เบื้องหลังสัญญาเบาริ่ง และประวัติศาสตร์ภาคพิศดารของ Sir John Bowring

เรื่องราวประวัติของนักการทูตด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ที่เชื่อว่าคนไทยหลายคนคุ้นเคยกับ Sir John Bowring จากตำราเรียนวิชา สปช ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย เกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่เกี่ยวกับการค้าข้าวและเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติในสมัยรัชการที่ 4 ซึ่งหนังสือเรียนเราบอกแค่หัวข้อสรุปผิวเผิน แต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงว่ามหาอำนาจอย่างอังกฤษสนใจสยามประเทศที่ถือว่ากระจ้อยร่อยมาก ถ้าเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซียทั้งหลายไปทำไม เหตุผลนึงที่อังกฤษสนใจสยามเพราะต้องการข้าวที่สยามปลูกอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เพื่อไปใช้เลี้ยงปากท้องชาติอาณานิคมอย่างอินเดียเป็นหลัก และถือว่าสนธิสัญญาของเซอร์เบาว์ริ่งที่มีต่อประเทศไทยนั้น เป็นงานเปรียบเทียบกับประเทศจีนที่มีปัญหา ในการทำสัญญาระหว่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองตามมา ด้วยเหตุเรือเพียงลำเดียวของจีน แต่จากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งครั้งนั้นก็ทำให้คนไทยเดือดร้อนไปทั่วหัวระแหง โดยเฉพาะกับชนชั้นสูงที่ปกครองดูแลการเก็บส่วยภาษีแทนรัฐ ที่ต้องขาดรายได้จากการผูกขาดในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการจราจลในกรุงเทพจากชาวจีนตามมา หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่ม จุดเชื่อม และจุดต่อของชาติไทยในนโยบายด้านต่างประเทศกับทางชาติยุโรปในสมัยนั้น จนเป็นชาติไทยถึงวันนี้ อ่านเมื่อปี…