หรือใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Iron man จริงๆ บ้าง และใครบ้างที่มาดู Agengers แล้วเป็นแฟนพันธุ์แท้ Iron man

Apple เองในวันนี้ก็ไม่ได้เน้นยอดขาย iPhone ใหม่มากนัก แต่พวกเขาไปเน้นธุรกิจ Subscribed ไม่ว่าจะ Apple TV หรือ Apple Music เพิ่มขึ้น เพราะวันนี้รายได้จาก App Store ลดลงอย่างมาก และแอปใหญ่ๆ จำนวนมากก็ไม่ได้ให้มีการตัดเงินผ่าน App Store อีกต่อไป

นั่นทำให้ Apple ขาดรายได้จากส่วนนี้ไปมหาศาล เพราะจากเดิมคนเคยแห่โหลดแอปใหม่ๆ กันตลอดและนั่นก็ทำให้ Apple ได้ส่วนแบ่ง 30% และส่วนแบ่งนี้ก็ยังรวมไปถึงการจ่ายเงินซื้อของผ่านแอปต่างๆ ก็จะไปเพิ่มรายได้ให้ Apple ตามไป

และนั่นเลยทำให้ Apple หันมาโฟกัสกับการสร้างรายได้จาก Subscription model หรือรูปแบบการสมัครสมาชิกมากขึ้น เพราะรายได้จากการสมัครสมาชิกจากลูกค้าเปรียบเสมือนกับรายได้ที่แม้จะไม่มากในระยะสั้นแต่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

ซึ่ง Subscription model ก็ส่งผลต่อ Retail หน้าร้านอย่างมาก จากเดิมหน้าร้านเคยมีไว้เพื่อขายสินค้าในทันที ทำให้พื้นที่ร้านค้าส่วนหนึ่งต้องเอามาใช้เพื่อ Stock สินค้าให้พร้อมขาย

แต่ในธุรกิจแบบ Subscribed เข้ามาเปลี่ยนหน้าร้านให้กลายเป็นโชว์รูมสินค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งถ้าลูกค้ามาลองแล้วชอบใจก็แค่กดสั่งซื้อผ่านออนไลน์แล้วสินค้าก็จะพร้อมส่งในวันเดียวกันแบบ Same Day Delivery ซึ่งนั่นก็ทำให้พื้นที่ร้านค้าต่อตารางฟุตสามารถทำเงินได้มากกว่าก่อน

แล้วธุรกิจแบบสมัครสมาชิกหรือจ่ายเพื่อใช้ชั่วคราวโดยไม่ได้เป็นเจ้าของยังสามารถเอาไปใช้กับธุรกิจอุปกรณ์ก่อสร้างหรือเครื่องมือช่างได้

Husqvarna ธุรกิจอายุกว่า 329 ปี ก็เริ่มทำ Startup แบบ Subscribed ได้

Husqvarna เปลี่ยน Business Model จากที่เคยขายสินค้าขาด ไปสู่เครื่องมือช่างแบบให้เช่าใช้รายเดือนง่ายๆ อยากได้ชิ้นไหนก็มาหยิบเอาไปใช้ แล้วถ้าชอบชิ้นไหนก็แค่ซื้อขาดเป็นของตัวเองได้เลย

หรือธุรกิจสื่อก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีรายได้จากโฆษณาเหมือนสื่อยุคก่อน พอธุรกิจสื่อต่างๆ ปรับรูปแบบเป็น Subscribed ก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโฆษณาต่อไป

และรูปแบบการรับเงินตรงจากผู้อ่านก็ทำให้สื่อเฉพาะกลุ่มที่เป็น Niche สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องง้อโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น Anime เฉพาะด้าน หรือการสมัครสมาชิกเพื่อชมกีฬาบางประเภทที่หาดูได้ยากผ่านออนไลน์ครับ

โมเดลธุรกิจแบบสมัครสมาชิก Subscribed ยังถูก Apply ใช้กับธุรกิจรถยนต์ได้

เดิมทีรถยนต์คือการซื้อขายขาด แต่ในวันนี้จากการสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่ GEN Z ในสหรัฐอเมริกาไปสอบใบขับขี่น้อยกว่าคนรุ่นก่อนมากครับ

เดิมทีวัยรุ่นทุกคนมักจะต้องสอบใบขับขี่เพื่อเตรียมไว้มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ในปี 1983 สัดส่วนของวัยรุ่น 20-24 ปี ที่มีใบขับขี่สูงถึง 92% แต่มาปี 2014 ตัวเลขนี้ลดลงเหลือแค่ 77% นั่นหมายความว่าคนรุ่นใหม่มองว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป และยิ่งมีแอปเรียกรถเมื่อต้องการใช้ได้อย่างสะดวกสบาย แล้วทำไมพวกเขาถึงต้องแบกภาระการจ่ายค่าผ่อนรถยนต์ทุกเดือนล่ะ

นั่นเลยทำให้ธุรกิจรถยนต์เริ่มผันตัวมาสู่ Business Model แบบ Subscribed ครับ

คุณสามารถใช้รถยนต์รุ่น Ioniq ของ Hyundai ที่เป็น Hybrid ได้เสมือนเป็นเจ้าของด้วยการจ่ายค่าสมาชิกเดือนละ 275 ดอลลาร์

แล้วทีนี้คุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ไม่ว่าจะค่าซ่อมบำรุงดูแลหรือประกัน เพราะทุกอย่างถูกรวมไว้ในค่าเช่าเรียบร้อยแล้ว

ส่วนถ้าเมื่อไหร่คุณเบื่อรถยนต์รุ่นนี้ก็แค่เลิกจ่ายค่าสมาชิก อารมณ์เหมือนเบื่อไม่อยากดู Netflix ก็กดยกเลิกใช้บริการได้ทันที

โมเดลธุรกิจแบบสมัครสมาชิกหรือ Subscribed ก็ยังถูกเอาไปใช้กับสายการบินได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Surf Air ธุรกิจ Startup ที่ให้คุณบินเท่าไหร่ก็ได้ต่อเดือนด้วยค่าสมาชิก 999-2,999 ดอลลาร์ เป็นการใช้เครื่องบินได้คุ้มค่ามาก บวกกับทำให้ธุรกิจสายการบินเดิมสามารถแพลนธุรกิจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะรู้ว่าเดือนหน้าจะมีรายได้ไหลเข้ามาเท่าไหร่

Insight จาก Data ของกลุ่มคนที่ชอบ Subscription model

ข้อมูลนี้น่าสนใจมากครับ เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้รู้ว่ากลุ่มคนที่สมัครสมาชิก Streaming อยู่แล้วมีแนวโน้มจะสมัครสมาชิกเพื่ออ่านคอนเทนต์สูงกว่ากลุ่มคนทั่วไปถึง 5 เท่า

ดังนั้นถ้าธุรกิจที่ทำแบบ Subscribtion model ลองหาวิธีเข้าไปยังกลุ่มคนที่ดู Netflix หรือจ่ายเงินดู YouTube Premium นะครับ น่าจะดีกว่าหว่านออกไปหาใครก็ได้ไม่มากก็น้อย

Adobe เองยอมทิ้งธุรกิจเก่าขาย Software ขาดมาสู่การสมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนที่ถูกกว่าเดิมมาก

นี่น่าจะเป็น Case study การทำ Digital Transformation ขององค์กรขนาดใหญ่ที่ใครอยากเปลี่ยนให้ได้ควรศึกษาไว้ เพราะเดิมที Adobe มีรายได้หลักมาจากการขายโปรแกรมใหม่ๆ ที่มักออกทุกสองปีในราคาหลายหมื่นบาท

พอขายเสร็จแล้วก็ได้หยุดพักแปบนึง จากนั้นก็ไปวิ่งวุ่นกับการพัฒนาโปรแกรมใหม่ให้ดีกว่าเดิมมาก เจ๋งกว่าเดิมมาก เพราะถ้าเปลี่ยนเลขเวอร์ชั่นใหม่แต่ไม่มีอะไรอัพเดท ก็ยากที่จะทำให้ลูกค้าเก่ายอมจ่ายเงินเพื่อซื้อเวอร์ชั่นใหม่ได้

เมื่อ Adobe เริ่มเห็นลู่ทางในการทำธุรกิจแบบ Subscribed ก็เลยใช้วิธีเปิดการจ่ายเงินรูปแบบใหม่คู่กับเก่า ในช่วงแรกก็ถูกคนเก่าแก่ในองค์กรดูถูกว่าธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้ทำเงินเป็นกอบเป็นกำเหมือนการขายซอร์ฟแวร์ขาดจะสามารถทำให้ Adobe มีกำไรหรือมีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

แต่ถึงจุดหนึ่ง CEO ของ Adobe เองก็เริ่มประกาศคำขาด ด้วยการแถลงข่าวบอกลูกค้าว่าปีนี้จะเป็นปีสุดท้ายที่ลูกค้าจะสามารถซื้อซอร์ฟแวร์แบบซื้อขาดจาก Adobe ได้

เพราะหลังจากนี้ใครจะใช้ Adobe จะต้องอยู่ในรูปแบบสมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนเท่านั้น แม้ช่วงแรกราคาหุ้น Adobe จะตกลงไปบ้าง แต่หลังจากนั้นไม่นาน Adobe ก็ทำสถิติมูลค่าหุ้น New High ใหม่ได้จนหลายธุรกิจต้องเหลียวมอง

ลองมาดูธุรกิจแบบ B2B ที่เพิ่ม Business Model ใหม่เข้าไปสู่ Subscribed เพื่อ Service

GE เปิดเทคโนโลยี Digital Twin พร้อมบริการ Predix ที่สามารถบอกได้ว่าเครื่องยนต์ไอพ่นตัวไหนกำลังจะเสีย เพื่อจะได้ทำการเปลี่ยนอะไรหรือซ่อมแซมก่อนที่จะเสียหายหนักจนต้องหยุดบิน

เพราะเครื่องบินจะทำเงินได้ก็ต่อเมื่ออยู่บนท้องฟ้า ดังนั้นถ้าเมื่อไหร่เครื่องนบินไม่สามารถบินได้นั่นหมายถึงกำลังมีเงินไหลออกไปเรื่อยๆ ทุกนาทีครับ

บริการ Predix ด้วยเทคโนโลยี Digital Twin ของ GE สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำจากอุปกรณ์ IoT หรือ Sensor ต่างๆ ที่ติดเอาไว้ในทุกส่วนของเครื่องนบินไอพ่น

จากนั้นทุกครั้งที่เครื่องยนต์จริงทำงาน ก็จะมีคู่แฝดที่ได้ข้อมูลเดียวกันของเครื่องยนต์นั้นทำงานแบบจำลองอยู่ในหน้าจอหรือดิจิทัลนั่นเองครับ

เมื่อเครื่องยนต์จำลองในหน้าจอได้รับข้อมูลเดียวกัน จำลองสภาพการทำงานเหมือนกัน ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน ก็ทำให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าอะไหล่ชิ้นไหนน่าจะเสียเมื่อไหร่จากสภาพการใช้งานแบบนี้ ทำให้ทีมช่างสามารถเข้าไปซ่อมแซมแก้ไขเรื่องเล็กไม่ให้ใหญ่ ไม่ต้องให้เครื่องบินใดต้องหยุดบินเสียเวลาซ่อมเหมือนก่อนอีกต่อไป

จากเดิมที่ GE เคยขายแค่เครื่องยนต์ไอพ่นในเครื่องบิน ทีนี้ก็สามารถขายบริการดูแลแบบสมัครสมาชิกให้ลูกค้า เพื่อเริ่มรายได้ให้องค์กรแบบยาวๆ

และข้อดีที่สุดของโมเดลธุรกิจแบบ Subscribed ก็คือการที่เราจะได้ Data จากลูกค้าตรงโดยไม่ต้องผ่านใคร

และจาก Data เหล่านั้นแหละครับก็ทำให้เราสามารถปรับแต่งสินค้าหรือสร้างบริการใหม่ๆ ให้ตรงกับใจหรือพฤติกรรมจริงของลูกค้าเรามากขึ้น

เหมือนที่ Netflix ทำซีรีส์เรื่อง House of Card ที่มาจากข้อมูลพฤติกรรมการดูของสมาชิกทุกคนแล้วเอามาวิเคราะห์หาว่า หนังแนวไหนที่คนชอบ ความยาวน่าจะเท่าไหร่กำลังดี แล้วนักแสดงแบบไหนที่คนชอบดู ไปจนถึงผู้กำกับคนไหน จากนั้นก็เอามาวิเคราะห์ออกเป็นแกนเรื่องของซีรีส์ใหม่ที่ถูกใจลูกค้า Netflix มาก นั่นก็คือ House of Card ที่ทำให้ลูกค้าเก่าติด Netflix งอมแงม และก็ได้ลูกค้าใหม่ที่เข้ามาสมัครสมาชิกเพื่อดูซีรีส์เรื่องนี้นี่แหละครับ

สิ่งสำคัญที่คุณจะได้จากการทำธุรกิจแบบ Subscribed คือ Customer id หรือคุณสามารถติดตามข้อมูลลูกค้าแต่ละคนได้อย่างแม่นยำกว่าตอนยังขายผ่านตัวกลางวันวาน ร้านกาแฟสตาร์บั๊คสามารถรู้ว่าลูกค้าคนนี้เคยกินกาแฟมากี่แก้วในเดือนที่ผ่านมา กินในช่วงเวลาไหนบ่อยๆ แวะไปสาขาไหนบ้างในแต่ละวัน ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ Starbucks สามารถรู้ได้ล่วงหน้าจาก Customer id ที่แทนตัวคุณว่าถ้าทุกเช้าคุณมากินกาแฟที่นี่เป็นประจำ ดังนั้นพรุ่งนี้ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดซึ่งยากมากคุณก็น่าจะมีใช้เงินกับ Starbucks นั่นเอง

โลกธุรกิจยุคเก่าเติบโตได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ขายให้มากขึ้น เพิ่มราคา และลดต้นทุน แต่โลกธุรกิจยุคใหม่แบบ Subscribed นั้นต่างออกไปมาก เพราะธุรกิจจะเติบโตได้จาก ดึงดูดลูกค้าให้มากขึ้น เพิ่มคุณค่าของสินค้าหรือบริการ แล้วก็ทำให้ลูกค้าอยู่กับเราให้นานที่สุด

และนี่ก็คือสรุปหนังสือ Subscribed โมเดลธุรกิจพิชิตอนาคตที่อยากให้ทุกคนได้อ่านกัน ไม่ว่านักการตลาดจะอ่านเพื่อหาไอเดียใหม่ๆ หรือเจ้าของธุรกิจเผื่อว่าจะเจอทางรอดใหม่ของธุรกิจตัวเองที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน

เมื่อการสมัครสมาชิกทำให้ธุรกิจรู้ล่วงหน้าได้ยาวๆ เลยว่าเราจะมีเงินเข้ามาถึงเมื่อไหร่ และเป็นจำนวนเท่าไหร่ ผิดกับธุรกิจเดิมที่ต้องคอยลุ้นว่ายอดขายเดือนไหนจะมา หรือถ้าปล่อยสินค้าใหม่ออกไปแล้วจะทำรายได้เท่าที่ตั้งใจไว้มั้ย

แต่การทำธุรกิจโมเดล Subscribed นั้นก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่อ่าน เพราะคุณต้องคอยพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้ลูกค้าไม่อยากยกเลิกการสมัครสมาชิกกับคุณนั่นเอง

นี่เป็นหนังสือที่ดีมากอีกหนึ่งเล่มในปีนี้ ที่กล้าแนะนำให้เพื่อนทุกคนลองแวะไปร้านหนังสือแล้วหยิบมาเปิดอ่านดูสักบท ผมเชื่อว่าคุณจะชอบเหมือนที่ผมชอบครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 42 ของปี 2020

สรุปหนังสือ Subscribed โมเดลธุรกิจพิชิตอนาคต เมื่อ Subscription Model กำลังเข้ามาเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจใหม่ เขียนโดย Tien Tzuo ผู้เป็น CEO Zuora

สรุปหนังสือ Subscribed
โมเดลธุรกิจพิชิตอนาคต
Tien Tzuo ผู้ก่อตั้ง Zuora และ Gabe Weisert เขียน
อมรเทพ ผันสิน และ ธนกร นำรับพร แปล
สำนักพิมพ์ LIVE RICH

20201029

สนใจสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ > https://bit.ly/366a6av

อ่านสรุปหนังสือแนว Business ดีๆ ในอ่านแล้วเล่าต่อ > https://www.summaread.net/category/business/

สรุปหนังสือ Human + Machine คนกับ AI โอกาสและความเสี่ยง ที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะเล่มก่อนหน้าคือ การปฏิวัติคอนเทนต์(Content & Creativity)ในยุคแห่ง AI พออ่านปุ๊บแล้วรู้สึกว่าอยากหาหนังสือ AI ที่เขียนด้วยภาษาชาวบ้านมาอ่านต่อ และก็เจอว่าชั้นหนังสือที่บ้านมีเล่มนี้ดองไว้นานแล้วพอดีครับ

ก็เลยถือโอกาสหยิบมาอ่านต่อซะ เผื่อว่าจะได้ความรู้ความเข้าใจถึงแง่มุมของการนำ AI ไปใช้กับธุรกิจด้านต่างๆ และก็ถือว่าไม่ผิดหวังเพราะหนังสือเล่มนี้เขียนให้เห็นภาพการนำ AI ไปใช้งานการทำธุรกิจ การทำงาน ที่สะท้อนไปถึงการตลาดในชีวิตประจำวันให้เข้าใจได้ง่ายๆ ให้รู้ว่าตอนนี้โลกกำลังจะไปทางไหน ส่วนคนที่เค้าเอา AI ไปใช้แล้วเค้าไปถึงไหนกันแล้วด้วยครับ

หนังสือ Human + Machine คนกับ AI เล่มนี้บอกให้รู้ว่ากุญแจสำคัญที่จะทำให้เขาใจผลกระทบของ AI ในปัจจุบัน และในอนาคต คือการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการธุรกิจนั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคือ AI หรือ Machine จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ให้หมดไป แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นอีกแง่มุมหนึ่งคือจะเกิดงานใหม่ๆ ที่มนุษย์ต้องทำงานกับ AI ให้ได้จำนวนมาก เปรียบเสมือนกับตอนคอมพิวเตอร์เพิ่งเข้ามาในชีวิตประจำวัน แล้วเราก็เห็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการรับคนเข้าทำงานคือต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรม Microsoft Office เป็นนั่นเอง

แล้วพอนานวันเข้าคุณสมบัติเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกระบุเข้าไปยัง Job description งานอีกต่อไป เพราะมันกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เปรียบเสมือนสามารถอัปโหลดรูปลง Facebook เข้า YouTube เป็น และก็ส่ง Sticker LINE ได้นั่นเองครับ

ที่น่าสนใจคือเราเคยได้ยินคำว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” โดย Big Data, Machine learning หรือ AI มาก่อนใช่ไหมครับ แต่หนังสือเล่มนี้บอกว่าพอ AI เข้ามาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจทั้งหมดที่เรียกว่า “คลื่นลูกที่สามของกระบวนการธุรกิจ”

คลื่นลูกที่สามของกระบวนการธุรกิจ

หนังสือเล่มนี้บอกว่าคลื่นลูกแรกของการปรับเปลี่ยนธุรกิจคือ การสร้างกระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน Standardized process ซึ่งก็คือระบบสายพานการผลิตนั่นเองครับ เดิมทีของทุกอย่างต้องทำทีละชิ้น ทำโดยคนหนึ่งคนตั้งแต่ต้นจนจบ แต่พอระบบสายพานการผลิตเข้ามาก็ทำให้หนึ่งคนทำแค่หนึ่งอย่างให้เชี่ยวชาญ แล้วก็ส่งงานลำดับต่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญอีกคนแทน

ทำให้คนเราสามารถเก่งขึ้นได้เร็วมาก และการผลิตก็เป็นไปอย่างมีมาตรฐานที่ทำให้สินค้าทุกชิ้นออกมาดีเหมือนกันโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาแบบเดิม และผู้ที่นำระบบนี้เข้ามาปฏิวัติการทำธุรกิจก็คือ Henry Ford ที่เดิมทีการผลิตรถหนึ่งคันต้องใช้ช่างฝีมือมากประสบการณ์ ใช้เวลาในการทำนานมาก เพราะต้องทำตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตัวคนเดียว แถมยังมีราคาแพงอีกด้วย

แต่พอระบบสายพานการผลิตเข้ามาก็ทำให้การผลิตรถหนึ่งคันนั้นทั้งรวดเร็วและออกมามีมาตรฐานเดียวกันหมด ทำให้รถยนต์กลายเป็นประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้นั่นเองครับ

ส่วนคลื่นลูกที่สองของการปรับเปลี่ยนธุรกิจคือ ระบบอัตโนมัติ

เริ่มต้นในทศวรรษ 1970 และเฟื่องฟูอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980 ที่ยกเครื่องการทำงานหรือที่เรียกว่า Re-engineering นั่นเองครับ

ซึ่งการทำ Re-engineering ได้ก็มาจากความก้าวหน้าของ IT อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และ Software ต่างๆ ที่เปลี่ยนระบบเดิมที่เคยเป็นกระดาษหรือแยกออกจากกัน ให้สามารถเอามารวมกันไว้ในที่เดียวได้โดยง่าย ตัวอย่างที่เอาไปใช้แล้วประสบความสำเร็จก็อย่างเช่น Wallmart ที่ปรับรูปแบบการทำธุรกิจค้าปลีกใหม่หมดด้วยการตั้งราคาเดียวได้ทั่วประเทศ หรือสามารถเปลี่ยนแปลงราคาได้จากสำนักงานใหญ่แล้วกระจายออกไปทั่วประเทศเช่นกัน

และก็มาถึงคลื่นลูกที่สามของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ นั่นก็คือ Automation

คลื่นลูกที่สามของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ คือ กระบวนการธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งก็น่าจะเรียกว่า Automation ได้มั้งครับ

คลื่นลูกนี้เกิดมาจากเมื่อระบบประมวลผลก้าวหน้าอย่างมากในวันนี้ เรามี Data มากมายจนคำว่า Big อาจดูน้อยไป และสุดท้ายคือการทำงานของ AI ที่มีมานานสามารถใช้งานได้จริงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแล้วเสียที

แล้วยิ่งข้อมูลในระดับ Big Data ซึ่งไหลเข้ามาแบบ Real-time นั้น ก็ทำให้ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้รวดเร็วและแม่นยำกว่า สามารถทิ้งห่างคู่แข่งไปได้สบายๆ

และนั่นก็หมายความว่าระบบการทำงานแบบเดิมที่อาศัยการวางแผนนานๆ ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เพราะเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาก็ต้องเกิดการปรับเปลี่ยนแผนงานหรือการทำธุรกิจต่างๆ แทบจะรายวันหรือบางครั้งอาจถึงรายนาทีครับ

นั่นทำให้ 5 Years Plan ที่ธุรกิจชอบทำนั้นไม่สำคัญอีกต่อไป หรือแม้แต่ Year plan​ ธรรมดาก็อาจต้องรื้อทิ้งใหม่เมื่อเจอข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น COVID-19 ที่เข้ามา Disrupt โลกทั้งใบแบบยิ่งกว่า AI หรือ Internet ครับ

ดังนั้นจะเห็นว่าธุรกิจในยุคนี้ต้องปรับตัวเร็วมาก และการจะปรับตัวได้เร็วมากขนาดนั้นก็ต้องมีระบบ Automation ที่ดี หรือมี AI ที่ต้องสามารถทำงานร่วมกันได้แบบเพื่อนที่รู้ใจนั่นเอง

Waze หรือ Google Maps ตัวอย่างสินค้าที่เป็น Automation

Waze ระบบนำทางอัตโนมัติของประเทศอิสราเอลที่ถูก Google ซื้อไปแล้วนำไปใช้กับ Google Maps ด้วยราคากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเคสตัวอย่างการทำให้เข้าใจภาพการทำ Transformation ของธุรกิจหรือสินค้าที่เข้าใจได้ง่ายจริงๆ

ต้องบอกว่าเดิมทีเวลาเราจะไปยังพื้นที่ๆ ไม่คุ้นเคยเลยต้องใช้แผนที่ใช่มั้ยครับ จากนั้นเมื่อ Digital เข้ามาแผนที่ถูกทำให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่สามารถเปิดดูได้จากหน้าจอต่างๆ

และนั่นยังไม่ใช่ Digital business หรือ Digital product ที่แท้จริง เพราะมันก็เป็นแค่การแปลงคุณสมบัติจากมีตัวตนให้กลายเป็นไม่มีตัวตน แต่วิธีการใช้งานยังคงเป็นแบบเดิม

แต่ Waze นั้นพลิกมุมใหม่ ด้วยการเปลี่ยนจากแผนที่ธรรมดาเป็นระบบนำทางอัตโนมัติ ที่สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางให้ดีที่สุดตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานตั้งไว้ เช่น จะไปถึงให้เร็วที่สุด หรือจะไปด้วยระยะทางสั้นที่สุด หรือจะหลีกเลี่ยงทางด่วน หรืออะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นจะเห็นว่าจากแผนที่ไม่ใช่แค่แผนที่อีกต่อไป แต่เป็นการนำทางจากจุดหมายหนึ่งบนแผนที่ไปสู่อีกจุดหมายถึงบนแผนที่นั่นเองครับ

ดังนั้นถามตัวเองให้ดีว่า เราทำธุรกิจแบบดิจิทัลจริงๆ หรือเราเอาแค่สิ่งเดิมๆ มาเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลและก็กลับไปทำงานแบบเดิมอยู่กันแน่

หรืออีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่ผมชอบมาก นั่นก็คือ GE จากบริษัทขายสินค้า กลายเป็นขายบริการด้วย AI

เมื่อยุค Big Data ก้าวเข้ามา GE ก็เลยสร้าง Digital Twin และนำมาสู่บริการ Predix ที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าก่อนต้องซ่อม

อีกหนึ่งเคสการทำ Digital Transformation ของธุรกิจที่ผมชอบมากก็คือ GE หรือบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราคุ้นเคย แต่ความจริงแล้วบางคนอาจไม่รู้ว่าบริษัท GE นี่ผลิตของสำคัญและใหญ่มากๆ อย่างกังหันลมอันยักษ์ที่ใช้ผลิตไฟฟ้า หรือแม้แต่เครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินก็ตามครับ

เดิมที GE ก็เป็นผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และก็มีบริการส่งช่างไปซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด แต่รู้มั้ยครับว่าหลายครั้งชิ้นส่วนเหล่านั้นยังไม่ได้ใกล้เคียงที่จะเสียหาย ก็ทำให้ส่งช่างไปฟรีมากมาย เป็นค่าใช้จ่ายก็ไม่น้อย หรือหลายครั้งก็มีอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันทำให้เกิดการเสียหาย ทำให้ลูกค้าต้องเสียงานส่วนทาง GE เองก็ต้องรีบจัดหาช่างหรือทีมงานไปดำเนินการแก้ไขให้ไว

นึกภาพง่ายๆ เหมือนกำหนดระยะเวลาการซ่อมบำรุงรถยนต์ของเราตามระยะทาง หรือระยะเวลาการซ่อมบำรุงลิฟต์ตามระยะเวลารายเดือนนั่นแหละครับ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วรถบางคันอาจต้องการการซ่อมบำรุงที่เร็วกว่าในบางช่วง เพราะอาจเพิ่งไปรับงานหนักมาก หรือรถบางคันอาจแทบไม่ต้องซ่อมแซมเลยก็ได้ เพราะเจ้าของขับดีมากตลอด

และด้วยยุค Big data, Cloud computing บวกกับ AI ทำให้ทั้งหมดนี้เปลี่ยนธุรกิจ GE ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Digital Twin หรือการเอาข้อมูลจากเซนเซอร์ต่างๆ ของอุปกรณ์ต่างๆ มาวิเคราะห์และจำลองสถานการณ์จริงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นใกล้จะเสียหายแล้วหรือยัง หรือมีอะไรที่ผิดปกติที่ควรรีบส่งช่างเข้าไปดูก่อนจะเสียหายหนักหรือไม่ และจาก Digital Twin ก็ทำให้ GE เกิดธุรกิจใหม่ที่ชื่อว่า Predix หรือที่เป็นการพ้องเสียงมาจาก Predict ที่หมายถึงการคาดการณ์อนาคตล่วงหน้านั่นเองครับ

ไว้มีโอกาสจะทำการบ้านหาข้อมูลมาเพิ่มและเล่าให้ฟังต่อในเพจการตลาดวันละตอน ผมว่าเรื่องนี้นักการตลาดยุคใหม่ในยุค Data ควรต้องรู้ไว้เพราะสามารถเอาแนวคิดนี้ไปต่อยอดได้มากมาย

และยังมีอีกหลายแง่มุมในการเอา AI ไปใช้ช่วยในการทำงานต่างๆ ให้ง่ายขึ้นเสมือนตอนเราเริ่มเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงานนั่นเอง

AI ช่วยให้เราได้ทำงานสมกับเป็นมนุษย์มากขึ้นที่ Virgin Trains

เมื่อมีลูกค้ามากก็ย่อมมีข้อร้องเรียนมากมายตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจากจดหมาย อีเมล หรือข้อความบนโซเชียลมีเดียใดๆ ก็ตามที่ Virgin Trains ได้รับในแต่ละวันก็ช่างมากมายมหาศาลเสียเหลือเกิน ส่งผลให้พนักงานต้องจมอยู่กับกองข้อความซ้ำซากมหาศาล เพื่อคอยคัดและตอบกลับ รวมถึงค้นหาข้อร้องเรียนที่สำคัญจริงๆ ออกมาแก้ไขให้ทันที

ดังนั้นงานแบบรูทีนของพนักงานก็คือการคัดแยกจดหมายหรือข้อความมากมาย จนทำให้มีเวลาที่ได้บริการลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจจริงๆ น้อยมากครับ

แต่เมื่อ Virgin Trains เอา AI มาช่วยพนักงานในการคัดแยกข้อความออกมาและจัดการตอบกลับปัญหาง่ายๆ หรือข้อสงสัยสักถามที่ไม่ซับซ้อนออกไป ก็ส่งผลให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และนั่นก็ส่งผลให้พนักงานสามารถใช้เวลาในการดูแลพูดคุยกับลูกค้าจริงๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าประทับใจกับ Virgin Trains เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เป็นอย่างไรครับกับตัวอย่างการทำงานร่วมกับ AI ที่ส่งผลให้มนุษย์เราได้ทำงานสมกับที่เป็นมนุษย์จริงๆ

AI กับ Marketing ช่วยให้รู้ว่าต้องเตรียมพนักงานแบบไหนในช่วงเวลาใดถึงจะเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี

เดิมทีร้านค้าปลีกไม่เคยรู้ในรายละเอียดของลูกค้าในร้านเท่าไหร่นัก แต่รู้มั้ยครับพอมีแบรนด์แฟชั่นร้านนึงเอา AI มาช่วยในการจำแนกใบหน้าลูกค้าออกมาว่าลูกค้าแบบไหนเข้ามาในช่วงเวลาใดเป็นจำนวนเท่าไหร่ ก็ส่งผลให้แผนก Marketing และ Operation รู้ว่าร้านตัวเองมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเยอะมากในช่วงบ่ายของบางวัน นั่นก็เลยทำให้ทางร้านเตรียมพนักงานที่สามารถพูดภาษาจีนได้ดีเข้ามาเสริมในช่วงเวลานั้น ส่งผลให้พนักงานเดิมที่พูดไม่ได้สามารถให้บริการลูกค้าทั่วไปได้อย่างสบายใจเพราะไม่ต้องอึดอัดเรื่องภาษา ส่วนยอดขายจากลูกค้าชาวจีนก็เพิ่มสูงขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ

เมื่อ AI ทำให้ Chatbot กลายเป็น Brand Ambassador

ประเด็นการเอา AI มาใช้กับ Chatbot ข้อนี้ก็น่าสนใจครับ หนังสือ Human & Machine หรือ คนกับ AI ฉายภาพให้เห็นว่าทุกวันนี้หลายแบรนด์ชั้นนำเริ่มพัฒนาระบบการ Chat ตอบโต้อัตโนมัติหรือ Chatbot ของแบรนด์ตัวเองให้กลายเป็นการสร้าง Brand Experience ที่ดีไปพร้อมกัน

ดังนั้น Chatbot จะไม่ใช่แค่ Chatbot ที่ถามตอบ แต่จะกลายเป็น Chatbrand ที่ธุรกิจจะต้องคิดมากขึ้นว่าจะให้ Chatbot ตัวเองมีคาแรคเตอร์อย่างไร ให้เป็นชาย หญิง หรือไม่มีเพศ ให้คุยติดตลกหรือกวนๆ หรือออกแนวสุภาพผู้ใหญ่ จะให้ใช้สติกเกอร์ตอบโต้มั้ยหรือจะเอาแค่ตัวหนังสือที่ดูเป็นทางการ ดังนั้นเมื่อ AI ใน Chatbot ก้าวหน้า ธุรกิจก็ต้องคิดแล้วว่าจะสร้างแบรนด์ผ่าน Chatbot อย่างไรครับ

AI อาจย่อมาจาก Assistant Intelligence แทน Artificial Intelligence สำหรับธุรกิจ

เพราะเมื่อ AI ก้าวเข้ามาเอางานรูทีนซ้ำซากที่คนเราเบื่อออกไป ทำให้คนเราสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ซึ่งการทำงานร่วมกับ AI ในอนาคตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ AI จะกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในชีวิตประจำวันเหมือนโทรศัพท์มือถือในท้ายที่สุด และนั่นก็ก่อให้เกิดคำที่เรียกว่า Cobot หรือการทำงานร่วมกับ AI จะกลายเป็นทักษะสำคัญของคนทำงานในยุคใหม่ที่เริ่มขึ้นแล้ว

เพราะแม้ AI จะเก่งกว่าคน แต่เมื่อคนและ AI ร่วมมือกันก็ทำให้ยากที่ใครจะต้านทาน เหมือนกับเก้าอี้ Elbo chair ที่นอกจากดีไซน์สะดุดตายังมีทนทานและใช้วัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก นี่คือตัวอย่างผลการร่วมกันระหว่างมนุษย์กับ AI ที่ถ้ามนุษย์ตัวคนเดียวคงไม่อาจทำได้ และถ้าจะใช้แค่ AI อย่างเดียวก็ยากที่จะทำได้เหมือนกัน

หรือที่โรงงานผลิตรถเบนนซ์ในประเทศเยอรมนีก็เริ่มทำแบบเดียวกัน เดิมทีที่เอาหุ่นยนต์มากมายมาช่วยในการผลิตให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่มาวันนี้พวกเขาเริ่มวางแผนเอาหุ่นยนต์ออกเอาและเอาพนักงานที่เป็นคนกลับมาเป็นศูนย์กลางการผลิตมากขึ้น โดยพวกเขาวางแผนให้หุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์การรับรู้มนุษย์รอบตัวมาช่วยผลิตรถยนต์แทน

เพราะเมื่อเบนซ์อยากจะต่างด้วยการผลิตตามออเดอร์ที่มีความ Personalized มากขึ้นก็ส่งผลให้หุ่นยนต์แบบเดิมไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นั่นคือช่วงเวลาที่มนุษย์ต้องก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ และก็ต้องได้หุ่นยนต์ AI เข้ามาช่วยทำตามคำสั่งเชื่อมโน่น ประกอบนี่ ติดนั่น ให้รถหนึ่งคันสามารถทำแบบ Personalized ได้ครับ

Facebook เปลี่ยนวิธีการบริหารจัดเก็บ Data ได้มีประสิทธิภาพก็ด้วย AI

รู้มั้ยครับว่าข้อมูลมากมายที่เกิดขึ้นบน Facebook นั้นไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้เหมือนกันหมด เพราะถ้าทำแบบนั้น Facebook ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล แต่ด้วยการนำเอา Machine หรือ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ดูว่าควรจะจัดการตรงนี้อย่างไร ทาง Facebook ก็เลยค้นพบว่ามีข้อมูลแค่ 8% เท่านั้นที่มีความสำคัญถูกเรียกใช้บ่อยถึง 82%

และนั่นก็ทำให้ Facebook ออกแบบ Solution การเก็บข้อมูลที่ช่วยประหยัดต้นทุนและยังคงเต็มไปด้วยประสิทธิภาพมากมาย เป็นอย่างไรครับกับการเอา AI มาช่วยธุรกิจที่มี Data เป็นหัวใจสำคัญอย่าง Facebook

สรุปส่งท้ายหนังสือคนกับ AI หัวใจคือ Culture ไม่ใช่ Technology

บางบริษัทมักเข้าใจผิดว่าการจะทำ Digital Transformation หรือการจะเอา AI มาใช้ต้องหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดใส่เข้าไปแล้วมันก็จะเวิร์คเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเริ่มที่ Mindset หรือ Culture ของคนในองค์กรครับ เริ่มจากการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ที่ห่างไกลจาก Culture เดิม

เหมือนที่ Walmart สร้างส่วนที่เรียกว่า Store No.8 ที่เป็นเหมือนยูนิตสตาร์ทอัพในองค์กรใหญ่ที่ไม่ต้องขึ้นเกี่ยวกับองค์กรเดิมและยังสามารถทำอะไรก็ได้

และสุดท้ายปัญหาของการเอา AI มาใช้ในธุรกิจไม่ใช่การทำให้ตำแหน่งงานเดิมหายไป แต่อีกปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือการขาดคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อธุรกิจนั่นเองครับ

ดังนั้นทักษะใหม่ๆ เหล่านี้ใครเข้าใจได้ดีกว่าและเรียนรู้ได้เร็วก่อนเพื่อน คุณก็มีโอกาสจะกลายเป็นคนสำคัญในอนาคตที่เกิดขึ้นแล้ววันนี้

ถ้าจะบอกว่า AI ทำให้คนตกงานนั่นก็จริง แต่ที่จริงไม่แพ้กันคืองานใหม่ๆ ที่ต้องทำกับ AI นั้นก็หาคนมาทำได้ยากเหลือเกิน คำถามคือ..คุณทำได้ก่อนคนอื่นแล้วหรือยังถ้าจะไปต่อในโลกยุค AI

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 31 ของปี 2020

สรุปหนังสือ Human + Machine คนกับ AI โอกาสและความเสี่ยง คนจะตกงานเพราะ AI จริง หรือ AI ขาดคนที่มีความสามารถมาทำงานด้วยกันแน่

สรุปหนังสือ Human + Machine คนกับ AI โอกาสและความเสี่ยง
เตรียมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4
Paul R. Daugherty และ H.James Wilson เขียน
ขุนทอง ลอเสรีวานิช แปลและเรียบเรียง
สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์

20200816

อ่านสรุปหนังสือแนว AI ต่อ > https://www.summaread.net/category/ai/

สั่งซื้อออนไลน์ > https://www.naiin.com/product/detail/477137

หนังสือ Driving Digital Strategy หรือชื่อไทยเปลี่ยนให้โต Go! ให้สุด ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัลเล่มนี้เป็นหนังสือการทำ Digital Transformation ที่ดีมาก แม้ชื่ออาจจะดูเหมือนพูดถึงแค่เรื่องการตลาด แต่ความจริงแล้วเป็นการบอกแนวทางการเปลี่ยนธุรกิจให้กลายเป็น Digital Business ครับ

สรุปหนังสือ Driving Digital Strategy เปลี่ยนให้โต Go ให้สุด ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล

ซึ่งแกนหลักของเนื้อหาคือภาพนี้ ที่บอกให้รู้ว่าการจะเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลหรือโลกปัจจุบันได้ต้องมี 4 Re Strategy

  1. Re-Imagine Business หรือคิดถึงรูปแบบธุรกิจคุณใหม่ ตั้งแต่จริงๆ แล้วคุณอยู่ในธุรกิจอะไรกันแน่ ลูกค้ายอมจ่ายเงินให้คุณเพราะะไร คุณต้องอย่าโฟกัสแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คุณมี แต่ต้องสร้าง Ecosystem ของทั้งธุรกิจขึ้นมา แล้วก็ต้องเริ่มคิดถึง Business Model ใหม่ๆ จากเคยขายสินค้าอาจต้องปรับเป็นให้เช่าแทน
  2. Re-Evaluate Value Chain คิดถึงห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จากเดิมที่ต้องคิดนวัตกรรมใหม่ๆ จาก R&D ภายในองค์กร แต่ธุรกิจที่จะเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลได้นั้นต้องเปิดรับนวัตกรรมจากภายใน เปลี่ยนจาก R&D มาเป็น C&D ย่อมาจาก Connection & Development หรือที่เรียกว่า Crowdsourcing ที่เป็นการเปิดระดมสมองขอไอเดียจากคนภายนอกองค์กรเข้ามา และก็ต้องคิดถึงการบริการจัดการลูกค้าแบบใหม่ๆ รวมไปถึงการจัดส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าด้วยมุมมองใหม่ๆ ด้วย
  3. Reconnect with Customers หัวข้อนี้น่าสนใจมาก คือบอกให้รู้ว่า Digital Business ต้องคิดถึง Customer Journey ในรูปแบบใหม่แบบสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยน Data ระหว่างกัน และก็เปลี่ยนการมีส่วนร่วมของลูกค้าไปแบบที่รื้อความคิดแบบเดิมๆ ออกไปหมดสิ้น
  4. Rebuild Organization คิดถึงรูปแบบองค์กรใหม่ๆ โครงสร้างทีมงานแบบเดิมไม่ได้ตอบโจทย์ธุรกิจที่จะเน้นดิจิทัลอีกต่อไป ความสามารถแบบไหนที่ตัวองค์กรและพนักงานควรมี ไปจนถึงเราจะทำให้พนักงานของเราเก่งขึ้นเรื่อยๆ ได้อย่างไร เพราะนี่คือโลกใบใหม่ที่ไม่เหมือน​ Traditional อีกต่อไปครับ

จะขอเริ่มหยิบเนื้อหาบางส่วนในเล่มที่ผมเห็นว่าน่าสนใจมาสรุปไว้ให้พออ่านเข้าใจภาพรวมกันนะครับ

1. Re-Imagine Business

ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จไม่ได้แค่ประยุกต์เอา Digital มาใช้กับธุรกิจเดิม แต่เป็นการเอา Digital มาเป็น Core Strategy ของธุรกิจหรือแม้แต่ปรับรูปแบบธุรกิจให้เข้ากับดิจิทัล คุณนึกภาพง่ายๆ ก็ได้ว่าทำไม Uber หรือ Grab ถึงประสบความสำเร็จมากทั้งๆ ที่ค่าแท็กซี่อื่นก็มีออกแอปของตัวเองมาเหมือนกัน เพราะพวกเขามองดิจิทัลหรือเทคโนโลยีเป็นหัวใจของธุรกิจ ส่วนค่ายแท็กซี่ที่เหลือยังมองว่าแอปเป็นส่วนเสริม

หรือถ้ามองอีกอย่างก็นึกภาพของ Agoda กับเครือแชน Hotel ใหญ่ๆ อย่าง Accor ก็ได้ ที่แม้ทาง Accor จะสร้างแพลตฟอร์มจองโรงแรมหลายๆ แห่งในเครือของตัวเองขึ้นมา แต่ก็ไม่สามารถเติบโตจนกลายเป็นคู่แข่งของ Agoda ได้ เพราะ Accor ทำขึ้นมาเพื่อให้ห้องพักของตัวเองมากมายทั่วโลกได้อยู่บนออนไลน์และจองได้แบบง่ายๆ แต่ปัญหาคือพวกเขารับโรงแรมอื่นเข้ามาร่วมด้วยน้อยมาก และโรงแรมอื่นก็ไม่กล้าเข้ามาร่วมในแพลตฟอร์มที่รู้สึกว่าไม่เป็นกลาง ดังนั้นจะเห็นว่าการทำ Digital Business ไม่ใช่แค่การเอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการคิดถึงรูปแบบการทำธุรกิจใหม่หมดโดยมีเทคโนโลยีนั้นเป็นศูนย์กลาง

ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นว่าบริษัท Startup ใหม่ๆ เหล่านี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยถ้าบริษัทเดิมใส่ใจลูกค้ามากพอ นึกถึงแท็กซี่บ้านเราก็ได้ครับ จากเดิมเรียกยากเย็นแล้วต้องคอยลุ้นว่าจะไปหรือไม่ไป พอมี Uber หรือ Grab เข้ามาในตอนแรกคนที่เรียกก็คือคนที่เบื่อจะต้องมาลุ้นกับแท็กซี่นี่แหละครับ

What Them Pay for? Product หรือ Purpose

ลูกค้าจ่ายเงินคุณเพื่ออะไร? เหมือนที่ปรมาจารย์ด้านการตลาดคนหนึ่งเคยกล่าวว่า ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินเพื่อซื้อสว่าน แต่พวกเขาจ่ายเงินเพื่อรู 1/4 นิ้วต่างหาก เหมือนกันหลักการนี้ยิ่งเอามาประยุกต์ใช้กับยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ถ้าพวกเขาจ่ายเงินให้กับโรงแรมที่พัก พวกเขาจ่ายเพื่ออะไร เพื่อห้องพักในโรงแรมของคุณ หรือเพื่อประสบการณ์ดีๆ ที่จะได้จากการพักผ่อนในโรงแรมดีๆ สักแห่ง แล้วบังเอิญแค่โรงแรมคุณอยู่ตรงนั้นเท่านั้นเอง

หรือกับธุรกิจร้านอาหารก็เหมือนกัน คุณต้องมองให้ออกว่าจริงๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไรจากคุณ ถ้าคุณเป็นร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ด ลูกค้าจ่ายเงินให้คุณเพราะอยากกินของคุณ หรือเค้าแค่ต้องการความสะดวกในการอิ่มท้องกับของที่อร่อยที่สุดกันแน่ ถ้าใช่บริษัทฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่เหล่านี้ควรรีบเร่งทำ Platform ในการส่งอาหารให้ลูกค้าได้อย่างสะดวกสบายที่สุดได้แล้ว คุณต้องกล้ามองข้ามธุรกิจเก่าที่เคยทำเงินมานาน แล้วหันไปโฟกัสกับ Purpose ที่แท้จริงที่ลูกค้าต้องการจากคุณ

Sharing Data

Digital Business จะเติบโตได้ก็ต้องมี Data มาหล่อเลี้ยง และนั่นก็ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องเปิดใจที่จะแชร์ Data ของลูกค้าให้กับบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ใน Customer Journey ของลูกค้าเพื่อให้ทุกแบรนด์สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ถ้าเครื่องซักผ้า LG ที่เป็น IoT เก็บ Data ข้อมูลผ้าที่เจ้าของบ้านซักไว้ รู้ว่าบ้านนี้ชอบใส่ชุดแบบไหน เนื้อผ้าอย่างไร ถ้า Data นั้นถูกแชร์ให้กับ P&G ทาง P&G ก็จะได้รู้ว่าควรนำเสนอผลิตภัณฑ์การซักผ้าให้ลูกค้าคนนี้แบบไหนดีในครั้งหน้าที่จะทำให้เสื้อผ้าของลูกค้าคนนั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ส่วนถ้าบริษัทเสื้อผ้าแฟชั่นอย่าง H&M หรือ Uniqlo รู้ว่าถ้าลูกค้าคนนี้ชอบใส่ชุดแบบนี้เป็นประจำ ก็อาจจะนำเสนอเสื้อผ้าแบบที่มีเนื้อผ้าคล้ายๆ กัน ทรงคล้ายๆ กัน ให้กับลูกค้าคนนี้ได้เห็นโฆษณาที่รู้ใจแบบ Personalization มากขึ้น (สนใจสั่งซื้อหนังสือ Personalized Marketing ไปอ่านเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Personalization เพิ่มขึ้น)

Digital Ecosystem กลยุทธ์ด้ามโกนกับมีดโกน

นักการตลาดและนักธุรกิจหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวต้นกำเนิดของธุรกิจ Gillette ที่เริ่มจากการแจกด้ามโกนฟรีๆ แต่ด้ามโกนนั้นจะถูกฟิกซ์ให้ต้องกลับมาซื้อมีดโกนกับ Gillette นั่นคือการสร้าง Business Model แบบใหม่ที่จากเดิมต้องเคยซื้อทั้งอัน กลายเป็นการ Subscription จนทำให้ Gillette ยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้

เช่นเดียวกันกับแนวคิดนี้คุณต้องมองภาพธุรกิจคุณเป็นแบบนั้น คุณสามารถแจกอะไรให้ลูกค้าฟรีหรือในราคาถูกมากๆ จนดูเหมือนจะขาดทุนได้ เพื่อเป็นการทำให้ลูกค้าติดหนึบอยู่กับ Ecosystem ของคุณจนยากจะถอนตัวไปไหนได้

เหมือนที่ Amazon ทำ Amazon Prime เปิดให้ลูกค้าจ่ายเงินค่าสมาชิกรายปีเพื่อบริการส่งของฟรีถึงบ้านภายใน 2 วัน แถมสมาชิกยังได้ดูหนังดูทีวีของ Amazon Prime ฟรีอีก แต่กลายเป็นว่าลูกค้าที่ยอมจ่ายค่าสมาชิกกับ Amazon Prime นั้นมีตัวเลขการใช้จ่ายต่อปีสูงกว่าลูกค้าที่ไม่ได้สมัครสูงถึง 2 เท่าครับ

ถ้าจะบอกว่า Amazon เป็นเจ้าพ่อธุรกิจแบบ Ecosystem ก็ไม่ผิดนัก จะเห็นว่าพวกเขามักจะแจก Device ฟรีๆ ให้แทบจะขายให้ในราคาถูกเหมือนขาดทุนหลายๆ อย่าง ทั้งหมดนั้นก็เพื่อทำให้ลูกค้าอยู่กับพวกเขานานที่สุด เพราะคุณค่าของลูกค้าไม่ได้อยู่แค่การใช้เงินรายครั้ง แต่ทุกวันนี้เราต้องนับพวกเขาเป็น Life Time Value ครับ

เพราะ Digital Business คือการเอา Data ลูกค้าไปต่อยอดให้เกิด Product หรือ Service ใหม่ไปเรื่อยๆ เหมือนที่ WeChat เริ่มต้นจากการเป็นแอปแชท จากนั้นพอพบว่าคนชอบคุยกันเพื่อตกลงซื้อของ พวกเขาก็ทำระบบจ่ายเงินภายในแอปขึ้นมา จนกลายเป็นต้นแบบ Super App ที่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหญ่ๆ ของโลกต่างมองตามตาเป็นมัน ทั้ง Facebook และ Line ต่างก็อยากจะเป็น Super App บ้างให้ได้ แต่ก็ยากที่จะทำได้แบบ WeChat ครับ

ดังนั้นสรุปได้ว่า ลูกค้าคือทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของบริษัทในวันนี้ ไม่ใช่นวัตกรรมใดๆ ที่คุณมี ไม่ใช่ Product ใดๆ ทั้งนั้น ดังนั้น Digital Business ที่ประสบความสำเร็จคือต้องต่อยอดจากลูกค้าเดิมไปเรื่อยๆ เลิกคิดการทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน คุณต้องสร้าง Ecosystem ขึ้นมาให้ลูกค้าอยู่กับคุณให้นานที่สุด

New Business Model

จากกลยุทธ์ด้ามโกนกับมีดโกนของ Gillette สามารถเอาไปต่อยอดกับอุตสาหกรรมเพลงได้ไม่ยาก จากเดิมที่เคยจัดคอนเสิร์ตเพื่อกระตุ้นยอดขายเทปหรือซีดี มาวันนี้ใครๆ ก็สามารถหาเพลงฟังฟรีได้ไม่ยาก แต่ในขณะเดียวกันคนก็ถวิลหา Experience ดีๆ มากขึ้น และนั่นทำให้รายได้ของธุรกิจค่ายเพลงส่วนใหญ่ในวันนี้มาจากการจัดคอนเสิร์ตมากกว่ารายได้จากการขายเพลงไปแล้ว

ส่วนธุรกิจสื่อหนังสือพิมพ์เองก็ต้องปรับ Business Model ตามให้ทัน จากเดิมที่เคยมีรายได้จากโฆษณาเป็นหลัก มาวันนี้ New York Time สามารถปรับรูปแบบธุรกิจให้รายได้หลักมาจากการ Subscribe การอ่านในรูปแบบดิจิทัลแทนได้ถึง 70% ของรายได้ทั้งหมด

นั่นหมายความว่าแม้พวกเขาอาจจะมีรายได้เดิมลดลงบ้าง แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนการพิมพ์ก็หายลงไปมาก และพวกเขาก็พึ่งพารายได้จากโฆษณาน้อยลงไปมากจนเหลือแค่ 30% ของรายรับทั้งหมด นี่คือการเปลี่ยน Business Model ในรูปแบบใหม่ที่ต้องปรับธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัยดิจิทัลครับ

ส่วนธุรกิจโรงหนังก็น่าสนใจในวันที่คนส่วนใหญ่หาหนังออนไลน์ดีๆ ดูได้ไม่ยาก เพราะธุรกิจโรงหนังที่โตคือส่วนของโรงหนังระดับไฮโซคุณภาพดี ใช้เบาะดีๆ ประหนึ่งนั่งเครื่องบินชั้น First Class มีอาหาร มีเครื่องดื่ม หรืออาจกระทั่งมีแชมเปญดีๆ เสริฟ และจุดนั้นเองก็ทำให้ธุรกิจโรงหนังจากเดิมที่มีรายรับรวม 7,500 ล้านเหรียญในปี 2010 เพิ่มเป็น 11,000 ล้านเหรียญในปี 2015

ส่วนธุรกิจ Retail ห้างร้านเองที่ถูกท้าทายโดยเว็บ E-Commerece ขายของที่ถูกมากเพราะไม่มีต้นทุนหน้าร้านก็ต้องปรับ Business Model ใหม่ โดยพวกเขาเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนพื้นที่ขายของให้กลายเป็นพื้นที่แสดงสินค้า โดยเปิดให้แบรนด์เข้ามาเช่าพื้นที่พวกเขาเพื่อสร้าง Brand Experience ในแบบที่ดิจิทัลให้ไม่ได้ และในขณะเดียวกันพวกเขาก็เปลี่ยนจากการขายข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ทำให้คนบางกลุ่มยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อบริการที่ดีขึ้นยิ่งกว่า

คือเคสของ New Business Model ที่น่าสนใจมากคือการเปลี่ยนมาให้บริการความสว่างแทนการขายหลอดไฟ เมื่อ Philips ปรับ Business Model ใหม่ให้เข้ากับยุคดิจิทัล ด้วยการให้บริการความสว่างตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น จุดนี้อยากให้มีความสว่างเท่านี้ เป็นระยะเวลากี่ชั่วโมงต่อวัน จากนั้น Philips ก็จะหาหลอดไฟที่ตอบโจทย์นั้นมาให้บริการลูกค้าตามระยะเวลาของสัญญาเช่าซื้อความสว่าง

และนั่นก็ทำให้ Philips สามารถทุ่มเทพัฒนาหลอดไฟประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ๆ ที่ให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะกระทบกับ TOR หรือสัญญาแรกเริ่มแต่อย่างไร นี่คือ New Business Model ที่น่าสนใจในยุคดิจิทัล

หรือ GE ก็ปรับธุรกิจจากเดิมสร้างชิ้นส่วนอุปกรณ์ กลายมาเป็นธุรกิจที่ใช้ Digital และ Data เป็นตัวขับเคลื่อนจนออกมาเป็นนวัตกรรมที่ชื่อว่า​ GE Digital Twin ที่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าชิ้นส่วนไหนกำลังจะเสียหายหรือเกิดปัญหา จากนั้นก็ไปแก้ไขตั้งแต่ตอนยังปัญหาไม่ใหญ่ทำให้ลดต้นทุนลูกค้าไปได้มาก และก็เพิ่ม Value ในแง่ Service ขึ้นมาได้อีกมากมายครับ

เพราะอนาคตไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์มากเท่าไหร่ แต่สำคัญที่ใครทำให้สินทรัพย์นั้นทำงานได้ดีขึ้น เพราะเรากำลังอยู่ในที่เรามีทุกอย่างล้นเกิน เหมือน UBER ทำให้รถยนต์ว่างๆ เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น Airbnb ก็เช่นกัน เปลี่ยนห้องว่างให้กลายเป็นห้องเช่า

แล้วข้อดีของการทำธุรกิจบนดิจิทัลหรือ Digital Business คือคุณสามารถลองได้เร็วๆ เริ่มต้นด้วยวิธีเล็กๆ เพื่อทดสอบแนวคิดคอนเซปว่าเวิร์คมั้ย เหมือนที่ตอนแรก UBER หารถแท็กซี่มาวิ่งเองเพื่อดูว่ามีคนอยากใช้บริการมั้ย จนตอนท้ายเปิดแพลตฟอร์มให้ใครๆ ก็ตามเอารถเข้ามาวิ่งในระบบ UBER ได้จนขยายได้ไม่รู้จบ

สรุปสั้นๆ ในส่วนของ Re-Imagine Business ธุรกิจในยุคดิจิทัลต้องรีบผันตัวเองเป็นตัวกลาง หรือเปลี่ยนจาก Product เป็น Platform ด้วยการกลับไปทบทวน Value Proposition หรือ Purpose ของตัวเองว่า จริงแล้วลูกค้าจ่ายเงินให้คุณเพราะอะไรกันแน่ สว่าน หรือ รู หรือ รูปภาพความทรงจำ

2. Re-Evaluate Value Chain

Digital Business ต้องใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อกับผู้คนหลายพันล้านบนโลกด้วยอินเทอร์เน็ตให้คุ้มค่ากว่านี้ จากเดิมการสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องภายในองค์กรอาจไม่ทันยุคดิจิทัลอีกต่อไป จาก R&D ต้องเปลี่ยนเป็น C&D ที่ย่อมาจาก Connection and Development หรือจะเรียกว่า Crowdsourcing ที่ให้ผู้คนมากมายบนอินเทอร์เน็ตมาช่วยระดมไอเดียจนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา

จาก R&D สู่ C&D

Netflix เปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามาปรับปรุง Algorithm การแนะนำภาพยนต์ของตัวเอง ด้วยแนวคิด C&D แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือวิธีการของ Netflix ที่ใช้วิธีการเปิดเผยโค้ดของคนที่ทำได้ดีที่สุดไปเรื่อยๆ เพื่อให้แต่ละคนเอาของที่ดีที่สุดไปต่อยอดให้กลายเป็นดียิ่งกว่า ผลที่ได้ก็น่าทึ่งมาก แต่แม้ว่าจะไม่ได้เอาไปใช้งานจริงแต่เราก็ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากการเปิดรับไอเดียแล้วให้แต่ละคนเอาไปต่อยอดในแบบของตัวเองเรื่อยๆ ครับ

แล้วฝั่งธุรกิจที่ไม่เคยทำก็ไม่ต้องกังวลว่าเงินรางวัลหรือแรงจูงใจที่ตัวเองพร้อมจ่ายอาจไม่น่าสนใจมากพอที่จะดึงดูดคนเก่งๆ ให้มาช่วยกันแก้ไขปัญหา เพราะในความเป็นจริงแล้วพบว่าคนเก่งๆ ส่วนใหญ่ ที่อาสาเข้ามาช่วยคิดแก้ปัญหาให้ไม่ได้มาเพราะเงิน แต่พวกเขาต้องการความสนุก และต้องการชื่อเสียงหรือชัยชนะเพื่อเอาไปต่อยอดในการสมัครงานหรือทำธุรกิจของตัวเองเพิ่มขึ้นต่างหาก

Omni-channel Strategy for Digital Business คือการใช้แต่ละช่องทางส่งเสริมกัน ไม่ใช่เอาไว้แย่งลูกค้ากันกับช่องทางอื่น

สาเหตุที่การทำ Omni-channel strategy ขององค์กรส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะเดิมทีพวกเขามองว่าช่องทางออนไลน์มาแย่งช่องทางการขายหน้าร้าน ทำให้ไม่ค่อยมีธุรกิจไหนกล้าผลักดันแบบจริงจัง หรือแม้แต่กลัวว่าจะไปกระทบกับ Business Model เดิมที่ใช้ตัวแทนในการขายอยู่เดิมจนทำให้พวก Agent เดิมต่อต้านไม่ยอมรับสินค้าเค้าไปขายเอาได้

แต่ในความเป็นจริงแล้วในยุคดิจิทัลแบบนี้ธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไปได้ต้องใช้ทุกช่องทางเพื่อส่งเสริมกันและกัน ถ้าเป็นธุรกิจธนาคารต้องมองว่าช่องทางออนไลน์ไม่ได้แย่งลูกค้าเดิมไป แต่ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วยการให้บริการง่ายๆ ส่วนพนักงานเดิมหรือสาขาหน้าร้านก็เก็บเอาไว้ให้บริการลูกค้าที่ Advance มากขึ้น คนที่ยอมจ่ายให้แพงกว่าความง่ายบนออนไลน์ที่อาจจะไม่ได้มีความต้องการที่ซับซ้อนเท่าคนกลุ่มนี้

ดังนั้นข้อนี้สรุปได้ว่า Digital ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย แต่ Physical มีไว้เพื่อให้ Exclusive Experience กับลูกค้าที่มีความยากและท้าทายยิ่งกว่า

3. Reconnect with Customers

จินตนาการถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ เพราะในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วย Data ทำให้ธุรกิจรู้ว่าใครกันแน่คือลูกค้าที่ควรรักษาไว้ และใครกันแน่คือกลุ่มลูกค้าที่ควรปล่อยทิ้งไปให้เร็วที่สุด

กฏ 200-20 ลูกค้าเยอะไม่ได้ดีต่อธุรกิจเสมอไป

เดิมทีเราเคยเชื่อกันว่าลูกค้ายิ่งเยอะยิ่งดี แต่สักพักก็มีคนเสนอกฏ 80/20 ของ Pareto ว่า ลูกค้าแค่ 20 เปอร์เซนต์ทำรายได้ให้องค์กรถึง 80% ดังนั้นโฟกัสแค่คนกลุ่มนี้พอ

แต่ในยุคดิจิทัลที่อะไรๆ ก็กลายเป็น Data เรากลับพบ Insight ใหม่ที่น่าสนใจกว่าก็คือกฏ 200-20 เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลลึกๆ ทำให้พบว่า ลูกค้าหรือผู้ใช้งานแค่ 20% ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรมากถึง 200% แต่ในขณะเดียวกันลูกค้าตั้งแต่ตรงกลางไปจนถึงท้ายๆ กลับเป็นลูกค้าที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร และยิ่งไปกว่านั้นยิ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สูบทรัพยากรขององค์กรไปมากจนไม่น่าเก็บไว้ให้เป็นภาระ

ดังนั้นคำถามสำคัญคือ คุณจะยังเก็บลูกค้าที่เป็นภาระของธุรกิจของคุณไว้ต่อหรือไม่ในเมื่อพวกเขาไม่ได้ก่อให้เกิดผลกำไรใดๆ กับธุรกิจคุณ นอกจากคุณจะอยากได้ตัวเลขลูกค้าเยอะๆ ไว้เสนอต่อผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นเท่านั้นเอง

Turn Problem of Customer into Brand Purpose ใช้ปัญหาของลูกค้าเป็นโอกาสในการเข้าหา

เดิมทีการตลาดของธุรกิจส่วนใหญ่คือการเสนอขายสินค้าหรือบริการ ด้วยการบอกว่าของตัวเองดีเพียงใด ถูกเพียงใด ใหม่เพียงใด แต่การตลาดในยุคดิจิทัลที่มีตัวเลือกล้นเกินคือการมองหาว่าในชีวิตของลูกค้าหรือผู้คนนั้นมีปัญหาอะไร แล้วเราจะเข้าไปแก้ปัญหานั้นให้ลูกค้าได้อย่างไร

เหมือนที่ Unilever ในประเทศอินเดียพบว่าคนจนนอกเมืองจำนวนมากต้องการความบันเทิงแต่พวกเขาไม่มีทีวีเพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ไฟฟ้าที่พวกเขาใช้มีก็เพียงแค่สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ทาง Unilever เลยสร้างเบอร์ที่ให้คนโทรฟรีมาฟังเรื่องสนุกๆ ได้ 15 นาที โดยก่อนจะฟังต้องรับฟังโฆษณาของ Unilever ก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เต็มใจโทรหา Unilever ทุกวันๆ ละหลายๆ รอบด้วยซ้ำ และนั่นก็ทำให้ Unilever สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่สามารถรับชมโฆษณาแบบเดิมๆ จากทีวีเหมือนคนเมืองที่มีไฟฟ้าใช้ได้ นับเป็น Solution ใหม่ในการแก้ไขปัญหาที่เยี่ยมยอดมาก

หรือธุรกิจโรงแรมใกล้สนามบินที่ฉลาดในการทำ Contextual Marketing ด้วย Digital ที่น่าชื่นชม เขาทำ Search Ads เฉพาะคนที่อยู่ในสนามบินนั้นเพื่อจับกลุ่มคนที่ตกเครื่องแล้วต้องการโรงแรมพัก ผลคือลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 60% ด้วยงบการตลาดที่น้อยมากครับ

แถมที่สำคัญในการทำการตลาดแบบ Digital คือ จากเดิมนักธุรกิจไม่เคยรู้ว่างบการตลาดส่วนไหนบ้างที่ไม่เวิร์ค แต่ทุกวันนี้เราสามารถติดตามประสิทธิภาพของงบการตลาดได้ทุกคลิ๊ก บอกได้เลยว่าข้อความหรืออาร์ตเวิร์คแบบไหนที่ไม่ดึงดูดคนให้สนใจอยากซื้อ หรือถ้าสนใจแล้วเข้ามาที่เว็บแล้วแต่ไม่มีซื้อนั้นเพราะอะไร

สรุปได้ว่าคิดถึงการเข้าหาลูกค้าด้วยแนวคิดใหม่ๆ จากการใช้ Digital ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ตั้งแต่การติดตามวัดผล ไปจนถึงวิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ตรงใจและตรงจุดมากที่สุดครับ

4. Rebuild Organization

ที่สุดแล้วต้องมีการออกแบบโครงสร้างการทำงานขององค์กรใหม่ตั้งแต่ต้น โดยใช้ Digital Centric อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ Adapt Digital เข้าไปกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ เพราะนั่นก็เหมือนคุณพยายามใช้โทรเลขแข่งกับอีเมลนั่นเองครับ

Adobe Digital Transformation

เดิมทีเรารู้จัก Adobe ในฐานเครื่องมือในการผลิตชิ้นงานเพื่อการตลาด ตั้งแต่การทำภาพอาร์ตเวิร์คสวยๆ ทำหนังโฆษณาเจ๋งๆ แต่มาวันนึงเมื่อ Adobe ต้อง Transformation องค์กรตัวเองขึ้นมา เขาก็เริ่มหันไปทำเรื่องของระบบ Marketing Automation เพื่อจะจับงบการตลาดทั้งหมดที่ไม่ใช่แค่งบ Production อีกต่อไป

แต่ที่น่าสนใจคือในกลุ่มตลาดนี้ถูกจับจองโดยเจ้าใหญ่มากมาย ทั้ง IBM, ORACLE และ SALEFORCE แต่ด้วยความฉลาดของ Adobe คือพวกเขาพบว่า กลุ่ม CIO จะชอบใช้ IBM และ ORACLE เพราะมีความคุ้นเคยกับเครื่องมือเหล่านี้มานานตั้งแต่สมัยยังนั่งทำงานด้วยตัวเอง ส่วนองค์กรที่ทีม Sale เป็นใหญ่ก็จะชอบ Saleforce เพราะพวกเขาคุ้นเคยกับวิธีการนำเสนอด้วยวิธีการขายมานาน แต่สิ่งที่ Adobe ทำนั้นแตกต่าง เพราะพวกเขาเข้าหาคนที่เป็น CMO ที่มีความคุ้นเคยกับเครื่องมือของ Adobe มาตั้งแต่แรก ดังนั้นนี่คือความต่างของการมีสินค้าและบริการที่คล้ายๆ กัน แต่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าไป Purpose นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

องค์กรยุคใหม่ใช้เกมเพื่อคัดคนเข้าทำงานแทนการสัมภาษณ์จาก HR

เดิมทีการรับคนเข้าทำงานเป็นเรื่องของการคุยกันว่าถูกโฉลกถูกปากมั้ย แต่ในยุคดิจิทัลที่อะไรก็ก้าวหน้าไปเร็วเริ่มมีแนวทางใหม่ๆ ในการใช้เกมเข้ามาคัดเลือกว่าควรรับใครเข้าทำงาน เกมนี้ถูกสร้างมาเพื่อวิเคราะห์และประเมินบุคลิกภาพและการตัดสินใจว่าคนๆ นี้จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร จะเป็นการวัดข้อมูลโดยละเอียดกว่า 250 เหตุการณ์ใน 1 นาที ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามสัญชาติญาณด้วยซ้ำ

ดังนั้นจะเห็นว่า Digital Business ก็จำเป็นต้องใช้ Digital Recruiter เข้ามาช่วยในการคัดคนที่ใช่แบบไม่ Bias แทนและทำได้กับจำนวนคนมากๆ ไปพร้อมกันโดยไม่ต้องเพิ่ม HR

และทั้งหมดนี้ก็คือแนวทางการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลหรือที่เรียกว่า Digital Business ให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงที่ไม่ใช่แค่ผิวๆ อีกต่อไป

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง ที่อยากจะปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวหน้าทันยุคแต่ไม่รู้จะเริ่มทางไหน อยากจะทำ Digital Transformation แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรหรือควรปรึกษาใครดี ผมแนะนำให้คุณอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ

ส่วนใครที่สนใจอยากหาความรู้เรื่อง Digital Business หนังสือเล่มนี้เขียนเข้าใจง่ายและก็แปลมาได้ดีพร้อมกับเต็มไปด้วย case study มากมายที่ทำให้เห็นภาพได้ในทันทีจนเอาไปประยุกต์ใช้ต่อได้สบาย

สุดท้ายนี้ขอบคุณสำนักพิมพ์ Nation Books ที่ส่งหนังสือ Driving Digital Strategy เล่มนี้และหนังสือดีๆ เล่มอื่นๆ มาให้อ่านเป็นประจำครับ

สรุปหนังสือ Driving Digital Strategy เปลี่ยนให้โต Go ให้สุด ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 15 ของปี 2020

สรุปหนังสือ Driving Digital Strategy เปลี่ยนให้โต Go! ให้สุดด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล
Sunil Gupta Harvard Business School เขียน
สำนักพิมพ์ Nation Books
20200421

อ่านสรุปหนังสือแนว Digital ต่อ > https://www.summaread.net/category/digital/

สนใจสั่งซื้อได้ที่ > https://bit.ly/2zQfxhA