Tag

คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

Browsing

อ่านเล่มนี้จบทำให้คิดได้ว่าใครที่สามารถทำให้ตัวเอง “อารมณ์ดี” ได้มากกว่า และบ่อยครั้งกว่าคนอื่น ถือว่าคนนั้นเป็นคนมีบุญหนักหนา

เพราะในในแต่ละวันเป็นที่รู้กันดีว่าเราอารมณ์ของเราไม่ได้ดีเหมือนหน้าตาตลอดทั้งวัน มีดี มีเสีย มีดี มีร้าย มีสุข มีเศร้า มีหัวเราะ มีโกรธ แต่ทุกอารมณ์ของเราก็ล้วนแล้วแต่มาจากมุมในการมองโลกของเราทั้งนั้น

ไม่แปลกที่เราจะอารมณ์ไม่ดี เวลาที่ชีวิตมีปัญหา แต่กับคนที่น่าอิจฉาหรือเกิดมาโชคดีบางคน ที่สามารถมองปัญหาให้เป็นโอกาส และอารมณ์ดีไปกับมันได้ คนแบบนี้ซิ คือคนที่จะไปได้ไกลกว่าคนทั่วๆไปมาก

อาจจะมีเพื่อนเราบางคนที่เป็นคนอารมณ์เสียกับอะไรได้ง่ายๆ แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ยังพาลทำให้อารมณ์เสียได้ทั้งวัน แม้จะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่กลับมีคุณภาพเวลาของความสุขที่ไม่เท่ากันกับคนที่สามารถมองโลกในแง่ดีได้บ่อยๆ แม้แต่กับปัญหาก็กลับมองเป็นเกมส์ปริศนาที่น่าท้าทาย

คำถามสำคัญคือ เราจะเป็นคนที่โชคดีแบบนั้นได้อย่างไร
เราจะกลายเป็นคนที่มีอารมณ์ดีให้กับหลายๆเรื่องในชีวิตได้มากกว่าคนอื่นซักนิดได้ยังไง

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 5 นี้มีคำตอบให้ ผ่านเรื่องราวของหลายคนเก่ง คนดัง คนสำคัญที่หนุ่มเมืองจันท์รวมมาให้ เช่น 

นายแพทย์ปิโยรส ยอมสละทิ้งรายเดือนหลักครึ่งล้านต่อเดือน มาเหลือหลักหมื่นต่อเดือน เพื่อเอาเวลาที่หาเงินน้อยลงไปเป็นหมออาสา ผ่าตัดช่วยเหลือชาวบ้านเด็กเล็กในเคสต่างๆมากมาย

รับน้อยลง แต่ให้มากขึ้น แต่ก็มีความสุขจากการให้ที่มากขึ้น

หรือ พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์ ที่เอาปัญหาไกล้ตัวของตัวเองและมนุษย์บนโลกอย่าง เวลามีคนคุ้นหน้ามาทัก ตัวเองจำหน้าได้ แต่จำชื่อไม่ได้ ต้องพยายามนึกชื่อที่คุ้นตาให้ออกเพื่อไม่อยากให้คนที่ทักเสียความรู้สึก ให้กลายเป็นเกมส์ทศกัณฑ์ที่เคยโด่งดังในบ้านเรามาแล้ว

จากปัญหาใกล้ตัวที่ใครๆก็เป็น แต่กลับไม่มีใครเคยมองปัญหานี้อย่างอารมณ์ดีให้กลายเป็นโอกาสของเกมส์โชว์เงินล้าน ที่น่าจะสร้างรายรับหลายสิบหลายร้อยล้านให้เวิร์คพอยท์ในตอนนั้น

แล้วที่ ไอน์สไตน์ เคยพูดวลีสุดคลาาสสิคไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” โดยความหมายที่แท้จริงของไอน์สไตน์คือ “ความรู้” ที่เราได้รับนั้นคือของเก่าที่ถ่ายทอดกันมา แต่ “จินตนาการ” นั้นคือของใหม่ที่จุดประกายให้เกิด “ความรู้” ใหม่ขึ้นมา

ความรู้ และ จินตนาการที่มีนั้นสำคัญกับการใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง

ปัญหาในชีวิตจริงที่โรงเรียนไม่เคยสอน ไม่เคยให้แนวทางวิธีคิด เพราะการเรียนนั้น “คำถาม” มักจะถูกกำหนดให้มี “คำตอบ” ที่ถูกเพียงคำตอบเดียว แต่ในชีวิตจริงนั้นคำถามเดียวกลับมีได้หลายคำตอบที่ถูก แถมคำตอบที่ถูกของแต่ละคนก็ยังไม่เหมือนกันด้วย

“โสเครติส” ปราชญ์ชื่อดังยั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ผู้เป็นอาจารย์ให้กับปราชญ์ดังๆทั้งหลาย ไม่ว่าจะ “เพลโต” หรือ “อริสโตเติล” นั้นสอนศิษย์ด้วยการ “ตั้งคำถาม” ไปเรื่อยๆ ยิ่งอะไรที่ศิษย์แน่ใจในความรู้นั้นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด โสเครติสก็ยิ่งตั้งคำถามต่อไปจนศิษย์เกิดไม่แน่ใจจนต้องหาคำตอบใหม่ให้กับอาจารย์ไปเรื่อยๆ

ที่โสเครติสทำแบบนี้เพราะรู้ว่า คนเราจะหยุดเรียนรู้เมื่อคิดว่าตัวเองนั้นรู้เรื่องนั้นแล้ว แต่การที่เรารู้ว่าตัวเองไม่รู้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ

และผมก็พบหนึ่งคำถามสำคัญในหนังสือเล่มนี้ที่เหมาะกับคนทำธุรกิจทั้งหลายมมากๆว่า “เราอยู่ในธุรกิจอะไร” หรือคุณอยู่ในธุรกิจอะไร

คำถามนี้ทำให้เจ้าของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ปรับโครงสร้างธุรกิจตัวเองใหม่ เพราะมั่นใจว่าไม่ได้อยู่ในธุรกิจก่อสร้าง เพราะเค้าถามกับตัวเองว่าถ้าทำธุรกิจก่อสร้าง จะสามารถใหญ่สู้อิตาเลียนไทย หรือ ฤทธา บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ได้มั้ย?

พอรู้ตัวว่าไม่ได้ก็เลยถอยออกมา มองย้อนกลับมาว่าจริงๆแล้วตัวเองอยู่ในธุรกิจอะไร จนทำให้แลนด์แอนด์เฮ้าส์ยิ่งใหญ่มาได้ถึงทุกวันนี้

ถ้าอย่างนั้นคำถามเดียวกันนี้เอามาใช้ถามกับคนที่ทำโฆษณาล่ะ ในฐานะที่ผมก็ยังเป็นหนึ่งคนที่ยังเป็นแรงงานในธุรกิจนี้ ว่าจริงๆแล้วบริษัทโฆษณาหรือเอเจนซี่ทั้งหลายนั้นอยู่ในธุรกิจอะไรกันแน่

ผลิตหนังโฆษณา? ถ้าอย่างนั้นเราแข่งกับเฮ้าส์ไหวมั้ย?
การสื่อสาร? ถ้าอย่างนั้นเราสู้กับสื่อใหญ่ๆไหวมั้ย?
หรือเราอยู่ในธุรกิจที่เป็น business solution กันแน่?

เพราะแต่เดิมนั้นโฆษณามีหน้าที่เพื่อช่วยยอดขาย หรือช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้กับลูกค้าโดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีไม่กี่ทาง เช่น ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์

แต่ในวันที่ช่องทางการสื่อสารมหาศาลในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ ช่องทางการสื่อสารเดิมกลับไม่ช่วยยอดขาย หรือไม่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้แบรนด์ได้เหมือนเดิม

ความสนใจของคนกระจัดกระจายไปสิบไปร้อยช่องทาง วิธีการเดิมๆอย่างการสื่อสารเพรียวๆอาจไม่ตอบโจทย์ของลูกค้านักการตลาด หรือเจ้าของแบรนด์ต่างๆอีกต่อไป

ถ้ามองปัญหาอย่างอารมณ์ดี ก็จะเห็นทางออกใหม่ๆที่น่าสนุก

แต่ถ้ามองเรื่องนี้อย่างอารมณ์เสีย ก็คงจะยื้อยุดให้เวลาหยุดเดิน หวังว่าโลกจะหยุดหมุน แล้วก็ทำในสิ่งที่เคยๆเหมือนเดิมต่อไป

หวังว่าคนที่อ่านจะเป็นคนอารมณ์ดีกับชีวิตเพิ่มอีกนิดกันนะครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 45 ของปี 2018

อารมณ์ดีกับชีวิต
ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่ม 5
หนุ่มเมืองจันท์ เขียน
สำนักพิมพ์ มติชน

20180424

เพราะหลายทีเราก็ตั้งโจทย์ให้ชีวิตยากไป ปัญหาเดียวกันแต่ตั้งคนละโจทย์ คำตอบก็ต่างกันแล้ว

จะว่าไปการตั้งโจทย์ก็เหมือนกับการทำ strategy

ปัญหาสุดคลาสสิคของการทำโฆษณาคือ…อยากให้คนรู้จักมากขึ้น หรือเพิ่ม Awareness ต้องทำไง

หลายครั้งก็ตั้งโจทย์กันไปว่าต้องทำไวรัลวีดีโอ แล้วก็ไประดมเวลาพลังสมองกันหาทางทำวีดีโอให้น่าจะไวรัลที่สุด

ถึงเวลาไอเดียมาก็คอมเมนท์กันตามความชอบ นั่นไม่ไวรัล นี่ไม่ไวรัล โดยที่ไม่เคยมีข้อสรุปกันเลยว่าอะไรที่ “น่าจะ” ไวรัลไม่ไวรัลเลยซักที

ทั้งที่บางทีถ้าถอยออกมามองปัญหาให้กว้างขึ้นอีกนิด อาจจะเห็นอะไรที่มองข้ามไปทำให้ตั้งโจทย์ใหม่ได้ดีขึ้น

โจทย์อาจไม่ใช่ awaness แต่อาจเป็นหาซื้อยากก็ได้

งั้นเลิกคิดไวรัล ไปเพิ่มช่องทางการขายหรือทำให้คนติดการซื้อผ่านออนไลน์กันเถอะ

ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ทำมาแล้วครับตอนดันยอดขายให้โฟมล้างหน้ารายหนึ่งขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้นได้ 10เท่า

พูดเรื่องตัวเองเยอะแล้ว กลับมาที่หนังสือหน่อยดีกว่า

คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ระทมเพราะแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้ มักเชื่อว่าปัญหามันยิ่งใหญ่เกินแก้ไข

โดยลืมไปว่าต้นเหตุที่แท้จริงคือเราตั้งโจทย์อย่างไรให้กับตัวเราเอง

คนสมัยนี้ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ…รีบไปให้ถึง ความสำเร็จ

รถต้องพร้อม บ้านต้องมี ต่างประเทศต้องไป ขอกระเป๋าไฮเอนอีกซักใบ หรือนาฬิกาสวิซหกหลักซักเรือน

ก็เลยโหมหักทำงานหนักแล้วรอหยุดพักชาร์จแบตเอาวันเสาร์อาทิตย์

แล้วสิ่งที่ตามมาเห็นบ่อยๆก็หนีไม่พ้นโรคเครียด ไมเกรน ซึมเศร้า ที่ได้ยินบ่อยๆก็ทำนองนี้

เหมือนเร่งขับรถกรุงเทพเชียงใหม่ไม่หยุดพัก กะอัด 140 ยาวตลอดทางเพื่อหวังว่าถึงที่พักแล้วจะสุข นอนเอนกายกลางเตียงให้เต็มที่

แบบนี้ก็ไม่ผิดอะไร แต่สิ่งที่พลาดไปคือความสวยงามระหว่างทาง

ทั้งที่ถ้าเราช้าซักนิด แวะนั่นหน่อย หรือลองหลงทางนิดๆ ก็จะได้มีความสุขระหว่างทางขับรถขึ้นมากมาย ไม่ต้องเครียดเอาตลอดทางว่าเมื่อไหร่จะถึงๆ

พระไพศาลท่านว่า ชีวิตก็เหมือนการเดินเขา เดินช้ากลับได้เร็ว เดินเร็วกลับได้ช้า เพราะต้องเสียเวลานั่งพักตลอดทาง ยิ่งพักนานเท่าไหร่เส้นสายก็กลับตึงเร็วเข้า ทำให้เดินได้ไม่คล่องแคล่ว

คนเดินช้านั้นใช่ว่าจะไม่เหนื่อย กระนั้นในขณะที่เดินแต่ละก้าวก็ได้พักไปในตัว จึงไม่ต้องเสียเวลาพักยาวๆ

โลกเป็นอย่างที่เรามองจริงๆครับ

เหมือนเวลาเราเห็นจุดดำเล็กๆตรงกลางภาพขาว เราส่วนใหญ่กลับมองว่าภาพนั้นดำหรือไม่สะอาด

ทั้งที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพนั้นคือสีขาวสะอาดแท้ๆ

จะยกตัวอย่างเรื่องน้ำครึ่งแก้วก็เชยแล้ว ใครๆก็พูดกัน เอาจุดดำบนภาพขาวก็แล้วกัน ว่าคุณจะเลือกมองเห็นแต่สีดำ หรือมองเห็นสีขาว

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 43 ของปี 2018

มองโลกง่ายง่ายสบายดี, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 3
หนุ่มเมืองจันท์ เขียน
สำนักพิมพ์ มติชน

20180420