The Happiness Manual พฤติกรรมความสุข

หนังสือ The Happiness Manual หรือ พฤติกรรมความสุขเล่มนี้บอกให้รู้ว่า แท้จริงแล้วความสุขของคนเรานั้นไม่ได้ยุ่งยาก ลำบาก หรือมีราคาแพงแต่อย่างไร และที่คุณณัฐวุฒิ เผ่าทวี พูดไปก็ไม่ได้คิดเองเออเองแบบโค้ชไลฟ์มากมาย แต่มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นการทดลองแบบวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าความสุขแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร แต่จะบอกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ก็ไม่ถูกนัก เพราะหนังสือเล่มนี้ออกไปทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จิตวิทยา และการทดลองทางด้านสังคมวิทยาควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรู้จักความสุขในแบบวิทยาศาสตร์ ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ เพราะคุณจะได้รู้ว่าความสุขหรือความทุกข์ของเรานั้นเกิดจากความคิดเปรียบเทียบของตัวเราเองเป็นหลัก เพราะมีการทดลองหนึ่งที่พบว่า คนยอมได้เงินเดือนที่มีตัวเลขน้อยลงแต่สูงกว่าคนรอบตัวทั้งหมด ดีกว่าได้เงินเดือนเยอะขึ้นแต่น้อยกว่าคนรอบตัวทั้งหมด ดังนั้น การที่บริษัทไม่ยอมบอกเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนให้ทุกคนได้รู้ถ้วนหน้า ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีสำหรับเราทุกคนแล้ว หรือปัญหาบางอย่างถ้าใช้เหตุผลก็แก้ง่ายมาก แต่พอใช้อารมณ์เป็นตัวนำในการตัดสินใจก็ทำให้ยากอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างปัญหาที่มีชื่อว่า The…

ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ

สรุปหนังสือ A Guide to Behaving Better หรือ ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่อง Behavioral Economics หรือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้เข้าใจง่าย ที่มีส่วนผสมของจิตวิทยา หรือ Psychology เข้ามาผสม ในรูปแบบทความสั้นๆไม่กี่หน้าก็อ่านจบ ดังนั้นถ้าใครกำลังมองหาซักเล่มเพื่อจะเริ่มเรียนรู้เรื่องนี้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งเล่มที่ผมกล้าแนะนำครับ และขนาดผมเองอ่านหนังสือแนวนี้มาไม่น้อย แต่ยังได้พบกับเนื้อหาใหม่ๆที่ยังไม่เคยอ่านเจอที่ไหนมาก่อนในเล่มนี้ไม่น้อยเหมือนกัน อย่างเรื่อง ทำไมข่าวเทียมถึงฆ่าไม่ตาย ปัญหา Fake News ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่คนรุ่นใหม่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่ปัญหาเรื่อง…

Animal Spirits เศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์

สรุปหนังสือ Animal Spirits หรือ เศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์เล่มนี้บอกให้รู้ว่า แท้จริงแล้วมนุษย์เรานั้นไม่ได้เป็นสัตว์ที่มากด้วยเหตุผลอย่างที่คิด และปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆทั้งหลายก็ล้วนแต่เกิดจากสัญชาตญาณสัตว์ของเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโลภ หรือแม้แต่การปล่อยให้ภาพลวงตาชี้นำความคิด ที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังพลาดได้ หนังสือเล่มนี้เลยเป็นหนังสือว่าด้วยวิชาความรู้ในแง่เศรษฐศาสตร์ ที่อาจจะมีศัพท์เทคนิควิชาการผสมปนเข้ามาบ้าง อาจอ่านไม่สนุกนักสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ หรือคนที่กำลังศึกษาและสนใจในเรื่องนี้ น่าจะอ่านสนุกและได้แง่คิดดีๆไปก็ไม่น้อยครับ เพราะจริงๆแล้วเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องของแค่ใครบางกลุ่มที่เป็นนักการเงิน หรือนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่เศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของคนทุกคนบนโลกที่ต้องดิ้นรนหาเงินเพื่อปากท้อง หรือถ้าพูดให้ดีขึ้นก็คือวิชาที่ว่าด้วยการเลือก การตัดสินใจ เลือกว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีไปกับอะไรที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดครับ แล้วแต่ไหนแต่ไรมาบรรดานักวิชากร หรือนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายก็ชอบคิดว่า มนุษย์เรานี้เป็นสัตว์ประเสริฐมากด้วยเหตุผล นักวิชาการทั้งหลายมักเชื่อว่าทุกการตัดสินใจของมนุษย์เรานั้นล้วนผ่านการคิดและตรึกตรองมานักต่อนักครับ แต่ในชีวิตจริงแล้วนั้นช่างเป็นเหมือนหนังคนละม้วน เพราะมนุษย์เราล้วนใช้อารมณ์เป็นตัวนำ และใช้เหตุผลเข้ามาสนับสนุนอารมณ์นั้นเป็นประจำครับ…

Think Like A Freak คิดพิลึกแบบนักเศรษฐศาสตร์

สรุปหนังสือที่สอนให้เราคิดไม่เหมือนชาวบ้าน เพราะชื่อก็บอกแล้วว่าคิดพิลึกแบบนักเศรษฐศาสตร์ครับ เพราะบางทีปัญหาที่เราคิดแทบหัวแตก พอเราลองคิดเล่นๆแบบแปลกๆกลับคิดออกแบบง่ายๆ ผู้เขียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Steven D. Levitt ที่เขียนร่วมกับ Stephen J. Dubner นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ชื่อดัง The Newyork Time มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์พร้อมเรื่องสนุกๆจากการคิดพิลึก หรือการคิดให้ลึกกว่าที่คนทั่วไปคิด อย่างบางช่วงที่เคยมีกระแสข่าวของโรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ แต่พอซักพักกระแสข่าวนั้นก็หายไป ถ้าคิดแบบคนทั่วไปก็อาจคิดว่า “อ้อ คนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคนี้แล้ว” แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าคิดให้พิลึกลงไปแบบนักเศรษฐศาสตร์ คุณอาจพบว่าคนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ในช่วงนั้นอาจมีแค่กลุ่มนักเขียนข่าวก็เป็นได้ แล้วพอพวกเค้าหายจากโรคนี้ก็แค่เลิกเขียนหรือพูดถึงมันไปเท่านั้นเองครับ เห็นมั้ยครับว่าถ้าคิดแบบทั่วไปก็คงไม่สามารถคิดแบบนี้ได้ ต้องคิดแบบพิลึก และคิดให้ลึกลงกว่าคนปกติแบบนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้นจริงๆครับ หรือจากข่าวฆ่าตัวตายเราอาจหลงคิดว่ากลุ่มคนที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนจนที่ลำบากลำบนกับชีวิตมากแน่ๆ…

Unthink หลอกสมองให้ไม่ต้องคิด

เป็นหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคน ที่เอาไปประยุกต์ใช้กับการตลาดและชีวิตประจำวันได้หลายเรื่อง ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จิตวิทยา หรือจิตวิทยาสังคม แล้วอยากรู้ให้ลึกขึ้นอีกระดับ ผมแนะนำเล่มนี้ เนื้อหาโดยสรุปคือ…เรามักคิดว่าเราใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา และมีสติในการเลือกหรือตัดสินใจแทบทุกเรื่องในชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เราแทบไม่ได้คิดก่อนจะเลือกเสมอไปอย่างที่เราชอบคิด แต่เราจะคิดเมื่อเลือกไปแล้ว คิดให้เหตุผลหลังเลือก ไม่ใช่เลือกอย่างมีเหตุผล จากการทดลองในเล่มที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่ขอหยิบบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจจริงๆมาสรุปให้ฟังก็แล้วกันครับ เราไม่ได้หัวใจเต้นแรงเพราะตกหลุมรักใครบางคนเสมอไป แต่บางครั้งเราตกหลุมรักใครบางคนตรงหน้าเพราะหัวใจเรากำลังเต้นแรงอยู่ จากการทดลองที่ให้ผู้ชายหญิงเดินข้ามสะพานสูงที่เชื่อมระหว่างสองผา พบว่าชายหรือหญิงที่เดินข้ามสะพานที่น่าหวาดเสียวนี้มา รู้สึกว่าตัวเองประทับใจฝ่ายตรงข้ามที่รออยู่ปลายสะพานมากกว่าผู้ทดลองอีกกลุ่ม ที่ให้เดินข้ามทางธรรมดาปกติที่ไม่ได้หวาดเสียวไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจแต่อย่างไร ผลคือชายหญิงที่เดินข้ามสะพานสูงที่น่าหวาดเสียวมีอาการทางร่างกายคล้ายกับการตกหลุมรักใครบางคนจนหัวใจเต้นแรง เลยทำให้ปิ๊งกับคนปลายทางจนมีการขอเบอร์ติดต่อกันหลังจากนั้นมากกว่ากลุ่มที่เดินข้ามทางปกติไม่หวาดเสียวกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรง ถ้ารู้แบบนี้แล้วอยากให้ใครซักคนตกหลุมรัก ให้พาไปเล่นรถไฟเหาะ หรือดูหนังสยองขวัญแทนหนังรักนะครับเดทหน้า แถมการใส่เสื้อสีแดงที่สื่อถึงความร้อนแรง ก็ยังทำให้คุณดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้เค้าทดสอบมาแล้ว…

เศรษฐศาสตร์เปลี่ยนสิ่งประหลาดให้เป็นเรื่องปกติ

ถ้าใครที่ชื่นชอบผลงานของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์หลายชุด ที่เขียนให้ชาวบ้านอ่านเข้าใจได้แม้จะไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มา(ตัวอย่างผมเป็นต้น) เช่น โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี หรือล่าสุดก็ Global Change ที่มีถึงเล่ม 5 เข้าไปแล้วกับสำนักพิมพ์ Openbooks ก็น่าจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนกับที่ผมชอบ และส่วนนึงผมก็คิดว่าหนังสือเล่มนี้ออกไปทางแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในบ้านเรา ทำให้อ่านง่าย อ่านสนุก แถมยังได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้และมองข้ามมาตลอดด้วย ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องเกริ่นเพื่อปูความเข้าใจของหนังสือเล่มนี้เยอะ ผมขอหยิบยกตัวอย่างบางเรื่องที่ผมคิดว่าน่าสนใจเอามาสรุปให้อ่านโดยประมาณนึงก็แล้วกัน รูปแบบ 3 อย่างของการตัดสินใจ....คนเรามีรูปแบบการตัดสินใจอยู่ 3 รูปแบบ 1. การใช้จุดอ้างอิง (reference-dependence) คือ…

165 เกร็ดสถิติจาก Harvard ที่จะทำให้คุณอ่านเกมขาดเรื่องธุรกิจ

Stats & Curiosities from Harvard Business Review เป็นอีกหนึ่งหนังสือที่น่าสนใจและอ่านง่ายอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะอ่านแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็จบแล้ว แต่กลับได้สถิติ ตัวเลข จากการสำรวจที่หลากหลาย จนทำให้ใครก็ตามที่กำลังหาข้อมูลสนับสนุนการทำพรีเซนเทชั่นสามารถเอาไปใช้ได้แบบน่าเชื่อถือ (ก็มาจาก Havard Business Review นิ จะมีซักกี่คนที่จะไม่เชื่อกันล่ะ) ไม่ต้องเกริ่นเยอะกว่านี้แล้ว ผมขอเอาบางสถิติในเล่มที่ผมคิดว่าน่าสนใจด้วยความแปลกใหม่และไม่น่าเชื่อเอามาเล่าสรุปสู่กันฟังแล้วกันนะครับ สถิติที่ 4 ผู้คนไม่ชอบธนบัตรเก่า และอยากใช้มันให้เร็วที่สุด คนที่ได้รับธนบัตรดอลลาร์ใบเก่ามีโอกาสจะนำธนบัตรไปใช้มากกว่าคนที่ได้รับธนบัตรใบใหม่ถึง 82% เพราะผู้คนรู้สึกขยะแขยงธนบัตรที่มีสภาพยับเยินและอยากกำจัดไปให้พ้นๆ เพราะรู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยเชื้อโรค… ดังนั้นถ้ารัฐบาลอยากให้คนออมเงินเยอะๆช่วงไหน ก็พยายามแจกจ่ายธนบัตรใบใหม่ๆสวยๆออกไปนะครับ…

The upside of irrationality เหตุผลที่ไม่ควรมีเหตุผล

โดยรวมแล้วเล่มนี้พูดถึงความไม่มีเหตุมีผลของมนุษย์เรา โดยหลักของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแล้วนั้นเชื่อว่า มนุษย์นั้นเป็นผู้มีเหตุและผลในการคิดและตัดสินใจโดยสมบูรณ์ การกระทำทุกอย่างของมนุษย์นั้นผ่านความคิดที่พึงสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ตัวเอง แหม ฟังดูยังกับเทพยังไงก็ม่รู้ แต่จากการสำรวจแล้วนั้นกลับพบว่าเป็นคนละขั้วตรงข้าม เพราะผลสำรวจออกมาว่ามนุษย์นั้นกลับหูเบาเอนเอียงใจโลเล และไร้เหตุผลจนกลายเป็นเหตุผลของมนุษย์ไปซะแล้ว เช่น จากการสำรวจพบว่ามนุษย์นั้นชอบแก้แค้นเพื่อชดใช้ความยุติธรรมให้ตัวเอง แม้กระทั่งยอมสละเลือดเนื้อ(ทรัพย์สิน)ของตัวเองเพื่อเอาคืน นี่เป็นแค่หนึ่งหัวข้อจาก 11 หัวข้อที่น่าสนใจจากทั้งเล่มนี้ ใครที่เป็นแฟนหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม หรือจิตวิทยา ขอแนะนำว่านี่เป็นอีกเล่มที่คุณควรค่าแก่การอ่านครับ อ่านเมื่อปี 2016

เจาะใจสาวนักช็อป What Women Want; The Global Market Turns Female Friendly

เขียนโดย Paco Underhill Paco Underhill เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเอนไวโรเซลล์ อิงค์ (Envirosell) บริษัทที่คอยสำรวจวิจัยนักช็อปปิ้งที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก การช็อปปิ้งเป็นหนึ่งในศาสตร์ใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นไม่นานมานี้ อาจจะกล่าวว่าเริ่มต้นพร้อมกับร้านค้าห้างร้านก็ว่าได้ การศึกษาพฤติกรรมการช็อปของนาย Paco คือการติดตาม เฝ้าดู จดสังเกตุว่า เมื่อมนุษย์เราไปใช้บริการร้านค้า หรือ ใช้บริการบริษัทต่างๆแม้แต่ธนาคาร คนเรามีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวในห้างร้านค้านั้นอย่างไร เล่มนี้เจาะลึกถึงผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงโลกของการช็อปอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมาให้พัฒนายิ่งขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นห้างเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ในอดีตห้างค้าร้านขายนั้นไม่เข้าใจถึงกลุ่มลูกค้าหลักซึ่งก็คือผู้หญิงเอาเสียเลย เพราะอะไร..เพราะบรรดาเจ้าของกิจการและผู้ดำเนินการธุรกิจทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชายทั้งสิ้น เพราะความต่างสิทธิทางเพศในสมัยก่อนที่เอื้อประโยชน์แก่เพศชายเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนไป และเปลี่ยนไปเยอะมากตั้งแต่บรรดาห้างร้านค้ารับรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเค้าไม่ใช่เพศชายอย่างที่เคยจินตนาการไว้อีกต่อไปแต่กลับเป็นผู้หญิงต่างหากที่ทำให้บริษัทมีกำไรไปจ่ายปันผลและซื้อรถสปอร์ตให้ผู้บริหารไว้ขับ ยกตัวอย่างแม้แต่ห้างอย่าง…

Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก

เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น…