สรุปรีวิวหนังสือ คอร์รัปชั่น Corruption: A very short introduction

หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจความหมายของ #คอร์รัปชัน คำเดิมที่คิดว่ารู้จักดีแล้วให้ดียิ่งขึ้นและลึกซึ้งขึ้น โดยเริ่มจากบทแรกที่ถามง่ายๆว่า “คอร์รัปชันคืออะไร?”

คอร์รัปชันแรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นหนึ่งในวาเหตุสำคัณที่ทำให้จักรวรรดิโรมันต้องเสื่อมสลาย

และด้วยการคอร์รัปชันนี่เองที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาใหม่กลายเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะผู้คนส่วนหนึ่งในตอนนั้นทนไม่ไหวกับการคอร์รัปชันของคริสตจักรโรมันคาทอลิก จากการขายใบชำระบาปที่ระบาดมากมายในตอนนั้น

คอร์รัปชันแบ่งกว้างๆได้เป็นสองประเภท คือแบบ “กินหญ้า” กับแบบ “กินเนื้อ”

คอร์รัปชันแบบกินหญ้าหมายถึง เจ้าหน้าที่รับเงินเมื่อมีผู้เสนอสินบนให้

ส่วนคอร์รัปชันแบบกินเนื้อหมายถึง เจ้าหน้าที่เรียกหาสินบนจากผู้คนด้วยตัวเอง

คอร์รัปชันไม่ได้เกิดแค่ในภาครัฐ แต่ยังมีไม่น้อยที่เกิดในภาคเอกชน และมีชื่อเรียกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่เอง หรือเป็นแค่ตัวบุคคล ที่เรียกว่า white-collar crime ส่วนถ้าเป็นในรูปแบบองค์กรเรียก corporate crime

บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่อง เพราะเหตุใดคอร์รัปชันจึงเป็นปัญหา

ที่เป็นปัญหาเพราะคอร์รัปชันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมสูงขึ้น คนส่วนใหญ่พอรับได้กับความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นในระดับหนึ่ง ถ้าความเหลื่อมล้ำนั้นเกิดจากความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน

แต่ถ้าความเหลื่อมล้ำนั้นเกิดจากเส้นสาย หรือติดสนบน จนทำให้ตัวเองเสียโอกาสทางสังคมหรือผลประโยชน์ไป ผู้คนก็จะยิ่งไม่พอใจกับความเหลื่อมล้ำนั้น

คอร์รัปชันเกิดผลกระทบเต็มๆกับ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ระบบการเมืองและกฏหมาย

หลายครั้งเวลาบ้านเมืองเกิดการคอร์รัปชันหนักๆ ก็มักจะมีนักการเมืองผู้ดุดันโผล่ขึ้นมา โดยอ้างว่าจะจัดการกับการคอร์รัปชันด้วยความเด็ดขาดเมื่อได้รับเลือกตั้ง

แต่พอได้เข้าไปแล้วก็ไม่เคยมีนักการเมืองที่ดุดันคนไหนสามารถจัดการกับการคอร์รัปชันได้จริงเลยซักคน จากประวัติศาสตร์การเมืองทั่วโลกที่ผ่านมา

คอร์รัปชันยังทำให้เบี้ยประกันรถยนต์เพิ่มขึ้นด้วย

ในยุค 1990 ที่ประเทศเยอรมันนี เกิดการขโมยรถยนต์ในประเทศเพื่อเอาไปขายประเทศใกล้เคียงในยุโรปมากมาย ที่พวกหัวขโมยสามารถขับรถผ่านด่านชายแดนไปได้ง่ายๆ เพราะเจ้าหน้าที่รับสินบน จนทั้งหมดส่งผลให้เบี้ยประกันรถยนต์สูงขึ้น

ที่น่าแปลกใจคือทุกวันนี้เริ่มมีคนส่วนหนึ่งยอมรับการคอร์รัปชันบางส่วน เพราะเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ลืมคิดไปว่าผมเสียในระยะยาวคือผู้คนยอมรับการคอร์รัปชัน

บทที่ 3 คอร์รัปชั่นวัดได้หรือไม่?

จากการติดตามผลของเงินบริจาคพบว่าสามารถช่วยลดการคอร์รัปชันได้อย่างมาก

ที่ประเทศยูกันดา ในช่วงปี 1991-1995 เงินบริจาคด้านการศึกษาจาก 1 เหรียญ ตกถึงมือเด็กปลายทางแค่ 13 เซ็นต์

จนมีการติดตามตรวจสอบอย่างเอาจริงเอาจังเกิดขึ้น เมื่อถึงปี 2001 สัดส่วนเงินบริจาคก็ตกถึงมือเด็กปลายทางสูงถึง 80 เซ็นต์ต่อเงิน 1 เหรียญ

บทที่ 4 คำอธิบายเชิงจิตวิทยา-สังคม และคำอธิบายเชิงวัฒนธรรม

พบว่าพฤติกรรมการจอดรถในที่ห้ามจอดของบรรดานักการทูตนั้น สัมพันธ์กับระดับคอร์รัปชันในประเทศต้นสังกัดของนักการทูตดังกล่าว

บทที่ 5 คำอธิบายที่เชื่อมโยงกับระบบ

พบว่ายิ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคอร์รัปชันมากเท่านั้น ยกเว้นว่ามีระบบที่สามารถตรวจสอบและเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐได้

ยังพบว่าการเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงเข้าไปในกลุ่มนักการเมืองหรือกลุ่มผู้บริหาร สามารถลดอัตราการคอร์รัปชันลงได้

บทที่ 6 รัฐทำอะไรได้บ้าง

ทำให้บทการลงโทษการคอร์รัปชันรุนแรงขึ้น เพราะส่วนใหญ่เมื่อถูกจับได้และตัดสินว่าคอร์รัปชันจริงก็มักจะถูกลงโทษในสถานเบา จนทำให้คนไม่กลัวที่จะทำผิด

แต่ครั้งหนึ่ง ทางการสหรัฐอเมริกาเคยลงโทษจำคุกผู้พิพากษาคนหนึ่งของรัฐเพนซิลเวเนียในปี 2011 นานถึง 28 ปี เพราะมีการตัดสินส่งเด็กเข้าสถานพินิจมากผิดปกติ จนสืบทราบว่ามีความรู้จักเกี่ยวข้องกับผู้รับเหมาก่อสร้างสถานพินิจเอกชนรายหนึ่ง

จนกลายเป็นกรณีอื้อฉาวที่เรียกว่า “เงินมาเด็กไป”

แม้การจัดการให้คอร์รัปชันหมดไปจะเป็นเรื่องยาก แต่รัฐสามารถเลือกจัดการกับการคอร์รัปชันตามลำดับความสำคัญได้

ดีกว่าท้อใจว่าทำไปเท่าไหร่ก็ไม่หมด จนไม่ทำอะไรเลย

หรือบางครั้งปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศหนึ่งก็รุนแรงมากจนต้องนำวิธีการสุดโต่งมาใช้

ครั้งหนึ่งที่ประเทศจอร์เจีย ประธานาธิบดี มิเคอิล ซาคัชวีลี พบว่าตำรวจจราจรมีการคอร์รัปชั่นมากจนเกินจะเยียวยา

เลยสั่งไล่เจ้าหน้าที่ทุกคนออก และยุบสำนักงานนั้น และตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแทนโดยรับเจ้าหน้าที่ชุดใหม่ทั้งหมด

และปัญหาคอร์รัปชั่นเกือบทั้งหมดก็หายไปเมื่อยากเกินจะแก้ไขก็ทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ซะ

บทที่ 7 แล้วใครทำอะไรได้อีกบ้าง?

ไม่ใช่แค่ภาครัฐแต่เอกชนก็สามารถมีส่วนร่วมได้ด้วย

Ikea ที่มีนโยบายชัดเจนกับคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ ว่าจะไม่ร่วมธุรกิจกับใครก็ตามที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น หรือติดสินบนเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด

องค์กรอิสระคือหัวใจสำคัญในการกำจัดคอร์รัปชันที่ประเทศสิงคโปร์กับฮ่องกง

หลายประเทคมีหน่วยงานในการเฝ้าระวังและจักการกับปัญหาคอร์รัปชันอยู่แล้วทุกวันนี้ แต่ที่ไม่ค่อยสำเร็จเพราะขาดอำนาจในการดำเนินการด้วยตัวเอง และเป็นอิสระจากองค์กรอื่น

เช่น องค์กรเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาการสืบสวนสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้หลายครั้งจะต้องตรวจสอบตำรวจเองก็ตาม

ที่สิงคโปร์และฮ่องกง องค์กรในการจัดการปัญญาคอร์รัปชันเหล่านี้ทั้งเป็นอิสระและมีอำนาจสามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้

ผลคือปัญหาคอร์รัปชันก็เลยต่ำเป็นอันดับต้นๆของโลกจนถึงทุกวันนี้

มีคนเคยกล่าวไว้เมื่อหลายร้อยปีก่อนว่า ทันทีที่กฏหมายใหม่ออกมาเพื่อรับมือกับการฉ้อฉลและคอร์รัปชัน บรรดาคนโกงก็คิดหาวิธีเลี่ยงไว้เรียบร้อยแล้ว

สุดท้ายนี้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ใช่แค่หน้าที่ใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคน ประชนชาที่ต้องไม่ยอมรับกับการคอร์รัปชันเล็กๆใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงต้องไม่ยอมต่ออำนาจของรัฐหรือเอกชนในการคอร์รัปชันเรื่องใหญ่ๆ

#อ่านแล้วเล่า #Corruption #คอร์รัปชัน #ความรู้ฉบับพกพา

Leslie Holmes เขียน

พิเศษ สอาดเย็น และ ธงทอง จันทราศุ แปล

สำนักพิมพ์ Openworlds

เล่มที่ 112 ของปี 2018

20181001

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/