Mythology ทวยเทพและตำนานสัตว์ประหลาดกรีก-โรมัน

หรือจะเรียกว่าศาสตร์แห่งทวยเทยกรีกและโรมันก็ว่าได้ ถ้าถามว่าน่าสนใจตรงไหนกับเรื่องราวนิยายปรัมปราเพ้อฝันแบบนี้ ก็เพราะมันเป็นความเพ้อฝันของมนุษย์ตั้งแต่หลายพันปีก่อนนี่แหละครับ ผมเลยว่ามันน่าสนุก ผมอ่านเพื่ออยากรู้จักความคิดของผู้เป็นนักคิดสมัยนั้น ไม่ว่าจะเพลโต อริสโตเติล ไอดิสปิอุส และใครต่อใครอีกหลายคน หลายชื่อคำเรียกเท่ห์ๆของแบรนด์ดังๆที่เราคุ้นหู ก็ไม่ได้ประดิษฐ์คำเหล่านั้นใหม่มาจากไหน แต่เป็นการหยิบชื่อบรรดาเหล่าทวยเทพโบราณเหล่านี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งต่างหาก อย่างชื่อ Hermes แบรนด์กระเป๋าแฟชั่นราคาแพงระยับ ก็มาจากชื่อเทพองค์หนึ่งที่เป็นเทพด้านการค้า คนกลาง และขโมย คอนโดหรูที่ชื่อ Nyx ก็มาจากชื่อเทพราตรีองค์นึงในนี้เหมือนกัน (ความจริงต้องอ่านว่า ไนท์ นะครับ ไม่ใช่ นิกซ์ เพราะต้องอ่านตามแบบลาติน ไม่ใช่แบบอังกฤษ) ถ้าใครชอบเรื่องราวสนุกๆและน่าสนใจตลอดเล่มแบบไม่ยากและน่าเบื่อ หนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยครับ…

ประวัติศาสตร์หยาดฝน Rain: A Natural and Cultural History

ฝนเม็ดเล็ก ใครจะคิดว่าอารยธรรมที่เคยยิ่งใหญ่กลับล่มสลายเพราะขาดฝนเป็นจำนวนไม่น้อย และต่อให้ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเครื่องมือสุดไฮเทค และเทคโนโลยีอย่าง Big Data เราก็ยังเดาทางเดาใจฝนไม่ได้แม่นยำซักที ในยุค Big Data ที่เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือพรั่งพร้อม และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง สิ่งที่น่าทึ่งก็คือการพยากรณ์ฝนแบบไฮเทคจะเที่ยงตรงมากขึ้นด้วยฝีมือนักอุตุนิยมวิทยา เพราะคำพยากรณ์ที่มีนักอุตุนิยมวิทยามาช่วยอ่านค่า จะแม่นยำกว่าคำพยากรณ์จากคอมพิวเตอร์ล้วนๆถึง 25% นักอุตุนิยมวิทยาไม่ตกในงานยุค Big Data และ AI แล้วนะครับ ส่วนในอดีตในช่วงยุค 1560-1660 ช่วงที่ยุโรปนิยมล่าแม่มดกัน ก็ตรงกับช่วงที่เกิดภูมิอากาศเลวร้ายที่สุดในยุคน้ำแข็งน้อยในปัจจุบัน (ใช่ครับ เรายังคงอยู่ในยุคน้ำแข็งน้อยที่ร้อนขึ้นนิดหน่อย) ในช่วงนั้นการล่าแม่มดคือการหาแพะให้กับปัญญาฝนไม่ตกต้อง หรือฝนตกหนักเกินไปจนเกินควบคุม…

The Prince by Niccolo Machiavelli

มนุษย์เราต้องทำตัวเป็นสุนัขจิ้งจอกเพื่อจดจำกับดักได้ และต้องเป็นสิงโตเพื่อทำให้หมาป่าตกใจ..นี่คือประโยคนำจากหน้าปกโดยผู้เขียน.. ..หนังสือเล่มนี้แต่งขึ้นเมื่อกว่า 500 ปีก่อน เขียนขึ้นเพื่อให้เจ้าชายคนหนึ่งที่กำลังจะได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ปกครองนครในเวลานั้น เป็นเสมือนคู่มือการปกครองและบริหารทรัพยากรต่างๆที่มี ไม่ว่าจะกองทัพ ดินแดน พันธมิตร และประชาชนในเวลานั้น.. ..เพราะมีธรรมเนียมตั้งแต่สมัยนั้นว่าเมื่อไหร่ที่เจ้าชายองค์ใหม่กำลังจะขึ้นเป็นผู้ปกครองนคร บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ต้องนำสิ่งของมีค่าหรือหายากมาถวายหรือมอบให้ว่าที่เจ้าชายองค์ใหม่ แต่กับผู้เขียนที่เป็นเหมือนอัจฉริยะด้านการปกครองอย่าง มาเกียวิลลี นั้นไม่มีสิ่งของมีค่าอะไรมอบให้เจ้าชายนอกจากหนังสือคู่มือการปกครองเล่มนี้ หนังสือที่กลั่นกรองประสบการณ์ของตัวเองมานานจากการสังเกตุทุกแง่มุมของผู้คน ในความคิด ความอ่าน การกระทำ หรือจะเรียกว่าเป็นนักจิตวิทยามวลชนคนแรกๆของโลกก็ว่าได้.. ..มาเกียเวลลีผู้เขียนถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ยุคใหม่ จากผลงานของเค้าในยุคเรเนซองส์ ที่ยังทรงคุณค่าถึงทุกวันนี้.. ..ว่าไปยังมี The Prince อีกเล่มที่หนาๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะต่างกับเล่มนี้มากน้อยแค่ไหน…

บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์

เป็นหนังสือเรื่องเล่าจากบันทึกนักเดินทางชาวฝรั่งเศษผู้มาสำรวจเมืองสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ เมื่อกว่า 160 ปีก่อน เป็นหนังสือที่อ่านสนุกกว่าที่คิดแม้หน้าปกจะดูคร่ำครึชวนเบื่อ แต่เรื่องราวการเดินทางของเค้ากลับสนุกแปลกใหม่เปิดมุมมองที่ไม่เคยคิด และเรื่องราวของเมืองไทยและเพื่อนบ้านไกล้ตัวที่ไม่เคยรู้มากมาย.. ..อ็องรี มูโอต์ กล่าวถึงคนสยามตามมุมมองคนนอกอย่างตรงไปตรงมาว่าประมาณว่า “ชาวสยามดูเป็นคนซื่อๆ โหนกแก้มสูง แลดูเกรียจคร้านไม่ใส่ใจการงาน แค่หุงข้าวกินหนึ่งถ้วยกับเครื่องชูรสเล็กน้อยก็สามารถนอนหรือเล่นสนุกมีความสุขได้ทั้งวัน” นี่คือคนไทยในสายตาฝรั่งเมื่อกว่า 160 ปีก่อน แต่เค้าก็พูดถึงข้อดีของคนสยามสมัยนั้นว่า “แลดูเป็นคนใจดีมีน้ำใจ รักญาติมิตรพี่น้อง เวลามีปัญหาอะไรกันก็จะร่วมกันรวมหัวแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี หรืออย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบาร่วมกันให้ผ่านพ้นไปได้” พอนึกถึงปัจจุบันนี้ไม่แน่ใจว่าลักษณะนี้ในสังคมไทยยังเหลือมากน้อยแค่ไหนกัน.. ..อ็องรี มูโอต์ นักเดินทางผู้นี้โด่งดังจากการเป็นผู้เปิดเผยความงามของนครวัด นครธม…

Book Of Beer การดื่มเบียร์คือศิลปะอย่างหนึ่ง

ถ้าสนใจเรื่องเบียร์ หรืออยากรู้ว่าเบียร์ที่ดื่มอยู่บ่อยๆนั้นมีประวัติความเป็นมายังไง เบียร์แบ่งออกได้กี่ประเภท แก้วเบียร์มีกี่ชนิด(ขอบอกว่าเยอะมาก) แต่ละชนิดให้ผลต่างกันยังไง เบียร์แต่ละชนิดควรกินที่อุณหภูมิเท่าไหร่ที่จะขับรถเบียร์ออกมาได้ที่สุด และอีกสารพัดความรู้เรื่องเบียร์ที่อ่านจบได้ง่ายๆใน 160หน้านิดๆ.. งั้นขอเล่าย่อๆในช่วงต้นๆของเล่มนี้เก็บไว้ให้ตัวเองในวันหน้าที่จะกลับมาอ่านก็แล้วกัน.. เบียร์กำเนิดแถบเมโสโปเตเมียหรือแถวอิรักในปัจจุบันเมื่อราวๆหมื่นปีก่อน จากนั้นก็แพร่ขยายความนิยมไปยังอียิปต์จนเป็นที่นิยม และยกระดับการทำเบียร์เป็นอุตสาหกรรมโบราณก็ว่าได้ เบียร์กลายเป็นหนึ่งสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินตราในยุคนั้น คู่กับขนมปังและเนื้อตากแห้ง โดยกลุ่มนักบวชเป็นกลุ่มหลักที่เป็นเจ้าของเบียร์รองจากพวกราชวงศ์ เพราะอะไรล่ะ? เพราะในสมัยโบราณนั้นนักบวชเป็นผู้เก็บภาษีจากผลผลิตต่างๆ ก็เลยมีสิทธิ์เข้าถึงพืชผลที่ดีที่ใช้ทำเบียร์ได้ก่อนใคร.. แล้วนักบวชกินเบียร์ไม่บาปหรอสมัยนั้น? ไม่บาปหรอกครับกลับถือว่าได้บุญซะอีก เพราะความยากในการผลิตทำให้มันกลายเป็นของดีมีค่าไปซะอย่างนั้น.. จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชชาวบาบิโลนผู้มายึดครองอียิปต์แล้วพาวัฒนธรรมไวน์เข้ามาแทนที่ จนเบียร์กลายเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นล่างหรือสัญลักษณ์ของผู้แพ้สงครามนั้นเอง.. แต่ด้วยเสน่ห์ของเบียร์เองก็สามารถพาตัวเองไปแจ้งเกิดในยุโรปโดยชาวสเปนเป็นชาติแรก และจุดพลิกผันที่ทำให้เบียร์แจ้งเกิดก็คือชาวบาวาเรีย หรือชาติเยอรมันในปัจจุบัน จากนั้นเบียร์ก็กลายเป็นเครื่องดื่มสามัญของทุกชนชั้นไป เบียร์นั้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 อย่างคือ…

sex and the english language 1

หนังสือที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาษารัก และรักภาษาอังกฤษ ต้องบอกว่าเป็นหนังสือเก่าเล่มใหม่ของผม เพราะผมบังเอิญไปเจอเล่มนี้เข้าที่ร้านหนังสือมือสองที่ชื่อว่า Mali mali coffee and book cafe เป็นร้านที่เต็มไปด้วยหนังสือเก่า หนังสือมือสองมากมาย ผมเชื่อว่าถ้าใครเป็นคนที่รักการอ่านหรือมักจะไปล้มละลายในงานหนังสือแบบผม ถ้าได้มาร้านนี้จะต้องรู้สึกมีความสุขเป็นแน่แท้ เพราะแม้จะเต็มไปด้วยหนังสือเก่า แต่ก็อุดมไปด้วยหนังสือดีๆมากมาย ที่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มอ่านได้ไม่นานแบบผม(5ปี) คุณจะพบหนังสือดีๆที่คุณไม่คาดคิดหลายเล่มแน่ ร้าน Mali Mali Coffee อยู่ในพื้นที่บริเวณคอนโด Chapter One ครับ กลับมาที่เนื้อหาในหนังสือ จะบอกว่าตามหน้าปกก็ไม่ผิดนัก เพราะเนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยคำสัปดี้สัปดล แต่ก็เต็มไปด้วยความรู้จากคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่น่าเชื่อ…

เทคโนโยนี The Technology of Orgasm: “Hysteria,” the Vibrator and Women’s Sexual Satisfaction

เป็นหนังสือที่อ่านจบแล้วคิดอยู่นานเหมือนกันว่าเราจะเขียนสรุปเนื้อหายังไงดีนะ ให้มันดูเป็นเรื่อง “เซ็กส์” จนเกินไป เพราะก็ต้องบอกตามตรงว่าในความรู้สึกผม “คนไทย” กับเรื่อง “เซ็กส์” หรือเรื่องเพศนั้น อาจจะยังไม่ได้เสรี เปิดกว้าง หรือเท่าเทียมกันนักเมื่อเทียบกับฝรั่งตาน้ำข้าว แต่ก็ต้องบอกตามตรงว่าเมื่ออ่านจบแล้วผมกลับรู้สึก “เห็นใจ” บรรดาผู้หญิงเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมาว่า ทำไมผู้หญิงถึงได้โดนเหล่าผู้ชายกดขี่แม้กระทั่งเรื่องเพศได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ในเครื่องของ “ศาสนา” ที่สร้างความเชื่อที่ยึดถือเพศชายเป็น “ศูนย์กลาง” มาช้านาน ถ้าไม่เชื่อก็ลองนึกดูซิว่าบรรดา ศาสดา หรือ พระเจ้า ของศาสนาแทบทุกศาสนานั้นล้วนเป็นเพศชายทั้งนั้น ไม่นับบรรดาเทพเสริมที่เป็นเพศหญิงนะครับ เมื่อศาสนาบ่มเพาะความเชื่อมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหลายพันปีก่อนมาขนาดนี้ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจที่ “เพศหญิง”…

The Sushi Economy เศรษฐศาสตร์ของซูชิ

ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ก็คงไม่รู้ว่าปลาทูนาครีบน้ำเงินราคาแพง (อาคามิ, จูโทโร และ โอโทโร่) ในร้านซูชิทั้งหมดทั่วโลกนั้นเพิ่งจะมาเริ่มกินกันจริงๆก็เมื่อหลังปี 1970 เอง ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1970 นี้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินตัวใหญ่ยักษ์ทั้งหลายที่ชาวประมงส่วนใหญ่ตกได้กลายเป็นขยะที่ไม่มีใครต้องการ อย่างดีก็เอาไปป่นทำเป็นอาหารสัตว์อีกทอดนึง แทบไม่มีใครคิดจะหยิบมากิน หรือจัดใส่จานหรูๆราคาแพงในร้านซูชิอย่างทุกวันนี้ เรื่องมันเริ่มจากก่อนปี 1970 เป็นต้นมา แถบอเมริกา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมักจะเป็นเป้าหมายของนักตกปลาที่ตกเป็นกีฬาหรือเพื่อการแข่งขัน เพราะปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นทั้งตัวใหญ่ และมีพละกำลังมหาศาล แต่พอตกขึ้นมาได้นอกจากจะเอามาถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานของนักตกปลาผู้เก่งกาจ ก็อาจจะมีแค่บางคนยอมเสียเงินเพื่อสตาฟปลายักษ์นั้นเก็บไว้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเอาไปทิ้ง บ้างก็ยอมเสียเงินเพื่อทิ้งกับเทศบาล (ต่างประเทศเสียค่าทิ้งขยะ) หรือไม่ก็ยอมแล่นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อเอาปลาทูน่าไปทิ้ง ส่วนพวกเรือประมงที่มีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมาติดอวนก็มักจะหงุดหงิดเพราะทั้งหนักทั้งใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการหาปลาอื่นๆ (ปลาค็อดหรือปลากะพง)…

An Edible History of Humanity ประวัติศาสตร์กินได้

โลกสร้างอาหาร อาหารสร้างโลก, An Edible History of Humanity – Tom Standage ถ้าคุณเป็นคนชอบอ่านประวัติศาสตร์สนุกๆ คุณน่าจะชอบหนังสือเล่มนี้อีกเล่ม เพราะเล่มนี้คือคนเดียวกับที่เขียน “ประวัติศาสตร์โลกในหกแก้ว” A History of the World in 6 Glasses พูดถึงอาหารใครจะคิดว่ามันจะเบื้องหลังมากมายจนถึงขั้นกลายเป็นประวัติศาสตร์ได้อีกเล่ม จากที่เคยอ่านมาแล้ว 11 เล่มที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาหาร นี่เลยกลายเป็นเล่มที่ 12 ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านอาหารของผม นีโอลิธิก…

A Short History of Nearly Everything

ประวัติย่อของเกือบทุกสิ่งจากจักรวาลถึงเซลล์ โดย Bill Bryson จะบอกว่าหนังสือหนาย่อมๆขนาด 600 หน้าเล่มนี้ รวมประวัติตั้งแต่วินาทีแรกของจักรวาลยันถึงมิลลิวินาปัจจุบันในการทำงานภายในเซลล์เล็กๆกว้าหมื่นล้านล้านเซลล์ของเรา ฟังชื่อดูเหมือนเครียด ดูความหนากว่า 600 หน้าดูเหมือนน่าเบื่อ แต่ความจริงแล้วถ้าคุณได้ลองเปิดอ่านดูจะรู้ว่าทุกหน้าดูเป็นเรื่องสนุกและทุกเรื่องก็คือเรื่องไกล้ตัวเราทั้งหมด รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเราอย่างยิ่ง เช่น ตั้งแต่กำเนิดมนุษย์เดินดินสองขาคนแรกย้อนกลับไปเมื่อ 3.8 ล้านปีก่อน จนถึงมนุษย์เราๆทุกวันนี้ที่น่าจะมีกำเนิดมาจากคนเพียง 200-300 คนเมื่อ 200,000ปีก่อนที่อพยพย้ายออกจากแอฟริกามาเป็นบรรพบุรุษของเราทุกวันในวันนี้ ถ้างั้นจะบอกว่าเราทุกคนบนโลกต่างเป็นพี่น้องกันก็ไม่ผิดนัก เพราะลำพังในส่วนทวีปยุโรปและรัสเซียนั้นทุกคนกำเนิดมาจากผู้หญิงเพียง 7 คนด้วยซ้ำไป (ทุกวันนี้ไปไม่รู้กี่ร้อยหรือพันล้านแล้วล่ะ) และพอมองย้อนกลับไปอีกก็จะพบว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกในตอนนี้นั้นล้วนมีต้นกำเนิดร่วมกันมาเพราะ DNA หรือชุดคำสั่งโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้นกว่า…