สรุปหนังสือ แบรนด์ดังๆ เขาตั้งราคาสินค้ากันยังไง กลยุทธ์การตั้งราคาแบบขายถูกก็ได้กำไร หรือต่อให้ขายแพงยังไงคนก็ซื้อ บอกได้เลยว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนที่กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจ หรือคนที่ต้องดูแลเรื่องตัวเลขการเงินของธุรกิจเป็นพิเศษครับ เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือเรื่องการสร้างแบรนด์ แต่เป็นหนังสือเรื่องการตั้งราคาขึ้นมาอย่างไรให้ขายได้ ไม่ว่าจะขายถูกหรือขายแพง หรือกลยุทธ์การตั้งราคาที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ดังๆ มากมาย ตั้งแต่ห้างขายสินค้าราคาถูกประเภท EDLP (Everyday Low Price) หรือรถสุดหรู Ferrari ก็ตาม ดังนั้นถ้าคุณรู้ว่าจะตั้งราคาขายอย่างไรให้ยังคงกำไรอยู่ได้ คุณก็สามารถพาธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ครับ เพราะธุรกิจจะอยู่รอดได้ก็ได้การควบคุมรายรับและรายจ่ายให้เป็น และถ้านักธุรกิจหรือผู้บริหารคนไหนเข้าใจตรงจุดนี้ก็จะสามารถรู้ว่าจะหากำไรอย่างไรได้ไม่ยาก เพราะจริงๆ...
สำนักพิมพ์ Amarin
สรุปหนังสือ Business as Unusual เล่มนี้ถ้าให้สรุปสั้นๆ ก็คือแนวทางการสร้างแบรนด์ ในยุค 5.0 ในวันที่สินค้าหรือบริการแทบไม่เหลืออะไรให้ต่าง จนต้องใช้ความดีของการทำธุรกิจจากแต่ละแบรนด์มาเป็นเกณฑ์ใหม่ในการสร้างความต่างขึ้นมา ดังนั้นถ้าธุรกิจคุณใหญ่โตไปจนถึงขึ้นสุด แบบว่าไม่รู้ว่าจะ Growth ไปทางไหนต่อ หนังสือเล่มนี้ก็จะเป็นแสงสว่างให้คุณเห็นทางออกว่าจะโตไปต่อได้อย่างไร ขอเกริ่นก่อนเข้าสรุป หนังสือเล่มนี้ผมได้รับจากสำนักพิมพ์อัมรินทร์ในวันที่ได้ไปร่วมงานสัมมนา World Marketing Summit 2019 ที่ผ่านมา ที่มีปรมาจารย์ด้านการตลาดระดับโลกอย่าง Philip Kotler มาพูดด้วย...
อ่านแบบก่อสร้างให้เป็น เป็นหนังสืออีกเล่มที่แนะนำให้เจ้าของบ้านควรหามาอ่านติดบ้านไว้ เพราะเรื่องบ้านไม่ใช่เรื่องบ้านๆอย่างที่เคยคิดกัน บ้านหนึ่งหลัง เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย ส่วนที่มองเห็นได้ของบ้านเป็นแค่ส่วนเล็กๆของบ้านทั้งหลัง เพราะส่วนที่มองไม่เห็นของบ้านนั้นกลับเป็นส่วนประกอบมากมาย ไม่ว่าจะระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล หรือแม้แต่กระทั่งระบบเสาเข็ม บรรดา หรือหลังคาก็ตาม หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเปรียบเทียบได้น่าสนใจว่า เป็นเสมือนคู่มือเรียนรู้ภาษาบ้าน ภาษาของช่างของวิศวกร เพื่อที่ว่าวันหนึ่งที่คุณจะต้องยุ่งกับบ้าน คุณก็จะสามารถพูดภาษาเดียวกับเค้าได้ เปรียบให้ง่ายอีกนิด ก็เหมือนถ้าคุณไม่รู้ภาษาอังกฤษ แต่คุณต้องคุยกับคนอังกฤษด้วยความจำเป็น ก็คงจะลำบากไม่น้อย เพราะกว่าจะเข้าใจกันได้ก็คงมีการเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่ตรงกันมากมาย มีสองเรื่องน่าสนใจในเล่มที่ผมไม่เคยรู้ เรื่องแรกคือเรื่องสีฟ้า สีฟ้า...
Thailand only หรือ ไทยแลนด์โอลี้ ประโยคดังจากเดี่ยวไมโครโฟนของโน๊ตอุดมซักตอน ที่เป็นผู้จุดประโยคนี้ให้กลายเป็นประเด็นฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง แรกเริ่มเดิมทีความหมายของ ไทยแลนด์โอลี้ ไม่ได้หมายความในทางที่ดีซักเท่าไหร่ แต่ในเล่มนี้ก็ฉลาดเลือกหยิบคำไกล้ตัวเอามาตีความขยาย เพิ่มเรื่องราวดีๆที่เราคนไทยไม่เคยรู้ ไม่เคยคิด หรือแม้แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนให้น่าสนใจได้ เช่น สมการสีประจำวัน 7 วัน 7 สีที่เราท่องจำกันแต่เด็กที่ว่า หนึ่งวันอาทิตย์สีแดง สองวันจันทร์สีเหลือง บลาๆๆ นั้นคนไทยเอามาจากแขก(อินเดีย) แต่ละสีของแต่ละวันนั้นคือสีกายของ 7 เทพเจ้าอินเดียที่พระอิศวรสร้างขึ้น...
สรุปหนังสือ ออกกำลังใจ ทุกข์ได้ แต่ใจต้องไม่กระเทือน เล่มนี้เขียนโดย ดร.ณัชร สยามวาลา เป็นหนังสือที่เพื่อนสายธรรมะคนหนึ่งให้ผมมานานร่วมปีแล้ว ดูภายนอกเธอเป็นสาวมั่นจนอาจทำให้บางคนหมั่นใส้ได้ถ้าไม่รู้จักเธอ แถมยังเป็นสาวออฟฟิศที่ดูดีจนไม่น่าเชื่อว่าเธอจะไปปฏิบัติธรรมที่เชียงใหม่เป็นประจำ ตอนนั้นเราคุยกันว่าจะแลกหนังสือกันคนละเล่ม ผมให้หนังสือท่าน OSHO ไปหนึ่งเล่ม จำไม่ได้เหมือนกันว่าเป็นเล่มไหนใน 10 เล่มชุด Insight for a New Way of Living และเธอก็ให้หนังสือเล่มนี้กับผมมา เพราะในตอนนั้นผมคงหัวรั้นกว่าตอนนี้ ที่เชื่อว่าตัวเองไม่เชื่อในศาสนาเท่าไหร่นัก...
ถ้าให้สรุปหนังสือ ทำไม Netflix ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง แบบสั้นๆ ผมบอกได้เลยว่า เพราะเค้าเลือกแต่คนที่เก่งและหิวกระหายที่จะเก่งตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะคัดคนที่ไม่เก่งออกไปโดยไม่ลังเล แม้ว่าคนนั้นจะเคยเก่งมากเมื่อ 6 เดือนก่อนก็ตาม ผมว่าใจความสำคัญของเล่มนี้คือ “บริหารทีมงานเหมือนทีมกีฬา” คุณอาจสงสัยว่าแล้วการบริหาร “ทีมกีฬา” มันต่างจากการบริหาร “ทีมงาน” แบบเดิมอย่างไรล่ะ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราคุ้นเคยกับประโยคที่บอกว่า ทีมงานเรา “เหมือนครอบครัว” ได้ใช่มั้ยครับ นี่เป็นประโยคสุดคลาสสิกที่ไม่ว่าบริษัทไหนก็มักจะพูดกันแบบนี้ว่าเราอยู่กันเป็นครอบครัว เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง แต่ในความเป็นจริงแล้วพอถามบรรดาหัวหน้าทีม...
สรุปหนังสือ Outside In หรือ ขายอะไรก็กำไรแค่ได้ใจลูกค้า หัวใจของหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของ “ประสบการณ์ลูกค้า” ที่ทำแล้วเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจได้ในระยะยาว และทำให้ธุรกิจนั้นกลายเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งจนยากที่จะเลียนแบบได้ทันที ฟังแบบนี้อาจดูเหมือนว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้บริหาร หรือนักธุรกิจมากกว่านักการตลาด แต่ความจริงแล้วผมอยากจะบอกว่า หนังสือเล่มนี้เหมาะกับนักการตลาดและคนสายงานโฆษณามากกว่าผู้บริหาร เพราะอย่างที่รู้กันว่า “แบรนด์” นั้นคือสิ่งที่ผู้คนรู้สึก ดังนั้นประสบการณ์ที่ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับแบรนด์นั้น เพื่อจะกลายเป็นแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ในระยะยาว การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดีจนไปสู่ยอดขายหรือกำไรบริษัท มีหัวใจหลักอยู่ที่ 3 ขั้นตอน เห็นปัญหา ทำความเข้าใจ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น...
Factfulness หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจความจริงของโลกอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเค้าบอกว่าคนส่วนใหญ่แม้แต่เหล่าคนที่ฉลาดที่สุด รวยที่สุด หรืออยู่ในประเทศที่เจริญที่สุดของโลก ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ผิดไปต่อโลกมาก มากขนาดไหนหรอครับ ก็มากขนาดที่ว่าจากคำถาม 13 ข้อ ให้ควายทายยังถูกมากกว่าเลย ผมมีคำถามทั้ง 13 ข้อที่ว่าให้คุณทาย ลองดูนะครับว่าคุณจะตอบถูกกี่ข้อในประเทศทั้งหมดในโลกที่มีรายได้ทุกวันนี้ มีเด็กผู้หญิงจำนวนเท่าไหร่ที่จบการศึกษาระดับประถม 1.ในประเทศทั้งหมดในโลกที่มีรายได้น้อยทุกวันนี้ มีเด็กผู้หญิงจำนวนเท่าไหร่ที่จบการศึกษาระดับประถม A. ร้อยละ 20 B. ร้อยละ 40 C. ร้อยละ...
มนุษย์เรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าการเรียนรู้คือ “อะไร” และควรเรียนรู้ “อย่างไร” สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ การเข้าใจผิดว่า “การท่องจำคือการเรียนรู้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “หากผมมีเวลาแก้ไขปัญหา 20 วัน ผมจะใช้เวลา 19 วันเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจปัญหานั้น” เพื่อนที่ช่วยให้เราเรียนรู้ คือเพื่อนที่กล้าวิจารณ์เราในแง่ลบ รู้ให้รอบให้ลึกก่อนจะลงมือทำ Auguste Rodin ประติมากรชื่อดังบอกว่า ก่อนที่จะลงมือสร้างสรรค์ผลงานจริง เขาจะวาดภาพของประติมากรรมนั้นมานับไม่ถ้วน วาดเพื่อให้มือนั้นเข้าใจอย่างแท้จริงว่าจะสร้างงานชิ้นนั้นขึ้นมาได้อย่างไร...
เป็นหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคน ที่เอาไปประยุกต์ใช้กับการตลาดและชีวิตประจำวันได้หลายเรื่อง ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จิตวิทยา หรือจิตวิทยาสังคม แล้วอยากรู้ให้ลึกขึ้นอีกระดับ ผมแนะนำเล่มนี้ เนื้อหาโดยสรุปคือ…เรามักคิดว่าเราใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา และมีสติในการเลือกหรือตัดสินใจแทบทุกเรื่องในชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เราแทบไม่ได้คิดก่อนจะเลือกเสมอไปอย่างที่เราชอบคิด แต่เราจะคิดเมื่อเลือกไปแล้ว คิดให้เหตุผลหลังเลือก ไม่ใช่เลือกอย่างมีเหตุผล จากการทดลองในเล่มที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่ขอหยิบบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจจริงๆมาสรุปให้ฟังก็แล้วกันครับ เราไม่ได้หัวใจเต้นแรงเพราะตกหลุมรักใครบางคนเสมอไป แต่บางครั้งเราตกหลุมรักใครบางคนตรงหน้าเพราะหัวใจเรากำลังเต้นแรงอยู่ จากการทดลองที่ให้ผู้ชายหญิงเดินข้ามสะพานสูงที่เชื่อมระหว่างสองผา พบว่าชายหรือหญิงที่เดินข้ามสะพานที่น่าหวาดเสียวนี้มา รู้สึกว่าตัวเองประทับใจฝ่ายตรงข้ามที่รออยู่ปลายสะพานมากกว่าผู้ทดลองอีกกลุ่ม ที่ให้เดินข้ามทางธรรมดาปกติที่ไม่ได้หวาดเสียวไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจแต่อย่างไร ผลคือชายหญิงที่เดินข้ามสะพานสูงที่น่าหวาดเสียวมีอาการทางร่างกายคล้ายกับการตกหลุมรักใครบางคนจนหัวใจเต้นแรง เลยทำให้ปิ๊งกับคนปลายทางจนมีการขอเบอร์ติดต่อกันหลังจากนั้นมากกว่ากลุ่มที่เดินข้ามทางปกติไม่หวาดเสียวกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรง ถ้ารู้แบบนี้แล้วอยากให้ใครซักคนตกหลุมรัก ให้พาไปเล่นรถไฟเหาะ หรือดูหนังสยองขวัญแทนหนังรักนะครับเดทหน้า...