อ่านการเมืองไทย 3 การเมืองของเสื้อแดง นิธิ เอียวศรีวงศ์

สรุปหนังสือชุดอ่านการเมืองไทย เล่มที่ 3 การเมืองของเสื้อแดง เขียนโดยอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เขียนไว้ตั้งแต่เมื่อ 14 ปีก่อน ณ ปี 2553 มาถึงวันนี้ 14 ปีผ่านไป ดูเหมือนว่าการเมืองไทยไม่ค่อยขยับไปข้างหน้าสักเท่าไหร่ และหลายเรื่องที่เคยคลุมเครือสงสัยก็คลี่คลายกระจ่างเรียบร้อยแล้ว ผมเลยขอหยิบบางประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ว่าในหนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้าง ชนชั้นนำชอบคิดเองเออเองว่า การเลือกตั้งมักถูกแทรกแซงด้วยการซื้อเสียง เงินไม่กี่หมื่นหรือแสนล้าน ก็สามารถกุมอำนาจผ่านระบบประชาธิปไตยได้แล้ว ถ้างั้นยึดอำนาจไว้กับตัวเหมือนเดิมดีกว่า แง่มุมนี้น่าสนใจซึ่งมีมานานมาก และก็ดูเหมือนว่าจะยังคงถ่ายทอดใช้กับรัฐประหารครั้งก่อน แต่คงจะยากที่จะถูกนำมาใช้กับรัฐประหารครั้งถัดไป เพราะรัฐประหารครั้งก่อนมักใช้เรื่องการซื้อเสียงจนทำให้ได้คะแนนเสียงทั้งแผ่นดินแบบพลิกกระดาน แต่ดูเหมือนจากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมาพรรคที่ชนะอันดับ 1…

อ่านการเมืองไทย 2 กัมมทายาโทของสังคมไทย นิธิ เอียวศรีวงศ์

สรุปหนังสือชุดอ่านการเมืองไทย เล่มที่ 2 กัมมทายาโทของสังคมไทย เขียนโดยอาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกริ่นหน้าปกก่อนเข้าเนื้อหาในเล่มก็น่าสนใจ ที่บอกว่า “ทั้งหมดนี้ไม่โทษนักการเมืองสักคนเดียว แต่อยากโทษสังคมไทยทั้งหมด เราล้วนเป็นทายาทของกรรมที่เราก่อไว้เอง” หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 2553 หรือถ้านับเลขปีย้อนไปก็ไม่น้อยกว่า 14 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าการเมืองไทยยังไม่ค่อยได้พัฒนาจากเดิมไปเท่าไหร่ ผมขอหยิบบางประเด็นในเล่มที่น่าสนใจมากๆ มาสรุปเล่าให้ฟังกันนะครับว่ามันน่าสนใจอย่างไร ดูเหมือนชนชั้นนำจะไม่สามารถนำประชาชนคนชั้นกลาง และคนส่วนใหญ่ของประเทศได้อีกต่อไป เดิมทีชนชั้นนำไม่ว่าจะในถิ่นฐานประเทศไหน ก็ล้วนแต่ใช้วิธีการต้องพยายามหล่อหลอมความคิดชนชั้นที่ต่ำกว่าตัวเองต้องเห็นด้วยคล้อยตาม จึงจะสามารถนำคนเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะใส่ความคิดเรื่องสมมติเทพเข้าไป ให้เชื่อว่านี่คือผู้วิเศษฟ้าประทานมาให้เป็นผู้นำ หรือการสร้างจารีตใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อกีดกันให้เห็นว่าชนชั้นที่ทำแบบนี้ได้เท่านั้นจึงจะพิเศษกว่าคนด้วยกัน หรือการเก็บสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งไว้เฉพาะกับแค่ผู้ชายผิวขาวในอดีต…

Future ปัญญาอนาคต

สรุปหนังสือ Future ปัญญาอนาคต เล่มนี้ขอเปิดด้วยคำคมในเล่มของ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ที่ว่า “It is always wise to look ahead, but difficult to look further than you can see.” แค่ประโยคนี้ก็ให้ความหมายของอนาคตได้ชัดเจนกว่าที่เคยเข้าใจไปเองมาตั้งนาน ชื่อหนังสืออาจฟังดู Sci-fi นิดๆ เหมือนจะล้ำสมัยหน่อยๆ อาจจะเต็มไปด้วยเทคโนโลยีหรือเปล่านะ ความรู้สึกจากแวปแรกที่เห็นชื่อหนังสือและหน้าปกที่ออกแบบได้ดูมินิมัลสไตล์จริงๆ…

ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น

สรุปหนังสือ ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น ว่าด้วยเรื่องของผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ มักก่อกำเนิดมาจากจุดเล็กๆเพียงแค่หนึ่ง และจาก 1 ผลลัพธ์อาจมาจากความพยายามนับล้านครั้ง ใครจะเชื่อว่าหนังสือหนึ่งเล่มนี้ จะสามารถร้อยเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์มากมายในโลกเอาไว้ได้อย่าแยบคายไม่น่าเชื่อ ด้วยการใช้ถ้วยคำที่สละสลวยอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน จนผมแทบจะคิดว่านี่คือหนังสือที่เล่าด้วยสัมผัสแบบกาพย์กลอนอย่างน่าทึ่ง แทบทุกหน้านั้นมีข้อคิด และแทบทุกวรรคนั้นมีคำคม ถ้ามีปากกาไฮไลท์อยู่ใกล้มือ คงต้องหมดไปหลายด้ามแน่ๆ เรื่องในเล่มเริ่มที่กระสุนหนึ่งนัด จากกระสุนหนึ่งนัด ทำให้เกิดห่ากระสุนนับล้านๆนัดตามมา นี่คือต้นกำเนิดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อครั้งที่ Archuduke Franz Ferdinand หรือ อาร์ชดยุคฟรันซ์ แฟร์ดินันด์ องค์รัชทายาทของราชวงศ์ฮับสบูรก์ เสด็จฯ…

PRESENT ปัญญาจักรวาล

สรุปหนังสือ ปัญญาจักรวาลเล่มนี้ยากมาก นี่คือความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวระหว่างอ่านใกล้จบ เพราะหนังสือปัญญาจักรวาล ของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แถบจะสรุปทุกอย่างไว้หมดแล้วในหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่เรื่องของ ปรัชญา ปัญญา ปราชญ์ สู่ปัจจุบันว่าเราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร ในยุค AI เข้ามาทำให้มนุษย์ดูด้อยค่าความสำคัญลงทุกวัน คุณภิญโญเล่าตั้งแต่คัมภีร์ของศาสนา หรือปราชญ์โบราณคนสำคัญต่างๆว่าต่างพูดถึงจุดเริ่มต้นของจักรวาลคล้ายๆกัน คือเริ่มจากความว่างเปล่า เริ่มจากวีลที่คล้ายกัน นั่นก็คือ “ปฐมกาล” คุณภิญโญสรุปในเรื่องปรัชญาความเชื่อเรื่องเทพเจ้าไว้อย่างน่าสนใจว่า มนุษย์เราบูชาเทพเจ้า แต่อย่าลืมว่าก็มนุษย์เรานั่นแหละที่สร้างเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้นถ้าเทพสร้างมนุษย์ มนุษย์ก็สร้างเทพ ต่างเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ส่วนเรื่อง AI ที่หลายคนเริ่มกังวลในวันนี้…

Buddha Gotama พุทธโคดม

บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในทางบริบทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียในสมัยพุทธกาล “สตาร์ทอัพทางจิตวิญญาณ” คือความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาตอนเริ่มอ่าน และอ่านจบก็ยังคิดว่าน่าจะเป็นคำสรุปที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ในการทำความเข้าใจพุทธศาสนาในอีกมุมนึงที่ไม่เคยรู้มาก่อน ที่บอกว่าเป็น “สตาร์อัพททางจิตวิญญาณ” เพราะ ถ้าเปรียบเทียบกับในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยบริษัท องค์กร หรือผู้ก่อตั้ง Startup น้อยใหญ่มากมาย เพราะต้องการจะปฏิวัติในแง่ธุรกิจเป็นหลัก เพื่อสร้างทางเลือกหรือฉีกหนีจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่กุมอำนาจหลักๆของโลกไว้ หรืออีกเหตุผลหลักก็คือ “ความไม่พอใจ” ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนต้องลุกขึ้นมาลงมือทำอะไรซักอย่างจนส่งสามารถเติบโตต่อได้ เช่น Apple ที่ครั้งตั้งต้นคือบริษัท Startup ที่ต้องการจะสร้างทางเลือกใหม่ให้กับคนทั่วไปเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ หรือ Uber บริษัท Startup ที่กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกในวันนี้…

THE 100 YEAR LIFE ชีวิตศตวรรษ

เมื่ออ่านจบก็พบว่า โอ้ ทำไมเราไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่สิบปีที่แล้วนะ และจะมีซักกี่คนนะที่ได้อ่านหรือตระหนักถึงในสิ่งที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงแล้ว เรื่องที่เราส่วนใหญ่กำลังจะมีอายุยืนยาวกันถึง 100 ปี ฟังเผินๆฟังดูเป็นเรื่องดี แต่ถ้าใช้ชีวิตแบบผิวเผินแบบนี้ต่อไปนี่นรกบนดินแน่ ค่าเฉลี่ยของอายุคนไทยตอนนี้น่าจะอยู่ราวๆ 71-77 ปีครับ ฟังดูแบบนี้เราอาจเผลอคิดว่า “อ้อ นี่ชั้นจะมีอายุถึงประมาณนี่ก่อนจะตายซินะ” แต่ความจริงแล้วคุณคิดผิดครับ เพราะนี่คือค่าเฉลี่ยของปีนี้ครับ ไม่ใช่ปีที่คุณกำลังใกล้จะตาย เพราะกว่าถึงคุณจะอายุถึงเลข 7 นำหน้า ถ้าคุณอายุประมาณเดียวกับผม คือขึ้นต้นด้วยเลข 3 นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะอายุยืนยาวถึง 90 ปีขึ้นไปเลยล่ะครับ เพราะอะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะว่าทุกๆสิบปีอายุคนเราจะยืนยาวขึ้นอีกสองปีเป็นอย่างน้อยครับ นั่นทำให้ถ้าเรายิ่งอายุน้อยในวันนี้เราก็จะยิ่งมีอายุที่ยืนยาวขึ้นในวันข้างหน้า…

SLOW เร็วไม่ว่า..ช้าให้เป็น

ว่าด้วยเรื่องของความช้าในยุคที่แข่งขันกันที่ความเร็ว จากยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก เข้าสู่ยุคปลาเร็วกินปลาช้า ความช้าแลดูเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการแล้วงั้นหรอ ตั้งแต่มนุษย์วัดเวลาได้ จากนั้นมาเวลาก็กลายมาเป็นตัววัดมนุษย์เรามาตลอด เวลาถูกแบ่งซอยออกเป็นหน่วยเล็กหน่วยน้อยที่วัดค่าได้แน่นอน จนทำเอาเสน่ห์ของเวลาหายไปด้วยหรือเปล่า? เราเคยมีเวลาละเลียดละเมียดในการกิน.. แต่ทุกวันนี้เรากินเพื่อให้รีบอิ่มโดยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่เรากินคืออะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าสังเกตุต่อเราจะพบว่าทุกวันนี้เราพยายามใช้เวลาให้คุ้มค่า แต่เราลืมการใช้ชีวิตไปหรือเปล่า? หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ต่อต้านความเร็วนะครับ แต่ไม่เห็นด้วยกับความเร็วที่ไม่จำเป็น ถ้ามันช้าได้ หลายๆครั้งความเนิบช้าก็กลับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าความเร็วซะอีก ทุกชีวิตต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนคำว่า tempo giusto แปลว่าจังหวะที่เหมาะสมในการบรรเลงดนตรีให้ไพเราะ เพราะเร็วไม่ว่า..แต่ต้องช้าให้เป็น อ่านเมื่อปี 2016

sex and the english language 1

หนังสือที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาษารัก และรักภาษาอังกฤษ ต้องบอกว่าเป็นหนังสือเก่าเล่มใหม่ของผม เพราะผมบังเอิญไปเจอเล่มนี้เข้าที่ร้านหนังสือมือสองที่ชื่อว่า Mali mali coffee and book cafe เป็นร้านที่เต็มไปด้วยหนังสือเก่า หนังสือมือสองมากมาย ผมเชื่อว่าถ้าใครเป็นคนที่รักการอ่านหรือมักจะไปล้มละลายในงานหนังสือแบบผม ถ้าได้มาร้านนี้จะต้องรู้สึกมีความสุขเป็นแน่แท้ เพราะแม้จะเต็มไปด้วยหนังสือเก่า แต่ก็อุดมไปด้วยหนังสือดีๆมากมาย ที่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มอ่านได้ไม่นานแบบผม(5ปี) คุณจะพบหนังสือดีๆที่คุณไม่คาดคิดหลายเล่มแน่ ร้าน Mali Mali Coffee อยู่ในพื้นที่บริเวณคอนโด Chapter One ครับ กลับมาที่เนื้อหาในหนังสือ จะบอกว่าตามหน้าปกก็ไม่ผิดนัก เพราะเนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยคำสัปดี้สัปดล แต่ก็เต็มไปด้วยความรู้จากคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่น่าเชื่อ…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…