พลิกมุมคิดชีวิตเปลี่ยน, ฟาสต์ฟู้ธุรกิจ 8

เรื่องเดียวกัน ของชิ้นเดียวกัน ปัญหาเดียวกัน พอเราได้พลิกมองอีกมุม เราก็เห็นอะไรที่เปลี่ยนไป จากปัญหาที่เป็นปัญหา พอมองอีกคนมองจากอีกมุม กลายเป็นโอกาสซะงั้น เหมือนตอนเรียนเรื่อง “มุม” สมัยประถม ที่บอกว่า “มุม” เกิดจากเส้นตรงสองเส้นที่ปลายชนกัน มองด้านนึงเห็นมุมแหลม แต่มองอีกทีก็มีมุมป้าน โชคดีว่าโจทย์ชีวิตไม่เหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ ที่บังคับให้วัดมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น เหมือนผู้ก่อตั้ง แดวู บริษัทเกาหลีชื่อดัง ที่มองคนละมุมกับนักลงทุนส่วนใหญ่กับประเทศซูดาน คิม วู ซอง คนนี้มีคติว่า “ทุกครั้งที่คนอื่นเริ่มคิดถึงความเป็นไปไม่ได้ ผมจะเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้” เลยเลือกลงทุนสร้างโรงงานยางรถยนต์แห่งแรกในซูดาน ทั้งที่ใครๆก็บอกเหมือนกันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรอด…

มองโลกง่ายง่ายสบายดี, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 3

เพราะหลายทีเราก็ตั้งโจทย์ให้ชีวิตยากไป ปัญหาเดียวกันแต่ตั้งคนละโจทย์ คำตอบก็ต่างกันแล้ว จะว่าไปการตั้งโจทย์ก็เหมือนกับการทำ strategy ปัญหาสุดคลาสสิคของการทำโฆษณาคือ…อยากให้คนรู้จักมากขึ้น หรือเพิ่ม Awareness ต้องทำไง หลายครั้งก็ตั้งโจทย์กันไปว่าต้องทำไวรัลวีดีโอ แล้วก็ไประดมเวลาพลังสมองกันหาทางทำวีดีโอให้น่าจะไวรัลที่สุด ถึงเวลาไอเดียมาก็คอมเมนท์กันตามความชอบ นั่นไม่ไวรัล นี่ไม่ไวรัล โดยที่ไม่เคยมีข้อสรุปกันเลยว่าอะไรที่ “น่าจะ” ไวรัลไม่ไวรัลเลยซักที ทั้งที่บางทีถ้าถอยออกมามองปัญหาให้กว้างขึ้นอีกนิด อาจจะเห็นอะไรที่มองข้ามไปทำให้ตั้งโจทย์ใหม่ได้ดีขึ้น โจทย์อาจไม่ใช่ awaness แต่อาจเป็นหาซื้อยากก็ได้ งั้นเลิกคิดไวรัล ไปเพิ่มช่องทางการขายหรือทำให้คนติดการซื้อผ่านออนไลน์กันเถอะ ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ทำมาแล้วครับตอนดันยอดขายให้โฟมล้างหน้ารายหนึ่งขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้นได้ 10เท่า พูดเรื่องตัวเองเยอะแล้ว กลับมาที่หนังสือหน่อยดีกว่า คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ระทมเพราะแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้…

เดาะโลกดีดีแล้วตีลังกา, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒

แม้จะเป็นหนังสือที่เก่า เพราะตีพิมพ์ครั้งแรกผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่เนื้อหาสาระ ความรู้ที่ได้จากหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้นั้นไม่เก่าเลย หนุ่มเมืองจันท์ นักเขียนที่มักจะแอบเน้นในเรื่องการ “ตั้งคำถาม” อย่างคงเส้นคงวาอยู่เสมอ ผ่านมาร่วมยี่สิบปีก็ยังคงให้ความสำคัญกับ “คำถาม” มากกว่านักเขียนคนไหนๆที่ผมเคยอ่าน แค่ตั้งคำถามก็บอกได้เลยว่าฉลาดหรือโง่ คำถามที่ดีจะพาไปสู่คำตอบที่ดี ส่วนคำถามที่ผิดยังไงก็ไม่มีทางเจอคำตอบที่ถูก แถมการตั้งคำถามเปิดกว้างยังพาไปสู่คำตอบที่หลากหลายมากกว่าอีก เช่น คำถามแรก 5+5 ได้คำตอบอะไร แน่นอนว่ามีแค่ 10 เป็นคำตอบเดียวคำตอบสุดท้าย แต่ถ้าถามใหม่ว่า อะไรที่บวกกันแล้วได้ 10 แน่นอนว่าคำตอบมีมากกว่าสิบไปจนหลักร้อยอย่างน้อยๆแน่ๆ คนเก่งๆผู้บริหารหลายคนในบ้านเราให้ความสำคัญกับการ “ตั้งคำถาม”…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 26, ทางของเราต้องก้าวเอง

จุดหมายเดียวกัน แต่กลับมีหลายเส้นทางให้เดินไป ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ถ้าจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่ ก็มีหลายทางที่เราจะไปถึงได้ ตั้งแต่นั่งเครื่อง หรือขับรถ ถ้าสมัยก่อนอาจจะมีเดินเรือย้อนขึ้นไป แถมถ้าขับรถไปเส้นทางถนนที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่นั้นก็ไม่ได้มีแค่เส้นเดียว ตั้งแต่ถนนสายหลักตรงผ่านพิษณุโลก หรือจะไปทางจังหวัดตาก ยังไม่นับทางเล็กทางน้อยที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่ปลายทางของเราได้เหมือนกัน ชีวิตก็เหมือนกัน จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่กลับมีเส้นทางมากมายให้เราเลือกเดิน บางคนจุดหมายปลายทางคือความร่ำรวย ก็มีตั้งแต่เป็นผู้บริหารเงินเดือนหลายแสน หรือจะเป็นเจ้าของธุรกิจเงินหมุนเวียนหลายล้าน หรือบางคนจะเลือกทางลัดเล็กๆอย่างเล่นหวย หรือบางคนอาจจะเลือกทางลัดที่เสี่ยงหนักๆขายยาผิดกฏหมาย แต่ทุกทางนั้นล้วนมาจากการ “เลือก” ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็เพราะชีวิตก็คือการเลือก แม้กระทั่งไม่เลือกก็ยังนับว่าเป็นการเลือกที่จะไม่เลือกเหมือนกัน ดังนั้นฟาสต์ฟู้ธุรกิจเล่มที่ 26 ของคุณหนุ่มเมืองจันท์นี้ จะเต็มไปด้วยบทความถ่ายทอดเรื่องราวที่เต็มไปด้วยทางเลือก ทั้งจากชีวิตบุคคลสำคัญในบ้านเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 17, ความหวังไม่เห็นไม่ใช่ไม่มี

“ความหวังเปรียบเสมืองพระเครื่องทางใจ” คุณหนุ่มเมืองจันท์เปรียบเทียบไว้ได้น่าสนใจ สำหรับผม “ความหวัง” เป็นเหมือนการให้กำลังใจตัวเองนิดๆ หลอกตัวเองหน่อยๆ แต่เป็นการหลอกแบบ White lie คือหลอกตัวเองในแง่ดีว่าวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หรือเรื่องดีๆกำลังจะตามมา แต่พอกลับมาคิดย้อนดู “ความหวัง” ก็ไม่ใช่การหลอกตัวเองในแง่ดีเสมอไปซะทีเดียว และไม่ได้ถึงขั้น “โลกสวย” เหมือนที่ชอบแดกดันกัน แต่ความหวัง ในแง่นึงก็เหมือนความจริง อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงและหนักหนามากๆในชีวิตเรา เรามักจะคิดว่าเราคงผ่านมันไปไม่ได้ มันคงไม่หายไปไหน หรือที่แย่ที่สุดคือเราเผลอคิดไปว่านี่เรื่องร้ายนี่เป็นเรื่องถาวรของชีวิตแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเป็นคนที่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆได้ทั้งชีวิต เพราะร้ายและดีคือส่วนผสมของชีวิตที่สลับกันมาเสมอ เหมือนเมื่อมีกลางคืนที่มืดมิด ยังไงก็ต้องมีกลางวันที่เจิดจ้าตามมา ถ้ากลางคืนคือความโชคร้ายในชีวิตเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 15, คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

คำถามก็เหมือนกับเข็มทิศ ที่จะชี้บอกว่าปลายทางที่เราต้องการจะไปถึงคือตรงไหน ส่วนคำตอบก็เปรียบได้กับเส้นทาง ที่เราจะก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงปลายทางของคำถามนั้น ดังนั้นถ้าผิดตั้งแต่คำถาม คำตอบที่ได้มากต่อให้สวยงามแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เช่น MK เองเคยมีปัญหาหลังจากเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้าว่า “น้ำเดือดช้า” ถ้าใครที่มีเตาไฟฟ้าที่บ้านจะรู้ดีว่าเวลาต้มน้ำด้วยเตาไฟฟ้านั้นไม่ร้อนเร็วสะใจเหมือนเตาแก๊สเลย ทางคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เจ้าของ MK เองมีพื้นฐานมาจากวิศวกรก็เลยใช้วิธีตั้งคำถามว่า น้ำเดือดด้วยอะไร คำตอบที่ได้คืออุณหภูมิ คุณฤทธิ์ เลยตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วมีอุณหภูมิอะไรบ้าง หนึ่งคือตัวเตาส่งไปยังตัวน้ำ สองคือตัวน้ำที่เดือดแล้ว จากคำถามนี้เองเลยได้คำตอบที่ทำให้น้ำซุปเดือดเร็วง่ายๆว่า ก็ทำให้น้ำมันร้อนพร้อมเดือดซิ คำตอบง่ายมากครับ ใครจะบอกว่าขวานผ่าซากก็แล้วแต่มุมมอง แต่คำตอบนี้จริงที่สุด เพราะถ้าแก้ที่ความร้อนของเตาไม่ได้ ก็แก้ที่ความร้อนของน้ำตรงเลยง่ายกว่า…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๕, การสิ้นสุดของสิ่งหนึ่ง คือ การเริ่มต้นของสิ่งใหม่เสมอ

จากภาพหน้าปกก็พอเดาได้ว่าจากหนอนตัวอ้วนกลมที่ได้แต่กระดื๊บ กระดื๊บ ทีละนิด กำลังจะเปลี่ยนผ่านกลายเป็นผีเสื้อปีกใหญ่ที่จะโบยบินออกไปได้ไกลเกินกว่าที่ตัวหนอนจะจิตนาการได้ แต่เจ้าหนอนผีเสื้อนั้นในวันที่มันยังเป็นหนอนมันคงไม่คิดว่าชีวิตมันจะเปลี่ยนแปลงอะไรไปกว่าที่เป็นอยู่ เปรียบกับชีวิตคนเราก็เหมือนกัน เรามักจะคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคงทนถาวร แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงข้างหน้ารออยู่อีกมากมาย แม้บางเรื่องจะไม่เป็นที่ต้องการ แต่ก็เหมือนกับชีวิตที่มีทั้งสองด้านสลับกันเสมอ เหมือนคำโบราณท่านว่า “ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน” ไม่มีใครบนโลกที่จะเจอชั่วสิบสี่ทีไม่มีดีซักหนเลยหรอกครับ คุณหนุ่มเมืองจันท์ และหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้รวมเรื่องราวเรื่องเล่าจากนักธุรกิจ นักคิด นักธุรกิจของเมืองไทยมากมาย เกี่ยวกับเรื่องราวการเกิดวิกฤตทางธุรกิจต่างๆของแต่ละแบรนด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นแบรนด์ดังๆทั้งนั้น ทั้งออฟฟิศเมทที่จากจะเจ๊งกลายมาเป็นธุรกิจหมื่นล้านได้ยังไง หรือไทยแอร์เอเซียจากที่เคยถูกแขวนไว้กับเทมาเซกจนเป็นได้อย่างทุกวันนี้ หรือธุรกิจที่พักโฮสเทลเล็กๆอย่างสุเนต์ตา เปลี่ยนจากเจ๊งให้กลายเป็นเจ๋งจนโตแล้วโตอีกได้ยังไง ยังมีอีกหลายเรื่องหลายเคสที่เล่าไม่หมด เพราะเดี๋ยวคุณหนุ่มเมืองจันท์จะตามมาด่าเอาว่าสรุปจนไม่เหลือให้อ่าน แต่สิ่งสำคัญคือ “ความคิด” ของคนเหล่านี้ ที่ผ่านวิกฤตเหล่านั้นจนมีเรื่องมาเล่าให้เราฟังในวันนี้…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 1

ผมเริ่มจากอ่านเล่มหลังๆของคุณหนุ่มเมืองจันท์ พอได้ลองมาอ่านเล่มแรกของแกก็เลยรู้สึกว่าสำนวนสำเนียงการเขียนเปลี่ยนไปพอสมควร แต่ที่ไม่เปลี่ยนคือ “สาระ” และความ “ตลก” ต้องบอกว่าเป็นหนังสือไม่กี่เล่มที่ทำให้ผมต้องกลั้นขำเวลาอ่านบนรถไฟฟ้าตอนเช้าไปทำงาน แถมบางตอนก็ขำมากจนต้องกลับมานั่งอ่านใหม่ที่บ้านหรือร้านกาแฟ จะได้ปล่อยก๊ากได้เต็มที่ แค่อ่านไม่กี่เล่มก็รู้ว่าคุณหนุ่มเมืองจันท์เป็นคนที่เขียนเล่าเรื่องมุขตลกได้ดีมากๆ ด้วยการเล่นกับความคาดหวังของคนแล้วก็หักมุมตบก๊ากเต็มๆ แถม “สาระ” ที่ได้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องจากไหนไกล กลับเป็นเรื่องราวของนักธุรกิจหรือคนดังคนไทยที่ไกล้ตัว จุดนี้แหละที่ผมว่าน่าสนใจ เพราะหนังสือส่วนใหญ่ที่ผมอ่านมักจะเป็นหนังสือแปล ทำให้เรื่องราวส่วนใหญ่แม้จะเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่จริง เป็นเรื่องผ่านประสบการณ์ตรง แต่ก็ยังมีระยะห่างความไกลตัวอยู่บ้าง แต่กับเรื่องเล่าของคุณหนุ่มเมืองจันท์กลับเป็นเรื่องไกล้ตัวมากมายที่นึกไม่ค่อยถึง เช่นธุรกิจของเจ้าสัวซีพี หรือเจ้าสัวเจริญเจ้าของไทยเบฟ (เบียร์ช้าง) ที่ดูจะมีหลายตอนในเล่มเหมือนกัน แต่กลับมีหลายแง่มุมมาเล่าถ่ายทอดได้น่าติดตามตลอด และก็ตบด้วยมุขตลกทุกตอนเหมือนเดิม ถ้าใครที่ชอบอ่านเอาสาระแบบไม่ซีเรียนนัก แถมยังได้ความตลกอารมณ์ขันแบบสมาร์ทๆ…

ชีวิตผิดได้ หนุ่มเมืองจันทร์ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๘

เล่มล่าสุดจากงานหนังสือล่าสุดที่ผ่านมา(ปลายปี2560)ของคุณ หนุ่มเมืองจันทร์ นักเขียนชายที่ทำให้ผมตกหลุมรักในสำนวนลีลาการเขียนของแกซะเหลือเกิน ในชื่อเล่มว่า “ชีวิตผิดได้” เหมือนจะ “ไม่ได้” แต่ก็มีการขีดฆ่าทับจงใจให้ดูออกว่าชีวิตจริงมันผิดได้เว้ย ถ้าจะให้สรุปก็คงสรุปได้ไม่ยากเลยว่า เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ “ผิด” และ “พลาด” จากคนเก่งทั้งดังและไม่ดังจากทั่วโลก ที่กว่าจะเก่งและดังได้อย่างทุกวันนี้ในจริงในชีวิตเค้าเต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดมากมาย และในโลกที่เราคุ้นเคยกับการ “ห้าม” การ “ผิด” ในแทบทุกเรื่องตั้งแต่เป็นเด็กเล็กจนเริ่มเข้าเรียน ตั้งแต่เลิกเรียนจนเข้าสู่วัยทำงาน เราถูกหล่อหลอมสั่งสอนเหลือเกินให้อย่าทำพลาด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำผิด โดยหารู้ไม่ว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จของคนที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดที่ยากจะมีสอนจากที่ไหน เหมือนประโยคนึงที่ผมจำเนื้อหาได้ แต่กลับจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนพูดว่า “คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือคนที่ไม่เคยลงมือทำอะไรเลย” ถ้าใครรู้ว่าใครเป็นคนพูดช่วยกระซิบบอกผมทีผมอยากตามมาเติมเครดิตให้เจ้าของครับ…

เพราะฉะนั้นฉันจึงถาม, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 30

สรุปหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เล่มล่าสุดจากงานหนังสือปลายปี 2018 ที่ผ่านมา ในฐานะหนึ่งในแฟนคลับที่ติดตามงานเขียนของคุณหนุ่มเมืองจันท์มาไม่นาน แต่มีตามอ่านครบทุกเล่ม และทุกเล่มก็มีจะมีอาหารสมองผสมเกร็ดความรู้ดีๆให้เรียนรู้อยู่เสมอ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เป็นการเล่นกับ “คำถาม” อีกครั้ง คำถาม ที่เปรียบเสมือนอาวุธสำคัญของคุณหนุ่มเมืองจันท์จากอาชีพนักข่าว ผมชอบประโยคนึงที่คุณหนุ่มเมืองจันท์มักพูดว่า “คำถามจะบอกทิศ คำตอบจะบอกทาง” นั้นบอกให้รู้ว่า “คำถามสำคัญกว่าคำตอบ” กว่ามัววิ่งหาคำตอบถ้ายังไม่รู้จักขัดเกลาคำถาม เพราะถ้าตั้งคำถามผิด ยังไงคำตอบก็ไม่ทางถูก แล้วเล่มที่ 30 นี้ถามอะไรที่น่าสนใจบ้าง เกรดนั้นสำคัญแค่ไหน? เกรดหรือเกียรตินิยมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ในความเป็นจริงแล้วหลังจบไปเกรดของคุณนั้นจะถูกใช้แค่วันเดียว “วันสมัครงาน”…