Animal Farm แอนิมอลฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์

เป็นวรรณกรรมเล่มที่สองที่เคยอ่าน เล่มแรกคือ Utopia (ไม่ใช่สถานที่อาบน้ำหลังศูนย์วัฒนธรรมนะครับ) และมาถึงเล่มนี้คือ Animal Farm ว่าด้วยเรื่องของการลุกขึ้นปฏิวัติของเหล่าสัตว์ในฟาร์มจากมนุษย์ จากเหล่าสัตว์ที่เคยถูกกดขี่ข่มเหงจากมนุษย์เดินสองขากลายมาเป็นเหล่าสัตว์ลุกขึ้นฮือไล่มนุษย์เจ้าของฟาร์มออกไปเพื่อปกครองดูแลกันเอง แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่าความโลภและอำนาจนั้นทำให้สัตว์นั้นค่อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่เจ้าเล่ห์ขึ้นเรื่อยๆ กดขี่สัตว์ด้วยกันเองขึ้นเรื่อยๆ บิดเบือนหลอกลวงกันขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดบรรดาสัตว์อย่างหมูที่เป็นกลุ่มผู้นำในฟาร์มแห่งสรรพสัตว์นั้นทำตัวเยี่ยงมนุษย์เองที่เค้าเคยโกรธเกลียด และสาบแช่งต่างๆนาๆ จากบัญญัติ 7 ประการตอนตั้งต้นว่าสุดท้ายแล้วสัตว์อย่างพวกเค้าจะไม่ทำตัวเยี่ยงมนุษย์นั้นกลับเจ้าเล่ห์ยิ่งกว่ามนุษย์ยิ่งนัก ผู้เขียนๆเรื่องนี้ในยุคที่รัสเซียปฏิวัติการปกครองจากพวกราชวงศ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จนถูกห้ามตีพิมพ์ในอังกฤษ์เป็นเวลาหลายปีเพราะในช่วงนั้นอังกฤษเป็นพันธมิตรกับรัสเซียในช่วงสงครามโลก แม้จะคนละประเทศแต่อิทธิพลก็ยังแผ่ขยายมาถึงอังกฤษอดีตมหาอำนาจของโลกได้เต็มที่ในช่วงนั้น สุดท้ายแล้วอ่านจบพบว่านี่คือนวนิยายตลกร้ายของสังคมโลกในหลายๆประเทศทั่วโลก ไม่เหมือนมากหน้าก็น้อยบท เพราะกลุ่มผู้นำก็อยากจะคงอำนาจตัวเองไว้ และกลุ่มผู้คนประชาชนก็ได้แต่คว้าฝันให้อิ่มท้องไปเรื่อยๆ George Orwell เขียน คนเดียวกับผู้เขียน 1984

สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst

“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน…

Human Rights สิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ดองหนังสือซีรีส์ A Very Short introduction มานาน ก็ถึงคราวไล่อ่านเรียงตามเรื่องซักที จากปรัชญาการเมืองที่มีเกริ่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เลยถึงเวลาหยิบหนังสือสิทธิมนุษยชนความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้มาอ่านซักที ถ้าให้สรุปสั้นๆหลังอ่านจบว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ก็คงบอกได้ว่าคือแนวคิดที่ไม่แบ่งชายแยกหญิง ไม่แบ่งขาวแยกดำ ไม่แบ่งเชื้อชาติแยกคนกลุ่มน้อย ไม่แบ่งศาสนาแยกความเชื่อ ไม่แบ่งรวยแยกจน คือหลักแนวคิดที่ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนมีสิทธิเยี่ยงมนุษย์หนึ่งคนเท่ากันถ้วนหน้า สิทธิมนุษยชนเลยเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ไม่มีกฏิกาเส้นกำหนดแน่นอน ไม่มีขาวดำชัดเจน หลายประเด็นล้วนเป็นสีเทาๆ และสิทธิมนุษยชนจะไม่มีวันลดลง กลับมีแต่เพิ่มประเด็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งถกเถียงกันก็ยิ่งเจอประเด็นใหม่ๆของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีให้ทุกคนแม้แต่ผู้ก่อการร้าย แม้ถูกจับได้ก็ยังได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนจนกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่ว่า Human Rights for Act หรือจะเป็น…

Political Philosophy ปรัญชาการเมือง

ถ้าถามว่า ปรัชญการเมือง ต่างกับ การเมือง ปกติอย่างไร ผมคงสรุปหลังจากอ่านจบได้ว่า การเมืองโดยทั่วไปคือผลลัพธ์หรือวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น . เช่น นักการเมืองอาจมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้วยการทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา เอาง่ายๆก็คือทุกผู้ทุกคนมีงานทำนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ทุกคนมีงานทำเท่านั้น เพราะนั่นอาจหมายถึงว่ามีอาชีพที่คนไม่ได้อยากทำ หรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ทำให้ไม่สามารถทำงานออกมาได้เต็มที่ เช่น ถ้านักการเมืองสร้างงานในตำแหน่งเสมียน หรือพนักงานกวาดถนน (ที่เอ่ยถึงสองอาชีพนี้ไม่ได้ดูถูก แค่ยกเป็นตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพเร็วๆ) ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ . นี่คือ การเมือง . ส่วนปรัชาการเมืองหมายถึงการคิด คิดไปยังความจริงแท้ของเป้าหมายทางการเมืองนั้น เช่น…

1984 George Orwell

เป็นวรรณกรรมน้อยเล่มที่ผมอ่าน ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่ค่อยอินเท่าไหร่ แต่กับ 1984 เล่มนี้ที่เคยได้ยินคนพูดถึง และประจวบกับช่วงนี้ไล่อ่านหนังสือแนวการเมืองการปกครองหลายเล่ม จนทำให้ถึงคราวที่ต้องหยิบ 1984 ขึ้นมาลองอ่านดูบ้าง . 1984 ถ้าให้สรุปสั้นๆก็คงบอกได้ว่าเป็นหนังสือแนวการเมืองการปกครองในจินตนาการของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงช่วงสงครามเย็น ที่ระบบการปกครองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่แข็งขันกัน ระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม . ในหนังสือว่าด้วยผู้นำสูงสุดหรือที่เรียกว่า Big Brother หรือ “พี่เบิ้ม” ในชื่อไทย ที่คอยจับตาดูประชาชนทุกผู้คน โดยเฉพาะสมาชิกในพรรคชั้นนอกไม่ให้หลุดจากแนวคิดของพรรคหรือผู้นำ ผ่านโทรภาพที่เหมือนทีวีรุ่นพิเศษที่สามารถเฝ้ามองและฟังเสียงเรากลับได้ด้วย . ถ้าเปรียบโทรภาพใน 1984 ผมว่าก็เหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต”…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…