Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร เพราะบริษัทเหล่านี้มีแนวทางเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมายว่า ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่รอด ถ้าสังคมพัฒนาเราก็จะเจริญ..…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

ก้าวแรกที่เท่าเทียม, GIVING KIDS A FAIR CHANGE

การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน ไม่มีชนชั้นวรรณะ แต่ก็ไม่นะ ใน Utopia…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…

เสรีภาพในการพูด Free Speech

เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส . โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง . ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก . จนบรรดาเหล่าผู้ปกครองมีมติร่วมกันว่าให้ปิดปากโสกราตีสซะ . อ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่า…

โลกาภิวัตน์ Globalization; A very short introduction

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์.. ..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่ น่าจะได้ งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น? ..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น ถอยกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าเป็นยุคของ Smartphone และ Internet ไร้สายที่ทำให้การเชื่อมต่อไม่ต้องติดอยู่กลับที่ เลื่อนหน้าฟีดของโลกาภิวัตน์ลงไปอีกก็อาจจะพบเจอกับยุค www หรือยุคเริ่มต้นอินเตอร์เนตนั่นเอง หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ PC…

Creative Capitalism ทุนนิยมสร้างสรรค์

ว่าด้วยเรื่องของการพูดคุยกันระหว่างสองมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกสองขั้ว Bill Gates ขั้วเทคโนโลยี และ Warren Buffett ขั้วแห่งนักลงทุน การถกเถียงเริ่มต้นจาก Bill Gates ผู้ผันตัวไปทำมูลนิธิเพื่อสังคมอย่างเต็มตัวและถอนตัวจากบริษัท Microsoft ที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้มั้ยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจะช่วยกันสละทรัพยากรของตนเพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินดำรงชีพไม่ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นไปได้มั้ยว่าเศรษฐกิจทุนนิยมจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นทุนนิยมสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่กำไรสูงสุด แต่มุ่งหวังเรื่องชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับเพื่อกลับมาสร้างผลกำไรสูงสุดที่อาจจะไม่ใช่แค่ตัวเงิน แต่จะเป็นการยอมจ่ายมากขึ้นของลูกค้า การดึงดูดพนักงานเก่งๆให้เข้ามาด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า เพราะภูมิใจที่ตัวเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อสังคม หรือแม้แต่สละผลกำไรก่อนหักภาษีเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่สุดในโลกหนึ่งพันล้านคน เกิดเป็นการถกเถียงผ่านเวปบอร์ดที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากวิวาทะของ Bill Gates ที่กรุงดาวอสที่เริ่มพูดถึงเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์ และการสนทนาส่วนตัวระหว่างเขากับ Warren…

Human Rights สิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ดองหนังสือซีรีส์ A Very Short introduction มานาน ก็ถึงคราวไล่อ่านเรียงตามเรื่องซักที จากปรัชญาการเมืองที่มีเกริ่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เลยถึงเวลาหยิบหนังสือสิทธิมนุษยชนความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้มาอ่านซักที ถ้าให้สรุปสั้นๆหลังอ่านจบว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ก็คงบอกได้ว่าคือแนวคิดที่ไม่แบ่งชายแยกหญิง ไม่แบ่งขาวแยกดำ ไม่แบ่งเชื้อชาติแยกคนกลุ่มน้อย ไม่แบ่งศาสนาแยกความเชื่อ ไม่แบ่งรวยแยกจน คือหลักแนวคิดที่ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนมีสิทธิเยี่ยงมนุษย์หนึ่งคนเท่ากันถ้วนหน้า สิทธิมนุษยชนเลยเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ไม่มีกฏิกาเส้นกำหนดแน่นอน ไม่มีขาวดำชัดเจน หลายประเด็นล้วนเป็นสีเทาๆ และสิทธิมนุษยชนจะไม่มีวันลดลง กลับมีแต่เพิ่มประเด็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งถกเถียงกันก็ยิ่งเจอประเด็นใหม่ๆของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีให้ทุกคนแม้แต่ผู้ก่อการร้าย แม้ถูกจับได้ก็ยังได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนจนกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่ว่า Human Rights for Act หรือจะเป็น…

Populism : A very short introduction ประชานิยม ความรู้ฉบับพกพา

ประชานิยมคืออะไร? และอะไรไม่ใช่ประชานิยม? ขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ทำให้ผมเข้าใจความหมายและที่มาที่ไปของคำว่า “ประชานิยม” ดีขึ้น ถ้าให้ผมเดา ผมขอเดาว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า “ประชาชน” บวกกับ “ความนิยม” หรือ “เป็นที่นิยม” นั่นหมายความว่าอะไรก็ตามที่คนส่วนมากนิยมชมชอบ ก็สามารถนิยามว่าประชานิยมได้ไม่ยาก เท่าที่ผมนึกออกผมเดาว่าคำนี้น่าจะเป็นที่รู้จักกันในบ้านเราตอนสมัย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่น่าจะเป็นผู้ริเริ่มนโยบายแบบประชานิยมขึ้นมา จนกลายเป็นทุกพรรคต่างต้องมีนโยบายประชานิยมในแบบของตัวเอง เท่าที่ผมนึกออกนโยบายประชานิยมในตอนนั้นที่ได้ใจประชาชนไปมาก น่าจะเป็น 30 บาท รักษาทุกโรค แม้จะโดนแซะโดนแซวว่าได้แต่พารา แต่ครอบครัวผมก็เป็นหนึ่งที่ได้ใช้สิทธิ์นี้ในการรักษาโรคมะเร็งอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง นี่คงเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าประชานิยมในบ้านเราเท่าที่ผมจำได้ แล้วอะไรที่ “ประชาไม่นิยม” นั่นก็คือคนส่วนน้อยในสังคม…