กว่าจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ที่สามารถเล่นเฟซและอ่านโพสนี้ได้เข้าใจในวันนี้ เราต้องผ่านอะไรมาบ้าง กับ 20 คำถามสำคัญค่อยๆลำดับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์เราตั้งแต่กว่าจะแยกออกจากลิง หรือกว่าจะเริ่มเดินสองขา หรือกว่าจะเริ่มมีไหวพริบ หรือกว่าจะเริ่มมีภาษา หรือกว่าจะเริ่มสื่อสารกันได้ หรือกว่าจะสร้างสังคม หรือจนกว่าจะมีมือถือสมาร์ทโฟนอยู่ในมือทุกวันนี้ ทั้งหมดนั้นอยู่ในหนังสือเล่มนี้ให้เราได้เห็น “วิวัฒนาการ” ของมนุษย์

1. วิวัฒนาการคืออะไร?

คือการเปลี่ยนโมเลกุลเดี่ยวๆของธาตุพื้นฐานที่ไร้ชีวิตรวมตัวกันกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานเซลล์เดียวแบบง่ายๆจำพวกสาหร่าย จนขยับขยายกลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หรือพวกพืชพื้นฐาน จากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น จนกลายเป็นสัตว์น้ำบ้างก็พืชที่ซับซ้อนขึ้น แล้วเริ่มงอกขาขึ้นมาอยู่บนบก จนแตกแขนงออกไปเป็นนก แล้วก็กลายเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่หลากหลายในปัจจุบันที่เรารู้จัก

2. ดาร์วินถูกต้องแน่หรือ?

จากหนังสือ On the Original of Species ของดาว์วินคนดังที่เป็นผู้ประกาศและค้นพบหลักการทฤษฐีการคัดสรรตามธรรมชาติ เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยในตอนนั้นจนถึงตอนนี้สำหรับผู้ที่เชื่อในเรื่อง “ผู้สร้าง” กว่าสิงมีชีวิตวิวัฒนาการขึ้นมาจนเป็นอย่างทุกวันนี้จริงหรือมี “ผู้สร้าง” ที่สร้างให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ดาร์วินค้นพบจากนกพิราบว่า นกพิราบเหมือนกันแต่กลับมีหลากหลายสายพันธ์นับสิบ และค้นพบผ่านความคล้ายกันของรูปลักษณ์ของกระดูกของ มนุษย์ สุนัข วาฬ และ นก ว่ามีส่วนประกอบของกระดูกในส่วนแขนที่ล้วนเหมือนกันต่างกันแค่การจัดวางของกระดูกชิ้นส่วนต่างๆและขนาดเท่านั้น นั่นก็เป็นคำตอบที่ว่าดาร์วินถูกในเรื่องของทฤษฐีการคัดสรรตามธรรมชาติว่ามนุษย์นั้นวิวัฒนาการมาจากต้นกำเดินเดียวกันกับสัตว์ทั้งหมด

3. การคัดสรรตามธรรมชาติคืออะไร?

น่าจะตอบได้ว่าการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้เข้ากับธรรมชาติหรือที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตในเวลานั้น เช่น มนุษย์มีสมองที่ใหญ่ขึ้นเพราะเราใช้เหตุและผลรวมถึงจิตนาการมากขึ้นตั้งแต่สมัยแสนปีที่แล้วจนถึงวันนี้ สมัยก่อนสมองของต้นกำเนิดมนุษย์ก็ไม่ได้มีขนาดเท่าทุกวันนี้ และเราก็เคยมีขนที่รุงรังมากกว่านี้ แต่การคัดสรรตามธรรมชาตินั้นต้องสะสมผ่านเวลาเป็นล้านๆปี หรือกว่าที่สัตว์น้ำจะขึ้นมาบนบกได้ก็ต้องผ่านเวลาในการเปลี่ยนผ่านมหาศาลให้เข้ากับธรรมชาติในช่วงเวลานั้นที่อาจจะเกิดการแก่งแย่งทรัยากรอาหารในน้ำที่มากขึ้นเต็มที่ทุกที

4. การอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดคืออะไร?

ก็ยังอยู่ในทฤษฐีของดาร์วิน คือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาไปในทางที่ได้เปรียบหรือดีต่อสิ่งมีชีวิตนั้นก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นขยายเผ่าพันธ์เป็นใหญ่ในพื้นที่นั้นและช่วงเวลานั้น แต่ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลบหรือทำให้เสียเปรียบก็จะเป็นเหตุผลให้สิ่งมีชีวิตนั้นลดน้อยหายไปจนสูญพันธ์ไปในที่สุด แต่ส่วนใหญ่แล้วสิ่งมีชีวิตจะพัฒนาไปในทางบวกแต่ปัญหาคือไม่สามารถวิวัฒนาการตัวเองให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว

5. วิวัฒนาการเป็นกระบวนการแบบสุ่มหรือไม่?

ต้องบอกว่าเริ่มจากการสุ่มวิวัฒนาการออกมากลายเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ปลาที่อยู่ดีๆวันนึงเริ่มมีขางอกออกมานิดนึง จากนั้นวิวัฒนาการก็จะเป็นแบบตั้งใจให้สิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นมานั้นทำงานได้ดีขึ้น

6. สปีชีส์คืออะไร?

การแยกสิ่งที่ต่างออกจากกัน และรวมกลุ่มสิ่งที่เหมือนเข้าไว้ด้วยกัน สปีชีส์เดียวกันอาจพัฒนาจนแยกออกจากกันกลายเป็นสปีชีส์อื่นเมื่อเวลาผ่านไปได้ และสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอาจพัฒนามาจนมีรูปลักษณ์คล้ายกันแต่ไม่อาจนับเป็นสปีชีส์เดียวกัน ดูง่ายๆให้ดูตอนผสมพันธ์ถ้าผสมพันธ์กันแล้วสามารถออกลูกหลานได้ นั่นก็คือสปีชีส์เดียวกัน แต่ถ้าผสมกันแล้วไม่สามารถออกลูกหลานได้ก็แสดงว่าคนละสปีชีส์กัน

7. โครโมโซม ยีน และดีเอ็นเอคือะไร?

ถ้าสรุปง่ายๆก็คือ DNA คือข้อมูลทั้งหมดของเราหรือหนังสือที่มีความหนา 1,000หน้าจำนวน 3,000เล่ม นั่นแหละครับข้อมูลทั้งหมดที่เราเก็บไว้ใน DNA ทุกสายที่อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีในร่างกายเรา ส่วนยีนก็คือชุดคำสั่งหรือเป็นตัวบอกว่าจะเลือกอ่านหน้าไหน บรรทัดอะไร บ้างเพื่อให้แต่ละเซลล์ทำหน้าที่ๆต่างกัน ส่วนโครโมโซมสิ่งที่ใช้เก็บยีนเอาไว้ใช้สำหรับสืบพันธ์แล้วเอามาผสมกันคนละครึ่งกับคู่ที่ผสมพันธ์ด้วยเพื่อกลายเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ที่จะประกอบด้วย DNA จากคนละส่วนกันของพ่อและแม่

8. ยีนสร้างร่างกายได้อย่างไร?

จากไข่เป็นตัวเต็มวัย จากสมองกลายเป็นความคิด จากความเข้าใจของผมยีนคือชุดคำสั่งที่บอกว่าเซลล์แต่ละเซลล์ที่แบ่งตัวออกมานั้นจะกลายเป็นเซลล์ประเภทไหน และทำหน้าที่อะไร ร่างกายคนเรามีเซลล์ประมาณ 200-300 ชนิด ที่ทำหน้าที่ต่างๆกัน ทุกเซลล์นั้นล้วนมีข้อมูล DNA เหมือนกันหมด แต่ไม่สามารถกลายเป็นเซลล์ชนิดเดียวกันได้ทั้งหมด ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่กลายเป็นเรา เราก็คงจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดใหญ่เหมือนสาหร่ายเซลล์เดียวแผ่นใหญ่ๆก็ว่าได้

9. อณูวิวัฒนาการคืออะไร?

ภาษาไทยอาจฟังดูงง(แน่นอนผมอ่านครั้งแรกก็งง) แต่พอเห็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจได้ไม่ยากนั่นคือ molecular หรือโมเลกุลก็ว่าได้ ทีนี้กลับมาที่คำถามว่า อณูวิวัฒนาการคืออะไร? น่าจะตอบได้ว่ามันคือนาฬิกาของโมเลกุลที่อยู่ใน DNA ของเราและสิ่งมีชีวิตอื่น ถ้าเราอ่าน DNA ของสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดเราจะพบความเกี่ยงดองกันไม่มากก็น้อย แต่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในโลกที่ไม่เกี่ยวกันเลยโดนสิ้นเชิง เพราะเราต่างวิวัฒนาการมาจากจุดเริ่มต้นเดียวกันหมด ถ้าจะบอกว่าเราเป็นญาติห่างๆกับแมลงก็ไม่ผิด แต่เราก็ห่างกันมาหลายร้อยล้านปีแล้ว ถ้าจะบอกว่าเราแยกวงออกมาจากสัตว์จำพวกม้าก็ไม่ผิด เพราะเราน่าจะเพิ่งแยกวงมาได้ราวๆ 60 กว่าล้านปีเองมั้ง สรุปได้ว่าอณูวิวัฒนาการคือการพัฒนาจากโมเลกุลธรรมดาเพิ่มความซับซ้อนแตกแขนงสายพันธ์ออกมาเป็นญาติกันทั้งโลกนั่นเอง

10. ชีวิตเริ่มได้อย่างไร?

ก่อนจะไปถึงคำตอบนั้นเราอาจต้องย้อนกลับมาถามกันว่า “ชีวิตคืออะไร?” คำตอบที่ได้ทางวิชาการน่าจะเป็นความสามารถในการถ่ายทอดพันธุกรรม และความสามารถในการสร้างและสลายสารต่างๆ เอาง่ายๆก็คือมันสามารถออกลูกหลานหรือเพิ่มจำนวนตัวเองได้ และมันสามารถเปลี่ยนบางสิ่งให้กลายเป็นพลังงานให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อไป ทีนี้พอเราได้นิยามที่ชัดเจนแล้วว่า “ชีวิตคืออะไร” ก็เข้าสู่คำตอบของคำถามที่ว่า “ชีวิตเริ่มได้อย่างไร?” ชีวิตนั้นต้องประกอบด้วยสองสิ่งถึงจะถือว่าเป็นชีวิตคือรหัสพันธุกรรมหรือกับกระบวนการจักรกลทางเคมี คล้ายๆกับคอมพิวเตอร์จะเป็นคอมพิวเตอร์ได้นั้นต้องประกอบด้วยซอร์ฟแวร์ที่มีหน้าที่สั่งการกับฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่ดำเนินการให้คำสั่งนั้นเป็นไปได้ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ ทีนี้ความบังเอิญของชีวิตคือการที่บังเอิญมีสายฟ้าฟาดลงไปในน้ำที่มีโมเลกุลของธาตุเบื้องต้นให้จับตัวรวมกันกลายเโมเลกุลที่ซับซ้อนขึ้นจนกลายเป็นสารประกอบชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวแล้วพัฒนาให้ซับซ้อนขึ้นผ่านกาลเวลาที่ยาวนานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่านถึงตรงนี้ได้ จะว่าไปก็คือความบังเอิญที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและเป็นระบบต่อเนื่องนั่นเอง

11. ต้นไม้ชีวิตคืออะไร?

ลองคิดภาพถึงต้นไม้ประจำตระกูลเวลาเราดูหนังเก่าๆหน่อย หรือพวกสายตะกูลราชวงศ์สำคัญๆก็ได้ ว่าเราแตกแขนงมาจากเจ้าคุณทวดของทวดของทวดของทวดคนไหน ต้นกระกูลเราคือใคร นั่นแหละ “ต้นไม้ชีวิต” เพียงแต่ในความหมายนี้ย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลก ในทางชีววิทยาต้นไม้ชีวิตสากลนั้นสร้างขึ้นมาจาก “ลูก้า” น่าจะเป็นไรโบโซมอาร์เอ็นเอ สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มที่แตกแขนงออกไปเป็น 3 กลุ่มใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายคือ แบคทีเรีย อาร์เคีย และ ยูแคริโอต หรือสรุปง่ายๆต้นตะกูลของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเริ่มจาก “ลูก้า” ก็ว่าได้

12. เราเป็นเพียงแค่ลิงจริงหรือ?

เราอาจจะเป็นแค่ลิงถ้าเราไม่วิวัฒนาการทางชีววิทยาจนสร้างวัฒนธรรมขึ้นมา ใช่อยู่ว่าเราเคยเราเคยร่วมสายพันธ์กับลิงเมื่อราวๆ 6-7 ล้านปีก่อน จนเมื่อเราแยกออกมาจากลิงกลายเป็นมนุษย์สายพันธ์แรกคือโฮมินิด เราก็เริ่มมีสมองที่โตขึ้น นิ้วโป้งที่ใช้การได้ดีขึ้น ร่างกายเริ่มปรับตัว เริ่มกินอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้น เรารู้จักใช้ไฟในการปรุงอาหารทำให้เราย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นมากจนเราไม่ต้องใช้เวลากับการกินไปทั้งวันเหมือนลิง จนเรามีเวลาเหลือมากพอที่จะสร้างวัฒนธรรมหรือความรู้ขึ้นมาส่งต่อกันมาถึงทุกวันนี้ ฉะนั้นวันนี้เราไม่ใช่ลิงอีกต่อไปแล้ว เพราะคือมนุษย์เราแยกสายพันธ์ออกมาจากลิงเมื่อ 7 ล้านปีก่อน สรุปแบบนี้น่าจะถูกต้องกว่าครับ

13. บันทึกซากดึกดำบรรพ์บอกอะไรเราได้บ้าง?

ในตอนนี้เราค้นพับสิ่งมีชีวิตสายพันธ์ต่างๆแล้วและจนบันทึกทำข้อมูลแล้วราวๆ 2ล้านสายพันธ์ แต่คาดการณ์กันว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกราวๆ 30ล้านสปีชีส์ หรืออาจจะถึง 100ล้านสปีชีส์ นั่นหมายความว่าในตอนนี้เรารู้ยังไม่ถึง 10% ของการคาดการณ์ขั้นต่ำด้วยซ้ำ แต่ก็มีการคาดการณ์กันไปอีกว่าถ้านับตั้งแต่กำเนิดโลกที่ผ่านมาในช่วงยุคสมัยของเราอาจจะไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เคยสูญพันธ์ไปแล้วก็ว่าได้ มนุษย์เรานั้นเป็นแค่ 1 สายพันธ์จาก 2ล้านสายพันธ์ที่ค้นพบแล้ว แต่เมื่อเทียบกับอายุของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกเรานั้นช่างกระจ้อยร่อยและเยาว์วัยยิ่งนัก

14. ตัวเชื่อมโยงที่สาบสูญคืออะไร?

เรื่องราวของบรรพบุรุษมนุษย์ ญาติที่ไกล้ชิดกับเราที่สุดก็คือเอปใหญ่ที่ชิมแปนซีไกล้ชิดเรามากกว่ากอลิล่า ซึ่งก็ไกล้ชิดเรามากกว่าอุรังอุตัง สายของโฮมินิดแตกออกจากสายชิมแปนซีเมื่อ 6-7 ล้านปีก่อน และเจริญอยู่แค่ในแอฟริกา จนกระทั่งเกิดพวกโฮโมอีเร็กตัสราว 1.8 ล้านปีก่อน ค่อยๆวิวัฒนาการออกมาจนถึงสายพันธ์ที่ 12 ที่กลายเป็นโฮโมซาเปียนส์ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 100,000 ปีที่แล้ว แทนที่สายพันธ์นีแอนเดอร์ทัลที่สูญพันธ์ไปเมื่อไม่กี่หมื่นปีก่อนจนกระจายกลายไปเป็นมนุษย์ทั้งโลกทุกวันนี้ แม้รูปลักษณ์ภายนอกดูแตกต่างกันมากอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับคนยุโรปผิวขาวกับคนแอฟริกันผิวดำ แต่ทั้งหมดนั้นก็คือมนุษย์สายพันธ์เดียวกันทั้งนั้น ทั้งหมดภายนอกก็แค่การวิวัฒน์เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง

15. ความฉลาดถ่ายทอดได้หรือไม่?

ความฉลาดของคนแต่ละคนขึ้นกับยีนเพียงแค่บางส่วน เพราะสิ่งสำคัญที่ทำให้ฉลาดไม่ใช่แค่ยีนจากพ่อหรือแม่ที่ฉลาดเท่านั้น แต่ยังต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมากับประสบการณ์ต่างๆสั่งสมด้วย เคยมีการทดลองที่นำแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน(แบบเกิดมาเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกันเป๊ะ)ไปแยกกันเลี้ยงดูผลปรากฏว่ามีค่าความฉลาดหรือไอคิวที่ต่างกันมากตามสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่นำแต่ละคนไปดูแล ดังนั้นถ้าจะสรุปว่า พรสวรรค์ ก็ยังไม่อาจเหนือกว่า พรแสวง จะเป็นจริงก็ว่าได้

16. มนุษย์ยังคงวิวัฒน์ต่อไปหรือไม่?

ในด้านชีววิทยามนุษย์เราก็ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆอย่างช้าๆเหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กว่ามนุษย์เราจะมีสมองที่ใหญ่ขึ้นหรือนิ้วมือที่เล็กลงเพราะติดหน้าจอมือถือก็คงต้องผ่านไปอีกหลายพันหมื่นปี ดูตัวอย่างง่ายๆอย่างใส้ติ่งหรือฟันกรามที่มักกลายเป็นปัญหาของคนทุกวันนี้ ใส้ติ่งนั้นเป็นวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่คงเหลือสมัยเรายังเป็นสปีชีส์เดียวกันนก ก่อนจะแยกจากกันมากลายเป็นสัตว์สี่เท้าจนเดินสองเท้าเป็นเราในทุกวันนี้ แต่วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมนั้นเป็นไปเร็วมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะคาดคิด เช่น แม้ในที่ๆร้อนที่สุดเราก็ยังสามารถวิวัฒน์ไปอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย นอกโลกเราก็ยังออกไปมาได้แม้จะร่างกายทางชีววิทยาของเราจะไม่สามารถอยู่รอดได้ น่าจะสรุปได้ว่าเราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในโลกที่มีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมล้ำหน้าไปกว่าวิวัฒนาการทางชีววิทยาอย่างที่เกินกว่าจะจินตนาการได้

17. เราจะโคลนตัวเองได้ไหม?

โคลนยีนน่ะทำได้ แต่โคลนมนุษย์น่ะทำไม่ได้ ต้องบอกก่อนว่าตัวเรานั้นประกอบด้วยจีโนไทป์และฟีโนไทป์ จีโนไทป์คืออะไร..คิดง่ายๆเหมือนแบบแปลนพิมพ์เขียนในการสร้างบ้านหลังนึง แต่มนุษย์เรานั้นไม่ใช่แค่กระดูกหรือเลือดเนื้ออย่างเดียวแต่ยังประกอบด้วยประสบการณ์ที่เคยผ่านมาจากสภาพแวดล้อมทั้งหลาย และสิ่งนั้นก็คือฟีโนไทป์ที่ไม่สามารถทำให้เหมือนกันได้เป๊ะๆ และที่สำคัญคือในปัจจุบันนั้นโอกาสการมีชีวิตรอดจากการโคลนสิ่งมีชีวิตขึ้นมานั้นยังต่ำมาก ขนาดที่ไม่ถึง 10% เลย แถมสิ่งมีชีวิตที่โคลนมานั้นก็ยังไม่แข็งแรงพอจะอยู่รอดได้ยืนยาว จะตามมาด้วยข้อบกพร่องในชีวิตนั้นอยู่เสมอจนขนาดแกะดอลลี่ที่เคยโด่งดังยังอ่อนแอจนต้องวางยาให้ตายหลังจากมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่ปี ฉะนั้นถ้าถามว่าโคลนได้มั้ยเราโคลนโครงสร้างบ้านหลังนั้นได้ แต่เราไม่สามารถทำให้บ้านสองหลังนั้นเหมือนกันเป๊ะๆทุกกระเบียดนิ้วได้

18. ศีลธรรมมาจากไหน?

ระหว่างวิวัฒนาการหรือวัฒนธรรม วิวัฒนาการคือการพัฒนาทางชีวภาพร่างกายของเราก็ว่าได้ ส่วนวัฒนธรรมก็คือสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ศีลธรรมคือการบอกว่าสิ่งใดถูก และสิ่งใดผิด นั้นคือศีลธรรมหรือกฏศีลธรรมในแต่ละสังคม ย่อมหมายความว่ากฏศีลธรรมนั้นมาจากวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้มาจากวิวัฒนาการหรือสมองของมนุษย์ที่พัฒนาขึ้นถึงทุกวันนี้ แต่การที่คนเราจะเข้าใจศีลธรรมนั้นได้ก็ต้องใช้สมองที่มีวิวัฒนาการมากพอที่จะเข้าใจได้ว่า สิ่งใดถูก หรือสิ่งใดผิด และเข้าใจถึงทางเลือกที่มี ความสามารถที่จะเลือกที่จะทำ สามารถที่จะเข้าใจว่าการกระทำอย่างนี้จะให้ผลที่เกิดขึ้นอย่างไร นั่นหมายความว่ามนุษย์สามารถจินตนาการถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้น หรือยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนได้ สิ่งนี้คือวิวัฒนาการจากสมองที่สิ่งมีชีวิตไหนๆในโลกก็ยังไม่มี

19. ภาษาเป็นลักษณะจำเพาะของมนุษย์หรือไม่?

ใช่ เพราะคนนั้นพูดคุย แต่นกและผึ้งนั้นสื่อสาร สื่อสารในที่นี้หมายถึงการสื่อกันผ่านสารเช่น ฟีโรโมน หรือสารนำกลิ่นอย่างที่เรารู้กัน แต่มนุษย์นั้นอาจจะเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเดียวบนโลกที่พูดคุยผ่านภาษาและสัญลักษณ์(ตัวหนังสือ)ในการสื่อสารกัน การที่มนุษย์จะมีภาษาได้นั้นสมองต้องมีวิวัฒนาการมากพอที่จะเข้าใจว่า เสียงนั้น หมายถึง สิ่งนี้ หรือ สัญลักษณ์นั้น สื่อถึงสิ่งได โดยเฉพาะเรามี “คำ” ที่แทนสิ่งต่างๆมากมายแทบทุกอย่างที่เรารู้จัก และเราก็ยังสามารถนำ “คำ” ที่มีมากมายมาผสมกันเป็นความหมายใหม่ๆได้อย่างไม่รู้จบ

20. คติเนรมิตนิยมเป็นจริงหรือไม่?

ต้องเริ่มจากทำความเข้าใจคำว่า “คติเนรมิตนิยม” กันก่อน ในความเข้าใจแบบง่ายๆของผมคือการคิดว่าพระเจ้าหรือพระผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งมวลมีจริง ซึ่งความเชื่อนี้ดันไปขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีกำเนิดและวิวัฒนาการของมันเอง รวมถึงโลกและจักรวาลทั้งหมดก็มีจุดเริ่มต้นของมันเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ววิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้ขัดแย้งกับศาสนาหรือความเชื่อแต่อย่างใด เพราะวิทยาศาสตร์นั้นคือการทำความรู้ความเข้าใจ แต่ศาสนาความเชื่อนั้นคือการหาความหมายให้กับมัน เหมือนอย่างวิทยาศาสตร์สามารถบอกได้ว่าชีวิตกำเนิดเกิดขึ้นมาได้ยังไง แต่ไม่ได้บอกว่าเรามีชีวิตไปทำไม ศาสนาต่างหากที่อยู่ในพื้นที่นั้น ย้อนกลับไปในสมัยของดาร์วินอีกครั้งในยุคที่ยังเชื่อว่า “พระผู้สร้าง” เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งมวลขึ้นมา แต่ก็เกิดคำถามว่าแล้วกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่สมบูรณ์หรือบกพร่อง(พิการ)ล่ะ ทำไม “พระผู้สร้าง” ถึงลำเอียงเช่นนั้น ทฤษฐีของดาร์วินเข้ามารับผิดชอบในส่วนนั้นว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นจากธรรมชาติของวิวัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์พร้อม แต่พระผู้สร้างนั้นเป็นผู้ให้กำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในจุดเริ่มต้น ทำให้ทั้งวิทยาศาสตร์และความเชื่อต่างเติบโตไปด้วยกันได้ในพื้นที่ของตัวเอง

ตั้ง 20 คำถาม ก็อาจจะมีสรุปผิดบ้างถูกบ้าง วันนี้ในปีหน้ากลับมาอ่านไม่รู้จะเข้าใจตัวเองมั้ยเหมือนกัน แต่ก็เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์อีกเล่มที่สนุกไม่น่าเบื่อแถมยังเป็นเรื่องไกล้ตัวทั้งนั้น

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/