สำนักพิมพ์ ชัชพลบุ๊คส์

500 ล้านปีของความรัก เล่ม 2

สรุปหนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 2 ว่าด้วยเรื่องของวิทยาศาสตร์ของอารมณ์ความรักและความเกลียดชัง ถ้าใครเคยอ่าน 500 ล้านปีของความรักเล่มแรกแล้วจะรู้ว่ามันสนุกมาก มากจนไม่น่าเชื่อว่าหนังสือเล่มที่ดูใหญ่ๆ หนาๆ จะอ่านจบได้เร็วมากกว่าที่คิดไว้ตอนจะหยิบอ่าน เล่มที่สองนี้ก็เหมือนภาคต่อของเล่มแรก แต่ถ้าใครยังไม่เคยอ่านเล่มแรกผมก็คิดว่าคุณสามารถเริ่มอ่านจากเล่มสองแล้วค่อยย้อนกลับไปอ่านเล่มแรกตอนที่อ่านเล่มนี้จบก็ได้ครับ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเข้าใจประวัติศาสต์ที่มาที่ไปของมนุษย์ ที่สามารถหาคำมาอธิบายได้ว่าทำไมมนุษย์เราถึงชอบนินทา ทำไมมนุษย์เราถึงชอบดูกีฬา หรือแม้กระทั่งทำไมมนุษย์เราบางคนถึงเจ้าชู้ได้มากกว่าปกติ หรือแม้แต่เรื่องที่ดูเป็นเหตุและผลอย่างศีลธรรมในมนุษย์เรานั้นแท้จริงแล้วก็เป็นเรื่องของพันธุกรรมที่ไม่ต้องมีใครมาสอนว่าอะไรถูกหรือผิด แต่มนุษย์เราก็สามารถเข้าใจถูกหรือผิดได้เองตั้งแต่ยังเป็นทารกครับ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเหมือนเป็นคู่มือในการเข้าใจตัวเรา จิตใจเรา ความคิดและการตัดสินใจของเรา ว่าทำไมเราถึงทำแบบนี้ ทำไมเขาถึงทำแบบนั้น ดังนั้นถ้าคุณอ่านหนังสือ 500 ล้านปีของความรักทั้งสองเล่มจบผมว่าคุณจะเป็นมนุษย์ผู้เข้าใจมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์ทั่วไปเลยล่ะครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอเริ่มการสรุปหนังสือ 500…

500 ล้านปีของความรัก เล่ม 1

สรุปหนังสือ 500 ล้านปีของความรัก เล่มนี้ บอกให้รู้ว่าพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์เรา รวมถึงสัตว์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นมาอย่างมีเหตุและผลอย่างที่สุด แม้ว่าจะในเรื่องไร้สาระอย่างที่สุดของมนุษย์ว่าทำไมผู้ชายแค่มองหน้ากันต้องมีเรื่องนั้นล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลทั้งสิ้น แต่ที่วันนี้มันช่างดูไม่สมเหตุสมผลเลยก็เพราะสังคมเรามีวิวัฒนาการไปเร็วกว่าที่พันธุกรรมทางลักษณะนิสัยและสมองของเราจะพัฒนาตามได้ทัน เพราะเมื่อไม่กี่หมื่นหรือแสนปีก่อนเรายังเป็นแค่มนุษย์เร่ร่อนอยู่เป็นเผ่าเล็กๆ แต่มาวันนี้เรากลับใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน ทำให้หลายสิ่งในตัวเรารวมถึงนิสัยและอารมณ์นั้นช่างไม่มีเหตุมีผลเอาเสียเลย หนังสือเล่มนี้ของ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา เป็นหนังสือที่เล่าประวัติศาสตร์น่าทึ่งย้อนหลังได้ไกลถึง 500,000,000 ปี ด้วยการสังเกตความไม่สมเหตุสมผลของพฤติกรรมเราทุกคนในวันนี้นี่แหละครับ หนังสือ 500 ล้านปีของความรักเล่มนี้ทำให้ผมต้องทึ่งมาก เพราะจากที่เคยเชื่อว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว นั้นไม่จริงเสมอไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว กายก็เป็นนายสั่งจิต ได้เหมือนกัน ทีแรกผมก็ไม่เชื่อจนได้อ่านเรื่องการทดลองในหนังสือเล่มนี้ที่บอกว่า เมื่อลองแบ่งคนออกเป็นกลุ่ม…

เรื่องเล่าจากร่างกาย

สรุปหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ผมดองไว้นานมาก มากจนไม่คิดว่าจะได้หยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้ง ด้วยเล่มที่ดูใหญ่โตกว่าปกติ แถมความหนาก็ไม่น้อย ทำให้แอบกลัวๆว่า “อย่างเราอ่านแล้วจะเข้าใจมั้ยนะ?” แต่ต้องบอกว่าที่ผมเปลี่ยนความคิดนี้ไปเพราะเล่มก่อนหน้าที่ผมอ่านคือ สงครามที่ไม่มีวันชนะ ของผู้เขียนคนเดียวกัน โดย นพ. ชัชพล เกียรติขจรธาดา ที่น่าจะเขียนหนังสือขายดีจนเปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองได้ ขอคาราวะตรงนี้เลยครับ ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าคุณหมอท่านนี้สามารถเขียนหนังสือเล่าเรื่องได้อย่างสนุกมาก มากจนคิดว่าถ้าคุณหมอมาเป็นครีเอทีฟโฆษณาคงสามารถสร้างผลงานที่เป็นที่จดจำได้มากมายแน่ๆ เพราะสามารถเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นง่าย และก็ทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ทำให้เรื่องอย่างร่างกายของเราที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด อยู่กับผมมาตั้งสามสิบกว่าปี กลายเป็นเรื่องใหม่ที่มีอะไรให้น่าเรียนรู้และอ่านตามจนไม่อยากให้จบเลยทีเดียว ผมว่าหนังสือเรื่องนี้เหมือนหนังสือประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตและมนุษยชาติ ที่ไม่ต้องออกไปขุดหินดำน้ำเพื่อสำรวจหาซากประวัติศาสตร์จากไหน แค่สำรวจร่างกายของเราให้ดี แล้วเราจะพบว่ามันเต็มไปด้วยเรื่องมหัศจรรย์พันลึกกว่าที่คิดและจินตนาการได้เลยครับ เพราะคุณรู้มั้ยว่ามนุษย์โลกเราทุกคนในวันนี้นั้นต่างมีบรรพบุรุษร่วมกันทั้หมด…

สงครามที่ไม่มีวันชนะ ประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างมนุษย์และเชื้อโรค

สรุปหนังสือ สงครามที่ไม่มีวันชนะ ของ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา เล่มนี้ น่าจะนิยามให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์อ่านสนุกอีกเล่ม เพราะนี่คือหนังสือประวัติศาสตร์ของการแพทย์ และเชื้อโรค ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเราทุกคนบนโลกครับ หนังสือเล่มนี้ค่อยๆไล่เรื่องราวของการแพทย์ที่พยายามต่อสู้กับเชื้อโรค หรือความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษยชาติมายาวนานมาก ตั้งแต่สมัยโบราณที่เจ็บป่วยที่ก็ต้องเข้าวัดวิหารไปนอนฝัน แล้วเอาฝันนั้นมาเล่าให้นักบวชฟัง จากนั้นนักบวชก็จะตีความให้ว่าเราป่วยเพราะไปขัดใจเทพเจ้าองค์ไหน จากนั้นก็ไปแก้บนให้เรียบร้อยซะแล้วจะหายป่วย แต่ถ้าไปแก้บนตามคำแนะนำแล้วไม่หาย ก็ถือซะว่าเทพเจ้าท่านโกรธแค้นอาฆาตมาก ก็จบกันไปง่ายๆเท่านี้แหละครับ การแพทย์ในยุคโบราณนั้นไม่ได้มองว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเกิดจากความผิดปกติภายใน แต่เชื่อกันว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก เพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สมบูรณ์แข็งแรงต้องเป็นปัจจัยภายนอกแน่ๆที่มาทำร้ายเราโดยไม่รู้ตัว จนมาถึง Hippocrates (ฮิปโปคราตีส) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาการแพทย์แผนตะวันตก เพราะ Hippocrates ผู้นี้เป็นผู้…

ทำไมเราเลี้ยง Pig แต่กิน Pork และ ทำไมแฮมเบอร์เกอร์จึงไม่มีแฮม

สรุปหนังสือ ทำไมเราเลี้ยง Pig แต่กิน Pork และ ทำไมแฮมเบอร์เกอร์จึงไม่มีแฮม โดยทั้งสองเล่มเหมือนหนังสือภาคต่อที่ควรอ่านต่อกันเพื่อไม่ให้ขาดอรรถรส เพราะเป็นหนังสือที่ได้ทั้งสาระ เกร็ดความรู้ ความสนุกกับประวัติศาสตร์กว่า 6,000 ปีของ “คำ” ใกล้ตัวที่คล้ายกันอย่างไกล้เคียงโดยที่สองภาษานี้ไม่ได้อยู่ไกล้กันเลยแม้แต่น้อย เช่น เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมคำว่า “ไฟ” ในภาษาไทย ถึงไปคล้ายกับคำว่า “Fire” ในภาษาอังกฤษซะเหลือเกิน จะบอกว่าเราเอามาจากเค้า หรือเค้าเอาไปจากเรากันแน่นะ เรื่องเล็กๆที่ใครๆก็มองข้ามกลับจุดประเด็นความสังสัยใหญ่หลวงให้กับ William Jones William Jones ผู้นี้แหละที่เป็นคนช่างสงสัยว่าทำไมคำหลายคำที่ออกเสียงคล้ายกันทั้งที่อยู่กันคนละทวีป…