The Little Book of Ikigai อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่

ถ้าให้สรุปสั้นๆกับหนังสือ The Little Book of Ikigai เล่มนี้ผมก็สรุปได้ว่า การได้ทำคือรางวัลในตัวมันเอง เพราะภาพรวมของทั้งเล่มคือการบอกให้เราเข้าใจว่า แก่นของอิคิไกนั้นคือการที่บอกให้เรารู้ว่าอย่าคาดหวังรางวัลจากการกระทำนั้น เพราะนั่นคือบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งปวง เหมือนกับหลายครั้งเรามักจะได้ยินคนพูดกันว่า ทำไปทำไม? หรือ ทำไปเพื่ออะไร? บอกให้รู้ว่ามนุษย์เรานั้นถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย แต่อิคิไกคือให้เรากลายเป็นเป้าหมายของตัวเราเอง นั่นคือไม่ต้องทำไปเพื่ออะไร หรือทำไปทำไม ทำแล้วจะได้อะไรกลับมา เอาแค่ให้ได้ทำ และทำให้ดีที่สุด ทำอย่างมีความสุข แค่นี้ก็อิคิไกแล้ว นี่คือสรุปอย่างย่อที่ผมจะมอบให้หนังสือเล่มนี้ แต่สำหรับคนที่ยังพอมีเวลาอ่านสรุปกับผมต่ออีกหน่อย ไม่รีบไปไหน ผมก็มีสรุปหนังสือเล่มนี้แบบเต็มๆให้คุณได้อ่านกัน เอาเป็นแค่ต่อให้เขียนไปแล้วไม่มีใครอ่านก็ไม่เป็นไร เพราะแค่ผมได้เขียนให้ตัวเองได้อ่านอีกครั้งเมื่อ…

WHY WE POST ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล

Why We Post เล่มนี้แปลมาจากหนังสือ How the World Changed Social Media จากนักมานุษยวิทยาทั้ง 9 คนที่ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของผู้คนจริงๆทั่วโลก และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของพวกเขาทั้ง 9 ก็ไม่ได้ไปแค่วันสองวัน หรือสัปดาห์สองสัปดาห์ แต่เป็นการลงไปขลุกอยู่กับผู้คนจริงๆ ชาวบ้านจริงๆ เป็นเวลานานกว่า 15 เดือนทีเดียวครับ ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาเลยเป็นข้อมูลเชิงลึก ลึกขนาดว่าแลกโทรศัพท์กันดูเป็นประจำ ลึกถึงขั้นที่ว่าไปกินอยู่หลับนอนกับเขา ไปเข้าวัดไปงานแต่งงานของชาวบ้าน เรียกได้ว่าเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคนในสังคมนั้น ที่ต้องทำขนาดนี้ก็เพราะการที่นักมานุษยวิทยาจะได้ข้อมูลจริงๆมาก็คือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกลุ่มคนที่เขาต้องการสังเกตจริงๆครับ ถ้าให้สรุปสั้นๆผมก็สรุปได้ว่า Social…

Thailand only เรื่องแบบนี้ มีแต่ไทยๆ

Thailand only หรือ ไทยแลนด์โอลี้ ประโยคดังจากเดี่ยวไมโครโฟนของโน๊ตอุดมซักตอน ที่เป็นผู้จุดประโยคนี้ให้กลายเป็นประเด็นฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง แรกเริ่มเดิมทีความหมายของ ไทยแลนด์โอลี้ ไม่ได้หมายความในทางที่ดีซักเท่าไหร่ แต่ในเล่มนี้ก็ฉลาดเลือกหยิบคำไกล้ตัวเอามาตีความขยาย เพิ่มเรื่องราวดีๆที่เราคนไทยไม่เคยรู้ ไม่เคยคิด หรือแม้แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนให้น่าสนใจได้ เช่น สมการสีประจำวัน 7 วัน 7 สีที่เราท่องจำกันแต่เด็กที่ว่า หนึ่งวันอาทิตย์สีแดง สองวันจันทร์สีเหลือง บลาๆๆ นั้นคนไทยเอามาจากแขก(อินเดีย) แต่ละสีของแต่ละวันนั้นคือสีกายของ 7 เทพเจ้าอินเดียที่พระอิศวรสร้างขึ้น หาใช่ของไทยแท้ๆเดิมๆ ขนมไทยอย่าง ทองหยิบ ทองหยอด…

ไทยๆในโลกล้วนอนิจจัง

เป็นหนังสือที่รวบรวมความเชื่อไทยๆที่เข้าใจผิดกันมานาน แถมหลงคิดกันไปเองว่าเป็นของ “ไทย” แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ บ้างก็หยิบของเค้ามาใช้ บ้างก็ยืมของเค้ามาลอก บ้างก็เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ แล้วก็ใส่ป้ายความเป็นไทยลงไปหลอกไทยด้วยกันว่า นี่แหละคือความเป็นไทยแท้ หรือไทยเดิมๆแต่โบร่ำโบราณ ไทยๆในโลกล้วนอนิจจัง เขียนโดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ หนึ่งในนักเขียนของ the matter ที่เล่าประวัติศาสตร์ที่นอกจากจะแค่ไม่หลับเหมือนตอนเรียน สปช. (ใครทันเรียน สปช. บ้างนะ) แต่ยังสนุกเหมือนดูช่อง 9 การ์ตูนตอนเช้าวันเสาร์ยังไงยังงั้น ขอสรุปสั้นๆย่อๆในบางหัวข้อเพื่อกระตุ้นความจำตัวเองให้เก็บลงในสมองได้ลึกขึ้นแล้วกัน เริ่มด้วยเรื่องแรกของเล่มกับ..“ยิ้มสยาม” คือยิ้มให้ใคร แล้ว “สวัสดี”…

งานศพ ยุคแรกอุษาคเนย์

สรุปหนังสือ งานศพ ยุคแรกอุษาคเนย์ ที่เขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ เล่มนี้ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ในเรื่องของ “งานศพ” ที่เกิดขึ้นในบ้านเราและแถบเพื่อนบ้านเราตั้งแต่อดีตกาลจนถึงเกือบปัจจุบัน อ่านแล้วจะเห็นว่างานศพยุคก่อนนั้นต่างกับยุคนี้สิ้นเชิง บ้างก็ต้องจัดความรื่นเริ่งขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนรีบมีเพศสัมพันธ์กัน เพื่อให้รีบมีสมาชิกมาทดแทนคนเดิมที่ตายไปให้เร็วที่สุด ถ้าอ่านถึงตรงนี้แล้วยังสนใจ รู้สึกสนุกที่จะหาความสุขจากประวัติศาสตร์งานศพ เชิญอ่านสรุปหนังสือเล่มนี้ต่อได้เลยครับ งานศพ ที่ครั้งนึงเราต้องเป็นเจ้าภาพอย่างหนีไม่ได้ และอีกหลายครั้งในชีวิตที่เราต้องไปร่วมงานศพอย่างเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะคนในครอบครัว หรือคนใกล้ตัวอันเป็นที่รัก ล้วนก็ต้องมีงานศพเป็นของตัวเองครั้งหนึ่ง และครั้งเดียวในชีวิต แต่รู้มั้ยว่า งานศพ เองก็มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจและยาวนานให้เราได้เรียนรู้ หรือน่ารู้ไว้ก่อนตายเหมือนกัน เริ่มจากกว่า 5,000 ปีก่อน…

POWERISM

สรุปหนังสือ Powerism ของคุณโตมร ศุขปรีชา บทความว่าด้วยอำนาจที่ออกฤทธิ์ต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ในความคิดผมคือนี่น่าจะเป็นหนังสือที่ทรงอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยอ่านมาก็ว่าได้ ไม่ใช่ด้วยอำนาจในตัวหนังสือ บทความ หรือคนเขียนหรอกนะครับ แต่เต็มไปด้วยเรื่องราวของอำนาจมากมายตั้งแต่ยุคโบราณ ยันปัจจุบัน จนปูทางความคิดถึงอำนาจที่น่าจะเป็นในอนาคตไปอีก แต่พออ่านจบกลับไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกว่าอยากมีอำนาจมากขึ้น (ปัจจุบันผมมีแค่อำนาจกับทีวีและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆผ่านรีโมตเท่านั้นเอง) หรือรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจใดๆเพิ่มขึ้นทางความคิด แต่กลับทำให้ผมรู้สึกรู้จัก และตีความของคำว่า “อำนาจ” ใหม่ไปหลายตลบ โดยเฉพาะอำนาจที่น่ากลัวที่สุดคือ การที่เราอยู่ใต้อำนาจโดยที่เราไม่รู้ตัวและหลงคิดว่าเรานั้นมีอิสระภาพอย่างเต็มที่ นี่แหละครับที่โคตรจะน่ากลัวสำหรับผม มันทำให้ผมได้มองย้อนกลับมาดูตัวเอง แล้วก็เสมือนถอดวิญญาณออกมามองดูตัวเองเสมือนมองจากสายตาของคนอื่นว่า ในตอนนี้เราตกอยู่ภายใต้อำนาจอะไรบ้างนะ เนื้อหาในเล่มเป็นบทความที่อยู่บนเวปไซต์ the Matter ที่ใครๆก็สามารถเข้าเวปไซต์ไปอ่านได้ฟรีๆ แต่ผมก็ดันแพ้ต่ออำนาจของรูปเล่มหนังสือ…

อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์

สรุปหนังสือ อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทำให้รู้ว่าการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนั้นไม่ได้เกิดจากนโยบายภาครัฐเท่าไหร่นัก แต่กลับเกิดจากคนธรรมดาที่ต้องหาเลี้ยงปากท้อง ต้องปากกัดตีนถีบหาทางใช้ความคิดเพื่อให้ชีวิตนั้นรอดได้ เพราะนโบายของภาครัฐจากการเฝ้าศึกษาของผู้เขียน วิริยะ สว่างโชติ ในสองประเทศอย่างญี่ปุ่นและอินโดนีเซียพบว่านโยบายของภาครัฐนั้นไม่ได้ตอบสนองกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่แท้จริง เพราะนโบายของภาครัฐเองก็ทำไปเพื่อเอื้อให้เกิดการตอบสนองต่อภาคเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ตอบสนองต่อการต้องการสร้างสรรค์ที่แท้จริงของคนสร้างสรรค์จริงๆเลย เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาจากความอิ่มตัวของเศรษฐกิจการผลิตจำนวนมาก หรือ economic of scale แต่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่คู่แข่งของเศรษฐกิจแบบระบบสายพานการผลิตจำนวนมาก เพราะสินค้าเหล่านั้นมีราคาถูก แต่สินค้าค้าสร้างสรรค์นั้นมีราคาแพงกว่ามาก สองสิ่งนี้เลยทำมาเพื่อตอบความต้องการคนละอย่างกันสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะไม่ต้องการสินค้าหรือบริการที่สร้างสรรค์ เพราะคนทั่วไปก็เบื่อสินค้าแบบแมสๆทั่วไปได้ ก็เป็นไปได้ที่คนทั่วไปเองก็อยากจะมีอะไรที่แตกต่างหรือมีความเป็น Artisan เป็นของตัวเองบ้าง และความสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่แค่การขายสินค้า หรือวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแบบระบบเศรษฐกิจเดิม แต่เป็นการขายลิขสิทธิ์ การใช้สิทธิร่วม หรือการจดสิทธิบัตรทางปัญญา…

Futuration เปลี่ยนปัจจุบันทันอนาคต

หนังสือเล่มนี้สรุปภาพอนาคตจากสิ่งที่เป็นในวันนี้ บวกกับการคาดการณ์จากความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้เขียน ดร. สันติธาร เสถียรไทย ชายผู้ใช้คำว่า “อิจฉริยะ” ก็น่าจะน้อยไป แต่ขอโทษด้วยเพราะผมไม่สามารถหาคำไหนที่ดีกว่านี้ได้ในตอนนี้ ถ้าใครสนใจใคร่รู้ว่าในอนาคตอันใกล้จะเกิดอะไรขึ้น ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ และถ้าใครสนใจว่าอนาคตที่ไกลออกไปจะมีรูปร่างหน้าตาประมาณไหน ก็ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น รวมถึงจะมีอะไรบ้างที่จะดับสูญหายไปตามกาลเวลา เพราะสิ่งที่แน่นอนคือความไม่แน่นอน นี่ไม่ใช่แค่หลักธรรมของพุทธ แต่เป็นสัจธรรมของจักรวาล ขนาดดาวฤกษ์ดวงใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ยังดับสูญสลายหายไปเป็นหลุมดำได้ นับประสาอะไรกับเศษเสี้ยวฝุ่นธุลีเล็กๆเช่นมนุษย์เรา ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาบทสรุปของหนังสือเล่มนี้ ขอผมเล่าให้คุณฟังหน่อยว่า ดร. สันติธาร เสถียรไทย คนนี้เป็นใคร ทำไมเค้าถึงคาดการณ์อนาคตได้น่าสนใจขนาดนั้นครับ…

21 Lessons for the 21st Century 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21

ชีวิตในศตวรรษนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเลยนะครับ และถ้าคุณคิดว่ามันยากแล้วที่จะใช้ชีวิตในศตวรรษนี้ แต่เหมือนว่าความเป็นจริงที่น่าจะเกิดขึ้นนั้นกลับยากยิ่งกว่าจะจินตนาการไหว จนผมคิดว่าที่คิดๆกันว่า “ยาก” อยู่แล้วนั้นอาจจะกลายเป็น “ง่ายไปเลย” เมื่อเจอกับความน่าจะเป็นที่จะถาโถมเข้ามาดุจพายุทั้งหลายด้านพร้อมๆกัน หนังสือเล่มนี้บอกถึง 21 สิ่งสำคัญที่น่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษนี้ ในศตวรรษที่เราส่วนใหญ่จะมีอายุยืนกว่าคนในวันนี้มาก หรือเอาง่ายๆว่าถ้าค่าเฉลี่ยของอายุคนในวันนี้อยู่ที่ 70 กว่าปี แต่เด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไปน่าจะอายุยืนกันถึง 100 ปีเป็นเรื่องปกติ แล้วเมื่อเราอายุยืนขึ้นแต่การใช้ชีวิตกลับยิ่งยากขึ้นอย่างที่ยากจะจินตนาการได้ แต่หนังสือเล่มนี้ก็พอให้แนวทางที่น่าสนใจและก็มีความเป็นไปได้ไม่มากก็น้อยที่ให้เราได้เตรียมตัวรู้เพื่อจะรับมือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หรือถ้าไม่เกิดขึ้นก็ถือว่าโชคดีเสียด้วยซ้ำ ผมว่าหนังสือเล่มนี้ถ้าคุณได้อ่านหนังสือ “ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของ Klaus Schwab”…

วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน

ไทยแท้ไม่มีอยู่จริง นี่คือความรู้สึกหลังอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ทำให้รู้ว่าไอ้ความเป็น “ไทยแท้ๆ” ที่เราหวงกันนักหนา ไม่ว่าจะ อาหารไทย มวยไทย ลายเส้นไทย การไหว้แบบไทย สงกรานต์ไทย หรือแม้แต่ภาษาไทยแท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ของที่กำเนิดมาจาก “ไทย” เลยซักอย่าง แต่กลับเป็นของส่วนร่วม ตามชื่อหนังสือที่บอกว่า “วัฒนธรรมร่วม” นั่นเอง ไทย หรือ คนไทย นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนที่เอาเข้าจริงแล้วก็แยกแทบไม่ออก ถ้าถอดเสื้อผ้า ให้ดูแต่หน้าไม่ต้องพูดซักคำ ก็ยากที่จะแยกออกว่าหน้าแบบนี้คือไทย หน้าแบบนี้คือลาว หน้าแบบนี้คือพม่า เขมร หรือแม้แต่ทางใต้มาเลเซีย ฟิลิบปินส์…