Don’t Swallow Your Gum! คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย

หนังสือ Don’t Swallow Your Gum! หรือชื่อไทยว่า คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย เป็นหนังสือที่รวบรวมความเชื่อด้านสุขภาพแบบผิดๆ ที่คนส่วนใหญ่มักหลวมตัวเชื่อตามๆ กันมานาน สารภาพตรงๆ ว่าหลายความเชื่อที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ผมก็เป็นหนึ่งคนที่ปักใจเชื่อแบบไม่เคยตั้งคำถามจนต้องลุกขึ้นไปหาคำตอบมาก่อนเหมือนกัน ตั้งแต่ วิตามินซีช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัด ซึ่งจากการทดลองและวิจัยจริงๆ พบว่ากินหรือไม่กินก็ไม่ได้ส่งผลสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การเป็นหวัดที่ชัดขนาดนั้น หรือที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ใช้สมองน้อยมากไม่ถึง 10% แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว อ่านหนังสือในที่มืดสลัวทำให้สายตาเสีย แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวเลย เพราะสายตาเราเสียเป็นเพราะกระบอกตา การอ่านในที่มืดหรือแสงน้อยทำให้เราเพียงแค่ล้าตาเท่านั้น พักสายตาก็หาย หรืออีกหนึ่งความเชื่อที่ผมเชื่อมานานมาคือเราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2…

Being Moral ตาย-เป็น

Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์…

เหตุผลของธรรมชาติ

ครั้งนี้ผมขอเริ่มด้วยการหยิบปกหลังหนังสือขึ้นมาเขียนนะครับ ทำไมเราถึงแพ้ท้องทำไมถึงจึงมีไข้ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจามทำไมไฟฉายย่อส่วนเป็นจริงไม่ได้ทำไมคนเมืองร้อนจึงชอบกินอาหารเผ็ดกำเนิดการหายใจด้วยออกซิเจนทำไมปลวกต้องสร้างจอมปลวกใหญ่ทำไมเราต้องกินทำไมทารกหัวใจจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ทำไมเรากินอาหารสามมื้อต่อวัน แต่งูเหลือมกินวันละหนึ่งมื้อต่อเดือนหูช้างและอัณฑะคนคล้ายกันตรงไหนทำไมอัณฑะจึงหดเล็กเมื่อเราโกรธทำไมนกฟลามิงโกยืนขาเดียวทำไมเราเบื่ออาหารเวลาเราป่วยและคำถามทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกันยังไง ทั้งหมดนี้มีคำตอบอยู่ในหนังสือเล่มเล็กอ่านสนุกเข้าใจง่ายไม่ถึงสองร้อยหน้า คราวนี้ผมขอตอบคำถามจากปกหลังของเล่มทั้งหมดจากความจำที่เพิ่งอ่านจบไปเมื่อกี๊ให้ดูแล้วกันนะครับ ทำไมเราถึงแพ้ท้อง เพราะ เป็นวิวัฒนาการกลไกป้องกันร่างกายของแม่ตั้งแต่สมัยโบราณที่ไม่มีตู้เย็นเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่อาจเน่าเสียได้ง่ายในสมัยโบราณนั้นทำให้ร่างกายของหญิงที่เริ่มตั้งท้องช่วงแรกไม่เปิดรับ แต่ด้วยเราเพิ่งสร้างเทคโนโลยีที่เรียกว่าตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาอาหารเมื่อไม่นานมานี้ (ไม่ถึงร้อยปี) ร่างกายเราจึงวิวัฒนาการตามไม่ทัน ผมเดาว่าอีกซักพันปีร่างกายของผู้หญิงคงเลิกแพ้ท้องแล้วล่ะครับ และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพราะร่างกายของทารกในช่วง 1-3 เดือนแรกนั้นยังนับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายของแม่ เพราะครึ่งหนึ่งของตัวอ่อนในท้องนั้นมาจาก DNA ของพ่อ ดังนั้นร่างกายแม่ก็ต้องปรับตัวกับตัวอ่อนไปพร้อมกัน ทำไมถึงจึงมีไข้ เพราะการเพิ่มความร้อนในร่างกายด้วยตัวเองของคนเราสามารถรักษาเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรีย ให้หายด้วยตัวเองได้ตามวิวัฒนาการของร่างกายแต่สมัยก่อน ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจาม เพราะ ไข้มาลาเรียนั้นเป็นวิวัฒนาการในการไม่พึ่งพาร่างเหยื่อหรือเจ้าของมากนัก…