Connected by Design แบรนด์ดีมีแต่ได้

เขียนจากประสบการณ์ตรงของ 2 นักโฆษณามากฝีมือระดับโลกอย่าง Barry Wacksman เป็น Global Chief Strategy Officer และ Chris Stutzman อดีต Managing Director จากเอเจนซี่ระดับโลกอย่าง R/GA ที่ปีล่าสุดคว้าสิงโตคานส์มา 18 ตัว หนึ่งในนั้นเป็นสิงโต Grand Prix หนึ่งตัวจากสาขา Media คอนเซปหลักของเล่มนี้เป็นเรื่องของ Functional Integration หรือการสร้าง…

Evolution of Money from Cowries to Cryptocurrency วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี

สรุปหนังสือ Evolution of Money from Cowries to Crypto Currency วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี เป็นหนังสือที่ทำให้เข้าใจภาพของ “เงิน” ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงภาพ “เงินในอนาคต” ที่กำลังจะมาถึง ผมว่าเราควรเริ่มจากคำถามที่ว่า “เงินคืออะไร?” ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักเงิน และเงินในความคิดคนส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นธนบัตร เหรียญ หรือตัวเลขในบัญชีธนาคารที่เราใช้ฝากจ่ายโอนถอนกันทุกวัน แล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถเป็น “เงิน” ได้ในวันนี้ “บุหรี่คือเงินในคุก” ตั้งแต่สมัยอดีตตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในคุกที่เป็นค่ายกักกันชาวยิวก็มีการใช้บุหรี่เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆที่ต้องการในคุก และแม้แต่ในปัจจุบันคุกบ้านเราก็ใช้บุหรี่แทนตัวเงินเช่นกัน…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, The Fourth Industrial Revolution

เป็นหนังสือที่ให้ภาพรวมแนวกว้างรวมกับข้อมูลเชิงลึกว่า โลกในวันพรุ่งนี้หลายปีข้างหน้าจะไปในทิศทางไหน ด้วยผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่สามารถให้อุปกรณ์รอบตัวที่มีเซนเซอร์รับข้อมูลรอบด้าน เอาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยความเร็วไม่ว่าจะด้วย ai หรือ machine learning ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปทุกด้าน แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3 ครั้งที่ผ่านมาล่ะเป็นยังไง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติแรงงานจากคนและสัตว์ กลายมาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงงานในรูปแบบซ้ำๆถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เช่น การทอผ้าที่เคยเป็นเรื่องยากทำให้ผ้ามีราคาแพงเพราะต้องใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อใช้แรงงานจากเครื่องจักรไอน้ำก็ทำให้อาชีพคนทอผ้ามากมายในอังกฤษต้องหายไป และก็ได้ผ้าราคาถูกที่ใครๆก็เข้าถึงได้มาแทน แถมเครื่องทอผ้านี่แหละที่ทำให้อินเดียตกอยู่ในวิกฤตในตอนนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติพลังงานมาเป็น “ไฟฟ้า” และการผลิตแบบสายพานการผลิต…

Blockchain เปลี่ยนโลก, Blockchain Revolution

ทำไม Skype ถึงไม่ได้เกิดมาจาก AT&T Paypal ไม่ได้เป็นของ Visa Twitter ไม่ได้มาจาก CNN Uber ไม่ได้เริ่มต้นที่ GM หรือ Hertz Google ไม่ได้แยกออกมาจาก Microsoft iTune ไม่ได้มาจากค่ายเพลงดังอย่าง Sony Instagram ไม่ได้ถูกคิดโดย Kodak Netflix ไม่ได้กำเนิดออกมาจาก Blockbuster เพราะนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ล้วนเกิดจาก “คนนอก” ทั้งสิ้น…

จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง One From Many

เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ก่อตั้งบริษัท VISA ที่ผมเชื่อได้ว่าแทบทุกคนบนโลกคุ้นเคย เพราะอย่างน้อยตอนเราทำบัตร ATM ครั้งแรกเราก็ต้องเลือกแล้วว่าจะใช้ VISA หรือ MasterCard ไหนจะตอนที่เราเริ่มทำงานมีรายได้แล้วอยากทำบัตรเครดิตครั้งแรกก็ต้องเลือกอีกเช่นกัน.. ..บริษัท VISA เกิดขึ้นมาจากความวุ่นวายของแบงค์ออฟอเมริกา อยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นบัตรเครดิตครั้งแรกในชื่อของ อเมริการ์ด ที่ให้บริการสินเชื่อเงินสดทันใจแทนที่ดราฟเช็คเงินสดในสมัยก่อน ถ้าเราจำกันได้เวลาดูหนังฮอลลีวูดที่เก่าหรือย้อนยุคไปหน่อยซัก 40-60 ปีก่อน จะเห็นว่าตัวละครจะเขียนเช็คแทนการจ่ายด้วยเงินกัน นั่นแหละคือความยุ่งยากที่ก่อกำเนิดบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกขึ้น.. ..แต่หลังจากเกิดขึ้นก็กลับก่อให้เกิดปัญหาวุ่นวายตามมามากมาย เพราะระบบที่ไม่ดีพอที่จะรองรับการเติบโตมหาศาลได้ และสมัยก่อนการจ่ายเงินยังไม่ทันใจในเสี้ยววินาทีที่แค่เซ็นลงบนสลิปแล้วจบ เพราะทางร้านค้าจะต้องรับบัตรแล้วก็โทรตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกบัตร ส่วนธนาคารผู้ออกบัตรก็จะบอกให้ร้านค้ารอซักครู่แล้วทางธนาคารผู้ออกบัตรก็จะโทรไปยังสำนักงานใหญ่แบงค์ออฟอเมริกาเพื่อถามว่าจะอนุมัติหรือไม่ ถ้าวงเงินสูงก็ต้องใช้เวลารอการอนุมัติอีกราวๆสองอาทิตย์ และจากการโทรกันหลายทอดก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายสะสมมหาศาลจากค่าโทรศัพท์ทางไกลมากมายหลายร้อยล้านดอลลาห์ในสมัยนั้น.. ..Dee Hock…