มองโลกง่ายง่ายสบายดี, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 3

เพราะหลายทีเราก็ตั้งโจทย์ให้ชีวิตยากไป ปัญหาเดียวกันแต่ตั้งคนละโจทย์ คำตอบก็ต่างกันแล้ว จะว่าไปการตั้งโจทย์ก็เหมือนกับการทำ strategy ปัญหาสุดคลาสสิคของการทำโฆษณาคือ…อยากให้คนรู้จักมากขึ้น หรือเพิ่ม Awareness ต้องทำไง หลายครั้งก็ตั้งโจทย์กันไปว่าต้องทำไวรัลวีดีโอ แล้วก็ไประดมเวลาพลังสมองกันหาทางทำวีดีโอให้น่าจะไวรัลที่สุด ถึงเวลาไอเดียมาก็คอมเมนท์กันตามความชอบ นั่นไม่ไวรัล นี่ไม่ไวรัล โดยที่ไม่เคยมีข้อสรุปกันเลยว่าอะไรที่ “น่าจะ” ไวรัลไม่ไวรัลเลยซักที ทั้งที่บางทีถ้าถอยออกมามองปัญหาให้กว้างขึ้นอีกนิด อาจจะเห็นอะไรที่มองข้ามไปทำให้ตั้งโจทย์ใหม่ได้ดีขึ้น โจทย์อาจไม่ใช่ awaness แต่อาจเป็นหาซื้อยากก็ได้ งั้นเลิกคิดไวรัล ไปเพิ่มช่องทางการขายหรือทำให้คนติดการซื้อผ่านออนไลน์กันเถอะ ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ทำมาแล้วครับตอนดันยอดขายให้โฟมล้างหน้ารายหนึ่งขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้นได้ 10เท่า พูดเรื่องตัวเองเยอะแล้ว กลับมาที่หนังสือหน่อยดีกว่า คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ระทมเพราะแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้…

ปรากฏการณ์ 4.0

หนังสือเล่มนี้ทำให้รู้ว่าจากนโยบาย Thailand 4.0 ที่เป็นกระแสในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้วตอนนี้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในบ้านเราอยู่ตรงไหน แล้วมีใครในธุรกิจไหนบ้างที่พูดได้ว่าไปถึง 4.0 แล้วในวันนี้ กับสุดท้ายแล้วอะไรบ้างที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนเพื่อที่จะทำให้ Thailand เป็น 4.0 ได้จริงๆ เขียนโดยเหล่าคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการสำรวจในมุมกว้าง และเสาะหาในมุมลึกครับ ตอนนี้เราอยู่ตรงไหน ไกล้ถึง 4.0 แล้วหรือยัง ถ้าแบ่งเป็น 1 ถึง 4 จากการสำรวจในภาพรวมตอนนี้เราเลย 2 มาหน่อยแล้วครับ อยู่ที่ราวๆ 2.5 แม้ยังไม่ไกล้ 4…

เศรษฐวิบัติ ฉบับปรับปรุง The Return of Depression Economics and The Crisis of 2008

หนังสือที่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังอย่าง Paul Krugman ที่ชำแหละเรื่องราววิกฤตการเงินกับเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger Crisis ให้คนธรรมดาที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์หรือสายการเงินก็เข้าใจได้ว่า ทั้งหมดทั้งมวลแล้วล้วนเป็นละครเรื่องเก่า พล็อตเดิม แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมตัวละครกับฉากใหม่ๆเท่านั้นเอง อยากเห็นเศรษฐกิจล่มจมทั้งประเทศหรอ ไม่ยาก แค่เราทุกคนไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมกัน แค่นั้นเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็เป็นจุลแล้ว แถมรับประกันด้วยว่าประเทศคู่ค้าที่เกี่ยวข้องก็ต้องเจ็บตามกันแน่ๆ ทำไมแค่การถอนเงินพร้อมกันของทุกคนถึงทำให้เศรษฐกิจเล่มได้ล่ะ? เพราะธนาคารของพวกคุณไม่ได้มีเงินสดไว้มากพอสำหรับให้ทุกคนได้ถอนออกไปพร้อมกันในครั้งเดียวน่ะซิครับ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่สหรัฐอเมริกาในยุค 1930 ที่ผู้คนแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารแห่งหนึ่ง จนเกิดภาวะตื่นตัวหรือควรจะเรียกว่า “ตื่นตูม” กันแห่ออกไปถอนเงินจนทำให้ธนาคารมีเงินสดไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้ธนาคารล้มตามๆกัน และเศรษฐกิจล่มจมหรือตกต่ำครั้งใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า Great Depression มาแล้ว…

การเมืองเรื่องพระพุทธรูป

เมื่อพูดถึงพระพุทธรูป รูปจำลองเคารพถึงพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาหลักที่คนส่วนใหญ่ในชาตินับถือ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้เหมือนผู้เขียนว่าเบื้องหลังของพระพุทธรูปนั้นมีการเมืองแฝงอยู่แบบที่นึกไม่ถึง หนึ่ง เพื่อความเคารพ แน่นอนว่าพระพุทธรูปอยู่ที่ไหน คนไทยส่วนใหญ่ก็จะให้ความเคารพกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะพุทธหรือไม่ใช่พุทธ แต่ถ้าเป็นคนไทยหรือไม่ใช่ไทยแต่อยู่ในไทยมานาน ก็พอจะรู้ว่าคนไทยนั้นให้ความเคารพพระพุทธรูปอย่างถึงที่สุด แต่อีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้ “คนเคารพ” ผู้ที่อัญเชิญพระพุทธรูปนั้นมาอยู่ในครอบครอง ในสมัยก่อนย้อนกลับไปถึงสมัยพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ ๑) ก็มีการไปตีเอาเมืองขึ้น แล้วก็ยึดเอาพระพุทธรูปของเมืองเหล่านั้นมาอยู่ในครอบครองที่เมืองหลวงของตัวเอง (ในสมัยนั้นคือกรุงธนบุรี แล้วค่อยมาเป็นกรุงเทพมหานคร) เป็นการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าโดยนัยว่าสิ่งสำคัญที่เป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของเมืองนั้นตกเป็นของเมืองนี้ ทั้งพระแก้วมรกตที่ได้มาจากเมืองลาว และยังมีพระบาง ที่ได้มาจากเมืองหลวงพระบาง แต่ในตอนหลังมีการนำพระบางกลับคืนไปยังเมืองเดิม เพราะเชื่อว่าถ้าพระแก้วมรกตและพระบางอยู่ด้วยกันจะทำให้แห้งแล้ง ข้าวของแพง ผู้คนอดอยาก ดังนั้นในช่วงยุคระหว่างพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่…

PAST ปัญญาอดีต

Geroge Orwell เคยกล่าวไว้ว่าWho controls the past controls the future.Who controls the present controls the past. ทำไมอดีตถึงสำคัญกับอนาคตขนาดนั้น?เพราะธรรมชาติของมนุษย์และสังคมนั้นล้วนไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีต โดยพื้นฐานเราต้องการอย่างไร พันปีผ่านไปเราก็ยังต้องการแบบนั้น อาจจะเปลี่ยนไปบ้างแค่รูปแบบหรือวิธีการ แต่โดยแก่นสำคัญยังเหมือนเดิม มนุษย์ยังคงต้องการปัจจัย 4 แต่ก็ว่ากันว่ามีปัจจัยที่ 5 อย่างโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมา แต่ถ้ามองกลับไปที่แก่นความเป็นมนุษย์และสังคมแล้ว โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต หรือจะโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นมานั้น ก็ล้วนมาจากธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการ “รวม”…

ผัวเดียวเมียเดียว

“ผัวเดียวเมียเดียว” คงไม่มีใครว่าแปลกในทุกวันนี้ แต่ถ้าย้อนหลังกลับไปไม่ถึงร้อยปีเชื่อหรือไม่ว่าเป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีใครยอมรับ และก็ไม่มีกฏหมายรองรับด้วย แต่เดิมทีสังคมไทยเป็นสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” มาแต่ครั้งโบราณกาล จนเพิ่งมาเปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติ จนออกมาเป็นกฏหมายรองรับ “ผัวเดียวเมียเดียว” ก็ในช่วงทศวรรษ 2480 เมื่อ 70กว่าปีก่อนเท่านั้นเอง แล้วทำไมต้องกลายมาเป็นผัวเดียวเมียเดียวด้วยล่ะ? ก็เพราะว่า “สยาม” หรือชาติไทยในยุคล่าอาณานิคมนั้น ที่เพื่อนบ้านล้วนตกเป็นของชาติตะวันตกทั้งนั้น ไม่ว่าจะพม่า มลายู กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ หรือลาว กัมพูชา เวียดนาม กลายเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พี่ไทยก็เลยเหลือตัวลีบๆแบบๆที่แม้จะบอกว่าเราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ในความเป็นจริงแล้วเราตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “กึ่งอาณานิคม”…

อยากชวนเธอไปอำผี

“ไม่เชื่อก็ต้องพิสูจน์” ผมว่าประโยคนี้แหละ เป็นประโยคที่สรุปหนังสือเล่มนี้ได้ดีที่สุดในความคิดผม เพราะตามความเชื่อเดิมของไทยเราคือ “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” แต่หนังสือเล่มนี้กลับกล้าคิดกลับด้านไม่ได้ให้ “ท้าทาย” หรือ “ลบหลู่” แต่อย่างไร แต่กลับสอนให้คนกล้าตั้งคำถาม สงสัย และพิสูจน์ในเรื่องต่างๆที่ลึกลับทั้งหลาย ผู้เขียนนำบทความจากการวิจัยต่างๆมาประกอบการอธิบายให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องผีทั้งหลาย ตั้งแต่ผีติดรูปถ่ายยันไปถึงผีถ้วยแก้ว เรื่องการถอดจิต เรื่องการญาณหยั่งรู้อนาคต หรือเรื่องความเชื่ออย่างการฤกษ์ตกฟากว่ามีผลกับชีวิตเราจริงมั้ย (ถ้าเรารู้ก็มี แต่ถ้าเราไม่รู้ก็ไม่มี แปลกดีมั้ย?) หรือหมอดูแม่นๆ ตำนานน้ำท่วมโลก เรือโนอาร์ ศุกร์13 ไปยันเรื่องตัวประหลาดอย่างซอมบี้ผีดิบ ยักษ์อสูร คนแคระฮอบบิท…

ชีวิตพังซ่อมได้

หมายความว่าไงชีวิตพังซ่อมได้? พออ่านจบผมคิดว่าคนส่วนใหญ่นั้นไม่รู้กฏหมาย พอไม่รู้กฏหมายก็ถูกคนที่มีสี มีเส้น มีสาย เอากฏหมายมาทำข่มขู่หรือจนถึงขั้นทำให้ชีวิตพังได้ เพราะพอพูดถึงเรื่องกฏหมาย หรือต้องขึ้นโรงขึ้นศาล คนส่วนใหญ่ก็มักจะกลัวความยุ่งยาก วุ่นวาย ไหนจะต้องเสียเงินเสียทอง ที่สำคัญที่สุดคือมาจากการไม่รู้กฏหมาย แม้จะเป็นกฏหมายง่ายๆ กฏหมายเบื้องต้น กฏหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันก็กลับมีความรู้น้อยมาก จนทำให้คนที่ไม่รู้ต้องเสียเปรียบ ตกเป็นเบี้ยล่าง ยอมจำนนให้กับผู้ที่ผิดแต่รู้กฏหมายมากกว่าไปเป็นประจำ ดังนั้นผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จึงเหมาะกับทุกคน เพราะทุกคนล้วนอยู่ภายใต้กฏหมายเหมือนกันหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น…จริงๆนะเพราะตัวกฏหมายก็บัญญัติไว้แบบนั้น แล้วกฏหมายเกี่ยวพันกับชีวิตแต่ละวันเรามากแค่ไหน ก็เอาว่าตั้งแต่เกิดแต่ยังไม่คลอดจากท้อง ก็มีกฏหมายคุ้มครองเด็กในท้องแล้วว่าห้ามทำแท้ง พอเกิดออกมาก็มีสิทธิ์รับมรดกตามกฏหมายได้ทันที ตอนเป็นเด็กก็มีกฏหมายคุ้มครองว่าห้ามใช้แรงงานเด็ก หรือผู้ปกครองพ่อแม่ก็ต้องเลี้ยงดูให้ดีตามฐานะที่พึงมี พอเริ่มใช้เงินเป็นก็เข้าสู่กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค พอเริ่มขับรถใช้ถนนเป็นก็เข้าสู่กฏหมายบนท้องถนนให้ทำตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด พอเริ่มทำงานก็เข้าสู่กฏหมายแรงงานที่ให้ความเป็นธรรมทั้งลูกจ้างและนายจ้าง แม้แต่กระทั่งตายไปกฏหมายก็ยังไม่หยุดเกี่ยวกับชีวิตเรา…

เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

เบื้องหลังสัญญาเบาริ่ง และประวัติศาสตร์ภาคพิศดารของ Sir John Bowring

เรื่องราวประวัติของนักการทูตด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ที่เชื่อว่าคนไทยหลายคนคุ้นเคยกับ Sir John Bowring จากตำราเรียนวิชา สปช ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย เกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่เกี่ยวกับการค้าข้าวและเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติในสมัยรัชการที่ 4 ซึ่งหนังสือเรียนเราบอกแค่หัวข้อสรุปผิวเผิน แต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงว่ามหาอำนาจอย่างอังกฤษสนใจสยามประเทศที่ถือว่ากระจ้อยร่อยมาก ถ้าเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซียทั้งหลายไปทำไม เหตุผลนึงที่อังกฤษสนใจสยามเพราะต้องการข้าวที่สยามปลูกอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เพื่อไปใช้เลี้ยงปากท้องชาติอาณานิคมอย่างอินเดียเป็นหลัก และถือว่าสนธิสัญญาของเซอร์เบาว์ริ่งที่มีต่อประเทศไทยนั้น เป็นงานเปรียบเทียบกับประเทศจีนที่มีปัญหา ในการทำสัญญาระหว่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองตามมา ด้วยเหตุเรือเพียงลำเดียวของจีน แต่จากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งครั้งนั้นก็ทำให้คนไทยเดือดร้อนไปทั่วหัวระแหง โดยเฉพาะกับชนชั้นสูงที่ปกครองดูแลการเก็บส่วยภาษีแทนรัฐ ที่ต้องขาดรายได้จากการผูกขาดในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการจราจลในกรุงเทพจากชาวจีนตามมา หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่ม จุดเชื่อม และจุดต่อของชาติไทยในนโยบายด้านต่างประเทศกับทางชาติยุโรปในสมัยนั้น จนเป็นชาติไทยถึงวันนี้ อ่านเมื่อปี…