ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 26, ทางของเราต้องก้าวเอง

จุดหมายเดียวกัน แต่กลับมีหลายเส้นทางให้เดินไป ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ถ้าจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่ ก็มีหลายทางที่เราจะไปถึงได้ ตั้งแต่นั่งเครื่อง หรือขับรถ ถ้าสมัยก่อนอาจจะมีเดินเรือย้อนขึ้นไป แถมถ้าขับรถไปเส้นทางถนนที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่นั้นก็ไม่ได้มีแค่เส้นเดียว ตั้งแต่ถนนสายหลักตรงผ่านพิษณุโลก หรือจะไปทางจังหวัดตาก ยังไม่นับทางเล็กทางน้อยที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่ปลายทางของเราได้เหมือนกัน ชีวิตก็เหมือนกัน จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่กลับมีเส้นทางมากมายให้เราเลือกเดิน บางคนจุดหมายปลายทางคือความร่ำรวย ก็มีตั้งแต่เป็นผู้บริหารเงินเดือนหลายแสน หรือจะเป็นเจ้าของธุรกิจเงินหมุนเวียนหลายล้าน หรือบางคนจะเลือกทางลัดเล็กๆอย่างเล่นหวย หรือบางคนอาจจะเลือกทางลัดที่เสี่ยงหนักๆขายยาผิดกฏหมาย แต่ทุกทางนั้นล้วนมาจากการ “เลือก” ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็เพราะชีวิตก็คือการเลือก แม้กระทั่งไม่เลือกก็ยังนับว่าเป็นการเลือกที่จะไม่เลือกเหมือนกัน ดังนั้นฟาสต์ฟู้ธุรกิจเล่มที่ 26 ของคุณหนุ่มเมืองจันท์นี้ จะเต็มไปด้วยบทความถ่ายทอดเรื่องราวที่เต็มไปด้วยทางเลือก ทั้งจากชีวิตบุคคลสำคัญในบ้านเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 17, ความหวังไม่เห็นไม่ใช่ไม่มี

“ความหวังเปรียบเสมืองพระเครื่องทางใจ” คุณหนุ่มเมืองจันท์เปรียบเทียบไว้ได้น่าสนใจ สำหรับผม “ความหวัง” เป็นเหมือนการให้กำลังใจตัวเองนิดๆ หลอกตัวเองหน่อยๆ แต่เป็นการหลอกแบบ White lie คือหลอกตัวเองในแง่ดีว่าวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หรือเรื่องดีๆกำลังจะตามมา แต่พอกลับมาคิดย้อนดู “ความหวัง” ก็ไม่ใช่การหลอกตัวเองในแง่ดีเสมอไปซะทีเดียว และไม่ได้ถึงขั้น “โลกสวย” เหมือนที่ชอบแดกดันกัน แต่ความหวัง ในแง่นึงก็เหมือนความจริง อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงและหนักหนามากๆในชีวิตเรา เรามักจะคิดว่าเราคงผ่านมันไปไม่ได้ มันคงไม่หายไปไหน หรือที่แย่ที่สุดคือเราเผลอคิดไปว่านี่เรื่องร้ายนี่เป็นเรื่องถาวรของชีวิตแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเป็นคนที่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆได้ทั้งชีวิต เพราะร้ายและดีคือส่วนผสมของชีวิตที่สลับกันมาเสมอ เหมือนเมื่อมีกลางคืนที่มืดมิด ยังไงก็ต้องมีกลางวันที่เจิดจ้าตามมา ถ้ากลางคืนคือความโชคร้ายในชีวิตเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 15, คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

คำถามก็เหมือนกับเข็มทิศ ที่จะชี้บอกว่าปลายทางที่เราต้องการจะไปถึงคือตรงไหน ส่วนคำตอบก็เปรียบได้กับเส้นทาง ที่เราจะก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงปลายทางของคำถามนั้น ดังนั้นถ้าผิดตั้งแต่คำถาม คำตอบที่ได้มากต่อให้สวยงามแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เช่น MK เองเคยมีปัญหาหลังจากเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้าว่า “น้ำเดือดช้า” ถ้าใครที่มีเตาไฟฟ้าที่บ้านจะรู้ดีว่าเวลาต้มน้ำด้วยเตาไฟฟ้านั้นไม่ร้อนเร็วสะใจเหมือนเตาแก๊สเลย ทางคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เจ้าของ MK เองมีพื้นฐานมาจากวิศวกรก็เลยใช้วิธีตั้งคำถามว่า น้ำเดือดด้วยอะไร คำตอบที่ได้คืออุณหภูมิ คุณฤทธิ์ เลยตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วมีอุณหภูมิอะไรบ้าง หนึ่งคือตัวเตาส่งไปยังตัวน้ำ สองคือตัวน้ำที่เดือดแล้ว จากคำถามนี้เองเลยได้คำตอบที่ทำให้น้ำซุปเดือดเร็วง่ายๆว่า ก็ทำให้น้ำมันร้อนพร้อมเดือดซิ คำตอบง่ายมากครับ ใครจะบอกว่าขวานผ่าซากก็แล้วแต่มุมมอง แต่คำตอบนี้จริงที่สุด เพราะถ้าแก้ที่ความร้อนของเตาไม่ได้ ก็แก้ที่ความร้อนของน้ำตรงเลยง่ายกว่า…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๕, การสิ้นสุดของสิ่งหนึ่ง คือ การเริ่มต้นของสิ่งใหม่เสมอ

จากภาพหน้าปกก็พอเดาได้ว่าจากหนอนตัวอ้วนกลมที่ได้แต่กระดื๊บ กระดื๊บ ทีละนิด กำลังจะเปลี่ยนผ่านกลายเป็นผีเสื้อปีกใหญ่ที่จะโบยบินออกไปได้ไกลเกินกว่าที่ตัวหนอนจะจิตนาการได้ แต่เจ้าหนอนผีเสื้อนั้นในวันที่มันยังเป็นหนอนมันคงไม่คิดว่าชีวิตมันจะเปลี่ยนแปลงอะไรไปกว่าที่เป็นอยู่ เปรียบกับชีวิตคนเราก็เหมือนกัน เรามักจะคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคงทนถาวร แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงข้างหน้ารออยู่อีกมากมาย แม้บางเรื่องจะไม่เป็นที่ต้องการ แต่ก็เหมือนกับชีวิตที่มีทั้งสองด้านสลับกันเสมอ เหมือนคำโบราณท่านว่า “ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน” ไม่มีใครบนโลกที่จะเจอชั่วสิบสี่ทีไม่มีดีซักหนเลยหรอกครับ คุณหนุ่มเมืองจันท์ และหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้รวมเรื่องราวเรื่องเล่าจากนักธุรกิจ นักคิด นักธุรกิจของเมืองไทยมากมาย เกี่ยวกับเรื่องราวการเกิดวิกฤตทางธุรกิจต่างๆของแต่ละแบรนด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นแบรนด์ดังๆทั้งนั้น ทั้งออฟฟิศเมทที่จากจะเจ๊งกลายมาเป็นธุรกิจหมื่นล้านได้ยังไง หรือไทยแอร์เอเซียจากที่เคยถูกแขวนไว้กับเทมาเซกจนเป็นได้อย่างทุกวันนี้ หรือธุรกิจที่พักโฮสเทลเล็กๆอย่างสุเนต์ตา เปลี่ยนจากเจ๊งให้กลายเป็นเจ๋งจนโตแล้วโตอีกได้ยังไง ยังมีอีกหลายเรื่องหลายเคสที่เล่าไม่หมด เพราะเดี๋ยวคุณหนุ่มเมืองจันท์จะตามมาด่าเอาว่าสรุปจนไม่เหลือให้อ่าน แต่สิ่งสำคัญคือ “ความคิด” ของคนเหล่านี้ ที่ผ่านวิกฤตเหล่านั้นจนมีเรื่องมาเล่าให้เราฟังในวันนี้…

ชีวิตผิดได้ หนุ่มเมืองจันทร์ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๘

เล่มล่าสุดจากงานหนังสือล่าสุดที่ผ่านมา(ปลายปี2560)ของคุณ หนุ่มเมืองจันทร์ นักเขียนชายที่ทำให้ผมตกหลุมรักในสำนวนลีลาการเขียนของแกซะเหลือเกิน ในชื่อเล่มว่า “ชีวิตผิดได้” เหมือนจะ “ไม่ได้” แต่ก็มีการขีดฆ่าทับจงใจให้ดูออกว่าชีวิตจริงมันผิดได้เว้ย ถ้าจะให้สรุปก็คงสรุปได้ไม่ยากเลยว่า เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ “ผิด” และ “พลาด” จากคนเก่งทั้งดังและไม่ดังจากทั่วโลก ที่กว่าจะเก่งและดังได้อย่างทุกวันนี้ในจริงในชีวิตเค้าเต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดมากมาย และในโลกที่เราคุ้นเคยกับการ “ห้าม” การ “ผิด” ในแทบทุกเรื่องตั้งแต่เป็นเด็กเล็กจนเริ่มเข้าเรียน ตั้งแต่เลิกเรียนจนเข้าสู่วัยทำงาน เราถูกหล่อหลอมสั่งสอนเหลือเกินให้อย่าทำพลาด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำผิด โดยหารู้ไม่ว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จของคนที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดที่ยากจะมีสอนจากที่ไหน เหมือนประโยคนึงที่ผมจำเนื้อหาได้ แต่กลับจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนพูดว่า “คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือคนที่ไม่เคยลงมือทำอะไรเลย” ถ้าใครรู้ว่าใครเป็นคนพูดช่วยกระซิบบอกผมทีผมอยากตามมาเติมเครดิตให้เจ้าของครับ…

ไฟในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ Catching Fire; How Cooking Made Us Human

เรื่องราวประวัติศาสตร์ไฟของมนุษย์ พูดถึงว่าการใช้ไฟทำให้มนุษย์ต่างจากลิงเอปยังไง มนุษย์เองถูกจัดให้เป็นลิงหรือไพรเมทประเภทหนึ่ง แต่เป็นลิงที่ไม่มีขนเหมือนลิงเอปทั่วไป ผมขอสรุปย่อๆแบบนี้แล้วกัน..มนุษย์เองเริ่มแตกต่างจากลิงต้นกำเนิดเพราะรู้จักการกินอาหารสุก การกินอาหารสุกทำให้เราได้รับพลังงานมากขึ้น และดูดซึมสารอาหารได้เร็วขึ้น ทำให้เราใช้เวลาในการกินอาหารน้อยลงมาก จนไม่มีสิ่งมีชีวิตใดจะกินอาหารได้รวดเร็วเท่ามนุษย์ การที่เรากินอาหารได้เร็ว และย่อยดูดซึมได้เร็วเพราะเรากินอาหารปรุงสุก ที่ผ่านการทำความร้อน ทำให้ระบบย่อยอาหารเราเล็กลงกว่าสัตว์ชนิดเดียวกันมาก นั่นหมายความว่าพลังงานที่เราจะต้องสูญเสียไปในขั้นตอนการย่อยอาหารและพลังงาน ให้กับอวัยวะการย่อยอาหารลดน้อยลง เลยทำให้มีพล้งงานเหลือไปพัฒนาส่วนอื่นของร่างกาย นั่นก็คือสมอง สมองที่พัฒนาขึ้นจากการเริ่มกินอาหารสุกเมื่อ 1.9 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ แค่เริ่มต้นจากการใช้ไฟ เริ่มต้นจากการกินอาหารที่ปรุงสุกผ่านความร้อน ทำให้มนุษย์เรากลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกและกำลังทำลายล้างโลกในทุกวัน.. อ่านมื่อปี 2016

เบื้องหลังสัญญาเบาริ่ง และประวัติศาสตร์ภาคพิศดารของ Sir John Bowring

เรื่องราวประวัติของนักการทูตด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ที่เชื่อว่าคนไทยหลายคนคุ้นเคยกับ Sir John Bowring จากตำราเรียนวิชา สปช ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย เกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่เกี่ยวกับการค้าข้าวและเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติในสมัยรัชการที่ 4 ซึ่งหนังสือเรียนเราบอกแค่หัวข้อสรุปผิวเผิน แต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงว่ามหาอำนาจอย่างอังกฤษสนใจสยามประเทศที่ถือว่ากระจ้อยร่อยมาก ถ้าเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซียทั้งหลายไปทำไม เหตุผลนึงที่อังกฤษสนใจสยามเพราะต้องการข้าวที่สยามปลูกอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เพื่อไปใช้เลี้ยงปากท้องชาติอาณานิคมอย่างอินเดียเป็นหลัก และถือว่าสนธิสัญญาของเซอร์เบาว์ริ่งที่มีต่อประเทศไทยนั้น เป็นงานเปรียบเทียบกับประเทศจีนที่มีปัญหา ในการทำสัญญาระหว่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองตามมา ด้วยเหตุเรือเพียงลำเดียวของจีน แต่จากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งครั้งนั้นก็ทำให้คนไทยเดือดร้อนไปทั่วหัวระแหง โดยเฉพาะกับชนชั้นสูงที่ปกครองดูแลการเก็บส่วยภาษีแทนรัฐ ที่ต้องขาดรายได้จากการผูกขาดในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการจราจลในกรุงเทพจากชาวจีนตามมา หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่ม จุดเชื่อม และจุดต่อของชาติไทยในนโยบายด้านต่างประเทศกับทางชาติยุโรปในสมัยนั้น จนเป็นชาติไทยถึงวันนี้ อ่านเมื่อปี…

สร้างโลกไร้จน Creating a World Without Poverty

เป็นหนังสือที่ดีมากที่สุดเล่มนึง ต้องขอบคุณเพื่อนแบงค์มากที่ทิ้งไว้ให้อ่านในวันที่เค้าลาออก หนังสือที่เขียนโดย Muhammad Yunes นักธุรกิจเพือสังคมรางวัลโนเบลของบังคลาเทศ คนที่พยายามสู้เปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ให้กับคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคมของเค้า เป็นผู้ริเริ่ม micro finance หรือธนาคารกรามีนต้นแบบกองทุนหมู่บ้านที่โด่งดังไปทั่วโลก จนมาถึงในบ้านเรา ยูนุสค้นพบว่าคนจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายเหมือนคนรวย คนจนไม่มีทรัพย์สินไปค้ำประกันหรือมีเครดิตไปกู้แบงค์ ..แน่นอนเพราะเค้าจน ยูนุสเลยก่อตั้งธนาคารเงินกู้ขนาดเล็กเพื่อคนจนจริงๆ ทำให้คนจนสามารถมีทุนไปต่อยอดด้วยแรงงานตัวเองต่อได้ ยูนุสยังสร้างธุรกิจเพื่อสังคมอีกมากมายในประเทศของเค้า ธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุสเป็นอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้มาก ธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่แค่ CSR ในทางการตลาดที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง และพอมีกำไรไปต่อยอดคืนให้สังคม โดยไม่มีใครสะสมกำไรนั้นไว้กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลแล้วดอกผลนั้นตกลงพื้นก็กลายเป็นต้นใหม่ขึ้นมาวนเวียนแบบนั้นไปไม่จบสิ้น อยากเห็นธุรกิจเพื่อสังคมในบ้านเรา และนี่เป็นอีกสิ่งนึงในชีวิตที่เราอยากจะทำในขั้นต่อไป อ่านเมื่อปี…

ไอศกรีม ประวัติศาสตร์แสนอร่อย Cool: The Story of Ice Cream

อาหารรสชาติหวานคุณลักษณะเย็นแสนอร่อยของใครหลายคนที่ต้องเคยหลงไหลเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ที่ทำให้คุณมีความสุขทุกครั้งที่ได้ลิ้มรสชาติที่หลากหลาย ไม่ว่าจะวนิลายอดนิยม(กว่าครึ่งของไอศกรีมทั่วโลกที่ขายได้คือรสวนิลา) รสช็อคโกแลต และรสสตอว์เบอร์รี่ นี่คือ 3 รสชาติหลักของไอศกรีมทั่วโลก เรื่องราวต้นกำเนิดของไอศกรีมนั้นต่างเป็นเรื่องเล่าที่ไร้หลักฐานยืนยัน บ้างก็ว่ากันว่าเกิดจากการเผลอลืมวางครีมทิ้งไว้ตอนค่ำที่หนาวเหน็บจนเช้ามาผู้ที่ลืมกลับมาเห็นว่าครีมของตัวเองแข็งตัวจนได้ลองชิมจนเกิดเป็นไอศกรีมแรกในโลกขึ้นมา บ้างก็ว่ากันว่าเกิดจากอุบัติเหตุ(อีกแล้ว)ที่บางคนทำน้ำเชื่อมหกใส่หิมะเกิดเป็นหิมะสีสันดูน่าชิมจนได้ลองชิมแล้วก็เกิดเป็นไอศกรีมขึ้นมา แต่สิ่งนึงที่เป็นหลักฐานได้คือต้นกำเนิดของไอศกรีม..ของรสชาติหวานที่มีลักษณะเย็นเกิดขึ้นจากแถบอาหรับในช่วงสงคราม จนส่งต่อไปยังยุโรป และก็ได้รับความนิยมพลิกแพลงมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าไอศกรีมจะมีต้นกำเนิดแบบใด แต่ใจความสำคัญคือช่วงเวลาแห่งความสุขในชั่วขณะที่เราได้กินรสชาติหวานและเย็นทำให้เราลืมความทุกข์ใจไปชัวขณะมากกว่า หนึ่งในความมหัศจรรย์ของไอศกรีมที่ผมมองเห็นมันคือ Platform ของความสุข ความสุขที่สามารถเปลี่ยนรสและกลิ่นให้หลากหลายได้เป็นร้อยพันรสชาติ แต่ทั้งหมดยังอยู่ในรูปแบบอาหารหรือของหวานที่มีสองคุณลักษณะหลักคือ หวานผสมนม และ เย็นด้วยอุณหภูมิ ไม่มีความสุขใดจะเรียบง่ายและหลากหลายได้เท่านี้อีกแล้ว ปล.สารภาพตามตรงว่าอ่านจบแล้วกำลังหาเครื่องทำไอศกรีมมาลองทำเล่นกินเองที่บ้านดูจริง อ่านเมื่อปี 2016

The Anatomical Chart of Clutter ญี่ปุ่นเขาจัดบ้านกันแบบนี้ไง

เขียนโดยสถาปิกชาวญี่ปุ่นที่ผ่านการออกแบบบ้านมามากกว่า 100 หลัง มาถ่ายทอดเป็นเรื่องราวง่ายๆเต็มไปด้วยภาพประกอบทั้งเล่มไม่ว่าใครก็เข้าใจและทำตามได้ไม่ยาก.. ..การออกแบบบ้านที่ดีนั้นไม่ได้มาจากความหรูหราสวยงาม หรือเหมือนโรงแรมรีสอร์ท 5 ดาว หรือแม้แต่ภาพสวยๆจากนิตยสารบ้านและสวนซักเท่าไหร่..แต่การออกแบบบ้านที่ดีนั้นต้องออกแบบมาจากการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในบ้าน บ้านต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ปรับไลฟ์สไตล์ให้เช้ากับบ้าน.. ..เป็นหนังสือเล่มเล็กแต่ต้องใช้เวลาอ่านมากกว่าปกติ เพราะอ่านไปก็ยิ่งทำให้ต้องคิดตามหรือกลับมาสำรวจมองบ้านตัวเองเกือบเป็นระยะๆ ก็พบเจอสิ่งที่ต้องปรับปรุงในบ้านเราอยู่เรื่อยๆ.. ..แม้ปัญหาเล็กอย่างเรื่องการตากผ้าขี้ริ้วหรือผ้าเช็ดตัวก็เป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายๆ เพราะบ้านโครงการหรือคอนโดสมัยนี้ไม่ค่อยได้คิดถึงตรงนี้ไว้ ผ้าพวกนี้ต้องการแสงแดดและต้องพร้อมเข้าถึงได้ง่ายตลอดเวลา แต่กลับกลายเป็นว่าเราต้องเอาผ้าพวกนั้ไปตากแดดไกลกว่าที่ควร หรือไม่บางคนก็ยอมให้มันอับๆอย่างนั้นแหละเพื่อความสะดวก.. ..อยากจะบอกว่าถ้าไม่อยากต้องเสียเงินซื้อของมาแต่งหรือจัดบ้านเพิ่มขึ้นแบบผม(เดือนนี้เจ็บกับของที่ซื้อมาจัดบ้านจากอีเกียอีกเยอะมาก) ก็ข้ามเล่มนี้ไปซะ.. แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าอยากปรับปรุงบ้านให้ดีขึ้น สะดวกขึ้น มีพื้นที่เก็บของเพิ่มขึ้น งั้นก็แนะนำว่าไม่ควรพลาดเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวงครับ.. ..คงเหมือนคำโบราณที่ว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน” กระมังครับ The…