The Power of Now พลังแห่งจิตปัจจุบัน ทางสู่การตื่นรู้และเยียวยา

เมื่อเริ่มอ่านปรัชญามาบ้างจาก Osho ก็ทำให้เกิดความสนใจในปรัชญาเพิ่มมากขึ้น จนได้บังเอิญเจอเล่มนี้ตั้งแต่คริสต์มาสเมื่อปีก่อนจากร้าน Kinokuniya ที่ Emquartier ผ่านมาจะครบ 1 ปีเพิ่งจะอ่านจบเมื่อเช้านี้เองครับ สนใจเล่มนี้เพราะหน้าปกและคำโปรยจากชื่อหนังสือที่บอกไปแล้วด้านบน.. ..ความรู้สึกส่วนตัวหลังอ่านจบคือรู้สึกชอบ Osho มากกว่าในการเล่าและอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน แต่เล่มนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการพูดถึงเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักจะติดอยู่กับกระแสของธารเวลา จมอยู่กับอดีตและเฝ้ารออนาคต จนลืมปัจจุบันขณะที่สำคัญที่สุดของชีวิตไปทั้งนั้น.. ..เช่น เวลาเราอยู่กับครอบครัวหรือลูก ในหัวหรือใจเรามักลอยไปไหนก็ไม่รู้ อาจจะคิดถึงอนาคตว่าลูกจะเข้าโรงเรียนไหน ลูกจะโตมาเป็นอย่างไร หรือนึกถึงความเจ็บปวดเมื่อครั้งอดีตในวันที่ลูกป่วยไข้ จนลืมมองเห็นความสุขของปัจจุบันขณะในขณะที่ลูกน้อยกำลังหัดเดิน ยิ้มหัวเราะ หรือร้องให้กับการหกล้ม.. ..คนเรามักใช้ปัจจุบันเพื่อเป็นเส้นทางไปสู่ความหวัง ความฝัน ในเวลาของอนาคต เมื่อคนเราถึงจุดนั้นแล้วก็จะมีความสุขอยู่ชั่วครู่ชั่วยาม…

the art of the idea ศิลปะการคิดใหม่

the art of the idea and how it can change your life เขียนโดย John Hunt, Creative Chairman แห่ง TBWA/Worldwide ศิลปะการคิดใหม่คืออะไร? ถ้าจะบอกว่าเป็นผู้เขียนแบ่งปันแนวทางวิธีคิดที่กลั่นกรองผ่านประสบการณ์ที่เคี่ยวกรำในวงการโฆษณาระดับโลกในสายงานนักคิดผู้สร้างสรรค์ จนผู้เขียน John Hunt ได้กลายเป็นประธานฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก เชื่อได้เลยว่าเนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยพลังงานบางอย่างที่บอกไม่ถูก แต่พลังงานนั้นคือพลังงานในแง่บวก ข้อความหรือตัวหนังสือนั้นแทบจะเรียกได้ว่าน้อยถึงน้อยมาก แต่กลับกระตุ้นให้ต้องใช้ความคิด ความเข้าใจ…

Fear กลัว

หัวใจของปัญญาญาณเพื่อผ่านพ้นพายุ โดย ติช นัท ฮันท์ นักบวชชาวเวียดนามที่ก่อสร้าง Plum Village หรือสถานปฏิบัติธรรมในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมอยู่ดีๆคนอย่างเราถึงเลือกอ่านหนังสือแบบนี้ แปลกใจตัวเองเหมือนกัน เพราะปกติแล้วเราจะมีภาพจำฝังหัวว่าหนังสือที่เขียนโดยพระหรือเรื่องเกี่ยวกับศาสนามักจะต้องน่าเบื่อ งมงาย เยิ่นเย้อนิทานปรัมปรา แต่ที่เลือกเล่มนี้ในตอนนั้นเพราะหนังสือของท่าน Osho ที่เราชอบพูดถึงชื่อคนๆนี้บ่อยมาก จนเราก็เข้าใจว่าน่าจะเป็นนักปรัชญาที่น่าสนใจอีกคนนึง จนวันที่เลือกหนังสืออยู่เจอเล่มนี้เข้ามาส่งที่ร้านพอดีก็เลยได้ติดมือกลับมา แล้วหนังสือที่หน้าปกบอกว่า “กลัว” พูดถึงอะไรในเล่มบ้างล่ะ? ผมขอสรุปรวบยอดจากความเข้าใจของตัวเองไว้ให้ตัวเองกลับมาอ่านแล้วกันว่า หนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องความกลัวที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน ไม่ว่าจะกลัวอดอยาก กลัวจน กลัวหิว กลัวไม่มีคนรัก กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวที่ต้องอยู่คนเดียว…

Zen: The path of paradox, หนทางอันย้อนแย้ง..

เมื่อพูดถึง Zen ในความคิดแว้ปแรกของคนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงประเทศญี่ปุ่น คิดถึงความน้อยๆ คิดถึงอะไรที่มูจิๆ คิดถึงต้นบอนไซ หรือบางคนอาจจะคิดถึงว่า Zen คือนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ หรือวัดเรียวอังจิที่มีลานหินปริศนาธรรมในกรุงเกียวโต.. คนส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มั้ยไม่รู้แต่อย่างน้อยก็ผมคนนึงที่คิดถึงภาพอะไรประมาณนี้ แต่พออ่านเล่มนี้จบทำให้เข้าใจภาพของเซนที่ชัดเจนขึ้น ความจริงแล้วเซนไม่ได้เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ เซนแทบจะไม่นับว่าเป็นศาสนาด้วยซ้ำไป ไม่ใช่แม้แต่ปรัชญา แต่เซนคือวิถี เป็นวิถีที่มีความย้อนแย้งภายในตัว.. แล้ววิถีของเซนเป็นยังไงล่ะ.. ท่าน Osho บอกว่า วิถีของเซนเป็นเรื่องของความฉับพลันทันใด เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เราเห็นสิ่งนั้นๆอย่างที่มันเป็น ไม่เจือแต่ด้วยความคิด หรืออารมณ์ใดๆ มองให้ทะลุเปลือกเข้าไปจนถึงแก่นแท้นของสิ่งที่เห็น ขอหยิบเนื้อหาสั้นๆตอนท้ายของเล่มที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน ว่าอะไรกันที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของเซนอย่างสั้นๆ ..การปล่อยวางชีวิตสะท้อนตัวมันเองอย่างเรียบง่ายและชัดเจนเมื่อท่านไม่ไปไขว่คว้ามัน เมื่อท่านไม่ยึดติดกับมัน…

Political Philosophy ปรัญชาการเมือง

ถ้าถามว่า ปรัชญการเมือง ต่างกับ การเมือง ปกติอย่างไร ผมคงสรุปหลังจากอ่านจบได้ว่า การเมืองโดยทั่วไปคือผลลัพธ์หรือวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น . เช่น นักการเมืองอาจมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้วยการทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา เอาง่ายๆก็คือทุกผู้ทุกคนมีงานทำนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ทุกคนมีงานทำเท่านั้น เพราะนั่นอาจหมายถึงว่ามีอาชีพที่คนไม่ได้อยากทำ หรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ทำให้ไม่สามารถทำงานออกมาได้เต็มที่ เช่น ถ้านักการเมืองสร้างงานในตำแหน่งเสมียน หรือพนักงานกวาดถนน (ที่เอ่ยถึงสองอาชีพนี้ไม่ได้ดูถูก แค่ยกเป็นตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพเร็วๆ) ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ . นี่คือ การเมือง . ส่วนปรัชาการเมืองหมายถึงการคิด คิดไปยังความจริงแท้ของเป้าหมายทางการเมืองนั้น เช่น…