Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…