สรุปหนังสือ Amazing Decisions หรือ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก! เล่มนี้เขียนโดย Dan Ariely ก็คือคนเดียวกับที่เขียนหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์ที่ผมชอบมากจนต้องอ่านซ้ำเป็นครั้งที่สองเมื่อไม่นานมานี้นี่แหละครับ หนังสือ Amazing Decisions เล่มนี้เปรียบได้กับหนังสือที่สรุปจากหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์หรือ Predictably Irrational อีกทีก็ว่าได้ เพราะเห็นเล่มเหมือนจะหนาแบบนี้แต่เนื้อหาข้างในอยู่ในรูปแบบการ์ตูนที่อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ยังได้ประเด็นสำคัญของเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมอย่างครบถ้วนเลยทีเดียวครับ ซึ่งหัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือการฉายภาพให้เราเข้าใจว่าโลกที่เราอยู่นั้นประกอบด้วยบรรทัดฐานสองแบบ แบบแรกคือบรรทัดฐานทางตลาด ที่ตีค่าตีราคากับทุกอย่างว่าต้องยื่นหมูไปไก่มานั่นเอง ส่วนบรรทัดฐานแบบที่สองในโลกเรานั้นเรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคม นั่นก็คือสิ่งที่ทำให้เราเกรงใจหรือยังคงทำดีต่อกันแม้จะไม่มีเงินมาล่อมีรางวัลมาให้ก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่หนังสือเล่มนี้เน้นย้ำให้เราต้องระวังคืออย่าพลาดไปใช้บรรทัดฐานทางการตลาดกับเรื่องที่เป็นบรรทัดฐานทางสังคมเลยทีเดียวครับ เช่น...
Economy
สรุปหนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มที่ 6 ในฐานะที่ผมเป็นแฟนตัวยงของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ดังนั้นจึงไม่พลาดที่จะตามหนังสืออาจารย์ทุกเล่มเท่าที่หาอ่านได้แน่นอน หนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มที่ 6 นี้ทำให้คุณได้รู้เท่าทันโลก ทันกระแส ทันเทรนด์ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ไม่ควรพลาด ในวันที่เต็มไปด้วยข่าวสารมากมายล้นหน้าจอการได้อ่านหนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มนี้สำหรับผมก็เพียงพอที่จะเห็นภาพกว้าง เข้าใจภาพรวม พอจะเห็นทิศทางการเป็นไปของโลกในวันข้างหน้า บอกตรงๆ ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นอะไรที่สรุปยากมาก เพราะลำพังเนื้อหาในเล่มก็เหมือนสรุปแต่ประเด็นสำคัญๆ...
สรุปหนังสือ โลกสามศูนย์ A World of Three Zeros ที่เขียนโดย Muhammad Yunus เล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มสำหรับคนที่เคยอ่าน สร้างโลกไร้จน ไม่ควรพลาด เพราะหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเข้าใจถึงสถานการณ์ล่าสุดของธุรกิจเพื่อสังคมหรือ Social Enterprise จากแนวคิดของ Yunus เมื่อหลายปีก่อนว่าในวันนี้เป็นอย่างไรบ้างแล้ว และเป้าหมายต่อไปของธุรกิจเพื่อสังคมคืออะไร เกี่ยวอะไรกับโลกสามศูนย์ แล้วศูนย์แต่ละตัวหมายถึงอะไร คำตอบนั้นเรียบง่ายแต่ในขณะเดียวกันก็ลึกซึ้งมากครับ First Zero ศูนย์ที่หนึ่ง...
สรุปหนังสือโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี เล่มที่ 6 ที่มีชื่อประจำเล่มว่า ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวังเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือใหม่อะไร แต่เป็นหนังสือที่ผมตามหามานานกว่า 6 ปีแล้วครับ ต้องบอกว่าชุดหนังสือโลกนี้ไม่มีอะไรฟรีนี่แหละที่ทำให้ผมคนที่เคยไม่คิดจะอ่านหนังสือได้จบเล่ม กลายเป็นหนอนหนังสือขึ้นมา เปลี่ยนจากกองหนังสือเป็นชั้นหนังสือ และทำให้ผมพัฒนาจากชั้นหนังสือจนมีห้องหนังสือของตัวเองได้ทุกวันนี้ ในช่วงที่ผมได้อ่านหนังสือของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นครั้งแรกของสำนักพิมพ์ Openbooks ที่เป็นชุด 10 เล่ม เชื่อมั้ยครับว่าหนังสือของอาจารย์ที่ผมได้อ่านในตอนนั้นทำให้ผมถึงกับวางไม่ลงเลยจริงๆ จากนั้นผมก็เลยปวารณาตัวเองเป็นแฟนตัวยงของอาจารย์วรากรณ์แกโดยไม่ได้ขออนุญาต และนั่นก็ทำให้ผมพยายามตามหาหนังสือที่อาจารย์เขียนมาอ่านเป็นอาหารสมองให้มากที่สุดครับ จากหนังสือชุด 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openbooks...
สรุปหนังสือ Animal Spirits หรือ เศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์เล่มนี้บอกให้รู้ว่า แท้จริงแล้วมนุษย์เรานั้นไม่ได้เป็นสัตว์ที่มากด้วยเหตุผลอย่างที่คิด และปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆทั้งหลายก็ล้วนแต่เกิดจากสัญชาตญาณสัตว์ของเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโลภ หรือแม้แต่การปล่อยให้ภาพลวงตาชี้นำความคิด ที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังพลาดได้ หนังสือเล่มนี้เลยเป็นหนังสือว่าด้วยวิชาความรู้ในแง่เศรษฐศาสตร์ ที่อาจจะมีศัพท์เทคนิควิชาการผสมปนเข้ามาบ้าง อาจอ่านไม่สนุกนักสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ หรือคนที่กำลังศึกษาและสนใจในเรื่องนี้ น่าจะอ่านสนุกและได้แง่คิดดีๆไปก็ไม่น้อยครับ เพราะจริงๆแล้วเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องของแค่ใครบางกลุ่มที่เป็นนักการเงิน หรือนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่เศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของคนทุกคนบนโลกที่ต้องดิ้นรนหาเงินเพื่อปากท้อง หรือถ้าพูดให้ดีขึ้นก็คือวิชาที่ว่าด้วยการเลือก การตัดสินใจ เลือกว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีไปกับอะไรที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดครับ แล้วแต่ไหนแต่ไรมาบรรดานักวิชากร หรือนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายก็ชอบคิดว่า มนุษย์เรานี้เป็นสัตว์ประเสริฐมากด้วยเหตุผล...
สรุปหนังสือ The Four หรือชื่อไทยว่า เปิดโปงด้านสีเทาของ 4 พ่อมดไอที ซึ่งทั้ง 4 บริษัทนี้ก็คือยักษ์ใหญ่ของโลกธุรกิจในวันนี้ครับ เพียงแต่คนไทยเราอาจยังไม่คุ้นกับ Amazon เท่าไหร่ เพราะบริการยังมาไม่ถึงประเทศไทย แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงพอรู้ดีว่า Amazon คือเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับ แต่กับอีก 3 บริษัทนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะต่อให้บางคนที่ไม่ได้ใช้ iPhone ก็ต้องมีความคุ้นเคยกับบริษัท Apple เป็นอย่างดีแน่ อย่างน้อยก็ต้องผ่านคนใกล้ตัวที่ใช้หนึ่งในอุปกรณ์ของ...
สรุปหนังสือ อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทำให้รู้ว่าการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนั้นไม่ได้เกิดจากนโยบายภาครัฐเท่าไหร่นัก แต่กลับเกิดจากคนธรรมดาที่ต้องหาเลี้ยงปากท้อง ต้องปากกัดตีนถีบหาทางใช้ความคิดเพื่อให้ชีวิตนั้นรอดได้ เพราะนโบายของภาครัฐจากการเฝ้าศึกษาของผู้เขียน วิริยะ สว่างโชติ ในสองประเทศอย่างญี่ปุ่นและอินโดนีเซียพบว่านโยบายของภาครัฐนั้นไม่ได้ตอบสนองกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่แท้จริง เพราะนโบายของภาครัฐเองก็ทำไปเพื่อเอื้อให้เกิดการตอบสนองต่อภาคเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ตอบสนองต่อการต้องการสร้างสรรค์ที่แท้จริงของคนสร้างสรรค์จริงๆเลย เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาจากความอิ่มตัวของเศรษฐกิจการผลิตจำนวนมาก หรือ economic of scale แต่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่คู่แข่งของเศรษฐกิจแบบระบบสายพานการผลิตจำนวนมาก เพราะสินค้าเหล่านั้นมีราคาถูก แต่สินค้าค้าสร้างสรรค์นั้นมีราคาแพงกว่ามาก สองสิ่งนี้เลยทำมาเพื่อตอบความต้องการคนละอย่างกันสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะไม่ต้องการสินค้าหรือบริการที่สร้างสรรค์ เพราะคนทั่วไปก็เบื่อสินค้าแบบแมสๆทั่วไปได้ ก็เป็นไปได้ที่คนทั่วไปเองก็อยากจะมีอะไรที่แตกต่างหรือมีความเป็น Artisan เป็นของตัวเองบ้าง และความสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่แค่การขายสินค้า...
สรุปหนังสือ Resource Revolution ธุรกิจพลิกอนาคต ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ในยุควิกฤตทรัพยากร ในยุคที่อะไรๆก็ 4.0 เรากลับใช้ทรัพยากรได้เหมือน 0.4 ยังไงยังงั้น ย้อนกลับไปยังสมัยของ Adam Smith บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้แต่งหนังสือชื่อ The Wealth of Nation หรือ ความมั่งคั่งของชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1776 อดัม สมิท...
สรุปหนังสือ ปฏิวัติบริโภค ที่เล่าประวัติศาสตร์เรื่องราวให้เรารู้ว่า ของที่เคยคิดว่าแสนจะธรรมดาในวันนี้นั้น เคยเป็นของที่หรูหราและฟุ่มเฟือยมากในอดีต อย่าง ชา กาแฟ น้ำตาล หรือเครื่องเทศทั้งหลายนั้น ในอดีตเป็นของที่ชนชั้นสูงเท่านั้นจะหาซื้อได้ แต่พอซักพักก็เริ่มทยอยหลั่งไหลเข้าสู่ชนชั้นกลาง ที่ต้องการเลียนแบบชนชั้นสูง จากนั้นก็ไหลเข้าสู่ชนชั้นล่าง เข้าถึงทุกหย่อมหญ้าจนกลายเป็นของที่แสนจะธรรมดาในที่สุด ถ้าจะบอกว่าปฏิรูปนิยมเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบชนชั้นศักดินาในสังคมล้มหายตายจากไปก็ไม่ผิดนัก เพราะแต่เดิมเราถูกสอนให้เคารพในระบบชนชั้น เกิดมาเป็นชาวนาก็ต้องเป็นชาวนา เกิดมาเป็นชนชั้นต่ำก็ต้องตายไปแบบนั้น ส่วนชนชั้นสูงเค้ามีบุญถึงได้เกิดมาแบบนั้น อย่าได้คิดไปเทียบชั้นกับเขาเลย นี่คือแนวคิดหลักของระบบชนชั้นศักดินาเดิม ที่ต้องการให้คนยอมรับชนชั้นตามกำเนิดของตัวเองโดยไม่มีปากเสียง แต่กับบริโภคนิยมนั้งต่างกัน เพราะเราสามารถเปลี่ยนชนชั้นตัวเองได้ด้วยการบริโภค ยิ่งบริโภคมากก็ยิ่งสูงชั้นขึ้นเรื่อยๆ...
สรุปหนังสือ COINED เงินเปลี่ยนโลก ชีวิตอันรุ่มรวยของเงิน และประวัติศาสตร์ของเงินตรากับมนุษยชาติ “เงิน” เรื่องไกล้ตัวที่น้อยคนนักจะรู้จัก เชื่อว่าทุกคนบนโลกนั้นต้องเกี่ยวข้องกับเงินในทุกวัน มากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันตามอัตภาพ จะเกิดก็ต้องใช้เงิน จะโตก็ต้องใช้เงิน จะแต่ง(งาน)ก็ต้องใช้เงิน แม้แต่จะตายก็ยังต้องใช้เงิน(แถมบางทียังต้องใช้เยอะกว่าตอนเกิดด้วยซ้ำ) หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ถึงความเป็นมาของเงิน ให้ความเข้าใจแน่แง่ของสิ่งที่เงินเป็น และให้ภาพในหัวว่าอนาคตของเงินจะเป็นอย่างไรต่อไป ในยุคที่ Bitcoin กำลังมาจนบางประเทศอย่างญี่ปุ่นนั้นถึงขั้นเปิดรับการจ่ายภาษี ค่าน้ำไฟ ด้วยสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่โดยพื้นฐานของเงินในทุกวันนี้คือเรื่องของ...