ทำไม Netflix ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง

ถ้าให้สรุปหนังสือ ทำไม Netflix ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง แบบสั้นๆ ผมบอกได้เลยว่า เพราะเค้าเลือกแต่คนที่เก่งและหิวกระหายที่จะเก่งตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะคัดคนที่ไม่เก่งออกไปโดยไม่ลังเล แม้ว่าคนนั้นจะเคยเก่งมากเมื่อ 6 เดือนก่อนก็ตาม ผมว่าใจความสำคัญของเล่มนี้คือ “บริหารทีมงานเหมือนทีมกีฬา” คุณอาจสงสัยว่าแล้วการบริหาร “ทีมกีฬา” มันต่างจากการบริหาร “ทีมงาน” แบบเดิมอย่างไรล่ะ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราคุ้นเคยกับประโยคที่บอกว่า ทีมงานเรา “เหมือนครอบครัว” ได้ใช่มั้ยครับ นี่เป็นประโยคสุดคลาสสิกที่ไม่ว่าบริษัทไหนก็มักจะพูดกันแบบนี้ว่าเราอยู่กันเป็นครอบครัว เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง แต่ในความเป็นจริงแล้วพอถามบรรดาหัวหน้าทีม HR หรือผู้บริหารทั้งหลายว่าเคย “ไล่คนออกมั้ย?” พวกเขาทุกคนล้วนยกมือตอบว่าเคยกันทั้งนั้น…

ช้าให้ชนะ

สรุปหนังสือ ช้าให้ชนะ ยิ่งเร่งรีบเท่าไหร่ ยิ่งต้องเดินให้ช้าลงเท่านั้น เพราะในชีวิตที่มีแต่ความรีบเร่งให้บรรลุเป้าหมายหรือความต้องการในชีวิต เราต่างลืมศิลปะในการใช้ชีวิตอย่างความใส่ใจกับสิ่งดีๆรอบตัวต่างๆมากมาย จากประสบการณ์ตรงของ Kazuo Inamori อดีต CEO สายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น JAL ที่พาองค์กรรอดจากวิกฤตล้มละลายครั้งใหญ่ ให้กลับมาเติบโตอย่างเข้มแข็งอีกครั้ง คนส่วนใหญ่มองหาทางลัด แต่จากประสบการณ์ผู้มากประสบการณ์และประสบความสำเร็จอย่างผู้เขียนกลับบอกชัดเจนว่า “ไม่มีทางลัดสำหรับความสำเร็จ” แล้วอย่างนั้นทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุดล่ะ นี่คงเป็นคำถามของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน.. ผู้เขียนบอกว่าความสำเร็จได้จะมาจาก 3 ส่วนสำคัญที่ช่วยทวีคูณกัน สมการนั้นคือ ความสามารถ x ความพยายาม x ทัศนคติ =…

เป็นคนเก่งไม่ต้องรู้มากแต่ต้องรู้จริง How to Study Like A Genius

มนุษย์เรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าการเรียนรู้คือ “อะไร” และควรเรียนรู้ “อย่างไร” สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ การเข้าใจผิดว่า “การท่องจำคือการเรียนรู้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “หากผมมีเวลาแก้ไขปัญหา 20 วัน ผมจะใช้เวลา 19 วันเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจปัญหานั้น” เพื่อนที่ช่วยให้เราเรียนรู้ คือเพื่อนที่กล้าวิจารณ์เราในแง่ลบ รู้ให้รอบให้ลึกก่อนจะลงมือทำ Auguste Rodin ประติมากรชื่อดังบอกว่า ก่อนที่จะลงมือสร้างสรรค์ผลงานจริง เขาจะวาดภาพของประติมากรรมนั้นมานับไม่ถ้วน วาดเพื่อให้มือนั้นเข้าใจอย่างแท้จริงว่าจะสร้างงานชิ้นนั้นขึ้นมาได้อย่างไร เป็นการทำให้สมองคิดทำความเข้าใจงานชิ้นนั้นที่จะสร้างในหลายๆมิติ จนออกมาเป็นผลงานชิ้นเอก The Thinker…

51 วิธีคิดของลูกน้องที่หัวหน้าอยากสนับสนุน

เขียนจากประสบการณ์ตรงของพนักงานระดับล่างธรรมดาๆตัวจริงที่ไม่ได้มีเส้นสายหรือนามสกุลอะไร จนสามารถไต่เต้าเป็น CEO ของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ และยังได้เป็น CEO ของสองแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Starbucks และ The Body Shop ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย Matsuo Iwata คือชายคนที่ผมพูดถึง เค้าได้เป็น CEO บริษัทแรกด้วยวัยเลข 4 ต้นๆ ก่อนหน้านี้เค้าเคยเขียนหนังสือขายดีชื่อ “51 วิธีคิดของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากสนับสนุน” เพื่อแนะนำให้บรรดาหัวหน้าทั้งหลายรู้ว่าควรปรับตัวและรับมือกับลูกน้องหรือแม้แต่หัวหน้าที่อยู่ระดับสูงขึ้นไปอย่างไร หลังจากเขียนเล่มที่ว่าจนขายดิบขายดีที่ญี่ปุ่น และก็แปลออกไปอีกหลายภาษาทั่วโลก เค้าเลยโดนรบเร้าว่า “แล้วหนังสือของลูกน้องล่ะ ไม่มีบ้างหรือ?”…

นักอยากเขียน

โดย ศุ บุญเลี้ยง ที่ถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นนักอยากเขียนของตัวเองให้กับคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้หมายถึงแต่เด็กที่อยากเริ่มต้นอยากเป็นนักเขียนกับเค้าบ้าง ทุกวันนี้เรามีโซเชียลมีเดียเป็นกระดาษให้ใครๆก็เขียนได้เผยแพร่ได้ ผมว่าหนังสือเล่มนี้เข้ากับไลฟ์สไตล์มากพอควร รวมถึงเปิดมุมมองการที่จะเป็นนักเขียนจริงๆจังๆบางอย่าง เช่น การที่คุณจะเป็นนักเขียนที่ดีได้ คุณควรเริ่มต้นด้วยการอยากเป็น “นักอยากเขียน” ก่อน เพราะความอยากของคุณจะทำให้คุณอาจจะเป็นนักเขียนที่ดีได้ อย่าเพิ่งรีบไปมองเทคนิคการเขียนต่างๆ เพราะคนเราสมัยนี้ใจร้อน พยายามหาทางลัดเทคนิคต่างๆเพื่อจะทำมันให้ได้ เรื่องถัดมาคือการเขียนจะโตตามอายุของคนเรา คนเราเขียนได้ดีขึ้นก็ต้องผ่านเวลา ผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ เหมือนการหมักบ่มให้ได้ที่ ยิ่งนานยิ่งดี แต่ก็ยังต้องมีแพชชั่นด้วยนะ ด้วยความที่ตัวเองก็พอต้องเขียนอะไรเล็กๆน้อยๆในการเลี้ยงชีพบ้าง ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผมเลี้ยงชีพได้ดียิ่งขึ้น อ่านเมื่อปี 2016