The Dentsu Way

หนังสือเล่มนี้ผมอ่านเมื่อปี 2016 จำได้ว่าเป็นหนังสือที่ว่าด้วยวิธีคิดแบบ Dentsu ว่าหนึ่งในเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกเค้ามีหลักการคิดยังไง เท่าที่จำได้ถึงตอนนี้คือไอ้หลักการคิดแบบ ZMOT ของ Google นั้นถูกเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ปี 2010 แล้ว หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยวิธีการคิดแบบ cross communication หรือโมเดล AISAS ที่เข้ามาแทนที่โมเดลการสื่อสารแบบเก่าๆอย่าง AIDA AIDA ย่อมาจาก Aware > Interest > Desire > Action จะเห็นว่าเป็นโมเดลการสื่อสารแบบเดิมที่เน้นส่งโฆษณายัดเข้าตาสะกดจิตให้คนจำจนออกไปซื้อ ส่วนโมเดลของ…

ไฟในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ Catching Fire; How Cooking Made Us Human

เรื่องราวประวัติศาสตร์ไฟของมนุษย์ พูดถึงว่าการใช้ไฟทำให้มนุษย์ต่างจากลิงเอปยังไง มนุษย์เองถูกจัดให้เป็นลิงหรือไพรเมทประเภทหนึ่ง แต่เป็นลิงที่ไม่มีขนเหมือนลิงเอปทั่วไป ผมขอสรุปย่อๆแบบนี้แล้วกัน..มนุษย์เองเริ่มแตกต่างจากลิงต้นกำเนิดเพราะรู้จักการกินอาหารสุก การกินอาหารสุกทำให้เราได้รับพลังงานมากขึ้น และดูดซึมสารอาหารได้เร็วขึ้น ทำให้เราใช้เวลาในการกินอาหารน้อยลงมาก จนไม่มีสิ่งมีชีวิตใดจะกินอาหารได้รวดเร็วเท่ามนุษย์ การที่เรากินอาหารได้เร็ว และย่อยดูดซึมได้เร็วเพราะเรากินอาหารปรุงสุก ที่ผ่านการทำความร้อน ทำให้ระบบย่อยอาหารเราเล็กลงกว่าสัตว์ชนิดเดียวกันมาก นั่นหมายความว่าพลังงานที่เราจะต้องสูญเสียไปในขั้นตอนการย่อยอาหารและพลังงาน ให้กับอวัยวะการย่อยอาหารลดน้อยลง เลยทำให้มีพล้งงานเหลือไปพัฒนาส่วนอื่นของร่างกาย นั่นก็คือสมอง สมองที่พัฒนาขึ้นจากการเริ่มกินอาหารสุกเมื่อ 1.9 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ แค่เริ่มต้นจากการใช้ไฟ เริ่มต้นจากการกินอาหารที่ปรุงสุกผ่านความร้อน ทำให้มนุษย์เรากลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกและกำลังทำลายล้างโลกในทุกวัน.. อ่านมื่อปี 2016

เบื้องหลังสัญญาเบาริ่ง และประวัติศาสตร์ภาคพิศดารของ Sir John Bowring

เรื่องราวประวัติของนักการทูตด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ที่เชื่อว่าคนไทยหลายคนคุ้นเคยกับ Sir John Bowring จากตำราเรียนวิชา สปช ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย เกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่เกี่ยวกับการค้าข้าวและเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติในสมัยรัชการที่ 4 ซึ่งหนังสือเรียนเราบอกแค่หัวข้อสรุปผิวเผิน แต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงว่ามหาอำนาจอย่างอังกฤษสนใจสยามประเทศที่ถือว่ากระจ้อยร่อยมาก ถ้าเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซียทั้งหลายไปทำไม เหตุผลนึงที่อังกฤษสนใจสยามเพราะต้องการข้าวที่สยามปลูกอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เพื่อไปใช้เลี้ยงปากท้องชาติอาณานิคมอย่างอินเดียเป็นหลัก และถือว่าสนธิสัญญาของเซอร์เบาว์ริ่งที่มีต่อประเทศไทยนั้น เป็นงานเปรียบเทียบกับประเทศจีนที่มีปัญหา ในการทำสัญญาระหว่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองตามมา ด้วยเหตุเรือเพียงลำเดียวของจีน แต่จากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งครั้งนั้นก็ทำให้คนไทยเดือดร้อนไปทั่วหัวระแหง โดยเฉพาะกับชนชั้นสูงที่ปกครองดูแลการเก็บส่วยภาษีแทนรัฐ ที่ต้องขาดรายได้จากการผูกขาดในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการจราจลในกรุงเทพจากชาวจีนตามมา หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่ม จุดเชื่อม และจุดต่อของชาติไทยในนโยบายด้านต่างประเทศกับทางชาติยุโรปในสมัยนั้น จนเป็นชาติไทยถึงวันนี้ อ่านเมื่อปี…

สร้างโลกไร้จน Creating a World Without Poverty

เป็นหนังสือที่ดีมากที่สุดเล่มนึง ต้องขอบคุณเพื่อนแบงค์มากที่ทิ้งไว้ให้อ่านในวันที่เค้าลาออก หนังสือที่เขียนโดย Muhammad Yunes นักธุรกิจเพือสังคมรางวัลโนเบลของบังคลาเทศ คนที่พยายามสู้เปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ให้กับคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคมของเค้า เป็นผู้ริเริ่ม micro finance หรือธนาคารกรามีนต้นแบบกองทุนหมู่บ้านที่โด่งดังไปทั่วโลก จนมาถึงในบ้านเรา ยูนุสค้นพบว่าคนจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายเหมือนคนรวย คนจนไม่มีทรัพย์สินไปค้ำประกันหรือมีเครดิตไปกู้แบงค์ ..แน่นอนเพราะเค้าจน ยูนุสเลยก่อตั้งธนาคารเงินกู้ขนาดเล็กเพื่อคนจนจริงๆ ทำให้คนจนสามารถมีทุนไปต่อยอดด้วยแรงงานตัวเองต่อได้ ยูนุสยังสร้างธุรกิจเพื่อสังคมอีกมากมายในประเทศของเค้า ธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุสเป็นอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้มาก ธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่แค่ CSR ในทางการตลาดที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง และพอมีกำไรไปต่อยอดคืนให้สังคม โดยไม่มีใครสะสมกำไรนั้นไว้กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลแล้วดอกผลนั้นตกลงพื้นก็กลายเป็นต้นใหม่ขึ้นมาวนเวียนแบบนั้นไปไม่จบสิ้น อยากเห็นธุรกิจเพื่อสังคมในบ้านเรา และนี่เป็นอีกสิ่งนึงในชีวิตที่เราอยากจะทำในขั้นต่อไป อ่านเมื่อปี…

Paper ประวัติศาสตร์กระดาษโลก

กระดาษ..สิ่งของสามัญไกล้ตัวจนเราไม่เคยนึกสงสัยว่ากระดาษมีเรื่องราวยังไง ประวัติศาสตร์กระดาษโลก หนังสือว่าด้วยชีวประวัติสำคัญในหลายๆด้าน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กระดาษนับว่าเป็นตัวกลางที่ทรงพลังที่สุด กระดาษแผ่นนึงเมื่อโดนปลายแปรงของศิลปินทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นหลายพันล้านเท่า..เช่นภาพโมนาลิซ่า หรือกระดาษแผ่นนึงมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนึง และลายเซ็นต์กำกับไม่กี่คน ก็ทำให้คนๆนึงหมดอนาคตไปตลอดชีวิตยังได้..นั่นคือกระดาษหมายจับหรือหมายศาล กระดาษอยู่รอบตัวเรามาตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ใบแจ้งเกิดยันใบมรณะ กระดาษจึงเปรียบได้ว่าเป็นสื่อกลางที่ดีที่สุดจริงๆ ใครจะรู้ว่าจากไพ่ที่เล่นกันนั้นกลายมาเป็นธนบัตรทุกวันนี้ ก็ได้การพิมพ์ลายตาข่าย(จำชื่อเทคนิคไม่ได้จริงๆขอโทษด้วย)หลังไพ่เพื่อป้องกันการมองทะลุไพ่เวลาเล่น จนพัฒนามาสู่ลวดลายป้องกันการลอกเลียนแบบบนธนบัตรทั่วโลกทุกวันนี้ สิ่งสามัญไกล้ตัวกลับมีเรื่องราวให้เราตื่นเต้นกว่าที่คิด ลองสังเกตุสิ่งไกล้ตัวที่คุณไม่เคยสนใจแล้วตั้งคำถามดูซิ Paper ประวัติศาสตร์กระดาษโลกพลอยแสง เอกญาติ แปล สำนักพิมพ์ Openworldsอ่านเมื่อปี 2016

Write Your Dream ฝันตื่นลงมือทำจึงสำเร็จ

เป็นเรื่องของหญิงสาวชาวบ้านที่ยากจนชาวเกาหลีคนนึง ที่มีช่วงชีวิตวัยรุ่นที่ย่ำแย่ แต่เธอสามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆอีกมากมาย เธอตั้งความฝันไว้มากมาย แล้วก็พยายามทำมันให้สำเร็จ เธอบอกว่าที่ไม่สามารถไปให้ถึงฝันได้ ส่วนใหญ่เพราะเอาแต่โทษโชคชะตาและสิ่งรอบข้าง แต่กลับลืมไปว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ฝันนั้นเป็นจริงได้คือตัวเราเอง หลายคนลดขนาดความฝันลงเพราะบอกว่ามันดูเพ้อฝัน และเป็นไปไม่ได้ แต่เธอบอกว่าอย่าลดขนาดความฝัน แต่ให้เพิ่มขนาดความพยายามเข้าไปแทน เธอบอกว่าชีวิตคนเราคือการวิ่งมาราธอน ถ้าเราหยุดวิ่งคนอื่นก็นำ ถ้าเรามัวแต่โทษว่ารองเท้าเราไม่ดีเท่าคนอื่น หรือเราเริ่มวิ่งช้ากว่าคนอื่นชีวิตก็คงไม่ไปไหน แล้วก็ได้อิจฉาเค้าต่อไป จงวิ่งและพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ มีความสุขและเรียนรู้กับสองข้างทางชีวิต ส่วนตัวผมชอบหนังสือเรื่องราวประวัติของคนแบบนี้ เพราะดูเป็นไปได้และไกล้ตัว มากกว่ามหาเศรษฐีพันล้านแสนล้านเสียอีก อ่านเมื่อปี 2016

Modern China จีนสมัยใหม่

เรื่องจริงเรื่องจีนที่ไม่เคยรู้ Modern China หรือ จีนสมัยใหม่ ที่กว่าจะมาเป็นจีนทุกวันนี้ จีนต้องผ่านอะไรมามากมาย ผ่านยุครุ่งเรืองด้วยใบชา ที่ทำเอาสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ในยุคอาณานิคมต้องทรุดมาแล้ว ด้วยการหาเงินมาซื้อใบชาไปดื่ม จนประเทศต้องเสียดุลการค้าให้จีนมหาศาล เลยต้องแก้ลำด้วยฝิ่น ขายฝิ่นให้คนจีนติด และจนกลับมาทำกำไรด้วยความขมขื่นของชาวจีน จนราชวงศ์ชิงล่มสลายสู่ผู้นำคนถัดไปชื่อ ซุน ยัดเซ็น ก้าวเข้าสู่ความเป็นชาตินิยมภายใต้ เจียง ไคเชก ผู้พยายามทำให้จีนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ด้วยการกำจัดความเป็นสมัยเก่ารากเหง้าความเป็นจีน ก่อให้เกิดพรรคคู่แข่งอย่างพรรคคอมมิวนิสต์ที่มี เหมา เจ๋อตุงเป็นผู้นำ ผ่านช่วงวิกฤตสุดๆในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ทำให้คนอดอยากมากมาย กว่าจีนจะเริ่มเป็นอย่างทุกวันนี้ได้ก็ด้วย เติ้ง…

นักอยากเขียน

โดย ศุ บุญเลี้ยง ที่ถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นนักอยากเขียนของตัวเองให้กับคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้หมายถึงแต่เด็กที่อยากเริ่มต้นอยากเป็นนักเขียนกับเค้าบ้าง ทุกวันนี้เรามีโซเชียลมีเดียเป็นกระดาษให้ใครๆก็เขียนได้เผยแพร่ได้ ผมว่าหนังสือเล่มนี้เข้ากับไลฟ์สไตล์มากพอควร รวมถึงเปิดมุมมองการที่จะเป็นนักเขียนจริงๆจังๆบางอย่าง เช่น การที่คุณจะเป็นนักเขียนที่ดีได้ คุณควรเริ่มต้นด้วยการอยากเป็น “นักอยากเขียน” ก่อน เพราะความอยากของคุณจะทำให้คุณอาจจะเป็นนักเขียนที่ดีได้ อย่าเพิ่งรีบไปมองเทคนิคการเขียนต่างๆ เพราะคนเราสมัยนี้ใจร้อน พยายามหาทางลัดเทคนิคต่างๆเพื่อจะทำมันให้ได้ เรื่องถัดมาคือการเขียนจะโตตามอายุของคนเรา คนเราเขียนได้ดีขึ้นก็ต้องผ่านเวลา ผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ เหมือนการหมักบ่มให้ได้ที่ ยิ่งนานยิ่งดี แต่ก็ยังต้องมีแพชชั่นด้วยนะ ด้วยความที่ตัวเองก็พอต้องเขียนอะไรเล็กๆน้อยๆในการเลี้ยงชีพบ้าง ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผมเลี้ยงชีพได้ดียิ่งขึ้น อ่านเมื่อปี 2016

SLOW เร็วไม่ว่า..ช้าให้เป็น

ว่าด้วยเรื่องของความช้าในยุคที่แข่งขันกันที่ความเร็ว จากยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก เข้าสู่ยุคปลาเร็วกินปลาช้า ความช้าแลดูเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการแล้วงั้นหรอ ตั้งแต่มนุษย์วัดเวลาได้ จากนั้นมาเวลาก็กลายมาเป็นตัววัดมนุษย์เรามาตลอด เวลาถูกแบ่งซอยออกเป็นหน่วยเล็กหน่วยน้อยที่วัดค่าได้แน่นอน จนทำเอาเสน่ห์ของเวลาหายไปด้วยหรือเปล่า? เราเคยมีเวลาละเลียดละเมียดในการกิน.. แต่ทุกวันนี้เรากินเพื่อให้รีบอิ่มโดยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่เรากินคืออะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าสังเกตุต่อเราจะพบว่าทุกวันนี้เราพยายามใช้เวลาให้คุ้มค่า แต่เราลืมการใช้ชีวิตไปหรือเปล่า? หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ต่อต้านความเร็วนะครับ แต่ไม่เห็นด้วยกับความเร็วที่ไม่จำเป็น ถ้ามันช้าได้ หลายๆครั้งความเนิบช้าก็กลับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าความเร็วซะอีก ทุกชีวิตต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนคำว่า tempo giusto แปลว่าจังหวะที่เหมาะสมในการบรรเลงดนตรีให้ไพเราะ เพราะเร็วไม่ว่า..แต่ต้องช้าให้เป็น อ่านเมื่อปี 2016

ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ on creativity

เขียนโดย David Bohm ผู้เป็นนักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ที่โด่งดัง ร่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเค้าถูกนำมาใช้พัฒนาสร้างระเบิดปรมณูลูกแรก และยังเคยร่วมงานกับไอน์สไตน์ผู้โด่งดัง หนังสือเล่มนี้เค้าพูดถึงความเหมือนของความคิดสร้างสรรค์ ระหว่างศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ศิลปินเองสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้รับรู้ความสร้างสรรค์ผ่านสัมผัสของคน นักวิทยาศาสตร์เองก็สร้างสรรค์ผ่านการมองเห็นความจริง หรือมุมมองใหม่ๆต่อการมองเห็นความจริงในช่วงเวลานั้น แล้วถ่ายทอดผ่านทฤษฎีต่างๆเป็นความเข้าใจ ความเข้าใจในศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ก็มาจากความเข้าใจในองค์รวมทั้งหมดก่อน ถึงจึงแยกย่อยออกมาเฉพาะในส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ ความพิเศษของความสร้างสรรค์คืออะไร..เดวิด โบห์ม ให้ความเห็นว่า คือการจดจ่อ มุ่งมั่น ทุ่มเท ในสิ่งหนึ่งอย่างที่สุด จึงทำให้เกิดการรับรู้ใหม่ขึ้นกับตัวเอง และอาจไปถึงสังคม เช่น การพยายามก้าวเดินครั้งแรกในเด็กเล็ก เราจะสังเกตุเห็นว่าทุกย่างก้าวของเด็กเล็กคือการสร้างสรรค์ ที่จะให้เกิดการก้าวเดินอย่างต่อเนื่อง ทุกย่างก้าวของเด็กเล็กจะทุ่มเทลงไปอย่างสุดตัว ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ก้าวเดินอย่างไม่ต้องพยายามใดๆอีกต่อไปแล้ว…