อารมณ์ดีกับชีวิต, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่ม 5

อ่านเล่มนี้จบทำให้คิดได้ว่าใครที่สามารถทำให้ตัวเอง “อารมณ์ดี” ได้มากกว่า และบ่อยครั้งกว่าคนอื่น ถือว่าคนนั้นเป็นคนมีบุญหนักหนา เพราะในในแต่ละวันเป็นที่รู้กันดีว่าเราอารมณ์ของเราไม่ได้ดีเหมือนหน้าตาตลอดทั้งวัน มีดี มีเสีย มีดี มีร้าย มีสุข มีเศร้า มีหัวเราะ มีโกรธ แต่ทุกอารมณ์ของเราก็ล้วนแล้วแต่มาจากมุมในการมองโลกของเราทั้งนั้น ไม่แปลกที่เราจะอารมณ์ไม่ดี เวลาที่ชีวิตมีปัญหา แต่กับคนที่น่าอิจฉาหรือเกิดมาโชคดีบางคน ที่สามารถมองปัญหาให้เป็นโอกาส และอารมณ์ดีไปกับมันได้ คนแบบนี้ซิ คือคนที่จะไปได้ไกลกว่าคนทั่วๆไปมาก อาจจะมีเพื่อนเราบางคนที่เป็นคนอารมณ์เสียกับอะไรได้ง่ายๆ แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ยังพาลทำให้อารมณ์เสียได้ทั้งวัน แม้จะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่กลับมีคุณภาพเวลาของความสุขที่ไม่เท่ากันกับคนที่สามารถมองโลกในแง่ดีได้บ่อยๆ แม้แต่กับปัญหาก็กลับมองเป็นเกมส์ปริศนาที่น่าท้าทาย…

ฝันใกล้ใกล้ ไปช้าๆ, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 4

เรามักมีฝันใหญ่ๆ ที่อยู่ไกลๆ แถมยังอยากไปถึงให้เร็วๆกันทั้งนั้น แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ เพราะส่วนตัวผมก็เคยมีฝันอะไรแบบนั้นอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากวัยเด็ก ฝันอยากเป็นนักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ที่สร้างผลงานออกมาเป็นเล่มๆเหมือนที่ผมชอบอ่าน โตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มฝันอยากเป็นนักดนตรีมือกีตาร์ชื่อดัง มีผลงานออกเทปให้สารกรี๊ดขอลายเซ็นกับเค้าบ้าง โตขึ้นมาอีกนิดก็ฝันอยากเป็นเจ้าของร้านเหล้าที่ใครๆก็อยากมาเที่ยวดื่มเต้นฟังเพลงกัน โตขึ้นมาอีกทีฝันอยากเป็นนักเล่นเกมส์ไปแข่งแร็คนาร็อคระดับประเทศที่เกาหลีใต้ พอเริ่มเข้าวัยทำงานก็ฝันอยากเป็นนักออกแบบกราฟฟิกดีไซเนอร์ที่มีผลงานให้ชื่นชมลงหนังสือ พอมาทำโฆษณาก็ฝันอยากมีชื่ออยู่ในงานรางวัลกับเค้าบ้าง ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมฝันมาเยอะมากครับ เยอะขนาดที่ว่าพออ่านเล่มนี้จบ แล้วได้ลองนึกย้อนดูก็ถึงรู้ว่าเยอะจริงๆ แถมแต่ละฝันนั้นไกลเกินจะเอื้อม แต่ก็นั่นแหละครับ เรามักถูกพร่ำบอกจากผู้ใหญ่คนรอบข้างมาตั้งแต่เด็กว่าต้องฝันให้ใหญ่ ต้องประสบความสำเร็จในชีวิตให้ได้ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 4 ของหนุ่มเมืองจันท์เล่มนี้ รวมเรื่องราวเกี่ยวกับความฝันของใครหลายคน ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจคนสำคัญในประเทศ แต่ก็มีดังๆนอกประเทศมาแซมๆบ้าง ให้เราเห็นเรื่องราวความฝันที่กลายเป็นความจริง ความฝันที่ไม่ได้แค่เอาแต่ฝันเหมือนคนส่วนใหญ่ แต่เป็นความฝันที่อาจจะใหญ่…

มองโลกง่ายง่ายสบายดี, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 3

เพราะหลายทีเราก็ตั้งโจทย์ให้ชีวิตยากไป ปัญหาเดียวกันแต่ตั้งคนละโจทย์ คำตอบก็ต่างกันแล้ว จะว่าไปการตั้งโจทย์ก็เหมือนกับการทำ strategy ปัญหาสุดคลาสสิคของการทำโฆษณาคือ…อยากให้คนรู้จักมากขึ้น หรือเพิ่ม Awareness ต้องทำไง หลายครั้งก็ตั้งโจทย์กันไปว่าต้องทำไวรัลวีดีโอ แล้วก็ไประดมเวลาพลังสมองกันหาทางทำวีดีโอให้น่าจะไวรัลที่สุด ถึงเวลาไอเดียมาก็คอมเมนท์กันตามความชอบ นั่นไม่ไวรัล นี่ไม่ไวรัล โดยที่ไม่เคยมีข้อสรุปกันเลยว่าอะไรที่ “น่าจะ” ไวรัลไม่ไวรัลเลยซักที ทั้งที่บางทีถ้าถอยออกมามองปัญหาให้กว้างขึ้นอีกนิด อาจจะเห็นอะไรที่มองข้ามไปทำให้ตั้งโจทย์ใหม่ได้ดีขึ้น โจทย์อาจไม่ใช่ awaness แต่อาจเป็นหาซื้อยากก็ได้ งั้นเลิกคิดไวรัล ไปเพิ่มช่องทางการขายหรือทำให้คนติดการซื้อผ่านออนไลน์กันเถอะ ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ทำมาแล้วครับตอนดันยอดขายให้โฟมล้างหน้ารายหนึ่งขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้นได้ 10เท่า พูดเรื่องตัวเองเยอะแล้ว กลับมาที่หนังสือหน่อยดีกว่า คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ระทมเพราะแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้…

เดาะโลกดีดีแล้วตีลังกา, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒

แม้จะเป็นหนังสือที่เก่า เพราะตีพิมพ์ครั้งแรกผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่เนื้อหาสาระ ความรู้ที่ได้จากหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้นั้นไม่เก่าเลย หนุ่มเมืองจันท์ นักเขียนที่มักจะแอบเน้นในเรื่องการ “ตั้งคำถาม” อย่างคงเส้นคงวาอยู่เสมอ ผ่านมาร่วมยี่สิบปีก็ยังคงให้ความสำคัญกับ “คำถาม” มากกว่านักเขียนคนไหนๆที่ผมเคยอ่าน แค่ตั้งคำถามก็บอกได้เลยว่าฉลาดหรือโง่ คำถามที่ดีจะพาไปสู่คำตอบที่ดี ส่วนคำถามที่ผิดยังไงก็ไม่มีทางเจอคำตอบที่ถูก แถมการตั้งคำถามเปิดกว้างยังพาไปสู่คำตอบที่หลากหลายมากกว่าอีก เช่น คำถามแรก 5+5 ได้คำตอบอะไร แน่นอนว่ามีแค่ 10 เป็นคำตอบเดียวคำตอบสุดท้าย แต่ถ้าถามใหม่ว่า อะไรที่บวกกันแล้วได้ 10 แน่นอนว่าคำตอบมีมากกว่าสิบไปจนหลักร้อยอย่างน้อยๆแน่ๆ คนเก่งๆผู้บริหารหลายคนในบ้านเราให้ความสำคัญกับการ “ตั้งคำถาม”…

ปรากฏการณ์ 4.0

หนังสือเล่มนี้ทำให้รู้ว่าจากนโยบาย Thailand 4.0 ที่เป็นกระแสในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้วตอนนี้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในบ้านเราอยู่ตรงไหน แล้วมีใครในธุรกิจไหนบ้างที่พูดได้ว่าไปถึง 4.0 แล้วในวันนี้ กับสุดท้ายแล้วอะไรบ้างที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนเพื่อที่จะทำให้ Thailand เป็น 4.0 ได้จริงๆ เขียนโดยเหล่าคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการสำรวจในมุมกว้าง และเสาะหาในมุมลึกครับ ตอนนี้เราอยู่ตรงไหน ไกล้ถึง 4.0 แล้วหรือยัง ถ้าแบ่งเป็น 1 ถึง 4 จากการสำรวจในภาพรวมตอนนี้เราเลย 2 มาหน่อยแล้วครับ อยู่ที่ราวๆ 2.5 แม้ยังไม่ไกล้ 4…

เศรษฐวิบัติ ฉบับปรับปรุง The Return of Depression Economics and The Crisis of 2008

หนังสือที่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังอย่าง Paul Krugman ที่ชำแหละเรื่องราววิกฤตการเงินกับเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger Crisis ให้คนธรรมดาที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์หรือสายการเงินก็เข้าใจได้ว่า ทั้งหมดทั้งมวลแล้วล้วนเป็นละครเรื่องเก่า พล็อตเดิม แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมตัวละครกับฉากใหม่ๆเท่านั้นเอง อยากเห็นเศรษฐกิจล่มจมทั้งประเทศหรอ ไม่ยาก แค่เราทุกคนไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมกัน แค่นั้นเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็เป็นจุลแล้ว แถมรับประกันด้วยว่าประเทศคู่ค้าที่เกี่ยวข้องก็ต้องเจ็บตามกันแน่ๆ ทำไมแค่การถอนเงินพร้อมกันของทุกคนถึงทำให้เศรษฐกิจเล่มได้ล่ะ? เพราะธนาคารของพวกคุณไม่ได้มีเงินสดไว้มากพอสำหรับให้ทุกคนได้ถอนออกไปพร้อมกันในครั้งเดียวน่ะซิครับ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่สหรัฐอเมริกาในยุค 1930 ที่ผู้คนแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารแห่งหนึ่ง จนเกิดภาวะตื่นตัวหรือควรจะเรียกว่า “ตื่นตูม” กันแห่ออกไปถอนเงินจนทำให้ธนาคารมีเงินสดไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้ธนาคารล้มตามๆกัน และเศรษฐกิจล่มจมหรือตกต่ำครั้งใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า Great Depression มาแล้ว…

การเมืองเรื่องพระพุทธรูป

เมื่อพูดถึงพระพุทธรูป รูปจำลองเคารพถึงพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาหลักที่คนส่วนใหญ่ในชาตินับถือ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้เหมือนผู้เขียนว่าเบื้องหลังของพระพุทธรูปนั้นมีการเมืองแฝงอยู่แบบที่นึกไม่ถึง หนึ่ง เพื่อความเคารพ แน่นอนว่าพระพุทธรูปอยู่ที่ไหน คนไทยส่วนใหญ่ก็จะให้ความเคารพกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะพุทธหรือไม่ใช่พุทธ แต่ถ้าเป็นคนไทยหรือไม่ใช่ไทยแต่อยู่ในไทยมานาน ก็พอจะรู้ว่าคนไทยนั้นให้ความเคารพพระพุทธรูปอย่างถึงที่สุด แต่อีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้ “คนเคารพ” ผู้ที่อัญเชิญพระพุทธรูปนั้นมาอยู่ในครอบครอง ในสมัยก่อนย้อนกลับไปถึงสมัยพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ ๑) ก็มีการไปตีเอาเมืองขึ้น แล้วก็ยึดเอาพระพุทธรูปของเมืองเหล่านั้นมาอยู่ในครอบครองที่เมืองหลวงของตัวเอง (ในสมัยนั้นคือกรุงธนบุรี แล้วค่อยมาเป็นกรุงเทพมหานคร) เป็นการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าโดยนัยว่าสิ่งสำคัญที่เป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของเมืองนั้นตกเป็นของเมืองนี้ ทั้งพระแก้วมรกตที่ได้มาจากเมืองลาว และยังมีพระบาง ที่ได้มาจากเมืองหลวงพระบาง แต่ในตอนหลังมีการนำพระบางกลับคืนไปยังเมืองเดิม เพราะเชื่อว่าถ้าพระแก้วมรกตและพระบางอยู่ด้วยกันจะทำให้แห้งแล้ง ข้าวของแพง ผู้คนอดอยาก ดังนั้นในช่วงยุคระหว่างพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่…

ฟิสิกส์หรรษา ชุด เรื่องลึกลับธรรมดา

ฟิสิกส์ที่เคยเป็นเรื่องยาก(สมัยเรียนมัธยมปลายผมตกติดศูนย์ตลอดเลยครับ) กลับกลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเรื่องราวไกล้ตัว ตั้งแต่ 1 วินาทีที่เราคุ้นเคย ในแง่ฟิสิกส์มันคือช่วงเวลา 9,192,631,770 รอบจากการแกว่งของรังสีที่แผ่ออกมาจากอะตอมซีเซียม-133 ในสถานะพื้นขณะเกิดการเปลี่ยนสถานะระหว่าง 2 ระดับพลังงานไฮเปอร์ไฟน์ ไปจนถึง 1 เมตร คืออะไร และ 1 กิโลกรัมจริงๆแล้วคืออะไร ไปจนถึงเรื่องสุดหลุดจินตนาการอย่าง เราสามารถสร้างปืนใหญ่ที่ยิ่งได้แรงพอจนลูกปืนนั้นสามารถวนรอบโลกกลับมาที่จุดที่ยิงมันออกไปได้มั้ย และเจ้าของคำถามหลุดจินตนาการจนฟังดูเพ้อเจ้อนี้ก็คือ เซอร์ ไอแซก นิวตัน อัจฉริยะที่เราทุกคนคุ้นกันดีนี่เอง ถ้าถามว่าคนทำงานโฆษณาการตลาดอย่างผมอ่านหนังสืออย่างนี้ไปจะเอาไปใช้อะไรได้ พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์เคยกล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เหมือนการตีหินให้เกิดประกายไฟ…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 26, ทางของเราต้องก้าวเอง

จุดหมายเดียวกัน แต่กลับมีหลายเส้นทางให้เดินไป ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ถ้าจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่ ก็มีหลายทางที่เราจะไปถึงได้ ตั้งแต่นั่งเครื่อง หรือขับรถ ถ้าสมัยก่อนอาจจะมีเดินเรือย้อนขึ้นไป แถมถ้าขับรถไปเส้นทางถนนที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่นั้นก็ไม่ได้มีแค่เส้นเดียว ตั้งแต่ถนนสายหลักตรงผ่านพิษณุโลก หรือจะไปทางจังหวัดตาก ยังไม่นับทางเล็กทางน้อยที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่ปลายทางของเราได้เหมือนกัน ชีวิตก็เหมือนกัน จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่กลับมีเส้นทางมากมายให้เราเลือกเดิน บางคนจุดหมายปลายทางคือความร่ำรวย ก็มีตั้งแต่เป็นผู้บริหารเงินเดือนหลายแสน หรือจะเป็นเจ้าของธุรกิจเงินหมุนเวียนหลายล้าน หรือบางคนจะเลือกทางลัดเล็กๆอย่างเล่นหวย หรือบางคนอาจจะเลือกทางลัดที่เสี่ยงหนักๆขายยาผิดกฏหมาย แต่ทุกทางนั้นล้วนมาจากการ “เลือก” ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็เพราะชีวิตก็คือการเลือก แม้กระทั่งไม่เลือกก็ยังนับว่าเป็นการเลือกที่จะไม่เลือกเหมือนกัน ดังนั้นฟาสต์ฟู้ธุรกิจเล่มที่ 26 ของคุณหนุ่มเมืองจันท์นี้ จะเต็มไปด้วยบทความถ่ายทอดเรื่องราวที่เต็มไปด้วยทางเลือก ทั้งจากชีวิตบุคคลสำคัญในบ้านเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 17, ความหวังไม่เห็นไม่ใช่ไม่มี

“ความหวังเปรียบเสมืองพระเครื่องทางใจ” คุณหนุ่มเมืองจันท์เปรียบเทียบไว้ได้น่าสนใจ สำหรับผม “ความหวัง” เป็นเหมือนการให้กำลังใจตัวเองนิดๆ หลอกตัวเองหน่อยๆ แต่เป็นการหลอกแบบ White lie คือหลอกตัวเองในแง่ดีว่าวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หรือเรื่องดีๆกำลังจะตามมา แต่พอกลับมาคิดย้อนดู “ความหวัง” ก็ไม่ใช่การหลอกตัวเองในแง่ดีเสมอไปซะทีเดียว และไม่ได้ถึงขั้น “โลกสวย” เหมือนที่ชอบแดกดันกัน แต่ความหวัง ในแง่นึงก็เหมือนความจริง อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงและหนักหนามากๆในชีวิตเรา เรามักจะคิดว่าเราคงผ่านมันไปไม่ได้ มันคงไม่หายไปไหน หรือที่แย่ที่สุดคือเราเผลอคิดไปว่านี่เรื่องร้ายนี่เป็นเรื่องถาวรของชีวิตแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเป็นคนที่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆได้ทั้งชีวิต เพราะร้ายและดีคือส่วนผสมของชีวิตที่สลับกันมาเสมอ เหมือนเมื่อมีกลางคืนที่มืดมิด ยังไงก็ต้องมีกลางวันที่เจิดจ้าตามมา ถ้ากลางคืนคือความโชคร้ายในชีวิตเรา…