ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น

สรุปหนังสือ ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น ว่าด้วยเรื่องของผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ มักก่อกำเนิดมาจากจุดเล็กๆเพียงแค่หนึ่ง และจาก 1 ผลลัพธ์อาจมาจากความพยายามนับล้านครั้ง ใครจะเชื่อว่าหนังสือหนึ่งเล่มนี้ จะสามารถร้อยเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์มากมายในโลกเอาไว้ได้อย่าแยบคายไม่น่าเชื่อ ด้วยการใช้ถ้วยคำที่สละสลวยอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน จนผมแทบจะคิดว่านี่คือหนังสือที่เล่าด้วยสัมผัสแบบกาพย์กลอนอย่างน่าทึ่ง แทบทุกหน้านั้นมีข้อคิด และแทบทุกวรรคนั้นมีคำคม ถ้ามีปากกาไฮไลท์อยู่ใกล้มือ คงต้องหมดไปหลายด้ามแน่ๆ เรื่องในเล่มเริ่มที่กระสุนหนึ่งนัด จากกระสุนหนึ่งนัด ทำให้เกิดห่ากระสุนนับล้านๆนัดตามมา นี่คือต้นกำเนิดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อครั้งที่ Archuduke Franz Ferdinand หรือ อาร์ชดยุคฟรันซ์ แฟร์ดินันด์ องค์รัชทายาทของราชวงศ์ฮับสบูรก์ เสด็จฯ…

PRESENT ปัญญาจักรวาล

สรุปหนังสือ ปัญญาจักรวาลเล่มนี้ยากมาก นี่คือความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวระหว่างอ่านใกล้จบ เพราะหนังสือปัญญาจักรวาล ของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แถบจะสรุปทุกอย่างไว้หมดแล้วในหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่เรื่องของ ปรัชญา ปัญญา ปราชญ์ สู่ปัจจุบันว่าเราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร ในยุค AI เข้ามาทำให้มนุษย์ดูด้อยค่าความสำคัญลงทุกวัน คุณภิญโญเล่าตั้งแต่คัมภีร์ของศาสนา หรือปราชญ์โบราณคนสำคัญต่างๆว่าต่างพูดถึงจุดเริ่มต้นของจักรวาลคล้ายๆกัน คือเริ่มจากความว่างเปล่า เริ่มจากวีลที่คล้ายกัน นั่นก็คือ “ปฐมกาล” คุณภิญโญสรุปในเรื่องปรัชญาความเชื่อเรื่องเทพเจ้าไว้อย่างน่าสนใจว่า มนุษย์เราบูชาเทพเจ้า แต่อย่าลืมว่าก็มนุษย์เรานั่นแหละที่สร้างเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้นถ้าเทพสร้างมนุษย์ มนุษย์ก็สร้างเทพ ต่างเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ส่วนเรื่อง AI ที่หลายคนเริ่มกังวลในวันนี้…

LAGOM ความพอดีนี่แหละดีที่สุด

สรุปอย่างย่อ หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจแก่นของชาวสวีเดน ดินแดนกำเนิดแบรนด์ IKEA ที่ว่าด้วยหลักของความ “พอดีที่ดีพอ” ไม่ใช่แค่พอดีแบบผ่านๆ แต่พอดีในแบบที่ถ้ามันดีพอแล้วก็พอ ไม่ต้องเพอร์เฟคนักหรอกชีวิต ให้มันมีจังหวะชีวิต มีช่องว่างให้หายใจหายคอบ้าง ดังนั้นถ้าใครเป็นสายสโลว์ไลฟ์แบบมีความรับผิดชอบ ผมว่าหนังสือเล่มนี้ใช่กับคุณเลย หรือถ้าใครที่เป็นพวกตึงไปก็ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้เห็นวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจทำให้คุณผ่อนคลายเป็นสุขมากขึ้นก็ได้ หนังสือปรัชญาการใช้ชีวิตเล่มนี้แปลกกว่าเล่มอื่น ตรงที่มีสูตรอาหารแบบ lagom ของชาวสวีเดนมากมายให้ลองทำ เรียกได้ว่าถ้าใครที่ชอบทำอาหารก็เหมาะที่จะลองทำอาหารแบบ lagom แล้วขายออนไลน์ดูก็ได้นะครับ สรุปอย่างย่อผ่านไปก็เข้าสู่สรุปอย่างยาว แต่เชื่อมั้ยว่าเนื้อหาเล่มนี้อ่านดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่กลับมีอะไรให้ต้องพับเก็บไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก็จะพยายามไม่ให้มันซีเรียสหรือจริงจังเกินไปกับการเขียนสรุปเล่มนี้ เพราะเดี๋ยวมันจะผิดกับคอนเซปเล่มครับ ถ้าคุณยังนึกภาพไม่ออกว่าแล้ว lagom มันหน้าตาเป็นยังไง…

THE ART OF POWER ศิลปะแห่งอำนาจ ติช นัท ฮันห์

อำนาจคืออะไร? เมื่อก่อนจะอ่านหนังสือเล่มนี้ของท่าน ติช นัท ฮันห์ (พระชาวเวียดนามที่ดูเหมือนว่าน่าจะเข้าใจเรื่องเซน และหลักของพุทธแบบถึงแก่นในแบบของท่านเองด้วยเช่นกัน) ในความเข้าใจของผมถึง “อำนาจ” คือ พลัง หมายถึงขุมพลัง หรือความแข็งแกร่ง ถ้าเปรียบเป็นคนก็นึกถึง Superman เลยก็ได้ ยอดมนุษย์ที่เสมือนเทพเหนือกว่ายอดมนุษย์ทั้งมวลในจักวาล DC ดังนั้น “อำนาจ” หรือ Power นั้นก็คงหมายถึงพลังที่ทำให้เราเหนือกว่าผู้อื่นทั้งมวล ไม่ว่าจะด้วยร่างกาย เงินทอง ทรัพย์สมบัติ ตำแหน่ง แต่ในความเข้าใจใหม่ที่หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจความหมายของ “อำนาจ” หรือ…

วิชาความสุข ที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด Happier

“ความสุขของเราคืออะไร?” และ “ทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นความสุขของเรา?” คำถามแรกคือคำถามที่ผุดขึ้นมาทันทีเมื่อเริ่มอ่านและอ่านจบ ส่วนคำถามที่สองเริ่มโผล่ออกมาเมื่อย้อนคิดถึงคำถามแรก ถ้าจะบอกว่าความสุขคือจุดมุ่งหมายสูงสุดในการใช้ชีวิตของคนเราก็ไม่ผิดนัก เพราะทุกคนต่างก็ดิ้นรนแสวงหาความสุขกันทั้งนั้น เพียงแต่ “ความสุขของเราคืออะไร?” นี่คือคำถามที่ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มีคำตอบในใจอยู่แล้ว เช่น มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวให้อยู่สุขสบาย (บางคนต้องการเดือนละสองหมื่น แต่บางคนก็ต้องการเดือนละสองล้าน) หรืออาจจะเป็น เมื่อทำธุรกิจประสบความสำเร็จจนมีเงินเก็บถึงจุดนึง (บางคนต้องการสิบล้านบาท หรือบางคนก็ต้องการร้อยล้านบาทขึ้นไป) หรือบางคนอาจจะเป็นการที่ได้เรียนจบเกรียตินิยม หรืออาจจะเป็นการได้ทำงานในบริษัทที่มั่นคงและมีชื่อเสียง หรืออาจจะเป็นการได้มีตำแหน่งใหญ่โต เป็น VP หรือบอร์ดบริหาร หรือบางคนอาจจะแค่ได้กินของอร่อยๆอย่างไอศกรีมซักแท่ง นั่นแหละครับความสุขที่ต่างกันไปของแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่ก็คงคล้ายๆกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงิน บ้าน รถ งาน…

A Little History of Religion ศาสนา ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์

หลังจากอ่านเล่ม “พุทธโคดม” จบ แต่ความอินและความสนใจในเรื่องศาสนากำลังครุกกรุ่นอยู่ ก็เจอว่ามีเล่มนี้อยู่ที่บ้านยังไม่ได้อ่าน ได้มาจากงานหนังสือแห่งชาติเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมาอยู่พอดี ก็เลยหยิบมาอ่านต่อให้บรรลุไปเลยแล้วกัน ถ้าให้สรุปย่อๆของเล่มนี้คือ รวมเรื่องราวของประวัติศาสตร์ด้านศาสนาของโลกตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกไว้ ตั้งแต่ศาสนาโซโรอัสเตอร์บูชาไฟ อับราฮัมผู้ให้กำเนิด 3 ศาสนาสำคัญของโลกอย่าง ยิว คริสต์ และ อิสลาม มาจนถึงศาสนาอื่นๆและนิกายแยกย่อยของศาสนาหลักๆอีกมากมาย เรื่องละนิด อย่างละหน่อย เมื่ออ่านจบก็จะประกอบกันเป็นภาพรวมด้านศาสนาของโลกก็ว่าได้ แต่ถ้าให้ลงรายละเอียดอีกนิดก็ทำให้เข้าใจว่า ศาสนาหลักๆบนโลกแบ่งออกเป็นสองทาง หนึ่งเอกเทวนิยม หรือ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว อย่าง คริสต์…

คำทองคำ ถ้อยแถลงแห่งปัญญา, Gold Nuggets

เป็นหนังสือ OSHO เล่มสุดท้ายที่มีในบ้าน จำไม่ได้ว่าซื้อมานานแค่ไหน แต่รู้ว่าช่วงนี้ต้องการอ่านอะไรแบบนี้ซะเหลือเกิน เป็นหนังสือที่รวบรวมถ้อยคำเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ของท่าน OSHO ที่บันทึกจากการสนทนาในครั้งนั้น ถ้าถามว่าใจความหลักคืออะไรผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการ “รู้จักตนเอง” “ยอมรับตัวเอง” และ “อยู่กับปัจุบันขณะ” ให้มากที่สุด ทำไมการ “รู้จักตนเอง” ถึงสำคัญ… ทุกวันนี้คนเรามีเรื่องภายนอกให้สนใจมากมาย เราอยากรู้จักโลกกว้าง อยากรู้จักความรู้ใหม่ๆ อยากรู้จักผู้คนมากมาย อยากที่จะออกไปผจญภัย ความสุขของเรามักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะบ้าน รถ เงินทอง ชื่อเสียง สิ่งของ เสื้อผ้า สิทธิพิเศษต่างๆ…

สปาอารมณ์ Emotional Wellness โดย OSHO

คุณคิดว่าคุณรู้จัก “อารมณ์” ดีแค่ไหน? น่าแปลกทั้งๆที่ในแต่ละวันเราทุกคนมีอารมณ์เกิดขึ้นในความคิดจิตใจเป็นร้อยๆครั้ง โกรธ ดีใจ เศร้า มีความสุข หัวเราะ ร้องให้ ทุกข์ เครียด หรือมีความสุข แต่เราส่วนใหญ่กลับรู้จัก “อารมณ์” นี้น้อยถึงน้อยมาก หรือจะเรียกว่าแทบไม่รู้จักเจ้า “อารมณ์” นี้เลยก็ว่าได้ ผมยอมรับว่าผมเป็นคนนึงที่แทบไม่รู้จักหรือเข้าใจเจ้า “อารมณ์” ที่เกิดขึ้นในตัวผมทุกวันเลยแม้กระทั่งตอนนี้ จนได้มาเจอหนังสือเล่มนี้ “สปาอารมณ์” หรือ Emotional Wellness ของท่าน Osho เล่มนี้…

SLOW เร็วไม่ว่า..ช้าให้เป็น

ว่าด้วยเรื่องของความช้าในยุคที่แข่งขันกันที่ความเร็ว จากยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก เข้าสู่ยุคปลาเร็วกินปลาช้า ความช้าแลดูเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการแล้วงั้นหรอ ตั้งแต่มนุษย์วัดเวลาได้ จากนั้นมาเวลาก็กลายมาเป็นตัววัดมนุษย์เรามาตลอด เวลาถูกแบ่งซอยออกเป็นหน่วยเล็กหน่วยน้อยที่วัดค่าได้แน่นอน จนทำเอาเสน่ห์ของเวลาหายไปด้วยหรือเปล่า? เราเคยมีเวลาละเลียดละเมียดในการกิน.. แต่ทุกวันนี้เรากินเพื่อให้รีบอิ่มโดยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่เรากินคืออะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าสังเกตุต่อเราจะพบว่าทุกวันนี้เราพยายามใช้เวลาให้คุ้มค่า แต่เราลืมการใช้ชีวิตไปหรือเปล่า? หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ต่อต้านความเร็วนะครับ แต่ไม่เห็นด้วยกับความเร็วที่ไม่จำเป็น ถ้ามันช้าได้ หลายๆครั้งความเนิบช้าก็กลับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าความเร็วซะอีก ทุกชีวิตต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนคำว่า tempo giusto แปลว่าจังหวะที่เหมาะสมในการบรรเลงดนตรีให้ไพเราะ เพราะเร็วไม่ว่า..แต่ต้องช้าให้เป็น อ่านเมื่อปี 2016

ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ on creativity

เขียนโดย David Bohm ผู้เป็นนักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ที่โด่งดัง ร่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเค้าถูกนำมาใช้พัฒนาสร้างระเบิดปรมณูลูกแรก และยังเคยร่วมงานกับไอน์สไตน์ผู้โด่งดัง หนังสือเล่มนี้เค้าพูดถึงความเหมือนของความคิดสร้างสรรค์ ระหว่างศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ศิลปินเองสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้รับรู้ความสร้างสรรค์ผ่านสัมผัสของคน นักวิทยาศาสตร์เองก็สร้างสรรค์ผ่านการมองเห็นความจริง หรือมุมมองใหม่ๆต่อการมองเห็นความจริงในช่วงเวลานั้น แล้วถ่ายทอดผ่านทฤษฎีต่างๆเป็นความเข้าใจ ความเข้าใจในศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ก็มาจากความเข้าใจในองค์รวมทั้งหมดก่อน ถึงจึงแยกย่อยออกมาเฉพาะในส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ ความพิเศษของความสร้างสรรค์คืออะไร..เดวิด โบห์ม ให้ความเห็นว่า คือการจดจ่อ มุ่งมั่น ทุ่มเท ในสิ่งหนึ่งอย่างที่สุด จึงทำให้เกิดการรับรู้ใหม่ขึ้นกับตัวเอง และอาจไปถึงสังคม เช่น การพยายามก้าวเดินครั้งแรกในเด็กเล็ก เราจะสังเกตุเห็นว่าทุกย่างก้าวของเด็กเล็กคือการสร้างสรรค์ ที่จะให้เกิดการก้าวเดินอย่างต่อเนื่อง ทุกย่างก้าวของเด็กเล็กจะทุ่มเทลงไปอย่างสุดตัว ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ก้าวเดินอย่างไม่ต้องพยายามใดๆอีกต่อไปแล้ว…