รู้ทันอนาคตที่(อาจจะ)ไม่มีคุณ The Industries of the Future

เป็นหนังสือที่ให้ภาพอนาคตแบบคร่าวๆตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ก็ตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ เราอาจจะไม่มีที่ยืนในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่พร้อมเข้ามาแทนที่มนุษย์เรา Formless และ Borderless คือสองคำที่น่าจะเป็นหัวใจหลักในการบรรยายถึงโลกอนาคต, Formless คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ไม่ว่าจะวิธีการ ความเชื่อ หรือความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Borderless คือโลกจะเปิดกว้างยิ่งขึ้น เส้นแบ่งต่างๆจะค่อยๆจางหายไป มีโอกาสให้แทบกับทุกคน แต่โลกที่เปิดกว้างขึ้นก็ไม่ได้มีแค่โอกาส แต่มันหมายถึงการแข่งขันและคู่แข่งที่จะพรั่งพรูตามมาด้วย ดังนั้นถ้าไม่แกร่ง ไม่เร็ว ไม่ชัดเจนในความเชี่ยวชาญพอ ก็ยากที่จะมีที่ให้เราอยู่ในอนาคตครับ เพราะนวัตกรรมกับโลกาภิวัฒน์นั้นสร้างทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ โลกาภิวัฒน์จะทำให้ค่าแรงในประเทศสูงขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นนี่แหละที่จะทำให้คนในประเทศไม่มีงานทำ…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

โลกาภิวัตน์ Globalization; A very short introduction

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์.. ..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่ น่าจะได้ งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น? ..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น ถอยกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าเป็นยุคของ Smartphone และ Internet ไร้สายที่ทำให้การเชื่อมต่อไม่ต้องติดอยู่กลับที่ เลื่อนหน้าฟีดของโลกาภิวัตน์ลงไปอีกก็อาจจะพบเจอกับยุค www หรือยุคเริ่มต้นอินเตอร์เนตนั่นเอง หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ PC…