Misbehaving เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รู้สึกว่ากระแสเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกำลังมาในบรรดาเพื่อนรอบตัว เห็นบนหน้าฟีดเฟซบุ๊คหลายคนแชร์เล่มนี้ก็เลยต้องถึงเวลาหยิบขึ้นมาอ่านซักที หลังจากซื้อดองมาแรมปีจากงานหนังสือคราวก่อน เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ต่างกับ เศรษฐศาสตร์ปกติยังไง? แนวความคิดครับ เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมหรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่าสายชิคาโกนั้นยึดหลักว่า มนุษย์นั้นช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลที่สุด ดังนั้นทุกการเลือก ทุกการกระทำ หรือทุกการตัดสินใจ ก็บอกได้เลยว่าผ่านการคิดสะระตะมาอย่างดีแล้ว ว่าสิ่งที่เลือกทำหรือตัดสินใจนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองอย่างแน่นอน เช่น การเลือกที่จะไม่กินมื้อดึกวันศุกร์เพราะคงเพิ่มความเสี่ยงให้กับปริมาณไขมันในร่างกายในระยะยาว หรือ เลือกที่จะไม่ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุดเพราะโทรศัพท์เครื่องเดิมยังใช้งานได้ แม้จะดูเก่าๆไปหน่อย แล้วก็เอาเงินไปเก็บสำหรับการเกษียรในระยะยาว นี่แหละครับ มนุษย์ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์เดิมๆที่อยู่ในความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ตลอดมา จนกระทั่งเกิดเศรษฐศาสตร์สาขาแนวทางใหม่ขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนที่เรียกกันว่า เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่มองมนุษย์ในแบบที่มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นจริงๆ แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเป็นยังไง? ต้องบอกว่าคนเราส่วนใหญ่นั้นไม่ได้คิดเยอะ ซับซ้อน หรือถึงข้อดีในระยะยาวขนาดนั้นครับ เราส่วนใหญ่ก็คนธรรมดาที่เลือกกินมื้อใหญ่ตอนดึก…

Nudge สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม

วิธีกำหนดทางเลือกอย่างแยบยลให้คนเดินไปในทางที่คุณต้องการ เขียนโดย Richard H. Thaler และ Cass R. Sunstein พูดถึงเรื่องการชี้นำทางเลือกให้ผู้คนแต่ยังให้ผู้คนมีอิสระเสรีที่จะเลือก เป็นแนวทางการปกครองแบบใหม่ที่เรียกว่า พ่อปกครองลูกแบบเสรีนิยม ฟังครั้งแรกมีงงว่ายังไงแต่พออ่านแล้วจึงเข้าใจว่าอ๋อ…ขอยกเคสตัวอย่างในหนังสือหนึ่งเคสเลยแล้วกัน ในโรงอาหารในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาว่าเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความอ้วนเกินมาตรฐานในวัยเด็ก ทางผู้จัดการโรงอาหารเลยคิดหาทางแก้ไขว่าจะทำอย่างไรดี ระหว่างที่จัดการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย ก็มีอาจารย์ท่านนึงเสนอว่าให้ตัดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทิ้งไปเลย ให้เหลือแต่ของที่ดีต่อสุขภาพ(ในความคิดของผู้ใหญ่) แต่อาจารย์ฝ่ายเสรีนิยมก็เสนอว่าทำแบบนั้นมันไม่ถูกต้องมันเผด็จการเกินไป อาจารย์ผู้เป็นผู้ดูแลโรงอาหารแห่งนี้เลยปิ๊งไอเดียบางอย่างว่า ให้เราลองทำการทดลองดูว่า ถ้าเราสลับถาดอาหารโดยให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่ลำดับต้นทั้งหมด และให้อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอยู่ในลำดับท้ายทั้งหมด เปรียบเทียบกับอีกโรงเรียนที่จัดวางอาหารแบบไม่มีลำดับหรือสุ่ม แล้วผลออกมาจะเป็นอย่างไร คุณคิดว่าผลสองโรงเรียนนี้จะต่างกันหรือไม่ กับการแค่ลำดับถาดอาหาร..ใช่ครับ ผลที่ได้ออกมาต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ…

Quirkology เปลี่ยนมุมคิดด้วยจิตวิทยาภาคพิศดาร

โดย Richard Wiseman หนังสืออีกเล่มสำหรับคนที่ชอบเรื่องจิตวิทยาหรือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมโดยเฉพาะ และก็เหมาะสำหรับคนทำการตลาดทั้งหลายด้วยนะ.. ..แต่ถ้าคนที่อ่านหนังสือแนวนี้มาเยอะแล้วอาจจะพบว่าหลายบทในเล่มนี้เหมือนกับหลายๆเล่มที่เคยอ่านผ่านมาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Malcolm Gladwell หรือ Dan Ariely และนักเขียนด้านนี้คนอื่นๆอีกหลายคนที่ผมจำชื่อไม่ได้ แล้วหนังสือเล่มนี้สนุกตรงไหนล่ะ.. ..มันสนุกตรงที่ผู้เขียนไปศึกษาติดตามพฤติกรรมแปลกๆของคนเราออกมาเป็นผลลัพธ์ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคนเราจะเดินช้าลงโดยไม่รู้ตัวเมื่อถูกป้อนความคิดเรื่องความแก่ชราลงไปก่อนหน้านั้น อาจจะด้วยการอ่าน พูด หรือทำแบบสอบภาม จะเห็นว่าคนเรานั้นสามารถูกชี้นำความคิดได้ง่ายๆ.. ..แต่หัวข้อที่ผมรู้สึกชอบมากที่สุดในเล่มนี้เป็นเรื่องของ “มุขตลก” ผู้เขียนพยายามค้นหาว่ามีมั้ยนะมุขตลกที่เป็นสากลของโลกนี้ ที่สามารถทำให้คนทุกคนบนโลกขำได้หมด ปรากฏว่าไม่มีครับ เพราะแม้แต่มุขที่ตลกที่สุดจากการโหวตจากคนหลายแสนคนทั่วโลก จากหัวข้อมุขตลกกว่าหมื่นมุขที่มีคนส่งเข้ามา พบว่าได้คะแนนเพียง 55% เท่านั้น…

สุขเลือกได้ Choose the Life You Want: 101 Ways to Create Your Own Road to Happiness.

101 วิธีในการเลือกใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จากผู้สอนหลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หนังสือเล่มนี้รวบรวมวิธีคิด หรือตัวอย่างจากชีวิตจริงที่เชื่อว่าหลายคนต้องเคยประสบ กับเหตุการณ์ หรือทางเลือกแบบนี้มาก่อน เช่น เมื่อเจอปัญหาที่เหมือนไม่มีทางออกแล้วจะทำยังไงดี เมื่อเจอกับสิ่งที่ไม่มีทางเลือกแล้วจะทำยังไงต่อ หรือควรจะเลือกทางไหนที่ดีที่สุด สำหรับชีวิต..แน่นอนแทบทุกครั้งเราแทบไม่มีทางรู้เลยว่า การเลือกหรือตัดสินใจของเรา จะส่งผลต่ออนาคตอย่างไร สิ่งที่เราส่วนใหญ่ทำได้ก็คือ “คาดหวัง” ให้ผลออกมาดี แต่ทุกครั้งที่ผลออกมาไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้เราก็มักจะจมอยู่กับความเสียใจ วนเวียนไปเป็นเวลานาน จนมักจมอยู่กับความคิดที่ว่า “ถ้าเป็นอย่างนั้น..” หรือ “ถ้ารู้อย่างนี้..” จนเราลืมคิดไปว่า ณ เวลานั้นเราก็ยังมีทางที่จะเลือกได้อยู่ดี เหมือนกับประโยคน้ำครึ่งแก้วที่หลายคนคุ้นเคย.. ..”คุณเห็นน้ำในแก้วหายไปครึ่งหนึ่ง หรือเห็นน้ำในแก้วเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว” คำถามนี้ไม่มีถูกผิด…

The (Honest) Truth About Dishonesty อ่านทะลุความคิด ด้วยจิตวิทยาแห่งการโกง

โดย Dan Ariely จะนิยามผู้เขียนว่าเป็นนักศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ผู้โด่งดังก็ว่าได้ เพราะหนังสือหลายเล่มที่เค้าเขียนมาเชื่อว่าเราหลายคนคงคุ้นกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมพยากรณ์ หรือ เหตุผลที่ไม่ควรมีเหตุผล.. ..พฤติกรรมคนเราสามารถศึกษาได้ไม่ยากแต่คาดเดาได้ไม่ง่าย มนุษย์ที่ว่ากันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตทีอุดมไปด้วยเหตุและผลนั้น แท้จริงแล้วกลับใช้อารมณ์ในการดำเนินชีวิตเป็นส่วนใหญ่จนน่าตกใจ ไม่น่าเชื่อว่าเราจะรอดจากวิกฤตต่างๆในสมัยโบราณจนกลายมาเป็นเผ่าพันธุ์ที่ปกครองโลกใบนี้ได้.. ..เล่มนี้ผู้เขียนศึกษาถึงเรื่องพฤติกรรมการโกงของมนุษย์เราซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์เราส่วนใหญ่(แทบจะทุกคนบนโลกนี้)กลับเป็นผู้ที่มีความขี้โกงในตัวเล็กๆน้อยๆ แต่จะมีก็เพียงแต่ส่วนน้อยมากเท่านั้นที่ไม่โกงเลยหรือโกงแบบสุดลิ่มทิ่มประตู แล้วทำไมมนุษย์เราผู้มีอารยถึงกลายเป็นผู้ขี้โกงทุกคนไปโดยไม่รู้ตัวได้ล่ะ.. ..ใช่แล้วครับเหตุผลคือทุกครั้งที่คนเราโกงแบบเล็กๆน้อยๆ (มีผลศึกษามาแล้วว่าประมาณ 15-20% ของค่าเฉลี่ยจากการไม่โกง) ก็เพราะคนเราเชื่อว่านั่นไม่ใช่การโกงหรือการทำผิดอะไรมากมาย พอด้วยเราไม่คิดว่ามันผิดเราก็เลยทำไปโดยไม่รู้ตัวเสมอมา.. ..ไม่ว่าจะเป็นการเอาดินสอหรือปากกาในที่ทำงานกลับมาใช้ที่บ้าน (อย่าบอกว่าคุณไม่เคยเพราะผมเคย) การแอบปริ้นท์หรือซีร็อกซ์เอกสารส่วนตัวในที่ทำงาน หรือบางคนปริ้นท์รายงานให้ลูกจากที่ออฟฟิศ หรือแม้แต่แอบเบิกเงินค่าเดินทางหรือค่าจิปาถะเกินมาเล็กๆน้อยๆโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม คนส่วนใหญ่(ไม่อยากจะบอกว่าทุกคน)คงจะเคยทำงานมาแล้วทั้งนั้น.. ..แล้วจะทำอย่างไรให้คนไม่โกงเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ล่ะ?.. ..เช่นกัน…

กลยุทธ์โน้มน้าวและจูงใจคน Influence The Psychology of Persuasion

ทีแรกดูหน้าปกแล้วไร้ซึ่งความน่าสนใจใดๆ แต่พอได้เปิดอ่านผ่านๆข้างใน 5 นาที 3 หน้า ก็หยิบติดมาจ่ายเงินโดยเต็มไปด้วยความน่าสนใจแล้ว ประเด็นหลักของหนังสือคือการใช้จิตวิทยาที่ผ่านการทดลองและพิสูจน์มาแล้วว่าได้ผลจริง ว่าสามารถกระตุ้นการกระทำหรือจูงใจให้ใครบางคนหรือคนทั้งกลุ่มปฏิบัติตามความต้องการของเรา ถ้าให้พูดได้ง่ายกว่านั้นคือเราสามารถชี้นำคนได้จริงๆ แม้ว่าจะไม่ได้ 100% ทุกครั้ง แต่หลายครั้งที่ผ่านการทดลองพิสูจน์แล้วว่าเพิ่มโอกาศได้มากขึ้นกว่าวิธีปกติมั่วซั่วได้เป็นเท่าตัว โอ้โห…ฟังดูดียังกับโฆษณาขายสินค้ารอบดึกอย่างควอนตัมเทเลวิชั่นใช่มั้ยครับ ถูกต้องครับ.. ที่ผมกล้าบอกว่าถูกต้องเพราะหนังสือเล่มนี้มีความคล้าย และเหมือนหนังสือจิตวิทยา หรือหนังสือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมหลายเล่มที่ผมเคยอ่านมาแล้วมาก โดยเฉพาะระดับปรมาจารย์ต้นตำรับอย่าง เดล คาร์เนกี กลับมาพูดถึงหนังสือเล่มนี้ต่อแบบกระชับ หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 6 หัวข้อในขั้นตอนการทำให้คนปฏิบัติตาม 1.การตอบแทน การให้และการรับ..และการรับแบบดั้งเดิม ข้อนี้ว่าง่ายๆก็คือธรรมชาติของมนุษย์จะรู้สึกติดค้างใครซักคนที่ให้เรามาแม้โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะร้องขอเป็นธรรมชาติของเราอยู่แล้ว 2.ความรับผิดชอบและความสม่ำเสมอ…

ติดอะไรไม่เท่าติดหนึบ MADE TO STICK

“พูดยังไงให้คนจำได้ฝังใจไปจนตาย” ประโยคนี้น่าจะเป็นแก่นของหนังสือเล่มนี้ เมื่อพูดถึงเรื่องการพูดหรือการสื่อสาร หลายคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะตัวเองไม่จำเป็นต้องไปพูดให้คนอื่นฟัง หรือไปพูดพรีเซนต์งานขายของซักเท่าไหร่ในชีวิต ก็อาจจะจริงครับ แต่ถ้าคิดถึงเรื่องไกล้ตัวอย่างการ “พูด” ให้แฟน เพื่อน หรือคนในครอบครัวแม้กระทั่งลูกเข้าใจและคล้อยตามนั้นกลับเป็นเรื่องยากซะจริง ไกล้ตัวขึ้นเยอะเลยใช่มั้ยครับแบบนี้ หลายครั้งที่คนเราพยายามสื่อสารใจความที่ตัวเองเห็นว่าสำคัญออกไปให้คนที่ฟังเข้าใจ แต่คนที่ฟังกลับไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วเราก็ได้แต่โทษคนที่เราพูดด้วยว่า “ทำไมเป็นคนเข้าใจยากเย็นอะไรอย่างนี้นะ!?” คิดแบบนี้ในใจบ่อยมั้ยครับ ถ้าใช่หนังสือเล่มนี้ก็เหมาะกับคุณ ผมเชื่อว่าการสื่อสารเป็นหัวใจหลักของมนุษย์เรา ถ้าเราสื่อสารแนวคิดให้กันและกันไม่ได้ เราก็คงไม่สามารถอยู่ในจุดที่เรียกสัตว์ครองโลกอย่างทุกวันนี้ได้ เพราะการสื่อสารทำให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ที่มีพละกำลังมากกว่าเราหลายเท่านัก ถ้าอย่างนั้นทำไมคนส่วนใหญ่ถึงยังสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจล่ะ นั่นเพราะเราหรือตัวผู้พูดนั้น ไม่ได้เข้าใจถึงวิธีการสื่อสารที่ดีพอที่จะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ อธิบายให้ง่ายขึ้นอีกหน่อยได้มั้ย..ได้ครับ ในหนังสือ MADE TO STICK…