Online Influence ออกแบบให้คนคลิก รวมเทคนิคให้คนซื้อ

สรุปหนังสือ Online Influence ออกแบบให้คนคลิก รวมเทคนิคให้คนซื้อ เป็นหนังสือที่ว่าด้วยจิตวิทยาการตลาดออนไลน์ เราจะวางปุ่มแบบไหน ข้อความอย่างไร ออกแบบทั้งหมดบนหน้าจออย่างไรให้ได้ Conversion หรือยอดขายเพิ่มขึ้นครับ หน้าปกหนังสืออาจดูเฉยๆ แต่บอกเลยว่าเนื้อหาดีกว่าหน้าปกไปไกลมาก และนี่คือตัวอย่างบางบทบางหน้าที่ผมเห็นว่าน่าสนใจเป็นพิเศษ ขอหยิบมาเล่าให้ฟังเพื่อให้คุณไปหาทั้งเล่มมาอ่านเต็มๆ ครับ B = MAP คือ Fogg Behavior Model แบบจำลองพฤติกรรมที่มักนิยมใช้กันในหมู่นักการตลาดสายจิตวิทยา แนวคิดนี้อยู่ในหนังสือเล่มที่ชื่อว่า Hook แบบเต็มๆ แต่หนังสือ Online Influence…

Marketing Psychology of Great Customer Experience สร้างประสบการณ์ลูกค้า ด้วยจิตวิทยาการตลาด

สรุปหนังสือ Marketing Psychology of Great Customer Experience สร้างประสบการณ์ลูกค้า ด้วยจิตวิทยาการตลาด เขียนโดย มัณฑิตา จินดา หรือพี่ทิป Digital Tips เจ้าแม่ SME เมืองไทยครับ หนังสือเล่มนี้ผมได้จากงาน DSME 2023 อยากบอกว่าเป็นหนังสือที่ทำออกมาดีมาก ทั้งกระดาษ ดีไซน์ ไปจนถึงเนื้อหา เรียกได้ว่าอ่านเข้าใจง่าย อ่านแล้วเก็ตทันทีว่าถ้าอยากทำได้แบบนี้ต้องทำตามอย่างไร หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 20 บท…

The Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน

สรุปรีวิวหนังสือ The Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจว่าคนเราคิดกับเงินอย่างไร ใช้เงินกันแบบไหน เปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อมีเงิน และที่สำคัญคือเบื้องหลังคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ เขาปฏิบัติกับเงินและการลงทุนอย่างไรครับ ความรวยไม่ใช่ความมั่นคั่ง และความรวยก็ไม่ใช่บอกว่าชีวิตคนนั้นจะประสบความสำเร็จในระยะยาว เพราะความรวยคือการแสดงออกให้คนอื่นรับรู้ผ่านการใช้เงิน เช่น คนจะมองว่าเรารวยก็ต่อเมื่อเห็นเรามีบ้านหลังใหญ่ เห็นเราใส่นาฬิการาคาแพง หรือเห็นเราขับรถสปอร์ตซูเปอร์คาร์ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นล้วนเป็นการใช้เงินเพื่อบอกคนอื่นให้รู้ว่าเรารวย ส่วนความมั่นคั่งนั้นเป็นเหรียญคนละด้านก็ว่าได้ ความมั่นคั่งคือการที่เราไม่ได้ใช้เงินออกไปให้คนอื่นรู้ว่าเรารวย หรือถ้าจะใช้เงินออกไปก็คือการใช้เพื่อสร้างเงินในอนาคตที่จะไหลเข้ามา ไม่ใช่ใช้เพื่อให้คนอื่นยอมรับ หรือเป็นการเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นที่จะงอกเงยออกมาเสียมากกว่า เห็นไหมครับว่าความรวยกับความมั่นคั่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนั้นนักการตลาดที่ฉลาดต้องรู้จักหาวิธีให้ลูกค้าได้แสดงออกถึงความมั่นคั่ง ว่าเขาเป็นคนรวยในสายตาคนอื่นควบคู่กันได้จะยิ่งดีครับ เรื่องราวตัวอย่างคือมหาเศรษฐีบริษัทเทคโนโลยีอายุน้อยคนหนึ่ง พอมีเงินมากๆ ตั้งแต่ยังหนุ่มก็เลยไม่รู้จักเก็บออม…

สรุปหนังสือ 52 วิธีตัดสินใจให้ไม่พลาด The Art of Thinking Clearly 2

สรุปหนังสือ 52 วิธีตัดสินใจให้ไม่พลาด หรือ The Are of Thinking Clearly 2 เล่มนี้อ่านจบมาจะเดือนเพิ่งจะได้มีเวลาหยิบขึ้นมาสรุปให้เพื่อนๆ ในอ่านแล้วเล่าได้อ่านต่อ ก่อนจะสรุปหนังสือเล่มนี้ให้ฟังก็ต้องบอกเลยว่า นี่เป็นหนังสืออีกเล่มที่ดีมาก ช่วยเปิดโลกไอเดียให้กว้างขึ้น บวกกับยังเป็นคู่มือในการใช้เป็น Reference ชั้นดีเวลาจะทำแคมเปญการตลาด เพราะบางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เราคิดอยู่แล้วแต่ไม่เคยมีข้อมูลใดมาซัพพอร์ท ดังนั้นใครที่เป็นนักการตลาด คนทำธุรกิจ หรือคนโฆษณา ผมแนะนำเต็มที่ว่าคุณควรอ่านหนังสือเล่มนี้และมีติดไว้ทั้งที่บ้านกับที่โต๊ะทำงาน เพราะถ้าคิดไอเดียไม่ออกหนังสือ 52 วิธีตัดสินใจให้ไม่พลาด The Are of Thinking…

Thinking Fast and Slow คิดเร็วและช้า ตอนที่ 2

หลังจากสรุปหนังสือ Thinking Fast and Slow คิดเร็วและช้า ตอนแรกไปที่เน้นโฟกัสกับประเด็นสำคัญอย่าง มนุษย์เรานั้นสามารถถูกชักจูงและชี้นำได้ง่ายกว่าที่คิดไว้มาก แค่ให้เรียงคำที่เกี่ยวกับคำว่าแก่ ก็ทำให้คนกลุ่มนั้นเดินไปอีกฝากของอาคารช้าลงกว่ากลุ่มแรกที่ถูกให้เรียงคำเกี่ยวกับคำว่าหนุ่มสาว ตอนนี้ยังเหลืออีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญของหนังสือ Thinking Fast and Slow เล่มนี้ที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังต่อ นั่นก็คือประเด็นของเรื่อง ด่วนตัดสินใจ โดยเรื่องตัวอย่างที่น่าสนใจนั่นก็คือการตัดสินว่าจะให้อภัยโทษนักโทษคนไหนบ้างของศาล ซึ่งเป็นไปตามความเหนื่อยล้าของสมองครับ มีการเก็บข้อมูลการให้อภัยโทษของศาลพบว่า ในช่วงเวลาที่ผู้พิพากษากำลังอิ่มท้องหลังจากเพิ่งกินข้าวมา ผู้พิพากษามักจะใช้สมองได้ดีกว่า และก็มีอารมณ์ที่ดีกว่า ทำให้แนวโน้มการตัดสินอภัยโทษนักโทษนั้นมีสัดส่วนสูงกว่านักโทษที่ถูกตัดสินในช่วงเวลาใกล้มื้ออาหารถัดไป เช่น ช่วงประมาณ 11 โมงก่อนกินข้าวเที่ยง หรือช่วงราวๆ…

Thinking Fast and Slow คิดเร็วและช้า Daniel Kahneman

หนังสือ Thinking Fast and Slow เล่มนี้เป็นอะไรที่ผมเฝ้ารอคอยให้มีฉบับแปลไทยมานานมาก และครั้งแรกที่ได้รู้ว่ามีแปลไทยออกมาก็ดีใจมาก เฝ้ารอคอยนับวันเวลาว่าเมื่อไหร่จะวางขาย แต่ที่ทำให้เซอร์ไพรซ์มากที่สุดก็คือความหนาของหนังสือที่ถูกแปลออกมา เรียกได้ว่าหนาในระดับสมุดหน้าเหลืองสมัยก่อนมาก(ถ้าใครไม่รู้จักคุณน่าจะเป็น Gen Z ครับ) เพราะหนังสือเล่มนี้ถ้านับจำนวนหน้าทั้งหมดมีถึง 800 หน้าเลยทีเดียวครับ แต่ถ้าจะนับเฉพาะจำนวนหน้าที่อ่านได้เนื้อหาก็นับได้ถึง 729 หน้าแล้ว เรียกได้ว่าอ่านกันให้ตาทะลุ อ่านเอาให้หน้าปกเปื่อยกันไปข้าง แล้วเมื่อนับระยะเวลาที่ผมใช้อ่านก็นานถึง xx วัน เริ่มอ่านวันที่ 6 ตุลาคม อ่านจบวันที่ 18 รวมแล้วก็…

ATOMIC HABITS เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น

หนังสือ Atomic Habits เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็นเล่มนี้ถ้าให้สรุปสั้นๆ ก็ว่าด้วยศาสตร์แห่งการสร้างและปรับเปลี่ยนนิสัยใหม่ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ โดยบอกให้โฟกัสที่การกระทำระหว่างทางมากกว่าผลลัพธ์ เพราะถ้าเรามัวแต่โฟกัสที่ผลลัพธ์ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เห็นผลทันทีที่ลงมือทำ ก็เลยจะทำให้เราถอดใจไวเกินไป ดังนั้นถ้าใครมีเป้าหมายใหญ่ใดในชีวิตให้คงเป้านั้นไว้แล้วมาโฟกัสที่การกระทำในแต่ละวันแทน ถ้าพูดในภาษานักการตลาดก็คือเรา Set goal ไว้ได้ แต่ต้องหันมาโฟกัสที่ Strategy หรือกลยุทธ์ว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องทำเพื่อไปให้ถึงปลายทางฝันที่ตั้งใจครับ และกลวิธีหรือ Tactics ของหนังสือ Atomic Habits เล่มนี้ก็จะพูดถึงการทำให้ดีขึ้นแค่วันละ 1% เท่านั้นพอ ไม่ต้องทำให้ดีขึ้นมากแบบก้าวกระโดดเพราะมันมักจะยากจนเราถอดใจ แต่เอาแค่ดีขึ้นวันละนิด วันละ 1% จากเมื่อวานเท่านั้นครับ…

Presuasion กลยุทธ์ก่อนโน้มน้าวใจ Robert Caldini

หนังสือ Presuasion กลยุทธ์ก่อนโน้มน้าวใจ เล่มนี้เขียนโดย Robert Caldini ผู้เขียนหนังสือ Influence – The Psychology of Persuasion หรือเป็นที่มาของบทความการตลาดชื่อดังที่ใครๆ ก็คุ้นหูกับคำว่า The 6 Principles of Persuasion หรือกลยุทธ์การโน้มน้าวใจว่าเราควรทำอย่างไรให้คนคล้อยตาม หนังสือ Presuasion เล่มนี้จึงเปรียบเสมือนการเขียนเล่มก่อนหน้าหนังสือเล่มแรก คือย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของก่อนที่จะ Persuasion หรือโน้มน้าวใจว่าเราควรจะทำอย่างไร “ก่อน” ที่จะโน้มน้าวใจเขาให้ได้นั่นเอง เมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุดไม่อาจงอกงามในดินที่เต็มไปด้วยหินฉันใด…

Amazing Decisions เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม Dan Ariely

สรุปหนังสือ Amazing Decisions หรือ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก! เล่มนี้เขียนโดย Dan Ariely ก็คือคนเดียวกับที่เขียนหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์ที่ผมชอบมากจนต้องอ่านซ้ำเป็นครั้งที่สองเมื่อไม่นานมานี้นี่แหละครับ หนังสือ Amazing Decisions เล่มนี้เปรียบได้กับหนังสือที่สรุปจากหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์หรือ Predictably Irrational อีกทีก็ว่าได้ เพราะเห็นเล่มเหมือนจะหนาแบบนี้แต่เนื้อหาข้างในอยู่ในรูปแบบการ์ตูนที่อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ยังได้ประเด็นสำคัญของเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมอย่างครบถ้วนเลยทีเดียวครับ ซึ่งหัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือการฉายภาพให้เราเข้าใจว่าโลกที่เราอยู่นั้นประกอบด้วยบรรทัดฐานสองแบบ แบบแรกคือบรรทัดฐานทางตลาด ที่ตีค่าตีราคากับทุกอย่างว่าต้องยื่นหมูไปไก่มานั่นเอง ส่วนบรรทัดฐานแบบที่สองในโลกเรานั้นเรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคม นั่นก็คือสิ่งที่ทำให้เราเกรงใจหรือยังคงทำดีต่อกันแม้จะไม่มีเงินมาล่อมีรางวัลมาให้ก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่หนังสือเล่มนี้เน้นย้ำให้เราต้องระวังคืออย่าพลาดไปใช้บรรทัดฐานทางการตลาดกับเรื่องที่เป็นบรรทัดฐานทางสังคมเลยทีเดียวครับ เช่น ถ้าเราไปกินข้าวบ้านพ่อแม่แฟนแล้วอยู่ดีๆ เรารู้สึกเกรงใจว่าต้องตอบแทนด้วยอะไรสักอย่าง แล้วเราดันคำนวนออกมาว่าค่าอาหารทั้งหมดที่พ่อแม่แฟนเตรียมให้เรานั้นถ้าตีเป็นเงินแล้วประมาณเท่าไหร่ แล้วถ้าเราเลือกที่จะจ่ายให้เป็นเงินออกไปแม้จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อหัวที่คุณตีราคาไว้รับรองว่าชีวิตหลังจากนี้คุณลำบากแน่นอนครับ…

อยู่แต่ในกล่องคุณจะไปเห็นอะไร The Anatomy of Peace

สรุปหนังสือ อยู่แต่ในกล่องคุณจะไปเห็นอะไร หรือ The Anatomy of Peace เล่มนี้เป็นหนังสือที่มีติดบ้านมาหลายปีแต่ก็เพิ่งจะได้หยิบมาอ่านสักทีก็ปีนี้นี่แหละครับ สารภาพตรงๆ ตอนแรกที่หยิบขึ้นมาคิดว่าน่าจะเป็นหนังสือแนวการตลาด ให้ไอเดียหรือข้อคิดที่จะเอาหยิบไปใช้ในการทำงานได้ แต่กลายเป็นว่านี่คือหนังสือแนวที่ผมไม่ค่อยคุ้นเคย นั่นก็คือใช้วิธีการแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ออกแนววรรณกรรมเพื่อเล่าให้คนอ่านเข้าใจถึงแนวความคิดที่ต้องการจะถ่ายทอดออกมา ถ้าให้สรุปสั้นๆ หนังสือ The Anatomy of Peace เล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจว่าที่โลกนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้งตั้งแต่ระดับเล็กๆ ในครอบครัวไปจนถึงระดับใหญ่ถึงขั้นสงครามระหว่างชาติ นั่นก็เพราะพวกเขาทั้งหลายล้วนแต่ติดอยู่ในกล่องของตัวเอง และกล่องที่ว่านั่นก็เปรียบได้กับกรอบทางความคิดของคนเราครับ เพราะกล่องที่เราสร้างขึ้นมาจะกลายเป็นกรอบในการคิดของเราซึ่งจะส่งผลต่อการกระทำในที่สุด หัวใจหลักของกล่องในหนังสือเล่มนี้ก็คือการบอกให้รู้ว่า เมื่อไหร่ที่เรามองคนอื่นไม่ใช่คนที่เท่าเทียมกับเรา หรือเมื่อไหร่ที่เราแปะป้ายให้คนอื่นเป็นอะไรซักอย่าง นั่นก็เท่ากับว่าเรากำลังมองเขาเป็นสิ่งของนั่นเอง เช่น พ่อที่มองลูกติดยาว่าเป็น…