Misbehaving เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รู้สึกว่ากระแสเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกำลังมาในบรรดาเพื่อนรอบตัว เห็นบนหน้าฟีดเฟซบุ๊คหลายคนแชร์เล่มนี้ก็เลยต้องถึงเวลาหยิบขึ้นมาอ่านซักที หลังจากซื้อดองมาแรมปีจากงานหนังสือคราวก่อน เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ต่างกับ เศรษฐศาสตร์ปกติยังไง? แนวความคิดครับ เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมหรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่าสายชิคาโกนั้นยึดหลักว่า มนุษย์นั้นช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลที่สุด ดังนั้นทุกการเลือก ทุกการกระทำ หรือทุกการตัดสินใจ ก็บอกได้เลยว่าผ่านการคิดสะระตะมาอย่างดีแล้ว ว่าสิ่งที่เลือกทำหรือตัดสินใจนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองอย่างแน่นอน เช่น การเลือกที่จะไม่กินมื้อดึกวันศุกร์เพราะคงเพิ่มความเสี่ยงให้กับปริมาณไขมันในร่างกายในระยะยาว หรือ เลือกที่จะไม่ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุดเพราะโทรศัพท์เครื่องเดิมยังใช้งานได้ แม้จะดูเก่าๆไปหน่อย แล้วก็เอาเงินไปเก็บสำหรับการเกษียรในระยะยาว นี่แหละครับ มนุษย์ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์เดิมๆที่อยู่ในความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ตลอดมา จนกระทั่งเกิดเศรษฐศาสตร์สาขาแนวทางใหม่ขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนที่เรียกกันว่า เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่มองมนุษย์ในแบบที่มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นจริงๆ แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเป็นยังไง? ต้องบอกว่าคนเราส่วนใหญ่นั้นไม่ได้คิดเยอะ ซับซ้อน หรือถึงข้อดีในระยะยาวขนาดนั้นครับ เราส่วนใหญ่ก็คนธรรมดาที่เลือกกินมื้อใหญ่ตอนดึก…

Nudge สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม

วิธีกำหนดทางเลือกอย่างแยบยลให้คนเดินไปในทางที่คุณต้องการ เขียนโดย Richard H. Thaler และ Cass R. Sunstein พูดถึงเรื่องการชี้นำทางเลือกให้ผู้คนแต่ยังให้ผู้คนมีอิสระเสรีที่จะเลือก เป็นแนวทางการปกครองแบบใหม่ที่เรียกว่า พ่อปกครองลูกแบบเสรีนิยม ฟังครั้งแรกมีงงว่ายังไงแต่พออ่านแล้วจึงเข้าใจว่าอ๋อ…ขอยกเคสตัวอย่างในหนังสือหนึ่งเคสเลยแล้วกัน ในโรงอาหารในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาว่าเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความอ้วนเกินมาตรฐานในวัยเด็ก ทางผู้จัดการโรงอาหารเลยคิดหาทางแก้ไขว่าจะทำอย่างไรดี ระหว่างที่จัดการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย ก็มีอาจารย์ท่านนึงเสนอว่าให้ตัดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทิ้งไปเลย ให้เหลือแต่ของที่ดีต่อสุขภาพ(ในความคิดของผู้ใหญ่) แต่อาจารย์ฝ่ายเสรีนิยมก็เสนอว่าทำแบบนั้นมันไม่ถูกต้องมันเผด็จการเกินไป อาจารย์ผู้เป็นผู้ดูแลโรงอาหารแห่งนี้เลยปิ๊งไอเดียบางอย่างว่า ให้เราลองทำการทดลองดูว่า ถ้าเราสลับถาดอาหารโดยให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่ลำดับต้นทั้งหมด และให้อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอยู่ในลำดับท้ายทั้งหมด เปรียบเทียบกับอีกโรงเรียนที่จัดวางอาหารแบบไม่มีลำดับหรือสุ่ม แล้วผลออกมาจะเป็นอย่างไร คุณคิดว่าผลสองโรงเรียนนี้จะต่างกันหรือไม่ กับการแค่ลำดับถาดอาหาร..ใช่ครับ ผลที่ได้ออกมาต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ…