สรุปหนังวือ Stage Not Age เพราะช่วงชีวิตลูกค้า สำคัญกว่าอายุ เขียนโดน Susan Wilner Golden หนังสือที่จะทำให้เราเข้าใจ Consumer รูปแบบใหม่ ที่จะไม่ได้ใช้ช่วงอายุในการแบ่ง Generation หรือ Segment อีกต่อไป เพราะโลกเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้นทุกวัน เราอายุเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ แถมแม้เราจะอายุเยอะขึ้นก็ใช่ว่าจะแก่ตัวตามเหมือนยุคสมัยก่อนหน้า ดังนั้นนี่จึงเป็นหนังสือการตลาดและธุรกิจที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่านกัน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกยุคผู้สูงวัย แต่ร่างกายกระฉับกระเฉงไม่แพ้คนหนุ่มสาว
สิ่งหนึ่งที่ผมชอบจากหนังสือ Stage Not Age มากๆ คือ อายุยืน กับ แก่ชรา เป็นคนละเรื่องกัน
อายุยืน กับ แก่ชรา เป็นคนละเรื่องกัน
อายุยืนคือการที่เราอยู่ได้นานขึ้น จากเดิมคือประมาณหกสิบกว่าปี มาวันนี้อายุขัยเฉลี่ยเราขยับขึ้นไปถึงเจ็ดสิบปลายและก็ยาวไปถึงแปดสิบปีแล้ว
อีกไม่นานนับจากนี้เราจะมีอายุถึงเก้าสิบได้สบายๆ และในอนาคตอันใกล้อายุขับเฉลี่ยของมนุษย์เราจะยาวขึ้นไปถึงร้อยปีเป็นเรื่องปกติ
ถ้าถามว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อเราทุกคนอย่างไร อย่างไรคือนิยามการเกษียณที่เปลี่ยนไป จากเดิมจะมาเกษียณตอนหกสิบนั้นไม่ได้ เพราะเรายังเหลือเวลาอีกมากที่ต้องใช้อยู่บนโลกใบนี้
และอายุที่มากขึ้นก็หมายถึงเรามีเงินใช้มากขึ้นตามไปด้วย นั่นหมายความว่าเราส่วนใหญ่ยังคงต้องทำงานกันต่อไป เพราะเงินที่เก็บไว้ว่าจะเกษียณตอนหกสิบปีนั้นไม่พออีกต่อไป ยังไม่นับว่าจะมีสักกี่คนที่มีเงินเก็บมากพอจะเกษียณตอนอายุ 60 ในวันนี้ได้แล้วจริงๆ
ทีนี้พอพูดถึงคำว่า อายุยืน กับ แก่ชรา นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ก็เพราะการแก่ชราหมายถึงการถดถอยของร่างกาย ที่เราไม่สามรถเดินเหินไปไหนมาไหนได้ตามใจ ทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นหรือเครื่องไม้เครื่องมือมากไป มันคือเรื่องทางชีวภาพล้วนๆ
ดังนั้นอีกหน่อยเราจะมีคนอายุ 80 ที่ยังสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ดั่งใจ สามารถออกไปทำงานใช้ความคิดหัวสมองที่มากประสบการณ์ได้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะมีคนอายุ 80 ที่ต้องอยู่บ้านติดเตียงไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ หรือแม้แต่ช่วยตัวเองในเรื่องพื้นฐานของชีวิตประจำวันได้ นั่นแหละครับคือความต่างระหว่างการมีอายุยืนแต่สุขภาพแข็งแรงดี กับการมีอายุมากแต่ร่างกายแก่ชราเหลือเกิน
รู้แบบนี้แล้วรีบดูแลสุขภาพให้ดีแต่เนิ่นๆ อย่ารอให้สายไปค่อยคิดได้ อายุเข้าเลขสามก็ต้องเริ่มใส่ใจการกินอยู่ได้แล้ว เพราะความแตกต่างสำคัญของชีวิตเราหลังจากนี้ไปคือ ช่วงอายุ 20 ปีสุดท้ายของชีวิต เราจะมีชีวิตแบบไหนขึ้นอยู่กับสุขภาพและเงินทองของเราจริงๆ
ถ้าเราสุขภาพดี เราก็จะยังคงใช้ชีวิตได้อย่างต้องการ แต่ถ้าเราสุขภาพไม่ดี เราก็จะต้องนั่งอยู่บนเตียงดูคนอื่นใช้ชีวิตเท่านั้น
The Power of Silver Age ตลาดผู้สูงอายุจะมีมูลค่ามากถึง 28.2 ล้านล้านดอลลาร์
ในปี 2050 มูลค่าจองตลาดผู้สูงวัยจะสูงถึง 28.2 ล้านล้านดอลลาร์ แม้แต่ในช่วงปี 2018 เองก็ยังมีมูลค่ามากถึง 8.3 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นรับประกันได้เลยว่าเราจะเจอสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ทำมาเพื่อกลุ่มคนสูงวัย ไปจนถึงแบรนด์เพื่อคนสูงวัยที่ยังสามารถใช้ชีวิตได้เสมือนผู้ใหญ่ทั่วไปที่ยังมีสุขภาพร่างกายที่ดี
และความน่าสนใจคือในตลาดผู้สูงอายุจะมีความหลากหลายมากกว่าที่คิด จะมาใช้ภาพ Stereotype ภาพจำแบบเดิมๆ ว่าคนแก่ก็คือคนแก่เหมือนๆ กัน แต่อย่างที่บอกครับว่าระหว่างคนอายุ 75 ที่สุขภาพดี กับคนอายุ 75 เหมือนกันแต่สุขภาพแย่ สองคนนี้ก็ต้องการสินค้าและบริการไปจนถึงแบรนด์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
มันคือยุคของการ Personalization และ Fragmented Marketing อย่างแท้จริง
Elderpreneur คนอายุ 60 เริ่มทำธุรกิจประสบความสำเร็จสูงกว่าถึง 3 เท่า
น่าสนใจมากครับที่หนังสือ Stage Not Age เล่มนี้บอกให้รู้ว่าในกลุ่มคนสูงวัย 60 ปี ที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนอายุ 30 ที่เริ่มพร้อมกันถึง 3 เท่า
นั่นก็เพราะประสบการณ์อันโชกโชนของพวกเค้า ทำให้สามารถคิดและตัดสินใจได้ดีกว่า และนั่นก็เป็นโอกาสให้กลุ่มผู้สูงวัยเริ่มขยับเข้าไปเป็นที่ปรึกษาตามบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น เพราะประสบการณ์คือสิ่งที่คนหนุ่มสาวไม่มี มันคือยุคแห่งการ Collaboration ของการทำงาน Multi Generation ที่แท้จริงหลังจากนี้
THE FIVE-QUARTER (5Q) LIFE FRAMEWORK
ผมว่าภาพนี้คือหัวใจหลักของหนังสือ Stage Not Age ได้เลย เพราะมันทำให้เราเข้าใจภาพรวมทั้งหมด ภาพรวมทั้งชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่จากนี้ไป ไม่ได้แบ่งจาก Generation แบบเดิม แต่แบ่งตามช่วงชีวิตออกเป็น 5 ช่วงกว้างๆ และแบ่งย่อยออกได้เป็น 21 Segment
ช่วง Q1 คือช่วงเริ่มต้นชีวิต ช่วงอายุไม่ถึง 30 ปี เป็นช่วงที่เราเริ่มต้นชีวิต เติบโต เริ่มทำงาน ไปจนถึงทดลองค้นหาตัวเองในช่วงวัยนี้
ช่วง Q2 คือช่วงพัฒนาความมั่นคงทางการเงิน ช่วงอายุ 25-55 ปี เป็นช่วงที่เราต้องเริ่มรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ช่วงที่เราอาจมีลูก กลายเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ช่วงที่เราต้องดูแลคนอื่น ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวต และเป็นช่วงของการเริ่มงานใหม่อีกครั้ง หรืออาจเป็นการขยับขยายไปเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรเดิม
ช่วง Q3 คือช่วงปรับเป้าหมาย เป็นช่วงอายุ 55-85 ปี เป็นช่วงของการพื้นฟูตัวเอง ช่วงของการเริ่มเป็นผู้ประกอบการใหม่ หรืออาจจะเริ่มทำงานส่วนตัวนอกเวลางาน ช่วงที่ต้องดูแลตัวเองให้ดี ช่วงที่ต้องเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากเป็นพิเศษ และเป็นช่วงของการทดลองสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต
ช่วง Q4 คือช่วงของการเปลี่ยนผ่าน เป็นช่วงอายุ 75-100 ปี ช่วงที่ต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอย่างจริงจัง เป็นช่วงที่ต้องจัดลำดับความสำคัญของชีวิตใหม่ เพราะเริ่มตระหนักแล้วว่าอะไรที่สำคัญหรือไม่สำคัญกับชีวิตที่เหลือของเราจริงๆ เป็นช่วงของการสะสมผลงานในชีวิต เป็นช่วงของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในชีวิตต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และยังเป็นช่วงส่งผลมรดกผลงานของชีวิต
ช่วง Q5 เป็นช่วงพิเศษสุดท้าย เป็นช่วงอายุ 100+ ปีขึ้นไป เป็นช่วงแห่งการส่งผ่านตำนานให้คนอื่น เป็นช่วงของการเรียนรู้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และเป็นช่วงบั้นปลายของชีวิต
นี่คือการชีวิตออกเป็น 5 ช่วงแบบกว้างๆ แต่ก็มีนิยามที่กำหนดแบบชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการเอาไปพัฒนาสินค้าหรือบริการ หรือทำแผนการตลาดที่เหมาะกับแต่ละช่วงของชีวิตที่ชัดเจนขึ้น ไม่ได้เป็นแค่การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามช่วงอายุหรือ Generation แบบเดิมเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะแม้จะอยู่ในช่วงวัยเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้มีชีวิตที่เหมือนกันอีกต่อไป
ธุรกิจการปรับที่อยู่อาศัยให้เข้ากับวัยสูงอายุ
แน่นอนว่าบ้าน หรือที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ไม่ได้ถูกคิดมาเพื่อผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัยเป็นหลัก แต่คิดจากคนหนุ่มสาววัยกลางคนที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงดีเป็นหลักครับ ขนาดผมเองยังลงทุนซื้อบ้านใหม่เพราะรู้สึกขึ้นชั้น 3 ที่บ้านทาวน์โฮมเดิมแล้วเหนื่อน เลยมองหาบ้านขนาดสองชั้นแทน เพื่อจะลดความสูงในการเดินขึ้น 1 ชั้น นี่ยังแอบคิดว่าอีกสัก 10-20 ปีข้างหน้าคงต้องอาจเริ่มมองหาบ้านชั้นเดียว
และนั่นก็บอกให้รู้ถึงโอกาสของธุรกิจการปรับแต่งบ้านให้เข้ากับวัยที่สูงขึ้น ประตูหน้าต่างต้องกว้างขึ้น ที่จับต้องแน่นขึ้น ธรณีพื้นอาจต้องเอาออกไปทั้งหมดเลย ใครทำธุรกิจก่อสร้างอยู่ รีบศึกษาด้านนี้ไว้แต่เนิ่นๆ เลยครับ
Big Beige Boring
การออกแบบกับผู้สูงวัยก็ต้องทำความเข้าใจใหม่ จะมาทำสีเบจ สีเชยๆ แบบเดิมรับรองว่าจะไม่มีใครยอมซื้อแน่นอน อย่าลืมว่าแม้วัยเค้าจะสูงขึ้น อายุเค้าจะเยอะขึ้น แต่ร่างกายกับหัวใจเค้ายังไม่ได้แก่ตัวลงตาม เลิกคิดว่าคนแก่จะต้องชอบสีจืดๆ ชืดๆ มองหาการทำสินค้าสูงวัยให้ดูแฟชั่นสดใสเสมือนพวกเขายังคงเป็นหนุ่มสาวได้แล้ว
ส่วนเฟอร์นิเจอร์ข้าวของจะมาทำขนาดใหญ่ๆ ให้จับง่ายคนสูงวัยยุคใหม่เขาไม่ชอบ ต้องทำให้มันจับง่ายแต่ยังต้องดูปราดเปรียวทันสมัย ที่สำคัญคือห้ามทำดีไซน์ออกมาน่าเบื่อ นี่คือยุคของการบาลานซ์ระหว่าง Design & Function ที่แท้จริง
UX for Silver Age
การออกแบบหน้าจอเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้ากับคนสูงวัยขึ้นก็สำคัญ แม้ร่างกายจะยังกระฉับกระเฉงแบบเดิม แต่สายตาการมองเห็นอันนี้ลดลงแบบห้ามไม่ได้
ดังนั้นต้องออกแบบตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้น สีสันมีการตัดกันที่ชัดเจน ที่สำคัญคือต้องทำให้ดูทันสมัย จะมาทำเรียบๆ เชยๆ ใหญ่ๆ น่าเบื่อ รับรองไม่มีใครอยากใช้อยากซื้อคุณแน่นอน
จำไว้อย่างหนึ่งว่า พวกเขาไม่ใช่คนแก่ แต่พวกเขาคือคนอายุยืน!
เหยียดวัย
เทรนด์การเหยียดของสังคมจะไม่ใช่แค่สีผิว เชื้อชาติ หรือเพศ แต่จะมีการเหยียดแบบใหม่เกิดขึ้น นั่นก็คือการเหยียดวัย ของคนวัยหนุ่มสาวที่รู้สึกเหยียดคนสูงอายุกว่า โดยเฉพาะในสังคมที่จะเต็มไปด้วยคนอายุเยอะมากเพิ่มขึ้นมากมาย
บริษัท ที่ทำงาน ต้องออกแบบนโยบายให้ดีว่าจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร คนสูงวัยจะถูกบูลลี่ไม่น้อยหลังจากนี้ ถ้าบริษัทไหนจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ดี น่าจะกลายเป็นข่าวเสียหายจนส่งผลต่อยอดขายได้ไม่น้อย
สรุปหนังสือ Stage Not Age เพราะช่วงชีวิตลูกค้า สำคัญกว่าอายุ
นี่คือหนังสือที่จะทำให้เราเตรียมพร้อมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ที่เต็มไปด้วยคนสูงอายุแบบเต็มตัว เราจะมีคนสูงวัย 65+ แซงหน้าคนอายุต่ำกว่า 18 ปี ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าแล้ว
นั่นหมายความว่าสินค้า บริการ ไปจนถึง Brand Communication และ UX กับ Technology ต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายใหม่ หรือเอาเข้าจริงต้องบอกว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเดิม เพียงแต่ร่างกายไม่เหมือนเดิม ทั้งในเรื่องของสายตา การมองเห็น การได้ยิน หรือการเคลื่อนไหวทางร่างกาย
กลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัยจะได้รับโอกาสมากที่สุด จะออกแบบบ้านอย่างไรให้ Elder Friendly ไม่ได้เน้นที่ Adult Centric แบบปัจจุบัน
ใครที่อ่านก่อนก็ได้รู้ก่อน ได้เตรียมพร้อมก่อน ได้กำหนดกลยุทธ์ก่อน บอกเลยว่าตลาดผู้สูงวัยจะใหญ่โตมาก จนกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทุกแบรนด์ต่างอยากได้ เพราะพวกเขาจะมีจำนวนมากที่สุด แถมยังมีเงินรวมกันมากที่สุดอีกด้วยครับ
อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 24 ของปี
สรุปหนังสือ Stage Not Age เพราะช่วงชีวิตลูกค้า สำคัญกว่าอายุ
วิธีทำความเข้าใจและตอบสนองต่อผู้คนวัย 60 ปีขึ้นไป ตลาดที่เติบโตเร็วและมีพลวัตมากที่สุดในโลก
Susan Wilner Golden เขียน
สุวิชชา จันทร แปล
สำนักพิมพ์อะไรเอ่ย
อ่านสรุปหนังสือสำนักพิมพ์ต่อ : คลิ๊ก
สั่งซื้อออนไลน์
https://shope.ee/2AohnniOHt
https://shope.ee/7zmUkXhi3W
https://shope.ee/7f9eLx0Aol