Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต

เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก

เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น

คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง

จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมาก่อนจะปฏิวัติอุสาหกรรมคือเราส่วนใหญ่มักได้ใช้ชีวิตสุดท้ายและตายที่บ้านกับครอบครัวหรือในบ้านที่มีความทรงจำของตัวเอง แล้วมันเพราะอะไรกัน

เพราะการแพทย์ที่พัฒนาไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้งแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความตายไว้ได้ซักที

สมัยก่อนโรงพยาบาลเป็นแค่สถานที่พักพื้นไม่ต่างจากบ้านมากนัก แค่มีคนที่เตรียมพร้อมดูแลให้ความสะดวกสบายเรามากกว่าที่บ้านหน่อย แต่เครื่องไม้เครื่องมือหรืออัตราการรอดเมื่อไปโรงพยาบาลนั้นไม่ได้สูงกว่านอนพักพื้นที่บ้านซักเท่าไหร่ แต่พอเมื่อการแพทย์และเทคโลยีพัฒนามากขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เรามักจะฝากความหวังว่าพยายามจะทำให้พญามัจจุราชนั้นไม่สามารถเข้าไกล้เราได้ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องจบชีวิตที่โรงพยาบาลลงแทนที่จะเป็นที่บ้าน

และด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนจากครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวเดี่ยวก็แทบจะกลายเป็นแค่คู่ชีวิตหรือคู่รัก เพราะอัตราการเกิดที่ลดลงต่ำมากในทั่วโลกซึ่งจะทำให้สังคมโลกทั้งใบกลายเป็นโลกของผู้สูงอายุเต็มตัวภายในปี 2050

แต่สิ่งที่น่ากังวลและน่ากลัวไม่น้อยกว่าความตายก็คือความแก่ชรา

เพราะความแก่ชรานั้นมากับการเสื่อมความสามารถในทุกๆด้านในการใช้ชีวิตปกติของเรา จากกิจวัตรประจำวันที่เราไม่เคยต้องใช้ความพยายามใดๆ เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว เข้าห้องน้ำ หรือการกินอาหาร ก็กลายเป็นเรื่องยากมากที่จะสามารถจัดการทั้งหมดด้วยตัวเองได้เมื่อร่างกายเราถดถอยลงในทุกๆด้านพร้อมๆกัน

ร่างกายและชีววิทยาในร่างกายเรานั้นแข็งแกร่งมากเมื่อเราอยู่ในวัยผู้ใหญ่ เราสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างดีเยี่ยมในทุกๆด้าน แต่พอเราแก่ตัวเรากลับกลายเป็นว่าทุกๆด้านนั้นก็เสื่อมความสามารถลงพร้อมกัน

เปรียบง่ายๆเวลาสร้างเครื่องจักรหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆนั้นถ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือโค้ดบรรทัดหนึ่งมีปัญหา มันก็จะยังสามารถทำงานต่อได้โดยไม่มีปัญหาให้เห็นชัด แต่พอแก่ตัวลงทุกชิ้นส่วนนั้นกลับมีปัญหาเข้ามาพร้อมกัน และนั่นก็เป็นช่วงเวลาที่เปราะบางที่สุด คิดภาพง่ายๆว่าจากร่างกายเราในวัยหนุ่มที่เหมือนหินผาแข็งแกร็งยากจะทำลาย ก็กลายเป็นแก้วใสบอบบางที่แค่ล้มก็พร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆไม่สามารถซ่อมแซมได้

นั่นแหละครับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและตัวเราทุกคน

การแพทย์ที่ยื้อชีวิตผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆเช่นโรคมะเร็งนั้น สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้มากมาย แต่ในจำนวนมากมายนั้นก็ต้องเจ็บปวดมากเกินจำเป็นจนไม่แน่ใจว่าการมีชีวิตอยู่ต่อด้วยสายฉีดอาหาร ถุงอุจจาระที่หน้าท้อง หรือต้องสอดท่อหายใจตลอด 24 ชั่วโมง คือความต้องการของผู้ป่วยเองที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ หรือเป็นความต้องการของคนรอบตัวที่อยากให้มีชีวิตอยู่ต่อ

เมื่อความตายไม่อาจเป็นทางเลือกได้ด้วยตัวเองนักในโลกใบนี้ บางประเทศเท่านั้นที่จะยอมให้มีการหยุดชีวิตตัวเองลงได้ตามกฏหมายเมื่อเจ้าตัวต้องการ หลายคนก็ต้องถูกตรึงอยู่ในห้องไอซียู อยู่ในท่อต่างๆมากมายที่ถูกเจาะ ถูกเสียบ ถูกสอดเข้าไป จนเราไม่แน่ใจว่านั่นคือสภาพของการมีชีวิตหรือไม่

ขอดึงหนึ่งช่วงที่น่าสนใจในหนังสือมาเล่าปิดท้ายให้ฟังแล้วกัน

ความน่าหวาดกลัวของการเจ็บป่วยและวัยชราไม่ได้เป็นเพียงความน่าหวาดกลัวของการสูญเสียที่แต่ละคนถูกบังคับให้ต้องจำทน แต่รวมถึงความน่าหวาดกลัวของการแปลกแยก

ในขณะที่ผู้คนเริ่มตระหนักว่าชีวิตของพวกเขามีขีดจำกัด พวกเขาไม่ได้ร้องขออะไรมากมาย พวกเขาไม่ได้แสวงหาความร่ำรวยมากขึ้น พวกเขาไม่ได้แสดงหาอำนาจมากขึ้น พวกเขาแค่เพียงร้องขอการอนุญาตให้พวกเขากำหนดเรื่องราวชีวิตของตัวเองบนโลกใบนี้ตราบเท่าที่มันเป็นไปได้ โดยทำการตัดสินใจและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นตามลำดับความสำคัญของตัวพวกเขาเอง 

ในสังคมสมัยใหม่ เรามักจะคิดว่าการไร้ความสามารถและความต้องการการพึ่งพาอาศัยทำให้เราไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากหลายคนก็คือเรื่องนี้มีความเป็นไปได้อย่างมาก

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/