สรุปหนังสือ นี่เงินเดือนหรือเงินทอน โอมศิริ วีระกุล

ต้องบอกนี่ไม่ใช่หนังสือการตลาดแต่ชื่อหนังสือโคตรการตลาดมากๆ เพราะลำพังแค่ชื่อหนังสือ นี่เงินเดือนหรือเงินทอน ก็สามารถเรียกความสนใจให้คนต้องหยุดหันมามองพร้อมกับอุทานในใจว่า “หืม อะไรนะ?” เพราะชื่อหนังสือช่างเป็นเรื่องจริงที่เสียดแทงใจคนส่วนใหญ่ในประเทศ ในวันที่ชักหน้าไม่ค่อยจะถึงหลัง ในวันที่มีเงินเดือนเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยพอใช้ ในวันที่เราถูกโฆษณามากมายหล่อหลอมให้ซื้อข้าวของต่างๆ กันเข้าไป ในวันที่เงินเดือนขึ้นแต่ละปีขึ้นไม่ทันกับอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลให้เงินที่มีมูลค่าลดลงทุกวัน ดังนั้นแว๊บแรกตอนโอมศิริ วีระกุล ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกว่า “พี่หนุ่ยครับ ผมออกหนังสือเล่มใหม่แล้ว อยากส่งให้พี่หน่อย” ผมคิดในใจตอนแรก หนังสือการเงินอีกละ ตกปากรับคำรับไปงั้นๆ แหละ เอามากองดองๆ ไว้อีกเล่มเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจเพื่อนแล้วกัน แต่พอได้เห็นหน้าปกชื่อหนังสือเล่มนี้ก็นั่นแหละครับ มันช่างกระตุกต่อมความสนใจของผมมากๆ ทำเอาผมรีบหยิบขึ้นมาอ่านโดยทันทีครับว่าหนังสือเล่มนี้มันจะหยิบเอาชีวิตจริงตอนเป็นพนักงานเงินเดือนที่รู้สึกประจำเมื่อเงินเดือนออกว่า นี่เงินเดือนหรือเงินทอนวะ? หนังสือนี่เงินเดือนหรือเงินทอนของโอมเล่มนี้อ่านง่าย แต่ไม่ใช่แค่อ่านง่ายอ่านเพลิน…

เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน

โดย โอมศิริ วีระกุล คนเดียวกับที่เขียน สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก นั่นแหละครับ เหมือนกันครับหนึ่งในนักเขียนคนไทยที่พอบังเอิญได้อ่านเล่มแรกแบบไม่ตั้งใจก็ฝากตัวเป็น FC ชั้นดีรอวันแล้ววันเล่าว่าเมื่อไหร่จะออกเล่มใหม่ แล้วก็นี่ครับ..มาอยู่ในมือผมเรียบร้อยแล้ว เหมือนเช่นเคยครับ ผู้เขียนบอกเล่าประสบการณ์ตรงจากตัวเองและคนรอบข้างมาให้เราฟัง บางเรื่องก็รู้อยู่แล้ว บางเรื่องก็ไม่เคยรู้ และบางมุมก็ไม่เคยคิดครับ ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 23 บทอ่านง่ายๆ ผมว่าถ้าคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือแล้วอยากหาหนังสือซักเล่มอ่าน ผมว่าเล่มนี้เป็นตัวเลือกที่ดีโดยเฉพาะคนทำงานอย่างเราๆ งั้นผมขอสรุปเป็นเรื่องๆที่น่าสนใจจากในเล่มไว้ให้ตัวผมเองเมื่อเปิด timehop เห็นปีหน้าจะได้อ่านทวนความคิดตัวเองอีกครั้งนึง 1. อย่าอ้อยอิ่งใช้เวลากับงานมากเกินไป พยายามสร้าง deadline ขึ้นมากับทุกงาน ถ้างานเดียวกันถ้าคนนึงสามารถจัดการได้จบใน 8…