ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องมาคุยเล่น 30 วินาที

หนังสือว่าด้วยศาสตร์แห่งการคุยเล่นที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น การคุยเล่นที่บางคนอาจจะเห็นว่าไร้สาระนั้น จะรู้มั้ยว่าความไร้สาระนั่นแหละคือแก่นสารของชีวิตเรา คนที่คุยเล่นได้เก่งคือคนที่มีทักษะในการสื่อสารได้ดี และก็เป็นคนที่ใครๆก็รักและชื่นชอบ ถ้าเราสังเกตุจากสิ่งรอบตัวในชีวิต เราจะพบเจอแต่เรื่องราวไร้สาระที่กลายมาเป็นสาระหลักในชีวิตเรามากขึ้นทุกวัน การพูดคุยคือส่วนหนึ่งในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนที่พูดคุยเก่งก็มีแนวโน้มจะเติบโตในหน้าที่การงานได้ดี หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายๆ และเหมาะจะเอามาทดลองใช้ในชีวิตประจำวันดู แม้แต่การสัมภาษณ์งาน ก็ยังแฝงการคุยเล่นที่ไร้สาระ เพื่อดูว่าคุณเป็นคนรับมือกับเรื่องเล่านี้ยังไงเลย เรามาหัดคุยเล่นกันวันละ30วินาทีกันเถอะครับ อ่านเมื่อปี 2016

สร้างโลกไร้จน Creating a World Without Poverty

เป็นหนังสือที่ดีมากที่สุดเล่มนึง ต้องขอบคุณเพื่อนแบงค์มากที่ทิ้งไว้ให้อ่านในวันที่เค้าลาออก หนังสือที่เขียนโดย Muhammad Yunes นักธุรกิจเพือสังคมรางวัลโนเบลของบังคลาเทศ คนที่พยายามสู้เปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ให้กับคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคมของเค้า เป็นผู้ริเริ่ม micro finance หรือธนาคารกรามีนต้นแบบกองทุนหมู่บ้านที่โด่งดังไปทั่วโลก จนมาถึงในบ้านเรา ยูนุสค้นพบว่าคนจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายเหมือนคนรวย คนจนไม่มีทรัพย์สินไปค้ำประกันหรือมีเครดิตไปกู้แบงค์ ..แน่นอนเพราะเค้าจน ยูนุสเลยก่อตั้งธนาคารเงินกู้ขนาดเล็กเพื่อคนจนจริงๆ ทำให้คนจนสามารถมีทุนไปต่อยอดด้วยแรงงานตัวเองต่อได้ ยูนุสยังสร้างธุรกิจเพื่อสังคมอีกมากมายในประเทศของเค้า ธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุสเป็นอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้มาก ธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่แค่ CSR ในทางการตลาดที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง และพอมีกำไรไปต่อยอดคืนให้สังคม โดยไม่มีใครสะสมกำไรนั้นไว้กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลแล้วดอกผลนั้นตกลงพื้นก็กลายเป็นต้นใหม่ขึ้นมาวนเวียนแบบนั้นไปไม่จบสิ้น อยากเห็นธุรกิจเพื่อสังคมในบ้านเรา และนี่เป็นอีกสิ่งนึงในชีวิตที่เราอยากจะทำในขั้นต่อไป อ่านเมื่อปี…

Sociology สังคมวิทยาฉบับพกพา

สารภาพตามตรงว่าเข้าใจได้ไม่ถึงครึ่งเล่มแต่ก็ได้แง่คิดมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น ศาสนาคริสนิกายโปเตสแตนท์เกิดมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพื่อก้ามข้ามผ่านนิกายคาทอลิค ที่ให้คนยึดถือความพอเพียงมากกว่าการสะสมทรัพย์สิน แต่ให้เอาทรัพย์สินมาบริจาคให้คริสตจักรแทน แต่คนเริ่มรวยขึ้นก็อยากเก็บเอาทรัพย์สินไว้กับตัวเอง หรือสรุปได้ว่าเดิมที “รวยคือบาป” ครับ หรือแม้แต่ปัจจุบันรัฐชาติ หรือศาสนาไม่อาจปกครอง หรือมีอำนาจต่อผู้คนได้เท่าสมัยก่อน ในปัจจุบันที่คนเรามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆในชีวิตมากขึ้น ก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดส่วนเกินที่มากขึ้น ความขาดแคลนในวันนี้ไม่ใช่ความขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานของชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นความขาดแคลนในสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการหรือจิตวิญญาณของเรามากขึ้น สังคมวิทยามีความคล้ายจิตวิทยาพอสมควรในความคิดผม คิดว่าคงต้องกลับมาอ่านซ้ำอีกรอบเมื่อหนังสือเล่มที่ค้างไว้หมด (ค้างอ่านอยู่ 70 เล่มตอนนั้น 2016) คงได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆที่จะเอากลับมาเล่าต่อแน่ๆ อ่านเมื่อปี 2016

Modern Romance ถอดรหัสรักออนไลน์

เป็นหนังสือที่น่าจะซื้อมาตั้งแต่งานหนังสือเมื่อปลายปีก่อน แล้วเพิ่งจะได้หยิบมาอ่านเมื่อสามวันก่อน(ตอน July 2017) แวปแรกแอบท้อเพราะหนังสือมันหนากว่าหนังสือปกติเพราะมีตั้ง 3ร้อยกว่าหน้า.. แต่พอได้อ่านดูเลยรู้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านง่ายมากแถมยังสนุกและได้ความรู้ที่น่าสนใจอีกด้วย เลยทำให้ 300 กว่าหน้านั้นอ่านจบได้ภายใน 3 วันไม่ขาดไม่เกิน ถ้าหน้าปกบอกว่า #ถอดรหัสรักออนไลน์ แล้วหลังจากปกเข้าไปข้างในล่ะเป็นไง..ก็ต้องบอกว่าทั้งเล่มกว่าสามร้อยหน้าเป็นเรื่องของนักพูดเดี่ยวไมค์ไมโครโฟนที่ค่อนข้างดังคนนึงของอเมริกาที่ชื่อว่า Aziz Ansari เกิดสงสัยในเรื่องความรักของคนสมัยใหม่หรือจะบอกว่าสมัยนี้แทนดีนะ ก็เลยสนใจศึกษาจนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และได้รับความร่วมมือมากมายไม่ว่าจากนักจิตวิทยาสังคมจาก 5 ประเทศที่ออกไปสำรวจเรื่องราวรักๆออนไลน์ แถมยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเวปไซต์และแอพหาคู่ดังๆในอเมริกามากมายอีกด้วย สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือสมัยก่อนรุ่นปู่ย่าหรือพ่อแม่เรานั้นมักพบรักและแต่งงานกับคนไกล้ตัวรั้วไกล้บ้าน พอนึกย้อนกลับมาที่ครอบครัวตัวเอง เออ..ก็จริงว่ะ เพราะจำได้ว่าตอนถามยายว่าเจอกับตาได้ไงก็บอกว่าคนหมู่บ้านเดียวกันเห็นหน้ากันมาแต่เด็ก พอโตขึ้นหน่อยก็เลยแต่งงานกัน ถ้าถามว่าเบื้องหลังการแต่งงานกับคนบ้านไกล้เรือนเคียงนั้นคืออะไรก็ต้องบอกว่าเพราะคนยุคสมัยนั้นไม่ได้มีตัวเลือกมากเหมือนสมัยนี้ ในยุคสมัยที่การเดินทางไปไหนมาไหนก็ลำบาก…

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างแปลกในความคิดผม เพราะเป็นหนังสือที่เอาคำพูดที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเรื่องของ “ทางรอดทุนนิยม: สังคมแห่งความร่วมมือ” ในวันนั้น พร้อมกับสิ่งที่ผู้บรรยายและผู้ฟังในวันนั้นได้ถกเถียงกันให้กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เลยให้อารมณ์เหมือนได้ฟังเลคเชอร์ร่วมกับผู้ฟังคนอื่นๆ ขาดก็แต่ไม่ได้ร่วมถกเถียงความคิดที่แวบขึ้นมาในหัวด้วยเท่านั้น “ทุนนิยม” กลายเป็นระบบทางเศรษฐกิจยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกในวันนี้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ยังยอมที่จะเป็นทุนนิยม จีนก็เป็นหนึ่งในทุนนิยมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อเนื่องมากว่า 30 ปี นับแต่เปิดประเทศรับทุนเข้ามาและปล่อยให้ทุนไปตามความนิยมของเจ้าของทุนมากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า “ทุนนิยมในปัจจุบัน” หรือ “ทุนนิยมแบบตลาดเสรี” นั้นจะดีต่อเราและโลกจริงหรือ เพราะในขณะที่เศรษฐกิจในหลายประเทศโตวันโตคืน แต่กับทรัพยากรและธรรมชาตินั้นกลับร่อยหรอลงทุกทีๆ จนวันนี้ธรรมชาติเริ่มกลับมาเอาคืนมนุษย์เรามากขึ้นผ่านภัยธรรมชาติทั้งหลายที่เราก็ยังรับมือไม่ค่อยไหว เพราะแนวทางของทุนนิยมทุกวันนี้นั้นคือการแข่งกันลงเหว หรือที่เรียกว่า Race…

Creative Capitalism ทุนนิยมสร้างสรรค์

ว่าด้วยเรื่องของการพูดคุยกันระหว่างสองมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกสองขั้ว Bill Gates ขั้วเทคโนโลยี และ Warren Buffett ขั้วแห่งนักลงทุน การถกเถียงเริ่มต้นจาก Bill Gates ผู้ผันตัวไปทำมูลนิธิเพื่อสังคมอย่างเต็มตัวและถอนตัวจากบริษัท Microsoft ที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้มั้ยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจะช่วยกันสละทรัพยากรของตนเพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินดำรงชีพไม่ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นไปได้มั้ยว่าเศรษฐกิจทุนนิยมจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นทุนนิยมสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่กำไรสูงสุด แต่มุ่งหวังเรื่องชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับเพื่อกลับมาสร้างผลกำไรสูงสุดที่อาจจะไม่ใช่แค่ตัวเงิน แต่จะเป็นการยอมจ่ายมากขึ้นของลูกค้า การดึงดูดพนักงานเก่งๆให้เข้ามาด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า เพราะภูมิใจที่ตัวเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อสังคม หรือแม้แต่สละผลกำไรก่อนหักภาษีเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่สุดในโลกหนึ่งพันล้านคน เกิดเป็นการถกเถียงผ่านเวปบอร์ดที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากวิวาทะของ Bill Gates ที่กรุงดาวอสที่เริ่มพูดถึงเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์ และการสนทนาส่วนตัวระหว่างเขากับ Warren…

Human Rights สิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ดองหนังสือซีรีส์ A Very Short introduction มานาน ก็ถึงคราวไล่อ่านเรียงตามเรื่องซักที จากปรัชญาการเมืองที่มีเกริ่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เลยถึงเวลาหยิบหนังสือสิทธิมนุษยชนความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้มาอ่านซักที ถ้าให้สรุปสั้นๆหลังอ่านจบว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ก็คงบอกได้ว่าคือแนวคิดที่ไม่แบ่งชายแยกหญิง ไม่แบ่งขาวแยกดำ ไม่แบ่งเชื้อชาติแยกคนกลุ่มน้อย ไม่แบ่งศาสนาแยกความเชื่อ ไม่แบ่งรวยแยกจน คือหลักแนวคิดที่ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนมีสิทธิเยี่ยงมนุษย์หนึ่งคนเท่ากันถ้วนหน้า สิทธิมนุษยชนเลยเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ไม่มีกฏิกาเส้นกำหนดแน่นอน ไม่มีขาวดำชัดเจน หลายประเด็นล้วนเป็นสีเทาๆ และสิทธิมนุษยชนจะไม่มีวันลดลง กลับมีแต่เพิ่มประเด็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งถกเถียงกันก็ยิ่งเจอประเด็นใหม่ๆของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีให้ทุกคนแม้แต่ผู้ก่อการร้าย แม้ถูกจับได้ก็ยังได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนจนกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่ว่า Human Rights for Act หรือจะเป็น…