สรุปหนังสือ Resource Revolution

สรุปหนังสือ Resource Revolution ธุรกิจพลิกอนาคต ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ในยุควิกฤตทรัพยากร ในยุคที่อะไรๆก็ 4.0 เรากลับใช้ทรัพยากรได้เหมือน 0.4 ยังไงยังงั้น

ย้อนกลับไปยังสมัยของ Adam Smith บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้แต่งหนังสือชื่อ The Wealth of Nation หรือ ความมั่งคั่งของชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1776 อดัม สมิท บอกว่าจากการปฏิวัติอุสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในตอนนั้นจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะทำให้เกิดการปฏิวัติ 3 สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาคมโลกอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น 3 สิ่งสำคัญที่จะพัฒนาขึ้นคือ

แรงงาน ทุน และ ทรัพยากร

แรงงาน มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์ มาเป็นแรงงานเครื่องจักรไอน้ำ จนมาถึงกระแสไฟฟ้าในทุกวันนี้ ทำให้มนุษยชาติได้ผลงานมากขึ้นด้วยหยาดเหงื่อที่น้อยลง นั่นน่าจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหรรมครั้งใหญ่ทั่วโลก

จากนั้นไม่นานก็เกิดการสะสุมทุนที่มากขึ้นอย่างมหาศาล และกระจายออกไปได้กว้างขวางมากกว่าเดิม จากเดิมผู้คนอดอยากขาดแคลนสิ่งพื้นฐานจำเป็นอย่างเสื้อผ้าและอาหาร กลับกลายเป็นทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งพื้นฐานจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างมหาศาล เกิดเป็นชนชั้นกลางขึ้นมากมาย เมื่อได้ผลิตผลมากขึ้นจากแรงงานที่ลดลงก็เกิดเป็นผลผลิตส่วนเกินสะสมเป็นความมั่งคั่งจนสามารถเปลี่ยนเป็นทุน ทุนนี้คือการปฏิวัติในช่วงของกลุ่มบริษัท ที่เกิดจากการรวมทุนกันทำในสิ่งที่ใหญ่กว่าปัจเจกชนคนเดียวจะทำได้ กลายเป็นบริษัทร่วมลงทุนมากมายในยุคการเกิดบริษัทใหญ่ๆ อย่าง JP Morgan ที่รวมทุนเพื่อก่อกำเนิดโครงการที่ยิ่งใหญ่มากมายจนถึงทุกวันนี้

แต่สิ่งสุดท้ายที่ยังไม่มีการพัฒนาก้าวหน้าจากเดิมไปเท่าไหร่นักก็คือ ทรัพยากร

ทรัพยากรในที่นี้เช่นเรายังคงได้ผลิตผลเท่าเดิมจากทรัยากรที่ใส่เข้าไป หรืออาจจะพัฒนาไปบ้างแต่ก็ยังไม่ถึงจุดที่เรียกว่าเป็น “ก้าวกระโดด” ครั้งสำคัญมากนักที่จะก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลเหมือนอย่างการเปลี่ยนผ่านจากแรงงานคนหรือสัตว์ ไปสู่เครื่องจักรไอน้ำ คุณรู้มั้ยว่าน้ำมันที่เราใส่เข้าไปในรถยนต์นั้นสูญเปล่าไปมากมาย มีเพียงแค่ไม่ถึง 20% ที่ทำให้รถเคลื่อนที่ แล้วพลังงานที่เหลือหายไปไหนหรอครับ..สูญเปล่าไประหว่างทางมากมาย ถ้าพูดให้ชัดเจนคือระบบของรถยนต์และเครื่องยนต์ทุกวันนี้ทำให้เราจ่ายค่าน้ำมันทิ้งไปร่วม 86% ที่สูญเปล่าเหมือนเรากำลังเผาเงินทิ้งไปกับท่อไอเสียและความร้อนสูญเปล่าของเครื่องยนต์อยู่ทุกครั้งที่ขับรถ

Resource Revolution เล่มนี้แปลโดยคุณ สฤณี อาชวานันทกุล ผู้พยายามผลักดันด้านนวัตกรรมสีเขียว หรือเทคโนโลยีที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมผ่านบทความและหนังสือที่แปลออกมามากมาย สารภาพว่าผมก็เป็นหนึ่งในผู้ติดตามผลงานของนักแปลนักเขียนคนนี้มาตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือได้ซักพัก

ในเล่มแบ่งออกเป็น 9 บทหลักๆที่จะพาคุณไปรู้จักการปฏิวัติทรัพยากรผ่านบริษัทมากมาย เช่น บริษัทน้ำมันที่ผลิกวงการด้วยการขุดเอาน้ำมันจากชั้นหินดินดานที่มีอยู่มหาศาลแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครสามารถนำน้ำมันในชั้นหินที่ว่าออกมาให้คุ้มทุนได้ จนทำให้ราคาน้ำมันลงดิ่นจากเกิน 140 เหรียญสหรัฐและพุ่งไปจนถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อบาเบลในสมัยที่หลายคนคงจำได้ว่าธุรกิจติดแก็สบูมในบ้านเรามากขนาดไหน จนทุกวันนี้ไม่มีใครคิดจะติดแก็สให้รถอีกต่อไปแล้ว..

บทที่ 1 ว่าด้วยการฉวยโอกาสที่ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดที่ว่าด้วยเรื่องของเครื่องจักรไอน้ำที่มีมาก่อนที่มันจะถูกปฏิวัติแรงงานด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพแบบผลิกกระดานด้วย เจมส์ วัตต์ ที่ทำให้ลืมการทอฝ้ายด้วยแรงคนอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งในกรณีของฟอร์ด ที่ใช้ระบบสายพานการผลิตที่ทำให้รถยนต์เป็นที่เข้าถึงได้ทุกคน ทั้งๆที่รถยนต์ก่อนหน้านั้นก็มีออกมานานกว่าจะเกิดรถยนต์รุ่นโมเดลทีของฟอร์ด

บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องจอยสติ๊กเจอแท่นขุดเจาะ การปฏิวัติจากใต้ดิน อย่างที่บอกไปแล้วว่าทำให้การจุดเจาะในชั้นหินดินดานที่อุ้มน้ำมันเอาไว้มากมายเป็นไปได้ ด้วยหัวเจาะที่สามารถพลิก 90 องศาจากที่เคยต้องเจาะเป็นแนวดิ่งอย่างเดียว สามารถตะแคงเป็นแนวนอนตามแนวชั้นหินดินดานที่อุ้มน้ำมันไว้ ผนวกกับเทคโนโลยีในการอัดน้ำเข้าไปเพื่อดึงน้ำมันในชั้นหินดินดานหรือหินทรายนั้นออกมา จนทำให้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกอย่าง OPEC ไม่ได้ผูกขาดอำนาจเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป

บทที่ 3 สูตรเพิ่มผลิตภาพทรัยากรสิบเท่า ผู้เขียนยกตัวอย่างเรื่อง Drone ที่ปฏิวัติการทำสงครามและเครื่องบินรบราคาแพงให้ลดความสำคัญลงไป เพราะก่อนหน้านี้เครื่องบินรบส่วนใหญ่นั้นแพงด้วยระบบที่ทำเพื่อให้นักบินปลอดภัย แต่พอเป็น Drone ที่ไม่ต้องมีนักบินติดเครื่องมานั้นสามารถทำให้สามารถบินได้เร็วกว่าเพราะนักบินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดความเร็วที่ทนรับได้อยู่ที่ 9 น็อต หรือ 9 เท่าของความเร็วเสียง ถ้าเร็วเกินกว่านี้นักบินจะหมดสติไป แต่พอเป็น Drone ที่ไม่ต้องมีนักบินติดมาด้วยทำให้สามารถบินได้เกินไปถึง 20 น็อตได้สบาย และ Drone สามารถลดราคาเครื่องบินจากหลายร้อยหรือพันล้านเหรียญให้เหลือเพียงไม่กี่สิบล้านเหรียญได้สบายๆ ผู้เขียนบอกว่าถ้าจะปฏิวัติวงการอะไรก็ตามให้เห็นผลต้องตั้งเป้าการทำให้ดีขึ้นไม่น้อยกว่า 80% ขึ้นไป เพราะปกติแล้วสินค้าในตลาดจะพัฒนาขึ้นทีละเล็กน้อยประมาณ 10-15% ทุกปี (คิดถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่เป็นตัวอย่างก็ได้เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม) ถ้าจะทำให้เกิดแรงกระทบมากพอต้อง 50-80% เป็นอย่างน้อย คิดให้ง่ายขึ้นอีกนิดคิดถึงตอน iPhone เปิดตัวครั้งแรก ก่อนหน้านั้นใช่ว่าจะไม่เคยมี O2 หรือ Plam มาก่อน แต่พอ iPhone ออกมามันทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น มือถือเครื่องเดียวสามารถเป็นอะไรก็ได้ด้วแอพที่ไม่ได้จำกัดด้วยแค่ Apple เท่านั้น จากนั้นทุกคนบนโลกก็แทบลืม Feature Phone ทั่วไปจนทำให้ Nokia ต้องตกกระป๋องซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงทุกวันนี้ (ถ้าไม่รับว่า Nokia ขายระบบสื่อสารมากกว่านะ)

บทที่ 4 DRITT กับซอฟต์แวร์ที่ต้องประกอบก่อนใช้ พูดถึงผู้ที่คิดค้นภาษา Java ขึ้นมาที่เปลี่ยนการเขียนโปรแกรมไปตลอดการ เพราะคนสามารถดึงคุณสมบัติมาใช้ หรือ object ที่มีอยู่แล้วมาประกอบกันใหม่ให้กลายเป็นสิ่งที่ต้องการได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนใหม่หมดทุกครั้งเหมือนก่อน

บทที่ 5 บูรณาการระบบ เมื่อพลังของเครื่องจักรเจอกับอินเตอร์เน็ตของทุกสิ่ง หมายถึงเราไม่สามารถปรับปรุงแต่จุดใดจุดหนึ่ง หรือตัวเราแค่คนเดียวแล้วจะเกิดการปฏิวัติหรือพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้อีกต่อไป แต่เราอยู่ในยุคที่เรามีข้อมูลมหาศาลที่สามารถเก็บมาแล้วแบ่งปันเพื่อพัฒนาและแชร์ความรู้เหล่านั้นด้วยกันได้ เหมือนที่โบอิ้งกับแอร์บัสสามารถแชร์ข้อมูลที่ต้องการหรืออยากแลกเปลี่ยนกัน เพราะปัญหาที่ฝ่ายนึงแก้ไขได้แล้วใช่ว่าอีกฝ่ายจะไม่มีวันแก้ไขได้ในอนาคต สู้เราช่วยกันพัฒนาไปด้วยกันดีกว่า

บทที่ 6 จังหวะคือทุกสิ่ง พูดถึงการที่ถ้าบริษัทหรือเทคโนโลยีใดเข้ามาในตลาดเร็วเกินไปก็ยากที่จะอยู่รอดได้ แต่ถ้าเข้ามาช้าเกินไปก็ไม่สามารถไล่ตามเค้าได้ทัน ต้องคิดถึงสินค้าหรือบริการในมุมมองที่อยู่นอกห้องแลปที่มีตัวแปรมากมายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ต้องคิดถึงความเป็นจริงของผู้ใช้งานที่ต้องลองเป็นครั้งแรก ต้องคิดถึงการขยายขนาดจากตลาดเฉพาะกลุ่มเป็นสู่ตลาดพันล้านคนของโลก และต้องสามารถอดทนพอที่จะอยู่ในถึงจุดนั้นได้เหมือนตัวอย่างของโซลาเซลล์จากที่เคยมีราคาแพงและมีลูกค้าเป็นแค่ NASA ที่ใช้สร้างพลังงานให้ดาวเทียม เกิดขึ้นกว่า 70 ปีก่อนมาแล้ว กว่าจะกลายเป็นหลังคาไฟฟ้าโซลาเซลล์วันนี้ก็ต้องรู้จักรอจังหวะที่เหมาะสม หรือต้องรู้จักสร้างจังหวะที่เหมาะสมขึ้นมาเอง

บทที่ 7 ทำให้สำคัญ การขยายขนาดและการใช้ประโยชน์เชิงพานิชย์ ต้องอาศัยการทดลองนานหลายปี และองค์กรต้องมีผู้กล้าที่ไม่กลัวที่จะลองวิธีใหม่ๆ เรียนรู้จากคนอื่น และโยนวิธีเดิมๆทิ้งไป เพราะบริษัทใหญ่ๆมักติดกับดักความสำเร็จเดิมๆที่ทำให้ตัวเองใหญ่ขึ้นมาจนไม่กล้าลองเปลี่ยนและเรียนรู้จากคนอื่น อย่างซัมซุงที่บุกตลาด LED และ DRAM ก่อนใครเพื่อนจนวันนี้กลายมาเป็นเจ้าตลาดของโลก เพราะไม่ว่าลูกค้าจะซื้อมือถือจากใครจอ LED ในโทรศัพท์และ DRAM ในเครื่องส่วนใหญ่ก็มาจากซัมซุงทั้งนั้น แต่กว่าจะมาแบบนี้ได้ไม่ใช่ง่ายเพราะประธานบริษัทซัมซุงเองต้องเคยสั่งทุบและเผาจอ LED ที่ผลิดไม่ได้มาตรฐานทิ้งไปในยุคแรกๆที่จอยังราคาแพงมากกว่าแสนชิ้น เพื่อให้พนักงานทุกคนเรียนรู้ในครั้งนั้นว่าถ้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานที่สูงพอ ซัมซุงจะไม่หยุดพอใจปล่อยให้มันผ่านไปอีกแล้ว

บทที่ 8 จัดระเบียบสู่ความสำเร็จ บริษัทต้องรู้จักลายเป็นบริษัทเครือข่าย กระจายความรู้ศูนย์กลายออกไปให้หน้าร้านสามารถตัดสินใจปัญหาได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอแต่ศูนย์กลางสั่งอนุมัติให้ทำเพียงอย่างเดียว ต้องรู้จักมองหาคนเก่งจากต่างสาขาเข้ามาทำงานเพื่อสร้างความหลากหลาย เช่น IDEO ของอังกฤษ และต้องรู้จักพัฒนาคนในองค์กรให้เก่งด้วยไม่ใช่เอาแต่กว้านซื้อเข้ามา และสุดท้ายต้องรู้จักกระจายงานออกไปข้างนอกเพื่อเปิดรับโอกาสใหม่ๆที่ข้างในองค์กรไม่มี

บทที่ 9 ถ้าไม่ใหญ่ก็กลับบ้านไป พูดถึงหลายๆบริษัทที่มีแนวโน้มจะปฏิวัติทรัพยากรได้ และบริษัทเหล่านี้ก็ใหญ่โตขึ้นทุกวันไม่ใช่แค่ Facebook หรือ Google หรือบริษัทเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังมีบริษัทที่ให้บริการ Solar Cell แบบเช่าไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ใดๆ แค่เซ็นสัญญาให้บริษัทติดตั้งแผงโซลาเซลล์ที่บ้าน และคุณก็ต้องจ่ายเงินเพื่อใช้ไฟฟ้าจากหลังคาบ้านคุณเองในราคาที่ถูกกว่าไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทั่วไป จากการเปลี่ยนแนวคิดที่ให้เจ้าของบ้านเป็นเจ้าของโซลลาเซลล์เองทำให้เจ้าของบ้านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเพราะไม่อยากผูกพันธ์ภาระกับแผงโซลาเซลล์ราคาแพง เพราะคนส่วนใหญ่ต้องการแค่พลังงาน แต่ไม่ได้ต้องการโรงงานผลิตพลังงานราคาแพงเลย

สุดท้ายนี้ ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่น่าสนใจในเล่มที่ผมไม่สามารถหยิบมาเล่าทั้งหมดได้ แต่ถ้าคุณเป็นคนสนใจในแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับตลาดในอนาคต เพราะผู้เขียนทำงานในบริษัท Mckinsey เป็นผู้บริหารระดับสูงมานานในด้านเทคโนโลยีสะอาดและพลังงาน จะมีเรื่องราวน่าสนใจจากประสบการณ์ตรงมากมายที่คุณไม่สามารถหาเจอจากในอินเตอร์เนตพร้อมกันได้เท่ากับเล่มนี้แบบง่ายๆแน่

อ่านแล้วเล่า สรุปหนังสือ Resource Revolution ธุรกิจพลิกอนาคต
Stefan Heck, Matt Rogers and Paul Carroll เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล แปล
สำนักพิมพ์ Openworlds

อ่านสรุปหนังสือของสำนักพิมพ์ Openworlds เพิ่ม https://www.summaread.net/category/openworlds/
สนใจหาข้อมูลหนังสือเพิ่มเติม http://openworlds.in.th/books/resource-revolution/

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/