วรากรณ์ สามโกเศศ

GLOBAL CHANGE 7 วรากรณ์ สามโกเศศ

สรุปหนังสือ Global Change 7 หนังสือที่จะพาคุณไปอัพเดทสถานการณ์รอบโลกด้วยภาษาอ่านง่าย ในแบบที่ชาวบ้านคนเดินตลาดก็เข้าใจได้ ต้องบอกก่อนครับว่าอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นเสมือน idol ด้านการเขียน การเล่าเรื่องของผมตั้งแต่วันแรก ผมยังจำได้เลยว่าจากคนที่เกลียดการอ่านหนังสือมาก หรืออ่านเล่มไหนก็ไม่เคยสนุก ไม่เคยอ่านจบเล่ม กลับอ่านหนังสือของ อ.วรากรณ์ สามโกเศศ คนนี้จบเล่มอย่างรวดเร็วแล้วก็อดไม่ได้ที่ต้องไปหาหนังสือเล่มอื่นๆ ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ มาอ่านเพิ่มจนมั่นใจว่าน่าจะเก็บมาหมดครบทุกเล่มแล้วครับ ตั้งแต่หนังสือชุดโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี แล้วก็ชุดก่อนหน้าของอาจารย์ที่ออกกับสำนักพิมพ์ Openbooks มา 10 เล่ม แล้วผมก็ตามมาจนถึงหนังสือชุดนี้ Global…

GLOBAL CHANGE 5

ถ้าใครอยากจะเข้าใจภาพรวมของโลกในวันนี้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง โลกกำลังจะไปทางไหน หรือแม้แต่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นเกินจนไม่รู้ว่าควรต้องรู้อะไร หนังสือเล่มนี้คือคำตอบครับ GLOBAL CHANGE ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ มาถึงเล่มที่ 5 แล้ว ถ้าใครที่จะมาเริ่มจากเล่ม 5 ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่เข้าใจ เพราะอาจารย์เขียนเป็นบทสั้นๆไม่กี่หน้าที่อ่านจบในตัวเองได้ ดังนั้นถ้าอ่านเล่ม 5 แล้วชอบ จะย้อนกลับไปหาเล่ม 1-4 หรือผลงานเก่ากว่านี้ของอาจารย์มาอ่านก็ได้ครับ เพราะผมเป็นคนนึงที่รู้สึกว่าเนื้อหาที่อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ เขียนไม่เคยเก่าตามกาลเวลา เพราะแก่นแต่ละเรื่องนั้นแข็งแรงเสียจริง หนังสือเล่มนี้อัพเดทความรู้หลายสิ่งที่ทั้งจำเป็นในวันนี้ และควรรู้ล่วงหน้าก่อนวันพรุ่งนี้จะมาถึง ที่สำคัญคือหลายช่วงหลายตอนก็บอกให้เรารู้ว่ารู้อะไรไม่เท่ารู้เท่าทันตัวเอง เพราะอย่างที่บอกไปครับว่าในวันนี้เราเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เต็มไปด้วยความรู้มากมายอยู่บนอินเทอร์เน็ต…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…