สรุปหนังสือ คิดการใหญ่ให้ใช้กึ๋น Think Like An Athlete

สรุปหนังสือ คิดการใหญ่ให้ใช้กึ๋น หรือ Think Like An Athelete โดย David Nicholsonกับ 57 แนวคิดแบบแชมเปี้ยน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นนักกีฬาผู้มีไฟแต่ไม่เคยได้รางวัล

งงเหมือนกันไม่เคยได้รางวัลแต่มาเขียนหนังสือได้ยังไง

แต่พออ่านจบแล้วก็ทำให้คิดได้ว่ารางวัลจากการกระทำอาจไม่ใช่เป้าหมายหลักในการใช้ชีวิตของใครหลายคน แค่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำด้วยความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อ ก็ถือว่าเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่คนเราจะมอบให้ตัวเองได้โดยไม่ต้องรอสมาคมหรือสมาพันธ์ที่ไหนมามอบให้

เพราะอะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะคนส่วนใหญ่มักจะรอให้คนอื่นหรือคนส่วนใหญ่ตัดสินตัวเองแล้วก็เชื่อตามนั้น แต่จะมีซักกี่คนบนโลกที่คิดและทำได้อย่างคนเขียนหนังสือเล่มนี้ ทำเอาผมทึ่งและนับถือไปด้วยเลย

เมื่อ 57 แนวคิดบทความสั้นๆอ่านง่ายๆแต่มีแก่นสำคัญให้ยึดแนวทางไปใช้โดยไม่ต้องติดกับวิธีการ ในการนำเอาบทเรียนจากการฝึกซ้อมกีฬาหรือการแข่งขัน นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันทั้งในเรื่องส่วนตัว และในเรื่องของธุรกิจ

เพราะเกมส์กีฬาที่ต้องแข่งกันเข้ารอบถัดไป หรือแม้แต่เข้าชิงชัยให้ได้ที่หนึ่งนั้น ก็ไม่ต่างกับเกมส์ธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งอยู่เป็นประจำตรงไหน

เช่น ในแนวคิดที่ 53 บอกว่า “ทำสิ่งที่รักให้เหมือนทำงาน”

ประโยคนี้ฟังดูคุ้นและคล้ายกับประโยคที่คนทำงานมักจะได้ยินในทำนองว่า “การได้ทำงานที่รักก็ไม่เหมือนต้องทำงานเลยซักวัน” แต่ผู้เขียนบอกให้เราได้แนวคิดใหม่ที่พุ่งไปข้างหน้าอีกที่ว่า “ทำสิ่งที่รักให้เหมือนทำงาน” ทำให้ผมคิดได้ว่า คนเรามักจะทำสิ่งที่เรารักซักพัก แล้วเราก็จะหยุดกับมันหรือไม่เอาจริงเอาจังกับมันซักเท่าไหร่

จะมีซักกี่คนที่จะทำในสิ่งที่รักให้เหมือนกับการทำงานได้จริง ที่ต้องมุ่งมั่น ทุ่มเท อดทน และมีวินัยกับการทำสิ่งนั้นเหมือนกับความตั้งใจในการทำงานจริงๆแม้จะไม่ค่อยรักมันซักเท่าไหร่ ถ้าใครทำได้ผมว่าน่าจะพุ่งไปได้ไกลกว่าคนรุ่นเดียวกันมาก

ที่เหลืออีก 56 แนวคิดในเล่ม ผมว่าก็เป็นการแนะให้เรารู้จักอดทน ทุ่มเท หรือปรับแนวคิด ใช้ชีวิตให้เหมือนกับนักกีฬาที่ต้องหมั่นฝึกซ้อมเป็นประจำหลายปีติดต่อกัน เพื่อคว้ารางวัลสำคัญให้ได้

ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรางวัลโอลิมปิก หรือการแข่งขันชิงถ้วยต่างๆระดับโลก การทำธุรกิจก็เหมือนกัน การที่เราจะขึ้นสู่จุดสูงสุดได้นั้นเราก็ต้องหมั่นฝึกซ้อม อดทนอย่างไม่ยอมแพ้ ถ้านักกีฬามีขีดจำกัดคือพลังกาย งั้นคนทำงานขีดจำกัดสูงสุดก็คงเป็นพลังใจ

พวกเราคนทำงานส่วนใหญ่โชคดีกว่านักกีฬาอาชีพตรงที่เราไม่ค่อยต้องเหงื่อออกจากกล้ามเนื้อบอบช้ำ แต่เราต้องทนกับการบอบช้ำทางสมอง จิตใจ และความคิดให้ได้

แต่ที่พูดมาใช่ว่านักกีฬาจะไม่มีเรื่องอ่อนล้าทางใจเหมือนเรา ในอีกมุมนึงกลับคิดว่าเราน่าจะบอบช้ำมากกว่าเราอีก เพราะสมองของเรามักจะบอกให้เราหยุดพักเสมอ แต่เราต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่นมากพอที่จะเอาชนะการตอบสนองทางร่างกายให้ได้ พาตัวเองข้ามขีดจำกัดต่อไปให้ได้

อ่านแล้วออกไปวิ่งให้เอนโดฟินหลั่ง ถ้าเราเพิ่มความอดทนทางกายทางใจได้จากการการวิ่ง ก็เหมือนกับเราฝึกพลังใจให้มีกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งรับมือกับปัญหาจากชีวิตในแต่ละวันได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

หมั่นออกกำลังกายแล้ว ก็หมั่นออกกำลังใจกันด้วยนะครับ

อ่านแล่วเล่า อ่านเมื่อปี 2018

สรุปหนังสือ คิดการใหญ่ให้ใช้กึ๋น
Think Line an Athlete
David Nicholson เขียน
มิ่งขวัญ เจริญนิจนิยม แปล
สำนักพิมพ์ Shortcut ในเครือ Amarinbooks

อ่านสรุปหนังสือเล่มอื่นของสำนักพิมพ์ Shortcut ต่อ https://www.summaread.net/category/shortcut/

สนใจสั่งซื้อได้ที่ http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786161816322

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/