จะทำอย่างไรเมื่อชะตาชีวิตต้องถูกกำหนดโดยคณิตศาสตร์ หรือจะมองว่า Algorithm เป็นดั่งลิขิตสวรรค์ในยุคดิจิทัลก็ว่าได้ นี่คือหนังสือที่ไม่ได้ขู่ให้คุณกลัวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยนี้ แต่จะสอนให้คุณรู้เท่าทันและพยายามรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมใน code โปรแกรมแต่ละบรรทัดที่กำลังกำกับวิถีชีวิตเราแทบทั้งหมดอยู่โดยไม่รู้ตัว คุณรู้มั้ยครับว่าเวลาเราเสริชหาคำซักคำบน Google แม้จะเป็นคำเดียวกันเป๊ะๆแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ สมมติว่าคุณเป็นนักธุรกิจที่รักการลงทุน ส่วนผมเป็นนักกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าเราทั้งคู่เสริชหาคำว่า “บริษัทน้ำมัน” เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ของคุณกับผมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คุณน่าจะพบกับเว็บที่แนะนำการลงทุนในบริษัทน้ำมันที่น่าสนใจ และก็จะเจอกับข่าวคราวผลกำไรของบริษัทน้ำมันต่างๆ ส่วนผมที่เป็นนักกิจกรรมน่ะหรอครับ ก็จะเจอแต่ข่าวฉาวของบริษัทน้ำมันทั้งหลายว่าไปรั่วที่ไหน และทำให้สัตว์อะไรต้องสูญพันธ์ไปแล้วบ้าง นี่คือสิ่งทีเรียกว่าภาวะ “Filter Bubble” ในยุคดิจิทัลครับ...
Society
เขียนโดย Samuel Greengard แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สำนักพิมพ์ openworlds สำหรับคนทำงานเกี่ยวกับดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี คำว่า internet of things หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า IoT นั้นคงเป็นอะไรที่คุ้นเคยและคิดว่ารู้จักกันดี แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็เหมือนได้เปิดโลกรู้จักความหมายของ Internet of things อีกหลายเรื่องหลากแง่มุมที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย หนังสือ The Internet...
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆแต่เนื้อหาสาระกลับไม่เล็กนะครับ(ประโยคคุ้นๆคล้ายๆหนังคลาสสิกยังไงก็ไม่รู้) ที่รวบรวมมาจากบทความใน The MATTER สำนักข่าวออนไลน์สาย Intellectual ชื่อดังและเขียนโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เปลี่ยนกำลังเปลี่ยนชีวิตเราไป ทั้งในแง่ดีและร้ายโดยที่เราอาจจะนึกภาพไม่ออก ต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ช่วยชี้แนวทางให้เราเตรียมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเรื่องไหนที่รับมือไม่ได้ก็ยังช่วยให้เราได้เตรียมใจไว้รับสภาพตั้งแต่วันนี้ ผมขอสรุปทั้ง 39บทความของทั้งเล่มให้ได้ลองอ่านดูเผื่อว่าคุณจะสนใจไปซื้อมาอ่านเต็มๆ (เพราะผมว่ามันน่าสนใจจริงๆนะสำหรับผม) 1. ไม่ว่าจะเรื่อง ai จากไมโครซอร์ฟที่กลายเป็นนางร้ายเหยียดเชื้อชาติจนต้องถูกลบทิ้งไปภายในวันเดียว 2. ระบบที่ช่วยให้ศาลตัดสินจำเลย แต่กลับช่วยให้คนต้องติดคุกมากขึ้นเพราะถูกตั้งค่าจากสถิติให้มีการเหยียดสีผิวซ่อนอยู่ 3. แม้แต่หุ่นยนต์หรือ ai...
พูดถึงเกาหลีมั่นใจว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ตั้งแต่แดจังกึม ที่ถูกเอามาล้อกันเป็นแดกจังมึง กิมจิ, Super Junior, เพลงฮิตอย่าง NOBODY NOBODY BUT YOU และ กังนัมสไตล์ที่ได้พันล้านวิวแรกบนยูทูป เกาหลีที่ดูมหัศจรรย์เต็มไปด้วยสีสันและสวยงามด้วยศัลยกรรมในความรู้สึกเราในวันนี้ ใครจะรู้ว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้วเกาหลีเองเคยจะเป็นหนึ่งในชาติที่พังพินาศอย่างถึงที่สุด เกาหลีเองเพิ่งได้เอกราชจากญี่ปุ่นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 1945 จากนั้นก็ยังถูกสองขั้วมหาอำนาจโลกฉีกประเทศเกาหลีออกเป็นสองส่วน เกาหลีเหนืออยู่ภายในการชี้นำจากโซเวียตหรือรัสเซียในวันนี้ ส่วนเกาหลีใต้อยู่ในความดูแลของสหรัฐ แต่ใช่ว่าเกาหลีใต้ในยุคแรกที่ได้เอกราชจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะเกาหลีใต้ถูกปกครองด้วยผู้นำเผด็จการมาอย่างยาวนาน จนอาจบอกได้ว่าเกาหลีใต้เพิ่งจะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบจริงๆก็เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมาก็ว่าได้ เกาหลีใต้หนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจนมีเศรษฐกิจติดลำดับต้นๆของโลกในวันนี้...
เป็นหนังสือที่น่าจะซื้อมาตั้งแต่งานหนังสือเมื่อปลายปีก่อน แล้วเพิ่งจะได้หยิบมาอ่านเมื่อสามวันก่อน(ตอน July 2017) แวปแรกแอบท้อเพราะหนังสือมันหนากว่าหนังสือปกติเพราะมีตั้ง 3ร้อยกว่าหน้า.. แต่พอได้อ่านดูเลยรู้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านง่ายมากแถมยังสนุกและได้ความรู้ที่น่าสนใจอีกด้วย เลยทำให้ 300 กว่าหน้านั้นอ่านจบได้ภายใน 3 วันไม่ขาดไม่เกิน ถ้าหน้าปกบอกว่า #ถอดรหัสรักออนไลน์ แล้วหลังจากปกเข้าไปข้างในล่ะเป็นไง..ก็ต้องบอกว่าทั้งเล่มกว่าสามร้อยหน้าเป็นเรื่องของนักพูดเดี่ยวไมค์ไมโครโฟนที่ค่อนข้างดังคนนึงของอเมริกาที่ชื่อว่า Aziz Ansari เกิดสงสัยในเรื่องความรักของคนสมัยใหม่หรือจะบอกว่าสมัยนี้แทนดีนะ ก็เลยสนใจศึกษาจนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และได้รับความร่วมมือมากมายไม่ว่าจากนักจิตวิทยาสังคมจาก 5 ประเทศที่ออกไปสำรวจเรื่องราวรักๆออนไลน์ แถมยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเวปไซต์และแอพหาคู่ดังๆในอเมริกามากมายอีกด้วย สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือสมัยก่อนรุ่นปู่ย่าหรือพ่อแม่เรานั้นมักพบรักและแต่งงานกับคนไกล้ตัวรั้วไกล้บ้าน พอนึกย้อนกลับมาที่ครอบครัวตัวเอง เออ..ก็จริงว่ะ เพราะจำได้ว่าตอนถามยายว่าเจอกับตาได้ไงก็บอกว่าคนหมู่บ้านเดียวกันเห็นหน้ากันมาแต่เด็ก...
โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร...
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย...
การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน...
จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก...
เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส . โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง . ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก...