ถ้าให้เดินไปถามคนรอบข้างตอนนี้วัน คิดว่าประเทศไหนที่ดูมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด เชื่อได้เลยว่า “ประเทศญี่ปุ่น” จะเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะได้ยินมากที่สุดของคนส่วนใหญ่

ผู้เขียน คิม ควัง ฮี แม้จะเป็นคนเกาหลี แต่ก็ยังอดที่จะชื่นชม “ความคิด” แบบญี่ปุ่นที่ไม่มีชาติไหนในโลกจะเหมือนได้

อย่างการพลิกฟื้นวงการตลาดเพลง ด้วยวง AKB48 ที่ทำให้ยอดขาย “แผ่นซีดี” ที่ซบเซาไปทั่วโลก จากการเปลี่ยนมาฟังในรูปแบบดิจัทัล ให้มียอดขายถล่มทลายแซงหน้าตลาดเพลงดิจิทัลแบบไม่เห็นฝุ่น

ด้วยความคิด “ไอดอลที่เข้าถึงได้” ทำให้การซื้อซีดีเพลง ไม่ใช่แค่เพื่อฟัง แต่เพื่อเข้าถึงไอดอลที่ตัวเองชื่นชอบในวง AKB48 ด้วย “บัตรจับมือ”

จากเดิมที่หนึ่งคนเคยซื้อแค่ 1 แผ่น เพื่อฟัง กลายเป็นซื้อเป็นสิบๆแผ่นเพื่อได้จับมือกับไอดอลของตัวเอง

แถมยังไม่พอ แผ่นซีดีเพลง ที่ซื้อไป ยังสามารถใช้แทนคะแนนเสียงในการ “โหวต” ว่าจะให้ไอดอลคนไหนอยู่ในวงต่อ

ทำให้บรรดาแฟนตัวจริงของไอเดล ทุ่มสุดสรรพกำลังซื้อแผ่นมาเพื่อโหวตให้ไอดอลตัวเอง จนกลายเป็นโมเดลที่สร้างความคึกคักให้วงการเพลงในญี่ปุ่น และก็ระบาดมาถึงบ้านเราเป็น BNK48 ในตอนนี้

หรือจะเป็นความคิดที่คุ้นกันอย่าง “ไม่เน้นผลระยะสั้น เน้นที่ผลระยะยาว” ที่ใครๆก็พร่ำพูดกัน แต่หาคนทำจริงได้ยากยิ่งทุกวันนี้

บริษัทแท็กซี่ชูโอ ในเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เลือกปฏิเสธโอกาสก้อนโตจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 1988 ที่จัดขึ้นที่ญี่ปุ่น จากการที่บรรดานักข่าวชาวต่างชาติที่เข้ามาแข่งขัน จะขอเหมารถแท็กซี่ทั้งหมดเพื่อให้ใช้บริการในช่วงนั้น ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า

เพราะทางเจ้าของบริษัทแท็กซี่ชูโอ บอกว่า ในระหว่างที่รถแท็กซี่ทุกคันในเมืองแห่ไปรับนักข่าวชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในช่วงสั้นๆนี้ เพราะต้องการรายมากๆ แล้วแบบนี้คนเฒ่าคนแก่ในเมือง หรือชาวบ้านที่จำเป็นต้องใช้รถในช่วงนั้น จะหาแท็กซี่จากที่ไหน

คนที่ต้องการไปโรงพยาบาล หรือคนที่ต้องการไปรับลูกล่ะ ชาวเมืองเพื่อนบ้านเราจะใช้ชีวิตอย่างไร

ด้วยแนวคิด “เน้นระยะยาว มากกว่าหวังผลระยะสั้น” นี้ ทำให้แท็กซี่ชูโอเลือกปฏิเสธรายได้ก้อนโตในช่วงโอลิมปิกที่บอกมา โดยเน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนญี่ปุ่นเหมือนเดิมมากขึ้น

เพราะในช่วงนั้นแท็กซี่ต่างหายาก เมื่อชาวบ้านต้องการใช้แท็กซี่ก็ต้องมาใช้บริการแท็กซี่ชูโอโดยปริยาย

ผลที่ได้คือนอกจากเกิดความประทับใจในกลุ่มลูกค้าเดิมแล้ว กับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยนั่งแท็กซี่ชูโอมาก่อนเลย ก็ยิ่งประทับใจมากกว่า

ลองคิดดูซิว่าถ้าปกติคุณมีรถแท็กซี่ที่นั่งประจำ แต่อยู่ดีๆมาวันนึงกลับไม่มีรถให้เรียกเลย คุณจะรู้สึกแยกกับบริษัทเดิมที่ใช้มาแค่ไหน แล้วในช่วงวิกฤตนี้คุณกับเจอทางออกอย่างแท็กซี่ชูโอที่มีรถพร้อมให้บริการเต็มที่ บริษัทนี้จะได้ใจคุณต่อไปแค่ไหน

แน่นอนว่าผลประกอบการปีนั้นของแท็กซี่ชูโอจากที่เคยเป็นที่ 1 มายาวนาน กลายเป็นที่ 6 เพราะคู่แข่งมีรายได้จากชาวต่างชาติที่เหมาใช้ในราคาแพง แต่พอปีถัดไปเท่านั้นแหละผลผลิตที่แท้จริงก็ผุดออกมา

ผลคือทุกบริษัทแท็กซี่รายได้ลดลงฮวบฮาบ เพราะลูกค้าประจำคนเดิมย้ายไปใช้บริการแท็กซี่ชูโอไปอีกยาวนานเลย

แค่หลักคิดน่ะง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะทำจริงไม่ได้ แค่ต้องรู้จักอดทนอดกลั้น ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์สั้นๆในวันนี้ แทนที่จะเป็นผลระยะยาวในวันหน้า

เรื่องสุดท้ายที่อยากจะเอามาเล่า คือเครื่องบิน Zero ของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก กลายเป็นจุดอ่อนที่สุดของญี่ปุ่นได้ยังไง

ตอนนั้นบริษัทผู้สร้างได้รับคำสั่งจากบรรดานายพลทั้งหลายว่า ให้สร้างเครื่องบินที่เป็นไปไม่ได้ ที่มีทั้งความเร็ว ทั้งความคล่องตัว ทั้งน้ำหนักการบรรทุก

เพราะปกติแล้วทั้งสามอย่างนี้จะผกผันกันเสมอ คือถ้าจะให้บินเร็วก็จะลดความคล่องตัวลง ถ้าจะให้บรรทุกเยอะความเร็วก็จะลดลงไป

แต่เครื่องบิน Zero นี้เป็นเครื่องบินรถรุ่นแรกของโลกที่ทำได้ ทำให้ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการรบบนท้องฟ้ามายาวนาน

นานจนคู่แข่งอย่างอเมริกาเริ่มไล่ตามได้ทัน

เพราะในตอนนั้นญี่ปุ่นติดกับดักความสำเร็จของตัวเองที่ว่า เครื่องบินซีโร่ คือสุดยอดเครื่องบินบนโลกแล้ว

เพราะสร้างจากความคิดที่ว่า “เป็นไปไม่ได้” ให้กลายเป็นไปได้ ดังนั้นก็ไม่มีทางที่จะทำให้ดีกว่านี้ได้อีกแล้ว

เมื่อตัวเองคิดว่าทำดีที่สุดก็เลยหยุด เลยทำให้คู่แข่งค่อยๆพัฒนาเครื่องบินรบที่สามารถทัดเทียมจนแซงหน้าไปได้ในที่สุด

ยังมีอีกหลายเรื่องในเล่มที่เล่าได้ไม่หมด อยากให้คุณได้ไปซื้อมาอ่านดู แล้วจะรู้ว่าไอเดียดีๆแบบญี่ปุ่น เอามาใช้กับไทยสไตล์ได้ไม่ยาก

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 53 ของปี 2018

ขโมยความคิดญี่ปุ่น
Steal Japan’s IDEA
คิม ควัง ฮี เขียน
สำนักพิมพ์ พราว

20180501

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/