ฟิสิกส์หรรษา ชุด เรื่องลึกลับธรรมดา

ฟิสิกส์ที่เคยเป็นเรื่องยาก(สมัยเรียนมัธยมปลายผมตกติดศูนย์ตลอดเลยครับ) กลับกลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเรื่องราวไกล้ตัว ตั้งแต่ 1 วินาทีที่เราคุ้นเคย ในแง่ฟิสิกส์มันคือช่วงเวลา 9,192,631,770 รอบจากการแกว่งของรังสีที่แผ่ออกมาจากอะตอมซีเซียม-133 ในสถานะพื้นขณะเกิดการเปลี่ยนสถานะระหว่าง 2 ระดับพลังงานไฮเปอร์ไฟน์ ไปจนถึง 1 เมตร คืออะไร และ 1 กิโลกรัมจริงๆแล้วคืออะไร ไปจนถึงเรื่องสุดหลุดจินตนาการอย่าง เราสามารถสร้างปืนใหญ่ที่ยิ่งได้แรงพอจนลูกปืนนั้นสามารถวนรอบโลกกลับมาที่จุดที่ยิงมันออกไปได้มั้ย และเจ้าของคำถามหลุดจินตนาการจนฟังดูเพ้อเจ้อนี้ก็คือ เซอร์ ไอแซก นิวตัน อัจฉริยะที่เราทุกคนคุ้นกันดีนี่เอง ถ้าถามว่าคนทำงานโฆษณาการตลาดอย่างผมอ่านหนังสืออย่างนี้ไปจะเอาไปใช้อะไรได้ พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์เคยกล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เหมือนการตีหินให้เกิดประกายไฟ…

อยากชวนเธอไปอำผี

“ไม่เชื่อก็ต้องพิสูจน์” ผมว่าประโยคนี้แหละ เป็นประโยคที่สรุปหนังสือเล่มนี้ได้ดีที่สุดในความคิดผม เพราะตามความเชื่อเดิมของไทยเราคือ “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” แต่หนังสือเล่มนี้กลับกล้าคิดกลับด้านไม่ได้ให้ “ท้าทาย” หรือ “ลบหลู่” แต่อย่างไร แต่กลับสอนให้คนกล้าตั้งคำถาม สงสัย และพิสูจน์ในเรื่องต่างๆที่ลึกลับทั้งหลาย ผู้เขียนนำบทความจากการวิจัยต่างๆมาประกอบการอธิบายให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องผีทั้งหลาย ตั้งแต่ผีติดรูปถ่ายยันไปถึงผีถ้วยแก้ว เรื่องการถอดจิต เรื่องการญาณหยั่งรู้อนาคต หรือเรื่องความเชื่ออย่างการฤกษ์ตกฟากว่ามีผลกับชีวิตเราจริงมั้ย (ถ้าเรารู้ก็มี แต่ถ้าเราไม่รู้ก็ไม่มี แปลกดีมั้ย?) หรือหมอดูแม่นๆ ตำนานน้ำท่วมโลก เรือโนอาร์ ศุกร์13 ไปยันเรื่องตัวประหลาดอย่างซอมบี้ผีดิบ ยักษ์อสูร คนแคระฮอบบิท…

ปัญญารวมหมู่ The Perfect Swarm : The Science of Complexity in everyday life

ว่าด้วยเรื่องของการรวมหมู่รวมกลุ่มของสิ่งมีชีวิตต่างๆตั้งแต่แบคทีเรีย ตั๊กแตน ปลาทะเล จนถึงมนุษย์ ที่จะอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าประเภทไหนต่างต้องพึ่งพากฏระเบียบหรือรูปแบบเพื่อทำให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ หรือเพื่อให้เผ่าพันธุ์นั้นยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นอีก เช่น รูปแบบพฤติกรรมของตั๊กแตนลาคอส ที่รวมฝูงกันทำร้ายมนุษย์และทำลายพืชผลต่างๆจนกลายเป็นวิกฤตหายนะหลายต่อหลายครั้งในเผ่าพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่โบราณ ตามเรื่องเล่าตำนานที่มักจะเล่ากันว่าฝูงห่าตั๊กแตนมารุมกินพืชสวนไร่นาจนทำให้มนุษย์ต่างต้องอดตายไปทั้งหมด และไม่เพียงเท่านั้นแต่มันยังกัดกินกันเองด้วยซ้ำเมื่อไม่มีอะไรเหลือให้กิน ซึ่งก็เป็นจุดสิ้นสุดของฝูงมฤตยูตั๊กแตน แต่เบื้องหลังการกระทำเหล่านั้นคือโดยธรรมชาติตั๊กแตนลากอสไม่ได้มีพฤติกรรมดุร้ายหรือก้าวร้าว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พวกมันเริ่มรวมฝูงกันเกิน 7 ตัว พฤติกรรมการออกล่าก็เริ่มต้นขึ้น เริ่มรวมตัวกันมากขึ้นจนกลายเป็นเหมือนเมฆดำจนท้องฟ้ามืดมิด การเคลื่อนที่ของตั๊กแตนฝูงเหล่านั้นอาจดูซับซ้อนมากเกินกว่าจะหาเหตุผลให้มันได้ แต่เชื่อมั้ยว่าจริงๆแล้วมีกฏอยู่แค่ 3 ข้อเท่านั้นที่ควบคุมฝูงตั๊กแตนนับล้านๆตัว 1. เคลื่อนที่ให้ทันตัวหน้า2. เคลื่อนที่อย่าให้ช้ากว่าตัวหลังเพราะไม่งั้นจะโดนกิน3. เว้นที่ว่างด้านข้างให้พอที่จะบินได้สะดวก จาก 3 กฏเบื้องต้นนี้กลายมาเป็นกฏพื้นฐานของโปรแกรมแอนิเมชั่นในภาพยนต์หลายๆเรื่อง…

บิ๊กดาต้า มหาประลัย Weapons of Math Destruction

จะทำอย่างไรเมื่อชะตาชีวิตต้องถูกกำหนดโดยคณิตศาสตร์ หรือจะมองว่า Algorithm เป็นดั่งลิขิตสวรรค์ในยุคดิจิทัลก็ว่าได้ นี่คือหนังสือที่ไม่ได้ขู่ให้คุณกลัวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยนี้ แต่จะสอนให้คุณรู้เท่าทันและพยายามรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมใน code โปรแกรมแต่ละบรรทัดที่กำลังกำกับวิถีชีวิตเราแทบทั้งหมดอยู่โดยไม่รู้ตัว คุณรู้มั้ยครับว่าเวลาเราเสริชหาคำซักคำบน Google แม้จะเป็นคำเดียวกันเป๊ะๆแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ สมมติว่าคุณเป็นนักธุรกิจที่รักการลงทุน ส่วนผมเป็นนักกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าเราทั้งคู่เสริชหาคำว่า “บริษัทน้ำมัน” เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ของคุณกับผมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คุณน่าจะพบกับเว็บที่แนะนำการลงทุนในบริษัทน้ำมันที่น่าสนใจ และก็จะเจอกับข่าวคราวผลกำไรของบริษัทน้ำมันต่างๆ ส่วนผมที่เป็นนักกิจกรรมน่ะหรอครับ ก็จะเจอแต่ข่าวฉาวของบริษัทน้ำมันทั้งหลายว่าไปรั่วที่ไหน และทำให้สัตว์อะไรต้องสูญพันธ์ไปแล้วบ้าง นี่คือสิ่งทีเรียกว่าภาวะ “Filter Bubble” ในยุคดิจิทัลครับ นั่นหมายความว่าชะตาชีวิตเราในวันนี้ถูกกำหนดโดยโปรแกรมเมอร์และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะ facebook, google…

Stuff Matter วัสดุนิยม

“วัสดุนิยม” ไม่เหมือนกัน “วัตถุนิยม” ถ้าวัตถุนิยมคงไม่ต้องให้นิยามกันอีกเพราะผมเชื่อว่าหลายคนคงพอมีนิยามของคำนี้ในหัวค่อนข้างตรงกันแล้ว แต่ไอ้ “วัสดุนิยม” นี่หล่ะคืออะไร? “วัสดุนิยม” ในคราวนี้ผมคิดว่ามาจากผู้เขียน Mark Miodownik ที่เป็นคนคลั่งใคล้ในวัสดุต่างๆรอบตัว เรียนกว่าเข้าขั้นหมกมุ่นมากกกกกก ถ้าถามว่าหมกมุ่นขนาดไหน ก็ตอบได้เลยว่าขนาดว่าเอามาทำเป็นสำมาอาชีพ จบปริญญาเอกด้านนี้ ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ จนได้รับการยกย่องจาก Time ว่าเป็น 1 ใน 100 นักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลยุคใหม่ (ประมานนี้นะถ้าจำไม่ผิด พอดีไม่ได้ติดหนังสือไว้ตอนเขียน) ดูเหมือนจะเป็นหนังสืออ่านยากใช่มั้ยครับ ฟังดูว่าวิทยาศาสตร์ นักวิจัย อะตอม…

อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

จริงหรือมั่ว? ชัวร์หรือมั่วนิ่ม ให้แน่ใจต้อง “เช็ก” ก่อน “แชร์” พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มเล็กๆฉบับพกพาหยิบไปอ่านที่ไหนก็ง่าย แถมยังได้เกร็ดสาระความรู้มากมายกว่า 36 บท โดยอาจารย์เจษฏา อมยิ้มล็อคอินดังห้องหว้ากอผู้ที่คอยมาไขปัญหาคาใจของชาวพันทิปและชาวเน็ตมากมาย พูดถึงพันทิปสมัยก่อนนั้นคนที่เป็นล็อคอินดังๆสมัยซักสิบปีก่อนของห้องหว้ากอก็น่าจะหนีไม่พ้นพี่ช่างไฟ คุณหมอเจ และ Mr.T ที่ตามตำนานว่ากันว่าเป็น…. ที่เวลามีปัญหาข้องใจอะไรก็มักจะปรึกษาสองล็อคอินนี้เป็นประจำ ด้วยความที่ผมก็ไม่ได้เล่นพันทิปมานานมากแต่มาได้ยินชื่อล็อคอินอาจารย์เจษฎาตามช่องข่าว และหน้าฟีดพวกเวปข่าวหรืออะไรที่เพื่อนๆแชร์กัน จนทำให้รู้ว่าตอนนี้มีล็อคอินนี้กำลังเป็นที่นิยมในช่วงเวลานี้ จริงๆสมัยนี้ต่างกับสมัยสิบปีก่อนตรงที่ social media ยังไม่บูมเท่าทุกวันนี้ ด้วยสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เนต 4G ทั่วทุกหย่อมหญ้าราคาถูกให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลและแชร์กันได้ง่ายๆกว่าสมัยสิบปีก่อนมากนัก ผมจำได้ว่าสมัยนั้นจะเล่นเนตทีต้องไปร้านเนต ไม่ก็ต้องติดเนตที่บ้าน…

THE BIG QUESTIONS EVOLUTION, 20 คำถามสำคัญของวิวัฒนาการ

กว่าจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ที่สามารถเล่นเฟซและอ่านโพสนี้ได้เข้าใจในวันนี้ เราต้องผ่านอะไรมาบ้าง กับ 20 คำถามสำคัญค่อยๆลำดับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์เราตั้งแต่กว่าจะแยกออกจากลิง หรือกว่าจะเริ่มเดินสองขา หรือกว่าจะเริ่มมีไหวพริบ หรือกว่าจะเริ่มมีภาษา หรือกว่าจะเริ่มสื่อสารกันได้ หรือกว่าจะสร้างสังคม หรือจนกว่าจะมีมือถือสมาร์ทโฟนอยู่ในมือทุกวันนี้ ทั้งหมดนั้นอยู่ในหนังสือเล่มนี้ให้เราได้เห็น “วิวัฒนาการ” ของมนุษย์ 1. วิวัฒนาการคืออะไร? คือการเปลี่ยนโมเลกุลเดี่ยวๆของธาตุพื้นฐานที่ไร้ชีวิตรวมตัวกันกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานเซลล์เดียวแบบง่ายๆจำพวกสาหร่าย จนขยับขยายกลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หรือพวกพืชพื้นฐาน จากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น จนกลายเป็นสัตว์น้ำบ้างก็พืชที่ซับซ้อนขึ้น แล้วเริ่มงอกขาขึ้นมาอยู่บนบก จนแตกแขนงออกไปเป็นนก แล้วก็กลายเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่หลากหลายในปัจจุบันที่เรารู้จัก 2. ดาร์วินถูกต้องแน่หรือ? จากหนังสือ On the Original of…

Being Moral ตาย-เป็น

Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์…

The Life of Nicola Tesla นิโคลา เทสลา อัจฉริยะนักฝันผู้เดียวดาย

สรุปหนังสือ The Life of Nicola Tesla นิโคลา เทสลา อัจฉริยะนักฝันผู้เดียวดาย เรื่องราวชีวิตของยอดนักประดิษฐ์ผู้เปลี่ยนโลก แต่กลับไร้ชื่อเสียง ลาภยศ และความรัก ผมได้ยินคำว่า “Tesla” ครั้งแรกสมัยเล่นเกมส์ Red Alert ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีอาวุธป้องกันฐานที่ชื่อว่า Tesla Coil ที่สามารถยิงสายฟ้าป้องกันฐานเวลาฝั่งตรงข้ามส่งทหารเข้ามาบุก และถ้าสร้างติดๆกันสามารถรวมพลังสายฟ้าให้แรงขึ้นและยิงได้ไกลขึ้นอีก และถ้าเป็น Red Alert 2 ก็จะมีตัวทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชื่อว่า Tesla Soldier…

สัตว์โลกสัปดน Weird Mate

จากเพจเฟซบุ๊คสุดกี๊ค สู่หนังสือ Pop Science สุดซี้ด ใครจะคิดว่าเรื่องเซ็กส์กับสัตว์นั้นจะแปลกประหลาดเกินจินตนาการได้ถ้าไม่ได้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือไม่ได้รู้จักเพจ “สัตว์โลกสัปดน” ที่คนเขียนสร้างเพจไว้ ใครบ้างจะรู้ว่าการกำหนดเพศนั้นไม่ได้มาจากแค่โครโมโซมเหมือนมนุษย์เท่านั้น แต่ในสัตว์หลายจำพวกเช่น จรเข้ สามารถกำหนดเพศของลูกที่กำลังจะฟักออกมาจากไข่ด้วยอุณหภูมิ! ใช่ครับ แค่อุณหภูมิก็สามารถเลือกเพศได้แล้ว ถ้าอยากได้จรเข้เพศผู้ก็ต้องให้อยู่ในอุณหภูมิช่วง 30 องศาเซลเซียล แต่ถ้าอยากได้เพศเมียก็ต้องให้ร้อนขึ้นอีกหน่อยเป็นช่วง 32-34 องศาเซลเซียล (ถ้าจำสลับเพศก็ต้องขออภัยเพราะพยายามเปิดหาข้อมูในเล่มอีกรอบแล้วไม่เจอ) ส่วนสัตว์บางจำพวกอย่างหอยทางนั้นเป็นสัตว์ที่สามารถสลับเพศได้ในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดนจิ้มก่อน ถ้าใครแพ้โดนจิ้มก่อนก็จะต้องกลายเป็นตัวเมียที่คอยอุ้มท้องต่อไป จนคราวหน้าค่อยหวังจะได้กลายเป็นเพศผู้ ส่วนมนุษย์เรานั้นคุ้นเคยกันดีว่าเราถูกกำหนดเพศด้วยโครโมโซมที่แลกเปลี่ยนกันของพ่อและแม่ในระหว่างช่วงอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนกำหนดให้เกิดการเลือกเพศขึ้นมา…