หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน Law of Illusion

“เราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็น แต่เลือกทุกคนต่างเห็นโลกอย่างที่เราเลือกมอง”ถ้าให้เลือกสรุปจบทั้งเล่มในหนึ่งบรรทัด ผมคงเลือกประโยคนี้ เพราะคนเราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็นซักเท่าไหร่ แต่เราทุกคนต่างมี “แว่นตา” ที่ใช้มองแต่ละสิ่ง แต่ละเรื่องที่ต่างกันไป คนนึงอาจมองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่อีกคนอาจมองเรื่องเดียวกันเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องแบบนี้มีให้พบเจออยู่เป็นประจำ เหมือนที่วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ที่นำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สองจนพลิกกลับมาเอาชนะนาซีได้ในครั้งนั้น เคยกล่าวเอาไว้ว่า “คนธรรมดามองเห็นปัญหาเป็นปัญหา แต่คนฉลาดมองเห็นปัญหาเป็นโอกาส” (ประโยคประมานนี้) แค่ประโยคนี้ก็ย้ำเตือนได้ดีถึง “มุมมอง” ของเรื่องเดียวกันที่ให้ผลต่างกันเกินคาด และทั้งหมดนี้ก็มาจากการ “หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน” เหมือนชื่อหนังสือเล่มนี้จริงๆครับ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบเจอเรื่องหนึ่งในชีวิต แล้วถ้าเรามองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหาอย่างที่เราคิดจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรากลับมองว่านั่นคือโอกาส โอกาสที่จะทำให้เราได้ปรับปรุงมันให้ดีขึ้น…

ขาย 100 คน ซื้อ 99 คน

แม้ไม่ใช่นักขายโดยอาชีพ แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเราทุกคนก็ล้วนเป็นนักขายโดยธรรมชาติ เพราะการซื้อขายคือการแลกเปลี่ยนให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการกันมาแต่เกิด เช่น เด็กทารกต้องขายเสียงร้องให้เพื่อได้รับน้ำนมจากแม่ โตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มต้องขายการทำตัวดีเพื่อให้พ่อแม่ชื่นชมหรือได้รับขนม โตมาอีกนิดก็เริ่มจะขายคำหวานเพื่อให้ได้รับความรักความสนใจจากเพศตรงข้าม โตขึ้นมาก็ต้องขายความสามารถเพื่อแลกเงิน หรือบางคนก็เปิดธุรกิจค้าขายตรงๆไปก็มี นี่แหละครับทำไมผมถึงบอกว่ามนุษย์เราล้วนเป็นนักขายมาตั้งแต่เกิดแล้ว ดังนั้นผมจึงกล้าบอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เหมาะกับแค่คนที่มีอาชีพเป็นนักขายหรือ Sale เท่านั้น แต่เหมาะกับทุกคนต่างหาก ว่าแต่ อะกิระ คะกะตะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นใคร… …ตามประวัติท้ายเล่มบอกว่าเป็นชายที่ได้รับการขนานนามในญี่ปุ่นว่าเป็น “เทพเจ้าการขาย” มีเปอร์เซ็นต์การปิดการขายสำเร็จอยู่ที่ 99% ฟังดูเหมือนโม้แต่ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่ามันเรื่องจริงมั้ย แต่ผมคิดว่าก็น่าจะสูงมากๆจนทำให้ชาวบ้านที่ญี่ปุ่นให้ฉายาเค้าแบบนั้นนั่นแหละครับ ใจความสำคัญของการขายให้สำเร็จจากหนังสือเล่มนี้ผมว่ามีอยู่แค่ 3 ข้อ 1.คุณต้องเข้าใจคน… หมายถึงคุณต้องเข้าใจในธรรมชาติของความเป็น “คน”…

ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องมาคุยเล่น 30 วินาที

หนังสือว่าด้วยศาสตร์แห่งการคุยเล่นที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น การคุยเล่นที่บางคนอาจจะเห็นว่าไร้สาระนั้น จะรู้มั้ยว่าความไร้สาระนั่นแหละคือแก่นสารของชีวิตเรา คนที่คุยเล่นได้เก่งคือคนที่มีทักษะในการสื่อสารได้ดี และก็เป็นคนที่ใครๆก็รักและชื่นชอบ ถ้าเราสังเกตุจากสิ่งรอบตัวในชีวิต เราจะพบเจอแต่เรื่องราวไร้สาระที่กลายมาเป็นสาระหลักในชีวิตเรามากขึ้นทุกวัน การพูดคุยคือส่วนหนึ่งในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนที่พูดคุยเก่งก็มีแนวโน้มจะเติบโตในหน้าที่การงานได้ดี หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายๆ และเหมาะจะเอามาทดลองใช้ในชีวิตประจำวันดู แม้แต่การสัมภาษณ์งาน ก็ยังแฝงการคุยเล่นที่ไร้สาระ เพื่อดูว่าคุณเป็นคนรับมือกับเรื่องเล่านี้ยังไงเลย เรามาหัดคุยเล่นกันวันละ30วินาทีกันเถอะครับ อ่านเมื่อปี 2016

The Dentsu Way

หนังสือเล่มนี้ผมอ่านเมื่อปี 2016 จำได้ว่าเป็นหนังสือที่ว่าด้วยวิธีคิดแบบ Dentsu ว่าหนึ่งในเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกเค้ามีหลักการคิดยังไง เท่าที่จำได้ถึงตอนนี้คือไอ้หลักการคิดแบบ ZMOT ของ Google นั้นถูกเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ปี 2010 แล้ว หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยวิธีการคิดแบบ cross communication หรือโมเดล AISAS ที่เข้ามาแทนที่โมเดลการสื่อสารแบบเก่าๆอย่าง AIDA AIDA ย่อมาจาก Aware > Interest > Desire > Action จะเห็นว่าเป็นโมเดลการสื่อสารแบบเดิมที่เน้นส่งโฆษณายัดเข้าตาสะกดจิตให้คนจำจนออกไปซื้อ ส่วนโมเดลของ…

ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อยให้ได้มาก

รู้หรือไม่ว่าสิ่งหนึ่งที่คุณเก็บไว้ อาจทำให้คุณพลาดสิ่งดีๆ ไปเป็นร้อย เขียนโดยคนญี่ปุ่นแต่เนื้อหาข้างในกลับไม่เหมือนแนวญี่ปุ่นที่ผมคุ้นเคยเอาเสียเลย ปกติแล้วความเป็นคนญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยคือต้องอดทนพยายามจนสำเร็จ แต่นักเขียนท่านนี้เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากสไตล์การคิด และบริหารงานแบบฝรั่งจ๋าๆ ทำให้ได้เรื่องราวและมุมมองที่น่าสนใจหลายจุด เช่น.. ตอนนึงในเล่มที่ผู้เขียนเล่าว่าให้ผู้หญิงหันมาเลือกผู้ชายที่มีแฟนอยู่แล้ว.. เพราะ ผู้ชายที่มีแฟนอยู่แล้วนั่นเป็นเครื่องการันตีว่าผู้ชายคนนั้นน่าสนใจกว่าผู้ชายที่ไม่มีแฟน (เพราะใช้แฟนในปัจจุบันเป็นมุมมองชี้วัดคุณภาพของผู้ชายคนนั้น) ก็คล้ายๆกับการเลือกร้านอาหารที่มีคนรอเข้าคิวเยอะ เพราะนั่นก็น่าจะเป็นตัวช่วยในการเลือกในกรณีที่เราไม่มีข้อมูลเช่นกัน หรืออีกตอนที่ผู้เขียนเล่าว่าให้ทิ้งโอกาสเล็กๆตรงหน้าอย่างการก้มเก็บแบงค์พัน เพื่อมองหาขุมทรัพย์หลักล้านข้างหน้าแทน เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่คุณก้มเก็บโอกาสเล็กๆตรงหน้า คุณก็อาจจะพลาดโอกาสที่จะเข้าถึงโอกาสที่ยิ่งใหญ่กว่าก็เป็นได้ อ่านง่ายๆไม่ถึงวันก็จบ ใครมีหนังสืออะไรดีๆแนะนำกันมาจะขอบคุณมากเลยครับ อ่านแล้วเล่า ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อยให้ได้มากรู้หรือไม่ว่าสิ่งหนึ่งที่คุณเก็บไว้ อาจทำให้คุณพลาดสิ่งดีๆไปเป็นร้อย โยะชิโอะ ยะซุดะ…

สิ่งที่ดิสนีย์แลนด์สอนฉัน

เขียนโดย ชายผู้ทำงานที่โตเกียวดิสนีย์แลนด์ตั้งแต่เปิดจนน่าจะถึงทุกวันนี้ (ขอโทษทีที่จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ครับ) ถ่ายทอดเรื่องราวสุดประทับใจจากการทำงานที่ดิสนีย์แลนด์สถานที่ในฝันของใครหลายคนทั่วโลก ในเล่มเล็กๆประกอบด้วย 4 เรื่องราวที่บอกตามตรงว่าแค่เรื่องแรกก็ทำเอาน้ำตาจะไหลตอนอ่านบน BTS ซะแล้ว เป็นเรื่องราวของเด็กสาวคนนึงที่ได้มาทำงานที่ดิสนีย์แลนด์ เจอกับเกสต์(ลูกค้า)ผู้ถามทางกลับบ้าน แล้วเธอก็ตอบไปตามความจริงแต่เธอลืมนึกเผื่อไว้สำหรับสิ่งที่เกสต์ไม่ได้ถาม ทำให้ตัวเธอต้องย้อนกลับไปสำรวจชีวิตตัวเองที่ผ่านมาถึงการใส่ใจในรายละเอียดจนทำให้เธอได้เข้าใจชีวิตมากขึ้น เป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่รู้สึกดีมากที่ได้ซื้อมาโดยไม่ตั้งใจ สารภาพตามตรงตอนที่ซื้อมาก็ไม่ได้อ่านข้างในมากนัก แต่ซื้อเพราะคำว่า “ดิสนียส์แลนด์” นี่แหละครับ คำๆนี้เสมือนคำในฝันของผมมาตั้งแต่เด็กที่ฝันอยากไปดิสนีย์แลนด์ กว่าจะได้ไปก็ปาไป 25 แล้วตอนนั้น เหมือนการไล่เติมเต็มความฝันเอาตอนโต เราอาจจะโตขึ้นแต่ความฝันก็ยังคงไม่ได้โตตาม ถ้าไม่นับเรื่องของความต้องการในอาชีพหรือหน้าที่การงาน เราทุกคนต่างยังมีความฝันอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ขอให้คุณได้แบ่งเวลาได้ทำตามฝันบ้างนะครับ เหมือนผมคือการไปดิสนีย์แลนด์ในตอนโตโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราได้กลายเป็นเด็กอีกครั้ง (แม้จะเป็นเด็กที่ผมหงอกเต็มหัวก็ตามในตอนนี้) ปล.สรุปเพิ่มเติมปี…

The Sushi Economy เศรษฐศาสตร์ของซูชิ

ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ก็คงไม่รู้ว่าปลาทูนาครีบน้ำเงินราคาแพง (อาคามิ, จูโทโร และ โอโทโร่) ในร้านซูชิทั้งหมดทั่วโลกนั้นเพิ่งจะมาเริ่มกินกันจริงๆก็เมื่อหลังปี 1970 เอง ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1970 นี้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินตัวใหญ่ยักษ์ทั้งหลายที่ชาวประมงส่วนใหญ่ตกได้กลายเป็นขยะที่ไม่มีใครต้องการ อย่างดีก็เอาไปป่นทำเป็นอาหารสัตว์อีกทอดนึง แทบไม่มีใครคิดจะหยิบมากิน หรือจัดใส่จานหรูๆราคาแพงในร้านซูชิอย่างทุกวันนี้ เรื่องมันเริ่มจากก่อนปี 1970 เป็นต้นมา แถบอเมริกา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมักจะเป็นเป้าหมายของนักตกปลาที่ตกเป็นกีฬาหรือเพื่อการแข่งขัน เพราะปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นทั้งตัวใหญ่ และมีพละกำลังมหาศาล แต่พอตกขึ้นมาได้นอกจากจะเอามาถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานของนักตกปลาผู้เก่งกาจ ก็อาจจะมีแค่บางคนยอมเสียเงินเพื่อสตาฟปลายักษ์นั้นเก็บไว้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเอาไปทิ้ง บ้างก็ยอมเสียเงินเพื่อทิ้งกับเทศบาล (ต่างประเทศเสียค่าทิ้งขยะ) หรือไม่ก็ยอมแล่นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อเอาปลาทูน่าไปทิ้ง ส่วนพวกเรือประมงที่มีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมาติดอวนก็มักจะหงุดหงิดเพราะทั้งหนักทั้งใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการหาปลาอื่นๆ (ปลาค็อดหรือปลากะพง)…

Joy On Japan อยู่แดนปลาดิบ อย่างมีความสุข

อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือคู่มือการใช้ชีวิตอยู่ญี่ปุ่นก็ว่าได้ เพราะอย่างที่ผู้เขียนว่า เรามักจินตนาการไปว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่น่าอยู่อาศัย เมื่อเราดูจากการ์ตูน หรือภาพยนต์ AV ต่างๆ..เอ๊ะ ไม่เกี่ยวกับหนัง AV ซิ อันนั้นชาติไหนก็น่าดู เอ๊ย!! น่าอยู่.. ..ผู้เขียน ณัฐพงศ์ ไชยาวานิชย์ผล เป็นคนที่ได้ไปร่ำเรียนและทำงานใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลานานมากพอที่จะถ่ายทอดความจริงการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นที่ไม่น้อยคนจะรู้ เช่น เรื่องการทิ้งขยะ ที่พออ่านแล้วต้องถือว่าน่าปวดหัวแต่ก็ชวนให้เข้าใจได้ว่าเพื่อสังคมของเค้า ไม่ได้ทิ้งอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้แบบบ้านเรา เพราะที่นั่นต้องทิ้งขยะแยกประเภทให้เรียบร้อย แล้วก็ต้องทิ้งแต่ละประเภทให้ตรงวัน แถมยังต้องทิ้งให้ตรงจุดที่กำหนดเท่านั้น และคุณจะไปทำเนียนทิ้งตามหน้าร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเฟ่นก็จะถูกสังคมประนาม เพื่อนบ้านไม่คบเอาได้ง่ายๆ.. เรื่องที่สอง…ภาษาญี่ปุ่น ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ผมก็จะไม่รู้เลยว่าตัวอักษรญี่ปุ่นแยกเป็น 3 ประเภท…

Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร เพราะบริษัทเหล่านี้มีแนวทางเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมายว่า ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่รอด ถ้าสังคมพัฒนาเราก็จะเจริญ..…

ญี่ปุ่นเขาจัดร้านกันแบบนี้ไง The Anatomical Chart of Shop

หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดร้านแบบญี่ปุ่น ความจริงแล้วต้องบอกว่าการจัดร้านประเภทต่างๆจาก Know How แบบคนญี่ปุ่นโดยนักออกแบบชื่อดังมาถ่ายทอดให้เราพอได้มีความรู้พื้นฐานว่าการจะออกแบบร้านหรือจัดร้านต่างๆนั้นเค้าคิดยังไงกันบ้าง.. ..ในเล่มจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1 เคล็ดลับของร้านน่านั่ง เริ่มต้นด้วยร้านประเภทต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนมหวาน ร้านพิซซ่า ร้านเหล้า ร้านปิ้งย่าง หรือร้านสะดวกซื้อ ในแต่ละร้านก็จะมีความต้องการของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้บริการอยู่เบื้องหลัง เช่น ร้านกาแฟคนต้องการความคล้ายบ้านแต่พิเศษกว่าบ้าน ต้องการพื้นที่ส่วนตัวแต่ก็ยังต้องมีพื้นที่ส่วนรวมอยู่ในร้านเดียวกัน.. ..ส่วนที่ 2 ขนาดของห้องที่ชวนให้อยากอยู่ตลอดเวลา หรือจะบอกว่า แต่ละห้องของแต่ละร้านนั้นควรมีสัดส่วนแต่ละส่วนอยู่ที่เท่าไหร่ โตีะสำหรับวางคอมทำงานอาจมีความลึกแค่ 50cm และแต่ละคนอยู่ห่างกันแค่…