ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ ธุรกิจพอดีคำ ลำดับที่ 4

หนังสือธุรกิจพอดีคำ ลำดับที่ 4 หรือชื่อเล่มคือปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบเล่มนี้ทำให้ผมนึกถึงคำหนึ่งที่คนแวดวงโฆษณาและการตลาดชอบใช้กัน นั่นก็คือคำว่า Storytelling Storytelling น่าจะเป็นคำที่เป็นกระแสในบ้านเราเมื่อสัก 4 ปีก่อน ซึ่งหลักใหญ่ใจความก็คือถ่ายเล่าเรื่องที่แบรนด์อยากพูดนักการตลาดอยากบอกออกไปอย่างไรให้คนบนออนไลน์ไม่กด Skip ad หรือเลื่อนฟีดโฆษณาของแบรนด์ให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วท่ามกลาง Content ที่มีให้เสพย์มากมายไม่รู้จบ เช่นเดียวกันระหว่างอ่านหนังสือเล่มนี้ก็ทำให้ผมคิดว่า หนังสือ ปล่อยใจคิดไม่ติดกรอบ หรือ ธุรกิจพอดีคำ ลำดับที่ 4 เล่มนี้น่าจะได้รับนิยามใหม่ว่า Businesstelling หรือเป็นหนังสือที่สามารถเล่าเรื่องธุรกิจที่คนนอกเคยคิดว่าน่าเบื่อและเข้าใจยาก ให้กลายเป็นอ่านสนุกและน่าติดตามได้ในแบบที่วางไม่ลงเลยจริงๆ ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยรู้จักคุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร…

The Art of Innovation เคล็ดลับนวัตกรรม IDEO

สรุปหนังสือ The Art of Innovation เคล็ดลับนวัตกรรม IDEO IDEO ไม่ใช่ชื่อคอนโดแต่เป็นชื่อบริษัทที่สร้างนวัตกรรมอยู่เบื้องหลังให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมายนับไม่ถ้วน จะเรียกว่า Innovation Agency ก็ไม่ผิดนัก เพราะ IDEO ไม่ได้ออกแบบแค่ตัวผลิตภัณฑ์อย่างชื่อหนังสือว่า แต่ยังเป็นผู้ที่ออกแบบประสบการณ์กู้ชีวิตบริษัทรถไฟอเมริกา หรือเป็นผู้ที่ค้นแบแนวโน้มการใช้โทรศัพท์มือถือตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีก่อนว่าคนจะหันมาใช้ข้อมูลบนโทรศัพท์แทนการโทรเข้าโทรออกรับสาย ในวันที่โทรศัพท์ส่วนใหญ่ยังใช้แค่ส่ง sms กับยิงหากันอยู่เลย แต่ Nokia ผู้ว่าจ้างกลับไม่สามารถพาความคิดนั้นไปได้ตลอดรอดฝั่ง กลายเป็น Facebook และ iPhone ที่เปลี่ยนตลาดการใช้โทรศัพท์มือถือไปตลอดการ Design…

เมื่อหัวว่างจึงสร้างสรรค์ ธุรกิจพอดีคำ ลำดับที่ 3

อีกหนึ่งหนังสือที่ผมชอบและอยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน แม้คุณจะไม่ได้ทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ ต้องใช้ไอเดียเป็นประจำ หรือเป็นนักสร้างนวัตกรรมอะไรก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนต้องการเหมือนกันก็คือ “เราจะทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานอย่างไร” หนังสือเล่มนี้มีแนวทางให้คุณอ่านแล้วเอาไปประยุกต์ใช้ตามหน้างานในแต่ละวันครับ เมื่อพูดถึงคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” คำนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ผมอยากจะบอกความลับให้คุณรู้ว่าไม่ว่าใครก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อได้ ขอแค่เพียงเข้าใจหลักการ อยู่ในสถาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ความคิดสร้างสรรค์ก็บรรเจิดได้ทุกคน เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นแค่พรสวรรค์ของใครบางคนอย่างที่เราเชื่อกันครับ ผู้เขียน คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างนวัตกรรม หรือเรียกเป็นภาษาฝรั่งเท่ห์ๆว่า Innovation ว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดไปว่า innovation คือ…

ธุรกิจพอดีคำ

อ่านนวัตกรรมทางความคิดที่ไม่มีวันหมดอายุ เล่มนี้ได้มาจากงานหนังสือครั้งล่าสุดเมื่อต้นปี สังเกตุเห็นว่ามติชนเริ่มทำหนังสือแนวนี้เพิ่มขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านหน้าใหม่ เป็นหนังสือในแนวที่อ่านง่ายๆ เป็นตอนสั้นๆ อ่านฆ่าเวลาก็ดี อ่านเอาเกร็ดความรู้ก็ได้ แต่ที่ผมว่าดีมากก็คือหนังสือแบบนี้แหละที่จะพานักอ่านหน้าใหม่ให้กลายเป็นนักอ่านหลายหน้าในเวลาไม่นาน เพราะผมเองก็เป็นคนนึงที่ไม่เคยคิดอ่านหนังสือ จนมาเจอหนังสือสไตล์นี้ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ จนกลายมาเป็นหนอนหนังสือคนนึง เล่าเรื่องของผมเยอะแล้วกลับมาที่หนังสือบ้าง ผู้เขียนใช้หลักคิดแบบ Design Thinking มาสอดแทรกอย่างแนบเนียนในเรื่องเล่าในเล่ม น่าจะเพราะคนเขียนจบทางด้านนี้มาโดยเฉพาะและยังทำงานเป็นนักนวัตกรรมในองค์กรใหญ่อย่าง ปตท. มากกว่า 10 ปี ในหลัก Design Thinking ที่ผู้เขียนพยายามเน้นย้ำมากกว่าหนึ่งครั้งคือหัวข้อ “Empathy” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ความเข้าอกเข้าใจลูกค้า” ความเข้าอกเข้าใจลูกค้า…