สรุปอย่างย่อ นี่คือหนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจ data มากขึ้นในหลายมิติ คุณจะพบว่า data มากมายรอบตัวนั้นเกี่ยวพันกับชีวิตเราอย่างแยกไม่ออกแล้ว และ data ในอดีตของเรานั้นกลับเป็นตัวชี้น้ำ data ในอนาคตเรามากขึ้นทุกที หรือจะอนุมานว่า data นั้นเปรียบเสมือนดาบสองคมก็ว่าได้ ขึ้นอยู่กับคนที่มีเอาไปใช้ยังไง แต่ส่วนใหญ่วันนี้มักเอาไปใช้ไม่ค่อยดี เช่น ปากบอกว่าเพื่อให้บริการเราได้ดียิ่งขึ้น แต่ความจริงแล้วกลับหลอกล่อให้เราคลิ๊กซื้ออะไรที่ไม่จำเป็นมากขึ้นต่างหาก ฉะนั้น ใครที่อยากรู้เท่าทัน data ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้ ดีไม่ดีอ่านจบคุณอาจจะอยากลบข้อมูลทุกอย่างบนโซเชียล แล้วก็เลิกออนไลน์ไปออกธุดงเลยก็ได้ครับ...
Technology
สรุปอย่างสั้น เมื่อเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบที่มีตัวตนจริงๆที่จับต้องได้ หรืออาจจะเป็นแค่ระบบที่จับต้องไม่ได้อย่าง AI ก็ตาม กำลังจะเข้ามาปฏิวัติชีวิตเราทุกคนบนโลกที่เกี่ยวข้องกับระบบ “ตลาด” อย่างไม่อาจจะต้านทานได้ การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งนี้จะรุ่นแรงยิ่งกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไปอย่างเทียบกันไม่ได้ ลองคิดดูซิว่าตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มกลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำนักงาน ก็ทำเอาผู้ใหญ่หลายคนในตอนนั้นต้องปรับตัวเรียนรู้ใหม่มากขนาดไหนกว่าจะลงตัว หรืออย่างตอนที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกหย่อมหญ้าด้วยพลังของสมาร์ทโฟนราคาถูก ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลบนออนไลน์นั้นเป็นเรื่องง่ายที่คนรุ่นปู่ย่าก็ทำได้ จนขาดไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ การปฏิวัติหุ่นยนต์นี้ถ้าจะเรียกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องของ Big Data, Machine Learning และ AI หรือที่เรียกรวมๆได้ว่า “ระบบอัตโนมัติ” ก็ได้ครับ...
จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า...
เป็นหนังสือที่ให้ภาพอนาคตแบบคร่าวๆตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ก็ตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ เราอาจจะไม่มีที่ยืนในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่พร้อมเข้ามาแทนที่มนุษย์เรา Formless และ Borderless คือสองคำที่น่าจะเป็นหัวใจหลักในการบรรยายถึงโลกอนาคต, Formless คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ไม่ว่าจะวิธีการ ความเชื่อ หรือความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Borderless คือโลกจะเปิดกว้างยิ่งขึ้น เส้นแบ่งต่างๆจะค่อยๆจางหายไป มีโอกาสให้แทบกับทุกคน แต่โลกที่เปิดกว้างขึ้นก็ไม่ได้มีแค่โอกาส แต่มันหมายถึงการแข่งขันและคู่แข่งที่จะพรั่งพรูตามมาด้วย ดังนั้นถ้าไม่แกร่ง ไม่เร็ว ไม่ชัดเจนในความเชี่ยวชาญพอ...
จะทำอย่างไรเมื่อชะตาชีวิตต้องถูกกำหนดโดยคณิตศาสตร์ หรือจะมองว่า Algorithm เป็นดั่งลิขิตสวรรค์ในยุคดิจิทัลก็ว่าได้ นี่คือหนังสือที่ไม่ได้ขู่ให้คุณกลัวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยนี้ แต่จะสอนให้คุณรู้เท่าทันและพยายามรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมใน code โปรแกรมแต่ละบรรทัดที่กำลังกำกับวิถีชีวิตเราแทบทั้งหมดอยู่โดยไม่รู้ตัว คุณรู้มั้ยครับว่าเวลาเราเสริชหาคำซักคำบน Google แม้จะเป็นคำเดียวกันเป๊ะๆแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ สมมติว่าคุณเป็นนักธุรกิจที่รักการลงทุน ส่วนผมเป็นนักกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าเราทั้งคู่เสริชหาคำว่า “บริษัทน้ำมัน” เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ของคุณกับผมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คุณน่าจะพบกับเว็บที่แนะนำการลงทุนในบริษัทน้ำมันที่น่าสนใจ และก็จะเจอกับข่าวคราวผลกำไรของบริษัทน้ำมันต่างๆ ส่วนผมที่เป็นนักกิจกรรมน่ะหรอครับ ก็จะเจอแต่ข่าวฉาวของบริษัทน้ำมันทั้งหลายว่าไปรั่วที่ไหน และทำให้สัตว์อะไรต้องสูญพันธ์ไปแล้วบ้าง นี่คือสิ่งทีเรียกว่าภาวะ “Filter Bubble” ในยุคดิจิทัลครับ...
เขียนโดย Samuel Greengard แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สำนักพิมพ์ openworlds สำหรับคนทำงานเกี่ยวกับดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี คำว่า internet of things หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า IoT นั้นคงเป็นอะไรที่คุ้นเคยและคิดว่ารู้จักกันดี แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็เหมือนได้เปิดโลกรู้จักความหมายของ Internet of things อีกหลายเรื่องหลากแง่มุมที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย หนังสือ The Internet...
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆแต่เนื้อหาสาระกลับไม่เล็กนะครับ(ประโยคคุ้นๆคล้ายๆหนังคลาสสิกยังไงก็ไม่รู้) ที่รวบรวมมาจากบทความใน The MATTER สำนักข่าวออนไลน์สาย Intellectual ชื่อดังและเขียนโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เปลี่ยนกำลังเปลี่ยนชีวิตเราไป ทั้งในแง่ดีและร้ายโดยที่เราอาจจะนึกภาพไม่ออก ต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ช่วยชี้แนวทางให้เราเตรียมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเรื่องไหนที่รับมือไม่ได้ก็ยังช่วยให้เราได้เตรียมใจไว้รับสภาพตั้งแต่วันนี้ ผมขอสรุปทั้ง 39บทความของทั้งเล่มให้ได้ลองอ่านดูเผื่อว่าคุณจะสนใจไปซื้อมาอ่านเต็มๆ (เพราะผมว่ามันน่าสนใจจริงๆนะสำหรับผม) 1. ไม่ว่าจะเรื่อง ai จากไมโครซอร์ฟที่กลายเป็นนางร้ายเหยียดเชื้อชาติจนต้องถูกลบทิ้งไปภายในวันเดียว 2. ระบบที่ช่วยให้ศาลตัดสินจำเลย แต่กลับช่วยให้คนต้องติดคุกมากขึ้นเพราะถูกตั้งค่าจากสถิติให้มีการเหยียดสีผิวซ่อนอยู่ 3. แม้แต่หุ่นยนต์หรือ ai...
เขียนจากประสบการณ์ตรงของ 2 นักโฆษณามากฝีมือระดับโลกอย่าง Barry Wacksman เป็น Global Chief Strategy Officer และ Chris Stutzman อดีต Managing Director จากเอเจนซี่ระดับโลกอย่าง R/GA ที่ปีล่าสุดคว้าสิงโตคานส์มา 18 ตัว หนึ่งในนั้นเป็นสิงโต Grand Prix หนึ่งตัวจากสาขา Media...
สรุปหนังสือ Evolution of Money from Cowries to Crypto Currency วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี เป็นหนังสือที่ทำให้เข้าใจภาพของ “เงิน” ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงภาพ “เงินในอนาคต” ที่กำลังจะมาถึง ผมว่าเราควรเริ่มจากคำถามที่ว่า “เงินคืออะไร?” ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักเงิน และเงินในความคิดคนส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นธนบัตร เหรียญ หรือตัวเลขในบัญชีธนาคารที่เราใช้ฝากจ่ายโอนถอนกันทุกวัน แล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถเป็น “เงิน” ได้ในวันนี้ “บุหรี่คือเงินในคุก”...
อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน...