สรุปหนังสือ A Little History of Scienceวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การไขความจริงแห่งสรรพสิ่ง William Bynum / ลลิตา ผลผลา / สำนักพิมพ์ Bookscape

สรุปหนังสือ A Little History of Sciencce ที่มีชื่อไทยว่า วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การไขความจริงแห่งสรรพสิ่งเล่มนี้ทำให้เราได้เห็นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความเป็นวิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งการค้นคว้า ทดลอง ตรวจสอบ เพื่อหาความจริงแท้ของแต่ละสิ่งที่เราไม่รู้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมัยก่อนเราอยู่ในยุคของความเชื่อและเรื่องเล่าเป็นส่วนใหญ่ เราเรียกลูกไฟกลมๆ บนฟ้าว่าพระอาทิตย์ แต่พอวิทย์ศาสตร์เข้ามาไขคำตอบเราก็เรียกกันใหม่ว่า ดวงอาทิตย์ หรือจากที่เคยเชื่อว่าโลกแบนห้ามเดินทางออกไปไหนไกลเดี๋ยวตกจากผืนโลก เราก็ได้ค้นพบว่าแท้จริงแล้วโลกกลม และโลกก็ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาลอย่างที่เคยเชื่อ และดวงอาทิตย์ก็เป็นแค่หนึ่งในดาวฤกษ์จำนวนมากมายหลายล้านล้านดวงในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพรศาลแห่งนี้

ไปจนถึงการไขความลับว่าความเจ็บป่วยเราไม่ได้มาจากภูติผี หรือวิญญาณชั่วร้าย แต่มาจากเชื้อโรคร้ายตัวเล็กๆ ในระดับที่ตามองไม่เห็นต่างหากที่สามารถทำให้เราป่วยไข้หรือตายได้โดยง่าย ทำให้มนุษย์เราเปลี่ยนวิธีการรักษาโรคใหม่ จากที่เคยต้องสวดมนต์บูชาอะไรก็ไม่รู้ กลายมาเป็นกินยารักษาโรคได้แบบตรงจุด แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นทุกวันก็ด้วยวิทยาศาสตร์นี่แหละครับ

หนังสือเล่มนี้แม้ชื่อจะบอกว่าวิทยาศาสตร์ แต่เนื้อหาคือการเล่าเรื่องของในแง่ของประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก เพื่อให้เราได้เห็นกว่าจะมาเป็นสังคมยุควิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ยุคแรกเริ่มนั้นต้องต่อสู้กับความเชื่อหรือไสยศาสตร์เดิมมากมายขนาดไหน ผมขอสรุปไล่เลียงลำดับตามเรื่องราวที่เห็นว่าน่าสนใจ ขอเริ่มต้นจากกาลิเลโอ ชายผู้คนพบว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอย่างที่ผู้คนเชื่อมาแต่โบร่ำโบราณ และศาสนจักรเองในตอนนั้นก็ต่อต้านความคิดนี้อย่างแข็งขัน

กาลิเลโอ หอเอนและกล้องโทรทรรศน์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5

ตอนที่กาลิเลโอเองค้นพบว่าแท้จริงแล้วโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือหมู่ดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าตามสิ่งที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ของศาสนจักรในเวลานั้น ก็ทำให้บรรดาพระผู้ใหญ่ หรือท่านผู้มีอำนาจทั้งหลายล้วนไม่พอใจ หาว่ากาลิเลโอเองดูหมิ่นศาสนาทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในคริสต์ศาสนามาก

แต่กาลิเลโอมีมุมมองว่าศาสนาเป็นเรื่องของศีลธรรมจรรยาและศรัทธา ขณะที่วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของโลกกายภาพที่สังเกตได้ เหมือนที่เขาบอกว่าคัมภีร์ไบเบิลสอนวิธีไปสวรรค์ชั้นฟ้า หาใช่วิถีที่ท้องฟ้าดำเนินไป (อ่านแล้วรู้สึกคมคายแฮะ) แต่นั่นก็ทำให้เขาถูกศาสนจักรเข้ามาตรวจสอบความคิด ตรวจสอบสิ่งที่พูด และตรวจสอบสิ่งที่เขาจะพิมพ์ออกมา

ในยุคสมัยนั้นการควบคุมสื่อยังเป็นเรื่องง่าย เพราะแค่รู้ว่าแท่นพิมพ์อยู่ตรงไหน แล้วก็ส่งคนไปควบคุมก่อนจะพิมพ์อะไรออกมา ผิดกับโลกวันนี้ก็อาจจะยากสักหน่อยในการควบคุมสื่อ ฝ่ายต่างๆ ก็เลยใช้วิธีใส่ข่าวปลอมหรือ Fake News เข้าไปมากๆ เพื่อให้ผู้คนรู้สึกสับสนไม่รู้อะไรจริงอะไรลวงแทน

หนังสือของกาลิเลโอในวันนั้นถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของหนังสือต้องห้าม เช่นเดียวกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์คนเก่งๆ ร่วมสมัยมากมาย เพียงพอมีแนวคิดที่ใหม่เกินไปกับผู้มีอำนาจแนวคิดเก่า ซึ่งฟังดูแล้วก็ไม่ได้ต่างจากโลกปัจจุบันบ้านเราเท่าไหร่นะครับ

เพราะบรรดาผู้มีอำนาจหรือศาสนจักรมองว่าแนวคิดใหม่ๆ ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาเหล่านี้จะเข้ามาล้มล้างคำสอนของพวกเขาซึ่งดำเนินมาเป็นพันปีอย่างง่ายดาย (เหมือนคำตัดสินของศาลประเทศสารขัณฑ์อย่างไรไม่รู้) เพราะแนวคิดใหม่นี้จะส่งผลให้ข้อความในพระคัมภีร์มากมายกลายเป็นปัญหาซับซ้อนที่ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่ เรียกได้ว่าย่อมให้ความไม่รู้นำไป ดีกว่ากระทบต่ออำนาจศาสนจักรในเวลานั้นครับ

แต่อย่างไรเสียกาลิเลโอก็ไม่ละความพยายามอยากเผยแพร่ความรู้ใหม่ออกไปให้คนอื่นที่สนใจได้รับรู้ เขาจึงทำการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา แต่ในที่สุดก็ไปสะดุดสายตาพระผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ จนต้องให้กาลิเลโอออกมาประกาศว่าหนังสือเล่มนั้นของเขาเป็นความผิดพลาด และเป็นความอวดดีของตัวเขาเอง พร้อมกับให้ระบุลงลายมือว่าโลกไม่เคยเคลื่อนที่ไปไหน และโลกก็เป็นศูนย์กลางของเอกภพตามเดิมที่คีมภัร์ระบุไว้ตามที่ศาสนจักรต้องการ

Robert Boyle เคมีใหม่

เขาคือผู้ค้นพบเคมีวิถีใหม่ (คล้าย New Normal ไหม) หลายคนบนโลกอาจไม่รู้ว่าเขาคือใคร หรือสำคัญอย่างไร แต่ถ้าคุณรู้จักกระดาษลิตมัสเอาไว้ทดสอบค่า PH ที่เวลาหยดอะไรลงไปแล้วมันเปลี่ยนสี Robert Boyle คนนี้แหละครับคือผู้ค้นพบ

แต่ไหนแต่ไรมาธาตุถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิดที่เราคุ้นเคยกัน นั่นก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จากแนวคิดของอริสโตเติล หลังจากมนุษยชาติเชื่อกันแบบนี้มานานเกินพันปี อยู่ดีๆ ชายคนหนึ่งที่ชื่อบอยล์ก็ออกมาประกาศว่าไม่จริง ธาตุพื้นฐานที่เป็นโครงสร้างของสรรพสิ่งต่างๆ ไม่ได้ถือกำเนิดมาจาก 4 สิ่งนี้นะ

อย่างการเผาไม้ได้ควัน ควันก็ไม่ได้นับเป็นอากาศ หรือลม ดังนั้นแนวคิดทฤษฎีธาตุทั้ง 4 ที่เคยเชื่อกันมานานใช้การไม่ได้อีกต่อไป เพราะตอนนี้เรามีชุดแนวคิดใหม่ที่ผ่านการทดลองด้วยหลักวิทยาศาสตร์มาแล้วว่าตกลงธาตุมีอะไรที่ซับซ้อนและหลากหลายกว่านั้น นั่นก็คือเคมีธาตุที่เป็นองค์ประกอบของทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้จักและสัมผัสได้ในวันนี้

เช่น ใส้ดินสอหรือแท่งคาร์บอนกับเพชรนั้นมีกำเนิดมาจากธาตุเดียวกัน นั่นก็คือคาร์บอนล้วน เพียงแต่ลำดับโครงสร้างนั้นแตกต่างกันไปสักหน่อย ใส้ดินสอเชื่อมต่อกันแบบสองมิติ ส่วนเพชรนั้นเชื่อมต่อกันเป็นรูปทรงสามมิติ แค่นี้ก็ทำให้ใส้ดินสอกลายเป็นเพชรได้แล้ว (แต่ขั้นตอนการทำนั้นไม่ง่ายนะ)

อะตอม หน่วยเล็กจิ๋วของสสาร

ความน่าสนใจที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องอะตามสักเท่าไหร่คือ ผู้ค้นพบแนวคิดนี้ในรูปแบบใหม่มีภาวะตาบอดสี และทำให้เป็นคำเรียกขานกันของคนที่มีภาวะตาบอดสีว่า Daltonism ไม่รู้ว่าควรจะดีใจหรือเสียใจดีที่ชื่อตัวเองถูกเอามาใช้กับบริบทแบบนี้ครับ แต่ที่ผมว่าน่าสนใจไม่ใช่เรื่องนี้ คือภาวะตอนบอดสีเกิดขึ้นกับผู้ชายเป็นหลัก แทบไม่เกิดขึ้นในผู้หญิงเลย น่าสนใจมากๆ

ประวัติศาสตร์ดาวเคราะห์ของเรา

จากนั้นศาสนาก็ถูกวิทยาศาสตร์เข้ามาสั่นคลอน เมื่อมีคนค้นพบว่าแท้จริงแล้วโลกไม่ได้อายุแค่ 4,004 ปีก่อนคริสตกาลเท่านั้น เพราะอายุที่แท้จริงของโลกนั้นน่าจะย้อนกลับไปได้ไม่น้อยกว่า 6,000 ปี

จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่เมืองโบราณปอมเปอี (เมืองที่ถูกภูเขาไฟถล่มจนกลายเป็นหนังดังนี่แหละครับ) และจากการค้นพบนี้ก็ทำเอาพระคำภีร์ที่ยึดถือมานานเกิดอาการเลิกลั่กแล้วหนึ่ง เรียกได้ว่าในช่วงยุคสมัยเรเนซองส์นี่ศาสนาถูกชาเลนจ์ตลอดไม่เว้นปี

เราไม่ได้เป็นแบบนี้แต่ต้นกำเนิด

จากนั้นเองวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน ค้นพบว่าแท้จริงแล้วสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนมีความคล้ายคลึงกันมากในทางโครงสร้าง นั่นหมายความว่าเรามีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่แตกแขนงแยกกันออกมา หาใช่ว่าเราจะมีต้นกำเนิดมาแล้วมีหน้าตา ท่าทาง และรูปแบบเช่นมนุษย์เลยเสมอไป

และนั่นก็ไปชาเลนจ์พระคำภีร์ในสมัยนั้นอีกแล้ว เพราะในเนื้อหาบอกว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ตามรูปลักษณ์ของพระองค์ และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า Natural Selection หรือการคัดสรรตามธรรมชาติ แต่ความน่าสนใจไปกว่านั้นของบทนี้คือ Artificial Selection หรือการคัดเลือกของมนุษย์ เพื่อเร่งสปีดให้ทันใจ ทันความต้องการของตลาด เพราะการคัดเลือกของธรรมชาตินั้นใช้เวลานานเป็นหมื่น แสน หรือล้านปี

Artificial Selectionคือการใช้วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาปรับปรุงสายพันธ์ของพืชหรือสัตว์ที่เราต้องการให้มันขยายพันธุ์ไวๆ โตไวๆ ไม่ตายง่ายๆ ด้วยการเอาสายพันธุ์ที่ตัวเองต้องการมาปรับปรุงให้ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น จนทำให้วันนี้บรรดาหมู ไก่ หรือผักอื่นๆ นั้นมีความหลากหลายน้อยมาก ก็แอบเป็นห่วงว่าเกิดมันเป็นอะไรไปเราคงจะไม่เหลืออะไรเอาไว้ให้กินในวันหน้าก็เป็นได้ครับ

การไอ การจาม และโรค

จากนั้นวิทยาศาสตร์ก็พาเรามารู้จักกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกินตามองเห็น สมัยก่อนเราใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องออกไปมองบนฟากฟ้าเพื่อเรียนรู้โลก และจักรวาลอันกว้างใหญ่ มาตอนนี้เราหันเอากล้องส่องกำลังสูงแบบเดียวกันใช้มองสิ่งรอบตัวเพื่อดูว่าแท้จริงแล้วมีจักรวาลมากมายอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

และนั่นก็ทำให้เราได้รู้จักเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วมากมาย และนั่นก็ทำให้เราได้ค้นพบว่าอาการเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ได้มาจากเรื่องใหญ่ แต่กลับมาจากเจ้าเชื้อโรคตัวเล็กๆ เหล่านี้ที่เข้าไปออกฤทธิ์ในร่างกายเรานั่นเองครับ

ปลายปี 1870 นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดจำนวนมาก เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกันมากมาย และนั่นเองก็ทำให้แพทย์เริ่มแนะนำให้เราปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอหรือจาม เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อออกไปในวงกว้าง หรืออย่างน้อยก็ลดการติดเชื้อกันเองของคนในบ้านครับ

และในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนี้เองที่ Joseph Lister เริ่มใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างมือ ล้างทุกส่วนก่อนจะเริ่มทำการผ่าตัดหรือรักษาคนไข้ ผลคือมีผู้รอดตายจากการผ่าตัดเพิ่มขึ้นหลายเท่าด้วยการกระทำแบบง่ายๆ และนั่นก็กลายเป็นมาตรฐานความสะอาดของวงการแพทย์ที่สืบทอดยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้

สรุป A Little History of Science วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การไขความจริงแห่งสรรพสิ่ง

สุดท้ายผมรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทำให้เรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าสนุก ทำให้รู้สึกว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเราจริงๆ ถ้าเด็กไทยได้เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ผ่านการเล่าเรื่องดีๆ แบบนี้ ผมเชื่อว่าบ้านเราคงมีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ ระดับโลกมากขึ้นกว่านี้แน่ๆ ครับ

อ่านแล้วเล่า สรุปหนังสือ เล่มที่ 24 ของปี 2021

สรุปหนังสือ A Little History of Science
วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การไขความจริงแห่งสรรพสิ่ง
William Bynum เขียน
ลลิตา ผลผลา แปล
สำนักพิมพ์ Bookscape

อ่านสรุปหนังสือแนววิทยาศาสตร์ในอ่านแล้วเล่าต่อ > คลิ๊ก

สนใจสั่งซื้อทางออนไลน์ > https://bit.ly/3J7jYDU

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/