สรุปรีวิวหนังสือ The Mathematics of Love บวก ลบ คุณ ฉัน ความน่าจะรักระหว่างเราHannah Fry เขียนวิไลรัตน์ เอมเอี่ยม แปลสำนักพิมพ์ Be(ing)

สรุปรีวิวหนังสือ The Mathematics of Love บวก ลบ คูณ ฉัน ความน่าจะรักระหว่างเรา หนังสือที่ถอดรหัสความรักออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างคณิตศาสตร์ ถอดรหัสออกมาเป็นสมการ คลี่คลายออกมาเป็นสัดส่วนเปอร์เซนต์ความน่าจะเป็น

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เน้นเรื่องคณิตศาสตร์ที่เข้าใจยากอย่างชื่อ แต่เน้นการอธิบายให้เห็นความน่าจะเป็นว่าแท้จริงแล้วท่ามกลางเมืองหลวง เมืองใหญ่ที่คุณอยู่ ท่ามกลางประชากรหลักสิบล้านคน มีคนที่น่าจะเข้าข่ายเป็นเนื้อคู่คุณได้จริงอยู่กี่คนกันแน่ ซึ่งวิธีการคำนวนด้วยหลักคิดก็น่าสนใจมากครับ

ท่ามกลางสิบล้าน มีคนที่น่าจะเป็นเนื้อคู่เราได้จริงแค่ 260 คนเท่านั้น!

ลองดูตัวอย่างหลักการคำนวนหาความน่าจะเป็นถึงจำนวนเนื้อคู่เราดังนี้

  1. มีเพศตรงข้ามอาศัยอยู่ใกล้เรากี่คน (ในลอนดอน มีผู้หญิงประมาณ 4 ล้านคน)
  2. มีกี่คนที่น่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสม (20% คิดเป็นประมาณ 800,000 คน)
  3. มีกี่คนที่น่าจะเป็นโสด (50% คิดเป็นประมาณ 400,000 คน)
  4. มีกี่คนที่น่าจะจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (26% คิดเป็นประมาณ 104,000 คน)
  5. มีกี่คนที่น่าจะดูดีมีเสน่ห์ (5% คิดเป็นประมาณ 5,200 คน)
  6. มีกี่คนในนั้นที่คิดว่าเรามีเสน่ห์และน่าสนใจเช่นกัน (5% คิดเป็นประมาณ 260 คน)

เห็นวิธีการคำนวนหาจำนวนเนื้อคู่ที่น่าจะเป็นได้ของผู้ชายในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนมั้ยครับ ผมชอบหลักแบบนี้มาก เพราะทำให้เมื่อต้องคำนวนก็จะง่ายขึ้นมหาศาล ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะไม่ได้พูดเรื่องวิธีการคำนวน บวก ลบ คูณ หาร แบบคณิตศาสตร์ชั้นสูง แต่จะอธิบายหลักการคำนวนว่าในแต่ละสถานการณ์เรามีโอกาสพบรัก หรือเลิกลากันเท่าไหร่

นี่ยังไม่นับว่าในจำนวน 260 คนนี้เมื่อเอาไปคำนวนต่อพื้นที่ของเมืองเราจะมีโอกาสงมเข็มในมหาสมุทรเจอได้น้อยขนาดไหน เห็นไหมครับว่าการได้เจอ 1 ใน 260 คนนี้นับเป็นเรื่องโชคดีมาก หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งคือลดเงื่อนไขบางอย่างลงก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คุณโชคดีเจอเนื้อคู่ได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นก่อนจะระบุสเป็กอะไรของเนื้อคู่ที่ตัวเองอยากได้ ขอให้คิดถึงหลักการคำนวนข้างบนนี้ไว้ แล้วคุณจะเข้าใจว่าทำไมคุณถึงควรลดสเป็กลงเพื่อให้มีโอกาสมากขึ้น

ความน่าจะเป็นของคนหน้าตาดี มักไม่ค่อยมีคนกล้าเข้ามาจีบ

เพราะด้วยความหน้าตาดีก็ย่อมทำให้ใครๆ ก็สนใจ อยากมอง อยากทัก อยากเป็นเฟรน แต่นั่นก็ทำให้ใครๆ ที่เข้ามาส่วนใหญ่ต่างก็คิดว่าคนคนนี้น่าจะมีคนมากมายเข้ามารุมจีบอยู่แล้วหละ

แล้วจากความคิดเช่นนั้นของคนส่วนใหญ่ก็ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะมองอยู่ห่างๆ แล้วถอยห่างออกไปจีบคนที่ดูดีรองลงมาหน่อย แต่น่าจะมีโอกาสมากกว่า แต่คนส่วนใหญ่หารู้ว่าเพราะคนส่วนใหญ่คิดแบบเดียวกันนั้น จึงทำให้คนหน้าตาดีมักอาภัพรักกว่าที่คิด

เมื่อคนส่วนใหญ่ไม่ชอบความผิดหวัง ไม่อยากเสียหน้า หรือกลัวว่าจะเข้าไปยุ่งกับเขาหรือเธอที่มีแฟนแล้ว เลยทำให้คนหน้าตาดีส่วนใหญ่มักบ่นว่าโสดตัวเบอเร่อ หรือมักบอกเสมอว่าไม่เห็นจะมีใครเข้ามาจีบเลย มักเป็นเรื่องจริงกว่าที่คิด

ดังนั้นในกรณีนี้บอกให้รู้ว่า ถ้าเจอคนหน้าตาดีมากๆ ที่เราชอบเมื่อไหร่ แอดเฟรนไปแล้วรีบทักชวนคุยเลยครับ น่าจะเป็นการแทงสวนคนหมู่มาก และนั่นก็หมายความว่าคุณน่าจะมีโอกาสที่จะจีบเขาหรือเธอคนนั้นติด จนได้พัฒนาความสัมพันธ์จากเพื่อนเป็นแฟน จากแฟนเป็นอะไรต่ออะไรๆ ได้มากกว่าที่คิด

Relationship Score ความน่าจะรัก(กันรอด)

เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนว่าจะรักกันได้รอดแบบยืดยาว หรือจะจบลงในอีกไม่นานสามารถใช้หลักการณ์ทางคณิตศาสตร์มาคำนวนได้

เมื่อเหล่านักวิจัยได้ทดลองอัดเทปบันทึกภาพและบทสนทนาระหว่างคู่รักทั้งหลาย แล้วเอามาประเมินดูเพื่อหาว่าคู่รักแบบไหนมักอยู่กันยาว และคู่รักแบบไหนมักไปกันไม่รอดก็ได้พบสูตรสำเร็จ Key Insight ว่า

คู่รักที่จะอยู่กันรอดไม่ใช่คู่รักที่ไม่บ่นต่อกัน เอาแต่หวานสวีทกัน แต่เป็นคู่รักที่สามารถบ่นระบายกันได้ แต่ก็สามารถกลับมาคุยกันด้วยดีได้ในเวลาอันสั้น

ถ้าเปรียบอารมณ์เป็นดั่งน้ำเดือด การที่เราเดือดแล้วไม่ได้ระบายทำตัวกลายเป็นหม้อความดัน นานวันเข้าความดันในหม้อคงทำให้หม้อระเบิดบ้านพังได้ แต่ถ้าเราค่อยๆ ปล่อยความร้อนให้ระบายออกมา มันก็จะเป็นการลดความตึงเครียดของฝ่ายหนึ่ง

และในขณะเดียวกันอีกฝ่ายเมื่อเห็นคู่รักตัวเองเดือด ต้องทำตัวเป็นน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง ทำการปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นลงโดยไว อย่าปล่อยให้ความร้อนจากกาน้ำทำให้บ้านร้อนเกินไปจนอึดอัดอยู่ไม่ได้ ต้องรีบเปิดหน้าต่างให้ความร้อนออก หรืออาจจะเปิดพัดลม เปิดแอร์ เอาปากเป่ามือพัด ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้สิ่งที่ระบายออกมาจางหายไปโดยไว

นี่คือ Key Insight ของคู่รักที่อยู่กันยาวและยืด ไม่ใช่เก็บอารมณ์ไว้ไม่ระบาย แต่รู้จักระบายออกมาบ้าง และก็ต้องรีบปรับอุณหภูมิให้กลับมาเย็นหรือเป็นปกติให้เร็วที่สุด

เหมือนกับที่คำโบราณว่า อย่าปล่อยให้โกรธกันข้ามคืนจนตะวันขึ้นกลายเป็นวันใหม่ครับ

แต่ถ้าระบายออกมากเกินไปไม่รู้จักเก็บกรองไว้ ก็จะพลอยทำให้อีกฝ่ายเหนื่อยในการปรับอุณหภูมิบ้านให้น่าอยู่ จนเขาอาจจะเลือกย้ายบ้านออกไปได้ในท้ายที่สุด

  • ความสุข +4
  • อารมณ์ขัน +4
  • ความรักความใส่ใจ +4
  • ความมีเหตุผล +4
  • ความสนใจ +2
  • เฉยๆ 0
  • เศร้าเสียใจ -1
  • พร่ำบ่นก่นด่า -1
  • โกรธ -1
  • บังคับควบคุม -1
  • ดื้อหัวชนฝา -2
  • พร้อมเปิดศึกทุกเมื่อ -2
  • การป้องกันตัวเอง -2
  • น่ารังเกียจ -3
  • ดูถูกเหยียดหยาม -4

ดูตัวเลขคะแนน Relationship Score ทั้งหมดนี้แล้วหมั่นคำนวนกับคู่รักเราด้วยนะครับว่า เราทำให้คะแนนรวมความสัมพันธ์เป็นบวกเสมอหรือยัง ลบได้ไม่ว่า แต่อย่าปล่อบให้ลบนานจนอาจนำไปสู่การเลิกลาที่คุณไม่ต้องการนะครับ

สรุปหนังสือ The Mathematics of Love

Photo: https://www.biblio-store.com/Being-%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%81-%E0%B8%A5%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99—%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3-24.html

และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของคณิตศาสตร์ในความรัก ความสัมพันธ์ ในแบบฉบับที่คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้และสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริง

เมื่อคณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรากว่าที่คิด และที่เกินกว่าที่คิดคณิตศาสตร์ยังเอามาใช้ช่วยคำนวนเรื่องความรักเราทุกคนได้ด้วยครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 9 ของปี

สรุปรีวิวหนังสือ The Mathematics of Love บวก ลบ คุณ ฉัน ความน่าจะรักระหว่างเราHannah Fry เขียนวิไลรัตน์ เอมเอี่ยม แปลสำนักพิมพ์ Be(ing)

สรุปรีวิวหนังสือ The Mathematics of Love บวก ลบ คุณ ฉัน ความน่าจะรักระหว่างเรา
Hannah Fry เขียน
วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม แปล
สำนักพิมพ์ Be(ing)

อ่านสรุปหนังสือแนวนี้ในอ่านแล้วเล่าต่อ > https://www.summaread.net/category/science/

สั่งซื้อออนไลน์ > https://click.accesstrade.in.th/go/V5uGfyVF

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/