อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์

สรุปหนังสือ อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทำให้รู้ว่าการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนั้นไม่ได้เกิดจากนโยบายภาครัฐเท่าไหร่นัก แต่กลับเกิดจากคนธรรมดาที่ต้องหาเลี้ยงปากท้อง ต้องปากกัดตีนถีบหาทางใช้ความคิดเพื่อให้ชีวิตนั้นรอดได้ เพราะนโบายของภาครัฐจากการเฝ้าศึกษาของผู้เขียน วิริยะ สว่างโชติ ในสองประเทศอย่างญี่ปุ่นและอินโดนีเซียพบว่านโยบายของภาครัฐนั้นไม่ได้ตอบสนองกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่แท้จริง เพราะนโบายของภาครัฐเองก็ทำไปเพื่อเอื้อให้เกิดการตอบสนองต่อภาคเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ตอบสนองต่อการต้องการสร้างสรรค์ที่แท้จริงของคนสร้างสรรค์จริงๆเลย เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาจากความอิ่มตัวของเศรษฐกิจการผลิตจำนวนมาก หรือ economic of scale แต่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่คู่แข่งของเศรษฐกิจแบบระบบสายพานการผลิตจำนวนมาก เพราะสินค้าเหล่านั้นมีราคาถูก แต่สินค้าค้าสร้างสรรค์นั้นมีราคาแพงกว่ามาก สองสิ่งนี้เลยทำมาเพื่อตอบความต้องการคนละอย่างกันสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะไม่ต้องการสินค้าหรือบริการที่สร้างสรรค์ เพราะคนทั่วไปก็เบื่อสินค้าแบบแมสๆทั่วไปได้ ก็เป็นไปได้ที่คนทั่วไปเองก็อยากจะมีอะไรที่แตกต่างหรือมีความเป็น Artisan เป็นของตัวเองบ้าง และความสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่แค่การขายสินค้า หรือวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแบบระบบเศรษฐกิจเดิม แต่เป็นการขายลิขสิทธิ์ การใช้สิทธิร่วม หรือการจดสิทธิบัตรทางปัญญา…