บรรยง พงษ์พานิช คิด

ถ้าถามว่าหนังสือประเภทไหนที่ผมชอบที่สุด ผมตอบได้เลยว่าผมชอบหนังสือประเภทกลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงของชีวิตผู้เขียน เพราะหนังสือแนวนี้จะเนื้อเน้นๆไม่มีน้ำ ไม่มากทฤษฎีหรือหลักการให้ปวดกะโหลก ไม่มีศัพท์แสงวิชาการที่ฟังดูต้องใช้จินตนาการเยอะ อ่านเข้าใจง่ายแต่กลับได้อะไรๆเยอะมาก เรียกได้ว่ามีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดเลยก็ว่าได้ หนังสือประเภทนี้จะเต็มไปด้วยคำธรรมดาที่โคตรจะคม จนทำให้คำคมทั่วไปกลายเป็นโคตรธรรมดา ถ้าเป็นภาษาการตลาดหรือคนโฆษณานี่บอกได้เลยว่า เต็มไปด้วย key message หรือ super insight สะกิดใจทุกคำ และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นทั้งหมดที่ผมว่า เป็นหนังสือที่กลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิตของนักการเงินเศรษฐศาสตร์(หรืออะไรก็ตามทำนองนั้นที่ผมก็นิยามให้ไม่ถูกเหมือนกัน)ที่ชื่อว่า บรรยง พงษ์พานิช คุณบรรยง พงษ์พานิช คนนี้มีประวัติที่ไม่ธรรมดาเพราะเริ่มทำงานในตำแหน่งเสมียนเคาะกระดานหุ้น เงินเดือน 2,450 บาท เมื่อ 36…

Being Moral ตาย-เป็น

Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์…

KOREA, The impossible country, มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

พูดถึงเกาหลีมั่นใจว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ตั้งแต่แดจังกึม ที่ถูกเอามาล้อกันเป็นแดกจังมึง กิมจิ, Super Junior, เพลงฮิตอย่าง NOBODY NOBODY BUT YOU และ กังนัมสไตล์ที่ได้พันล้านวิวแรกบนยูทูป เกาหลีที่ดูมหัศจรรย์เต็มไปด้วยสีสันและสวยงามด้วยศัลยกรรมในความรู้สึกเราในวันนี้ ใครจะรู้ว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้วเกาหลีเองเคยจะเป็นหนึ่งในชาติที่พังพินาศอย่างถึงที่สุด เกาหลีเองเพิ่งได้เอกราชจากญี่ปุ่นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 1945 จากนั้นก็ยังถูกสองขั้วมหาอำนาจโลกฉีกประเทศเกาหลีออกเป็นสองส่วน เกาหลีเหนืออยู่ภายในการชี้นำจากโซเวียตหรือรัสเซียในวันนี้ ส่วนเกาหลีใต้อยู่ในความดูแลของสหรัฐ แต่ใช่ว่าเกาหลีใต้ในยุคแรกที่ได้เอกราชจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะเกาหลีใต้ถูกปกครองด้วยผู้นำเผด็จการมาอย่างยาวนาน จนอาจบอกได้ว่าเกาหลีใต้เพิ่งจะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบจริงๆก็เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมาก็ว่าได้ เกาหลีใต้หนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจนมีเศรษฐกิจติดลำดับต้นๆของโลกในวันนี้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่เคยพบความสุขเลย หนึ่งในชาติที่มีชั่วโมงการทำงานสูงที่สุดในโลก หนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงแซงญี่ปุ่นขึ้นไปแล้ว และหนึ่งในชาติที่ถูกปลูกฝังให้แข่งขันกันจนถึงที่สุด…

Modern Romance ถอดรหัสรักออนไลน์

เป็นหนังสือที่น่าจะซื้อมาตั้งแต่งานหนังสือเมื่อปลายปีก่อน แล้วเพิ่งจะได้หยิบมาอ่านเมื่อสามวันก่อน(ตอน July 2017) แวปแรกแอบท้อเพราะหนังสือมันหนากว่าหนังสือปกติเพราะมีตั้ง 3ร้อยกว่าหน้า.. แต่พอได้อ่านดูเลยรู้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านง่ายมากแถมยังสนุกและได้ความรู้ที่น่าสนใจอีกด้วย เลยทำให้ 300 กว่าหน้านั้นอ่านจบได้ภายใน 3 วันไม่ขาดไม่เกิน ถ้าหน้าปกบอกว่า #ถอดรหัสรักออนไลน์ แล้วหลังจากปกเข้าไปข้างในล่ะเป็นไง..ก็ต้องบอกว่าทั้งเล่มกว่าสามร้อยหน้าเป็นเรื่องของนักพูดเดี่ยวไมค์ไมโครโฟนที่ค่อนข้างดังคนนึงของอเมริกาที่ชื่อว่า Aziz Ansari เกิดสงสัยในเรื่องความรักของคนสมัยใหม่หรือจะบอกว่าสมัยนี้แทนดีนะ ก็เลยสนใจศึกษาจนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และได้รับความร่วมมือมากมายไม่ว่าจากนักจิตวิทยาสังคมจาก 5 ประเทศที่ออกไปสำรวจเรื่องราวรักๆออนไลน์ แถมยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเวปไซต์และแอพหาคู่ดังๆในอเมริกามากมายอีกด้วย สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือสมัยก่อนรุ่นปู่ย่าหรือพ่อแม่เรานั้นมักพบรักและแต่งงานกับคนไกล้ตัวรั้วไกล้บ้าน พอนึกย้อนกลับมาที่ครอบครัวตัวเอง เออ..ก็จริงว่ะ เพราะจำได้ว่าตอนถามยายว่าเจอกับตาได้ไงก็บอกว่าคนหมู่บ้านเดียวกันเห็นหน้ากันมาแต่เด็ก พอโตขึ้นหน่อยก็เลยแต่งงานกัน ถ้าถามว่าเบื้องหลังการแต่งงานกับคนบ้านไกล้เรือนเคียงนั้นคืออะไรก็ต้องบอกว่าเพราะคนยุคสมัยนั้นไม่ได้มีตัวเลือกมากเหมือนสมัยนี้ ในยุคสมัยที่การเดินทางไปไหนมาไหนก็ลำบาก…

ก้าวแรกที่เท่าเทียม, GIVING KIDS A FAIR CHANGE

การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน ไม่มีชนชั้นวรรณะ แต่ก็ไม่นะ ใน Utopia…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…

ความลับของดอกไม้ Flower Confidential

เรื่องราวของดอกไม้สิ่งสวยงามส่งกลิ่นหอมไกล้ตัวที่เราไม่เคยรู้ว่าจะมีความลับซ่อนอยู่มากมาย.. ..เช่น คุณรู้มั้ยว่ากุหลาบทุกวันนี้แทบไม่มีกลิ่นหอมโดยธรรมชาติเหลืออยู่แล้วเมื่อมาอยู่ในมือคุณ แต่กลิ่นที่คุณได้กลิ่นนั้นทาจากสเปรย์หอม หรือกลิ่นของยาฆ่าเชื้อราที่ถูกจุมทั้งดอกลงในถังเคมีเพื่อให้ดอกกุหลาบสวยสดอยู่นานพอจะถึงมือคุณ.. ..ดอกกุหลาบสีฟ้าที่ไม่เคยมีอยู่จริง ที่มนุษย์พยายามประดิษฐ์โกงธรรมชาติมานานหลายร้อยปีเพื่อให้ได้กุหลาบสีฟ้าที่อาจจะไม่มีใครอยากได้.. ..วันวาเลนไทน์ทำไมกุหลาบถึงแพง เพราะเครื่องบินที่ส่งดอกกุหลาบจากเอกวาดอร์หรือโคลอมเบีย ต้องบินเครื่องเปล่าตีกลับประเทศจึงทำให้ต้องเพิ่มค่าขนส่งส่วนนั้นไปในค่าดอกไม้โดยปริยาย.. ..ดอกไม้เดินทางข้ามโลกมาด้วยวิธีการมากมายเกินกว่าคุณจะนึกถึง ทั้งขั้นตอนการปลูกและโตที่ถูกควบคุมทุกขั้นตอนแทบจะเหมือนการผลิตปลากระป๋องเลย ดอกไม้กลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่อุตสาหกรรมหนึ่งของโลกเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการออกไปแล้ว ..และสำหรับหนุ่มๆทั้งหลาย ผมขอบอกเลยว่า 14 กุมภา เป็นวันของดอกกุหลาบเท่านั้น เพราะถ้าข้ามมาเป็น 15 กุมภาคุณต้องเสียเงินซื้อ tiffany แทนแล้วล่ะ

เสรีภาพในการพูด Free Speech

เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส . โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง . ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก . จนบรรดาเหล่าผู้ปกครองมีมติร่วมกันว่าให้ปิดปากโสกราตีสซะ . อ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่า…

Creative Capitalism ทุนนิยมสร้างสรรค์

ว่าด้วยเรื่องของการพูดคุยกันระหว่างสองมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกสองขั้ว Bill Gates ขั้วเทคโนโลยี และ Warren Buffett ขั้วแห่งนักลงทุน การถกเถียงเริ่มต้นจาก Bill Gates ผู้ผันตัวไปทำมูลนิธิเพื่อสังคมอย่างเต็มตัวและถอนตัวจากบริษัท Microsoft ที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้มั้ยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจะช่วยกันสละทรัพยากรของตนเพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินดำรงชีพไม่ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นไปได้มั้ยว่าเศรษฐกิจทุนนิยมจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นทุนนิยมสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่กำไรสูงสุด แต่มุ่งหวังเรื่องชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับเพื่อกลับมาสร้างผลกำไรสูงสุดที่อาจจะไม่ใช่แค่ตัวเงิน แต่จะเป็นการยอมจ่ายมากขึ้นของลูกค้า การดึงดูดพนักงานเก่งๆให้เข้ามาด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า เพราะภูมิใจที่ตัวเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อสังคม หรือแม้แต่สละผลกำไรก่อนหักภาษีเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่สุดในโลกหนึ่งพันล้านคน เกิดเป็นการถกเถียงผ่านเวปบอร์ดที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากวิวาทะของ Bill Gates ที่กรุงดาวอสที่เริ่มพูดถึงเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์ และการสนทนาส่วนตัวระหว่างเขากับ Warren…