หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดแบบ high-end ว่าทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนจาก low-end ให้กลายเป็น high-end หรือทำอย่างไรที่จะรักษาความ high-end ไว้ให้ได้นานเท่านาน จากหลายสิบจนอาจจะถึงร้อยเคสในเล่มที่ดีมากและไม่เคยรู้มาก่อน หรืออาจบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้เปิดโลกความลับของหลายแบรนด์ให้ผมได้รู้ การตลาดแบบ high-end มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ไม่ใช่การทำตลาดเพื่อ “ขาย” แต่เป็นการทำการตลาดเพื่อ “ทำให้ซื้อ” ฟังดูง่ายแต่น้อยคนน้อยแบรนด์จริงๆที่จะทำได้จริงมั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอหยิบหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้มาเกริ่นเล่า เพราะผมว่าหน้าสุดท้ายของเล่ม #ขายเนื้อให้เหมือนหลุยส์วิตตอง เป็นอะไรที่ดีมาก ผู้เขียนเล่าว่า เวลาที่พูดคุยเรื่องไฮเอนด์ คำถามที่มักได้รับอยู่เป็นประจำคือ “High-end...
Marketing
สรุปหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เล่มล่าสุดจากงานหนังสือปลายปี 2018 ที่ผ่านมา ในฐานะหนึ่งในแฟนคลับที่ติดตามงานเขียนของคุณหนุ่มเมืองจันท์มาไม่นาน แต่มีตามอ่านครบทุกเล่ม และทุกเล่มก็มีจะมีอาหารสมองผสมเกร็ดความรู้ดีๆให้เรียนรู้อยู่เสมอ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เป็นการเล่นกับ “คำถาม” อีกครั้ง คำถาม ที่เปรียบเสมือนอาวุธสำคัญของคุณหนุ่มเมืองจันท์จากอาชีพนักข่าว ผมชอบประโยคนึงที่คุณหนุ่มเมืองจันท์มักพูดว่า “คำถามจะบอกทิศ คำตอบจะบอกทาง” นั้นบอกให้รู้ว่า “คำถามสำคัญกว่าคำตอบ” กว่ามัววิ่งหาคำตอบถ้ายังไม่รู้จักขัดเกลาคำถาม เพราะถ้าตั้งคำถามผิด ยังไงคำตอบก็ไม่ทางถูก แล้วเล่มที่ 30 นี้ถามอะไรที่น่าสนใจบ้าง...
การตลาดแบบวัวสีม่วงคืออะไร? แล้วทำไมต้องวัวสีม่วง? นี่คือคำถามแรกตอนเห็นหน้าปกเล่มนี้ว่าทำไมต้องวัวสีม่วงด้วยนะ เอาวะ หยิบติดมือมาอีกเล่มก็ได้ (จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2018 ที่ผ่านมาครับ) พออ่านจบปุ๊บก็เข้าใจปั๊บว่าทำไมต้องเป็น Purple Cow ผู้เขียน Seth Godin ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด(เค้าเขียนหนังสือมาหลายสิบเล่มแล้ว)ตั้งใจจะล้อกับหลักการตลาด 4P 5P หรือ 7P อะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะ Product, Price, Place, Promotion, People...
ความลับเบื้องหลังจองเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กูเกิล และแอปเปิลว่าทำอย่างไรคนถึงชอบจนหยุดใช้ไม่ได้ ผมว่าเป็นหนังสือด้านจิตวิทยาการตลาดอีกเล่มที่น่าสนใจ โดยที่แก่นหลักของเรื่องก็คือการสร้างพฤติกรรมการเสพย์ติดผ่านวงจรการสร้างที่มี 4 ขั้นตอนหลักที่เริ่มด้วย “ตัวกระตุ้น” ที่เป็นการสะกิดให้คนรู้ตัว จากนั้นก็ “ทำให้ง่าย” อะไรที่คนเคยทำได้อยู่แล้วก็ทำให้ง่ายขึ้น หรืออะไรที่คนเคยอยากทำแต่ไม่ได้ทำเพราะความยุ่งยากก็ทำให้ง่ายลง แล้วก็ต่อด้วย “รางวัลที่คาดเดาไม่ได้” แต่รู้ว่าต้องได้อะไรซักอย่างจากการกระทำนั้น เพียงแค่ยังเดาไม่ออกว่าจะเจออะไรบ้าง และสุดท้ายคือ “การลงทุนลงแรง” ไม่ว่าจะเป็นการขอให้คนทำมากขึ้น หรือยอมจ่ายเงินเข้าไป สุดท้ายก็จะกลายเป็นเหตุผลให้คนยิ่งติดและถอนตัวไม่ขึ้นด้วยตัวเองจนกลายเป็นนิสัยใหม่ของคนขึ้นมา และนี่ก็คือใจความของหมดของหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าจะให้สรุปจบแค่นี้ก็คงไม่สนุก ผมขอเล่าให้ฟังเพิ่มถึงบางช่วงบางตอนที่ผมสนใจเป็นพิเศษแล้วกันนะครับ...
บางคนอาจสงสัยหรือไม่ก็ผมเองนี่แหละที่ตั้งคำถามกับตัวเองตอนหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านว่า “สมัยนี้อะไรๆก็ 4.0 หมดแล้ว จะมัวมาอ่านอะไรที่ช้าไปแล้วทำไม?” ครับ 3.0 อาจเชยกว่า 4.0 จริง แต่สำหรับผมๆคิดว่าต่อให้มี 1.0 หรือ 0.1 ที่เชยตกยุคไปแล้วสุดๆผมก็จะตามอ่านถ้าผมยังไม่รู้ในสิ่งนั้น ผมคิดว่าผมเป็นพวกนักการตลาดแบบมวยวัดนะ ไม่ได้ร่ำเรียนมาแบบชาวบ้านเค้า ปากกัดตีนถีบหาความรู้มาเองตลอก ถ้าถามว่าอ่านจบแล้วได้อะไรบ้างล่ะ ก็ต้องบอกว่าได้ไม่น้อยเลยกับเรื่องที่ยังไม่รู้ จริงๆแล้วผมคิดว่าเล่มนี้น่าจะเป็นเรื่องของ social network หรือการตลาดแบบ social media มากกว่านะถ้าถอดเปลือกเอาแก่นมาคุยกัน...
คำนิยามหน้าเล่มบอกไว้ว่า “คู่มือสามัญประจำตัวสำหรับคนที่ใช้ “ความคิด” ทำงาน ส่งตรงจากนักโฆษณามือหนึ่งของอังกฤษ แล้ว “นักโฆษณามือหนึ่งของอังกฤษ” ที่ว่าผู้นี้เป็นใคร? อ๋อเค้าคือ John Hegarty หนึ่งในนักโฆษณาที่มีชื่อเสียงที่สุดในอังกฤษคนหนึ่ง เป็นผู้ก่อตั้ง Bartle Bogle Hegarty (BBH) บริษัทโฆษณาระดับโลกที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก และมีลูกค้าเป็นบริษัทดังๆ ไม่ว่าจะเป็นลีวายส์ ออดี้ เพลย์สเตชั่น ยูนิลีเวอร์ จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ บริติชแอร์เวย์...
เขียนโดย Gary Vaynerchuk นักเขียนผู้เปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านโซเขียลมีเดียที่อเมริกาชื่อ VaynerMedia ที่คอยให้คำปรึกษาบริษัทชั้นนำระดับ Fortune 500 และเป็นผู้ลงทุนใน Start Up ด้าน Social Media ที่ดังๆตั้งแต่เริ่มตั้งไข่หลายราย เช่น Twitter เป็นต้น เมื่อพูดถึงโซเชียลมีเดียที่ใครๆก็คุ้นเคย.. ..แต่คนที่คุ้นเคยที่สุดคงหนีไม่พ้นนักการตลาดทั้งหลาย เพราะตั้งแต่มีเจ้า Social Media นี้เข้ามาทำให้บรรดานักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณาเองต้องปวดหัวกันไปตามๆกันแบบไม่มีหยุดพัก เพราะอะไรน่ะหรอ.. ..เพราะแต่ก่อนช่องทางการสื่อสารของเรามีจำกัดจำเขี่ยมาก...
ผู้เขียนทำงานบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งชื่อดังในเครือ Saleforce ในอเมริกา เค้าแชร์ว่าสิ่งสำคัญของการตลาดยุคนี้ไม่ใช่แค่การตะโกนประกาศเหมือนสมัยก่อนว่า “ชั้นมีของดีมาขาย ซื้อมั้ยจ้ะๆ” เพราะ…แม้เราจะอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยสื่อดิจิทัล เสพย์ติดสมาร์โฟนมากกว่าทีวี หรือเปิดทีวีไว้แต่ก้มหน้าเล่นเฟซบุ๊คแล้วแชตไลน์กับเพื่อน แต่นักการตลาดหรือเอเจนซี่ส่วนใหญ่ก็ยังคิดในรูปแบบเดิมแค่ขยายช่องทางการเข้าถึงใหม่ๆที่เป็นดิจิทัล ก็คือการตะโกนขายของปาวๆเหมือนเดิม ไม่ได้สนใจผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ชมที่อยู่ในแต่ละบริบทเอาซะเลย เพราะแต่ละ Channel ก็มี Context ของมัน แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมคนยุคโฆษณาทีวีถึงยังคิดแบบนั้น.. ..เพราะสมัยก่อนช่องทางการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหรือ Audience นั้นมีแค่ 9 ช่องทาง ทำให้การคิดงานนั้นมีรูปแบบและ Platform ที่ไม่ชัดเจนไม่ซับซ้อน...
เมื่อราคาไม่ใช่แค่ “ราคา” ที่เคยเข้าใจอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้แม้จะอ่านยากนิดๆ (มีอารมณ์คล้ายหนังสือเรียนที่มักจะต้องถูกบังคับจากอาจารย์ให้อ่าน) แต่ก็ถ้าตั้งใจอ่านซักหน่อยก็จะพบว่ามีอะไรให้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวอีกเยอะ รวมถึงเคสที่น่าสนใจมากมาย . หลายครั้ง “ราคา” มักเป็นส่วนสุดท้ายของการตัดสินใจ ที่มักจะเอา “ต้นทุน” มาบวก “ผลกำไร” ที่ต้องการ แล้วใช้ตัวเลขนั้นเป็นราคาขายให้กับลูกค้า แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปลายทางของธุรกิจเลยก็ว่าได้ . แต่หนังสือเล่มนี้ให้มุมมองใหม่ที่น่าสนใจว่า การตั้งต้นด้วยราคาก่อนจะเริ่มทำธุรกิจนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจนั้นอยู่รอดและเติบโตได้มากกว่า!? . สำหรับผมเป็นมุมมองใหม่ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อนเลยกับการ “เอาราคาเป็นตัวตั้ง” ....
Repositioning คืออะไร? แล้วทำไมต้องวางตำแหน่งใหม่ด้วย? Jack Trout ผู้เขียนเปรียบเทียบง่ายๆว่าการ Repositioning ก็เหมือนกับการ “แขวนป้าย” หรือ “แปะป้าย” ให้กับตัวเรา เพื่อให้ผู้คนหรือกลุ่มลูกค้ารู้ว่า “เราคือใคร” แต่ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงแนวคิดที่อยู่ เราสามารถ Repositioning หรือ “แปะป้าย” ให้กับคู่แข่งเราได้ด้วย! ลองดูตัวอย่างจาก Burger King กับ McDonald’s ดู...