Tag

สุขภาพ

Browsing

หนังสือ Don’t Swallow Your Gum! หรือชื่อไทยว่า คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย เป็นหนังสือที่รวบรวมความเชื่อด้านสุขภาพแบบผิดๆ ที่คนส่วนใหญ่มักหลวมตัวเชื่อตามๆ กันมานาน สารภาพตรงๆ ว่าหลายความเชื่อที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ผมก็เป็นหนึ่งคนที่ปักใจเชื่อแบบไม่เคยตั้งคำถามจนต้องลุกขึ้นไปหาคำตอบมาก่อนเหมือนกัน ตั้งแต่

วิตามินซีช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัด ซึ่งจากการทดลองและวิจัยจริงๆ พบว่ากินหรือไม่กินก็ไม่ได้ส่งผลสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การเป็นหวัดที่ชัดขนาดนั้น

หรือที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ใช้สมองน้อยมากไม่ถึง 10% แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว

อ่านหนังสือในที่มืดสลัวทำให้สายตาเสีย แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวเลย เพราะสายตาเราเสียเป็นเพราะกระบอกตา การอ่านในที่มืดหรือแสงน้อยทำให้เราเพียงแค่ล้าตาเท่านั้น พักสายตาก็หาย

หรืออีกหนึ่งความเชื่อที่ผมเชื่อมานานมาคือเราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้กลับไม่ใช่อย่างที่เชื่อมา เพราะในความเป็นจริงแล้วในอาหารต่างๆ ที่เรากินก็ล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ไม่น้อยครับ

และอีกหนึ่งความเชื่อที่น่าสนใจคือเรามักเชื่อกันไปตามคำบอกเล่าว่า ถ้าดื่มเหล้ามาแล้วอยากให้เป่าแอลกอฮอล์แล้วไม่โดนจับ ต้องกินโน่นนี่นั่น ทำโน่นนี่นั่น แต่ในความเป็นจริงแล้วที่เคยเชื่อๆ กันไม่ได้ผลทางการแพทย์เลยครับ

เพราะลมหายใจที่เราเป่าออกมานั้นออกมาจากปอดไม่ได้ออกมาจากแค่จมูกหรือลำคอเท่านั้น แล้วลมหายใจจากปอดก็มีส่วนสัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ในเลือดอย่างชัดเจน ดังนั้นถ้าคุณกินเหล้ามาแล้วรู้ว่าต้องเป่าผมแนะนำให้คุณกินข้าวไปเยอะๆ เพราะถ้าคุณเจอด่านแล้วโดนเป่าอย่างน้อยคุณจะได้อิ่มท้องไปจนเช้าก่อนขึ้นศาลนั่นเองครับ

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ผมแนะนำให้คุณน่าจะมีติดบ้านไว้สักเล่ม แล้วเวลาใครพูดอะไรมาว่าเค้าว่ากันมาแบบนั้นหรือพูดกันมาแบบนี้ คุณจะได้หยิบหนังสือเล่มนี้ให้คนนั้นดูแล้วบอกว่า “อ่านดูซิ ขนาดหมอยังเข้าใจผิดกันได้มากมาย แล้วคนอย่างเราจะไปเข้าใจถูกทั้งหมดได้อย่างไร”

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 17 ของปี 2020

สรุปหนังสือ Don't Swallow Your Gum! คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย

สรุปหนังสือ Don’t Swallow Your Gum!
คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย
Aaron E. Carroll และ Rachel C. Vreeman เขียน
พรเลิศ อิฐฐ์ และ วิกันดา พันทุวชิราภรณ์ แปล
สำนักพิมพ์ We Learn

อ่านสรุปหนังสือแนวสุขภาพแบบนี้ต่อ > https://www.summaread.net/category/health/

สนใจสั่งซื้อ > https://bit.ly/3cb6SVm

Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต

เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก

เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น

คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง

จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมาก่อนจะปฏิวัติอุสาหกรรมคือเราส่วนใหญ่มักได้ใช้ชีวิตสุดท้ายและตายที่บ้านกับครอบครัวหรือในบ้านที่มีความทรงจำของตัวเอง แล้วมันเพราะอะไรกัน

เพราะการแพทย์ที่พัฒนาไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้งแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความตายไว้ได้ซักที

สมัยก่อนโรงพยาบาลเป็นแค่สถานที่พักพื้นไม่ต่างจากบ้านมากนัก แค่มีคนที่เตรียมพร้อมดูแลให้ความสะดวกสบายเรามากกว่าที่บ้านหน่อย แต่เครื่องไม้เครื่องมือหรืออัตราการรอดเมื่อไปโรงพยาบาลนั้นไม่ได้สูงกว่านอนพักพื้นที่บ้านซักเท่าไหร่ แต่พอเมื่อการแพทย์และเทคโลยีพัฒนามากขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เรามักจะฝากความหวังว่าพยายามจะทำให้พญามัจจุราชนั้นไม่สามารถเข้าไกล้เราได้ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องจบชีวิตที่โรงพยาบาลลงแทนที่จะเป็นที่บ้าน

และด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนจากครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวเดี่ยวก็แทบจะกลายเป็นแค่คู่ชีวิตหรือคู่รัก เพราะอัตราการเกิดที่ลดลงต่ำมากในทั่วโลกซึ่งจะทำให้สังคมโลกทั้งใบกลายเป็นโลกของผู้สูงอายุเต็มตัวภายในปี 2050

แต่สิ่งที่น่ากังวลและน่ากลัวไม่น้อยกว่าความตายก็คือความแก่ชรา

เพราะความแก่ชรานั้นมากับการเสื่อมความสามารถในทุกๆด้านในการใช้ชีวิตปกติของเรา จากกิจวัตรประจำวันที่เราไม่เคยต้องใช้ความพยายามใดๆ เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว เข้าห้องน้ำ หรือการกินอาหาร ก็กลายเป็นเรื่องยากมากที่จะสามารถจัดการทั้งหมดด้วยตัวเองได้เมื่อร่างกายเราถดถอยลงในทุกๆด้านพร้อมๆกัน

ร่างกายและชีววิทยาในร่างกายเรานั้นแข็งแกร่งมากเมื่อเราอยู่ในวัยผู้ใหญ่ เราสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างดีเยี่ยมในทุกๆด้าน แต่พอเราแก่ตัวเรากลับกลายเป็นว่าทุกๆด้านนั้นก็เสื่อมความสามารถลงพร้อมกัน

เปรียบง่ายๆเวลาสร้างเครื่องจักรหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆนั้นถ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือโค้ดบรรทัดหนึ่งมีปัญหา มันก็จะยังสามารถทำงานต่อได้โดยไม่มีปัญหาให้เห็นชัด แต่พอแก่ตัวลงทุกชิ้นส่วนนั้นกลับมีปัญหาเข้ามาพร้อมกัน และนั่นก็เป็นช่วงเวลาที่เปราะบางที่สุด คิดภาพง่ายๆว่าจากร่างกายเราในวัยหนุ่มที่เหมือนหินผาแข็งแกร็งยากจะทำลาย ก็กลายเป็นแก้วใสบอบบางที่แค่ล้มก็พร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆไม่สามารถซ่อมแซมได้

นั่นแหละครับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและตัวเราทุกคน

การแพทย์ที่ยื้อชีวิตผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆเช่นโรคมะเร็งนั้น สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้มากมาย แต่ในจำนวนมากมายนั้นก็ต้องเจ็บปวดมากเกินจำเป็นจนไม่แน่ใจว่าการมีชีวิตอยู่ต่อด้วยสายฉีดอาหาร ถุงอุจจาระที่หน้าท้อง หรือต้องสอดท่อหายใจตลอด 24 ชั่วโมง คือความต้องการของผู้ป่วยเองที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ หรือเป็นความต้องการของคนรอบตัวที่อยากให้มีชีวิตอยู่ต่อ

เมื่อความตายไม่อาจเป็นทางเลือกได้ด้วยตัวเองนักในโลกใบนี้ บางประเทศเท่านั้นที่จะยอมให้มีการหยุดชีวิตตัวเองลงได้ตามกฏหมายเมื่อเจ้าตัวต้องการ หลายคนก็ต้องถูกตรึงอยู่ในห้องไอซียู อยู่ในท่อต่างๆมากมายที่ถูกเจาะ ถูกเสียบ ถูกสอดเข้าไป จนเราไม่แน่ใจว่านั่นคือสภาพของการมีชีวิตหรือไม่

ขอดึงหนึ่งช่วงที่น่าสนใจในหนังสือมาเล่าปิดท้ายให้ฟังแล้วกัน

ความน่าหวาดกลัวของการเจ็บป่วยและวัยชราไม่ได้เป็นเพียงความน่าหวาดกลัวของการสูญเสียที่แต่ละคนถูกบังคับให้ต้องจำทน แต่รวมถึงความน่าหวาดกลัวของการแปลกแยก

ในขณะที่ผู้คนเริ่มตระหนักว่าชีวิตของพวกเขามีขีดจำกัด พวกเขาไม่ได้ร้องขออะไรมากมาย พวกเขาไม่ได้แสวงหาความร่ำรวยมากขึ้น พวกเขาไม่ได้แสดงหาอำนาจมากขึ้น พวกเขาแค่เพียงร้องขอการอนุญาตให้พวกเขากำหนดเรื่องราวชีวิตของตัวเองบนโลกใบนี้ตราบเท่าที่มันเป็นไปได้ โดยทำการตัดสินใจและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นตามลำดับความสำคัญของตัวพวกเขาเอง 

ในสังคมสมัยใหม่ เรามักจะคิดว่าการไร้ความสามารถและความต้องการการพึ่งพาอาศัยทำให้เราไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากหลายคนก็คือเรื่องนี้มีความเป็นไปได้อย่างมาก

ครั้งนี้ผมขอเริ่มด้วยการหยิบปกหลังหนังสือขึ้นมาเขียนนะครับ

ทำไมเราถึงแพ้ท้อง
ทำไมถึงจึงมีไข้
ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจาม
ทำไมไฟฉายย่อส่วนเป็นจริงไม่ได้
ทำไมคนเมืองร้อนจึงชอบกินอาหารเผ็ด
กำเนิดการหายใจด้วยออกซิเจน
ทำไมปลวกต้องสร้างจอมปลวกใหญ่
ทำไมเราต้องกิน
ทำไมทารกหัวใจจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่
ทำไมเรากินอาหารสามมื้อต่อวัน แต่งูเหลือมกินวันละหนึ่งมื้อต่อเดือน
หูช้างและอัณฑะคนคล้ายกันตรงไหน
ทำไมอัณฑะจึงหดเล็กเมื่อเราโกรธ
ทำไมนกฟลามิงโกยืนขาเดียว
ทำไมเราเบื่ออาหารเวลาเราป่วย
และคำถามทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกันยังไง

ทั้งหมดนี้มีคำตอบอยู่ในหนังสือเล่มเล็กอ่านสนุกเข้าใจง่ายไม่ถึงสองร้อยหน้า คราวนี้ผมขอตอบคำถามจากปกหลังของเล่มทั้งหมดจากความจำที่เพิ่งอ่านจบไปเมื่อกี๊ให้ดูแล้วกันนะครับ

ทำไมเราถึงแพ้ท้อง เพราะ เป็นวิวัฒนาการกลไกป้องกันร่างกายของแม่ตั้งแต่สมัยโบราณที่ไม่มีตู้เย็นเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ได้ตลอดเวลา

ดังนั้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่อาจเน่าเสียได้ง่ายในสมัยโบราณนั้นทำให้ร่างกายของหญิงที่เริ่มตั้งท้องช่วงแรกไม่เปิดรับ แต่ด้วยเราเพิ่งสร้างเทคโนโลยีที่เรียกว่าตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาอาหารเมื่อไม่นานมานี้ (ไม่ถึงร้อยปี) ร่างกายเราจึงวิวัฒนาการตามไม่ทัน

ผมเดาว่าอีกซักพันปีร่างกายของผู้หญิงคงเลิกแพ้ท้องแล้วล่ะครับ

และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพราะร่างกายของทารกในช่วง 1-3 เดือนแรกนั้นยังนับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายของแม่ เพราะครึ่งหนึ่งของตัวอ่อนในท้องนั้นมาจาก DNA ของพ่อ

ดังนั้นร่างกายแม่ก็ต้องปรับตัวกับตัวอ่อนไปพร้อมกัน

ทำไมถึงจึงมีไข้ เพราะการเพิ่มความร้อนในร่างกายด้วยตัวเองของคนเราสามารถรักษาเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรีย ให้หายด้วยตัวเองได้ตามวิวัฒนาการของร่างกายแต่สมัยก่อน

ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจาม 

เพราะ ไข้มาลาเรียนั้นเป็นวิวัฒนาการในการไม่พึ่งพาร่างเหยื่อหรือเจ้าของมากนัก เน้นพาหะในการนำพาเชื้อให้แพร่พันธุ์อยู่รอดต่อไปได้ แต่ไข้หวัดนั้นไม่มีพาหะโดยตรงนอกจากเจ้าของร่าง ดังนั้นเลยเป็นเหตุให้เวลาเราเป็นไข้หวัดเรามักจะยังพอมีแรงออกไปพบเจอผู้คนเพื่อไอและจามแพร่เชื้อส่งต่อให้เชื้อไข้หวัดนั้นสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้

ทำไมคนเมืองร้อนจึงชอบกินอาหารเผ็ด

เพราะ ตั้งแต่สมัยก่อนจะวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วเมื่อ 200 ปีก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม พื้นที่ในเขตร้อนนั้นเนื้อสัตว์จะเน่าเสียได้ง่ายกว่าพื้นที่เขตหนาวมากนัก และสารทำความเผ็ดจากพืชสมุนไพรนั้นสามารถยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง

นั่นเลยเป็นเหตุผลให้คนในเมืองร้อนนิยมกินเผ็ดหรือจัดเครื่องเทศมากกว่าเขตหนาวอย่างยุโรบ

ทำไมเราต้องกิน เพราะ การกินเป็นการรับเอาพลังงานจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในร่างกายให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ และพลังงานที่เราต้องการนั่นก็คือพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

แต่ฟังแบบนี้แล้วเหมือนกับว่าเราอยู่ได้ด้วยการสังเคราะห์แสงอย่างนั้นแหละ

ความเป็นจริงแล้วก็ไกล้เคียงครับเพราะเซลล์ต้องพึ่งพาความร้อนในการแปลงเป็นพลังงานเพื่อให้อยู่รอดได้ แต่ร่างกายสัตว์นั้นมีความซับซ้อนและใหญ่โตเกินกว่าที่จะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้โดยตรง เราจึงต้องกินอาหาร และอาหารนั้นเอาพลังงานมาจากไหน

ต้นกำเนิดอาหารที่สำคัญที่สุดคือพืช

เพราะพืชนั้นดึงเอาอะตอมที่ลอยอยู่อย่างว่างเปล่าในอากาศมาประกอบเป็นโมเลกุลสารอาหารด้วยขาที่ยึดเหนี่ยวโมโลกุลเข้าด้วยกัน ซึ่งขาหรือพันธะระหว่างโมเลกุลนั้นพืชได้มาจากพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

และพลังงานทั้งหมดที่เราได้รับนั้นก็ได้มาจากการสลายพันธะที่เชื่อมต่อโมเลกุลออกมาเป็นพลังงานความร้อนเข้าสู่ร่างกายเรา (ถ้าจำผิดพลาดต้องไหนต้องขออภัยด้วย)

ทำไมเราเบื่ออาหารเวลาเราป่วย (ข้อนี้เซอร์ไพรซ์มาก) เพราะ ในอาหารบางประเภทที่เราเบื่ออาหารเวลาเราป่วยนั้นมักเป็นอาหารมื้อใหญ่ๆ เช่น สเต็ก หรือ เนื้อสัตว์

ในอาหารเหล่านั้นอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และธาตุเหล็กนั้นก็เป็นตัวเร่งให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี เลยเป็นเหตุผลให้ร่างกายเราเบื่ออาหารในช่วงป่วย เพื่อป้องกันร่างกายและรักษาตัวเอง

และคำถามทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกันยังไง

เพราะคำถามเหล่านี้ทำให้เราได้ค้นพบ “ข้อเท็จจริง” มากมาย ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกัน

ข้อเท็จจริงที่ดี ก็เปรียบเสมือนความรู้จริงรู้แจ้งในสิ่งนั้น สิ่งสำคัญคือในโลกที่มีข้อเท็จจริงมากมายปะปนกันเต็มไปหมด เราต้องรู้จัก “เลือก” ข้อเท็จจริงที่ดี ออกจากข้อเท็จจริงที่ไม่มีประโยชน์

แล้วเราก็ต้องมีทักษะในการ “ตั้งคำถาม” ที่ดีเพื่อที่จะได้คำตอบ หรือเจอข้อเท็จจริงที่ดีได้ตรงตามที่เราต้องการ และสุดท้ายนั้นคือเราจำเป็นต้องมีทักษะที่จะ “มองเห็นความเชื่อมโยง”

ข้อเท็จจริงที่ดีต่างๆที่เรามี ประกอบออกมาเป็นความรู้ใหม่ออกมาให้ได้ นี่คือความสามารถที่จำเป็นมากในโลกยุคปัจจุบันที่เรามีความรู้ล้นเหลือมากมายแต่กลับทำอะไรไม่ได้มากนัก..

..ก็คงเหมือนกับคำโบราณที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” แหละครับ